ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เชาวน์วัศ สุดลาภา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
พัตรยศ (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
พัตรยศ (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 5: บรรทัด 5:
== ประวัติ ==
== ประวัติ ==


นายเชาวน์วัศเกิดเมื่อวันที่[[1 มิถุนายน]][[พ.ศ. 2476]]ในสกุลสุดลาภา ซึ่งเป็นราชนิกุลที่สืบเชื้อสายมาจากเจ้าฟ้านรินทร์ราชกุมาร [[สมเด็จพระนารายณ์มหาราช]] และในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าสุดาวดีกรมหลวงโยธาเทพแห่ง[[กรุงศรีอยุธยา][http://www.212cafe.com/freewebboard/view.php?user=jubjang&id=27] สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีและปริญญาโทจากคณะรัฐศาสตร์ [[มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]] ระดับปริญญาเอกชั้น Diploma จาก <!--โปรดใส่ชื่อมหาวิทยาลัยที่สำเร็จการศึกษา--> กรุง[[บอนน์]] [[ประเทศเยอรมนีตะวันตก]] และจาก<!--โปรดใส่ชื่อมหาวิทยาลัยที่สำเร็จการศึกษา--> [[กรุงเฮก]] [[ประเทศเนเธอร์แลนด์]] นอกจากนี้ยังได้รับปริญญาดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัย 2 แห่งใน[[ประเทศสหรัฐอเมริกา]] และสำเร็จการศึกษาจาก[[วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร]] รุ่น 28
นายเชาวน์วัศเกิดเมื่อวันที่[[1 มิถุนายน]][[พ.ศ. 2476]]ในสกุลสุดลาภา ซึ่งเป็นราชนิกุลที่สืบเชื้อสายมาจากเจ้าฟ้านรินทร์ราชกุมาร [[สมเด็จพระนารายณ์มหาราช]] และในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าสุดาวดีกรมหลวงโยธาเทพแห่ง[[กรุงศรีอยุธยา][http://th.wikipedia.org/w/index.php?title=%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%88%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%98%E0%B8%AD_%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%B5_%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%]9E&action=edit[http://www.212cafe.com/freewebboard/view.php?user=jubjang&id=27] สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีและปริญญาโทจากคณะรัฐศาสตร์ [[มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]] ระดับปริญญาเอกชั้น Diploma จาก <!--โปรดใส่ชื่อมหาวิทยาลัยที่สำเร็จการศึกษา--> กรุง[[บอนน์]] [[ประเทศเยอรมนีตะวันตก]] และจาก<!--โปรดใส่ชื่อมหาวิทยาลัยที่สำเร็จการศึกษา--> [[กรุงเฮก]] [[ประเทศเนเธอร์แลนด์]] นอกจากนี้ยังได้รับปริญญาดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัย 2 แห่งใน[[ประเทศสหรัฐอเมริกา]] และสำเร็จการศึกษาจาก[[วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร]] รุ่น 28


ด้านชีวิตส่วนตัว นายเชาวน์วัศได้สมรสกับนางกมลทิพย์ สุดลาภา อดีตนางงามประจำจังหวัดสงขลา มีบุตร - ธิดารวม 3 คนได้แก่
ด้านชีวิตส่วนตัว นายเชาวน์วัศได้สมรสกับนางกมลทิพย์ สุดลาภา อดีตนางงามประจำจังหวัดสงขลา มีบุตร - ธิดารวม 3 คนได้แก่

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:07, 27 มีนาคม 2552

เชาวน์วัศ สุดลาภา

นายเชาวน์วัศ สุดลาภา อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ลำดับที่ 7 อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดต่างๆ หลายจังหวัด และอดีตเลขานุการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ภายหลังได้เข้าสู่วงการการเมือง ได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลของ พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์และในรัฐบาลนายชวน หลีกภัย ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลพบุรีต่อเนื่อง 4 สมัย และได้รับการยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญของจังหวัดลพบุรี

ประวัติ

นายเชาวน์วัศเกิดเมื่อวันที่1 มิถุนายนพ.ศ. 2476ในสกุลสุดลาภา ซึ่งเป็นราชนิกุลที่สืบเชื้อสายมาจากเจ้าฟ้านรินทร์ราชกุมาร สมเด็จพระนารายณ์มหาราช และในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าสุดาวดีกรมหลวงโยธาเทพแห่ง[[กรุงศรีอยุธยา][1]9E&action=edit[2] สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีและปริญญาโทจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระดับปริญญาเอกชั้น Diploma จาก กรุงบอนน์ ประเทศเยอรมนีตะวันตก และจาก กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ นอกจากนี้ยังได้รับปริญญาดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัย 2 แห่งในประเทศสหรัฐอเมริกา และสำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่น 28

ด้านชีวิตส่วนตัว นายเชาวน์วัศได้สมรสกับนางกมลทิพย์ สุดลาภา อดีตนางงามประจำจังหวัดสงขลา มีบุตร - ธิดารวม 3 คนได้แก่

  • นายเกรียงยศ สุดลาภา อดีตรองโฆษกกรุงเทพมหานคร (ดูแลด้านกิจการ กทม.) ปัจจุบันดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยมหาดไทย ในรัฐบาลนาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ[1]
  • นางพจน์ศิรินทร์ (สุดลาภา) สุวรรณรัฐ อาชีพนักธุรกิจ สมรสกับพันโทนิมิตต์ สุวรรณรัฐ (ทายาทพระยาเจริญราชภักดี และขุนสุวรรณรัฐราช เดิม)[3]
  • นายกาจบดินทร์ สุดลาภา อาชีพนักธุรกิจ สมรสกับนางสาววิภาดา บุนนาค (ทายาทสายเจ้าพระยาวิชยาธิบดี แบน บุนนาค)[4]

การทำงาน

ด้านการปกครอง

ด้านการเมือง

นายเชาวน์วัศเริ่มเข้าสู่วงการการเมืองครั้งแรกจากการได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร เมื่อ พ.ศ. 2515 ต่อมาก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในคณะรัฐมนตรีชุดที่ 41 สมัย พล.อ. เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์เป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อ พ.ศ. 2523 ซึ่งในขณะนั้นนายเชาวน์วัศยังดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

ในปี พ.ศ. 2531 นายเชาวน์วัศได้ลาออกจากราชการเพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลพบุรี และได้รับเลือกตั้ง 4 สมัยต่อเนื่อง ตั้งแต่ พ.ศ. 2531 - 2538 โดยในช่วงเวลาดังกล่าวได้ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการการศึกษาสภาผู้แทนราษฎร และ ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายการต่างประเทศ(พ.ศ. 2531 - 2535) และรองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 2 (พ.ศ. 2535)

ในปี พ.ศ. 2536 นายเชาวน์วัศได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในคณะรัฐมนตรีชุดที่ 50 สมัยนายชวน หลีกภัยเป็นนายกรัฐมนตรีครั้งแรก

ผลงานสำคัญ

  • เป็นบุคคลสำคัญของจังหวัดลพบุรี
  • ปราบกบฎจีนฮ่อสำเร็จ สมัยเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา (กบฎจีนฮ่อที่เข้ามาในไทยที่จังหวัดพังงาอีกกลุ่มใหญ่ในสมัยนั้น)
  • ปราบ "ซุ้มมือปืนเมืองเพชร" สำเร็จ สมัยเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี
  • ก่อตั้งงานแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช สมัยเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี
  • ก่อตั้งวิทยาลัยชาวบ้านจังหวัดลพบุรี
  • สมัยเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้ดำเนินนโยบาย "ทำกรุงเทพให้เป็นสีเขียว" โดยการปลูกต้นราชพฤกษ์รอบกรุงเทพมหานครเพื่อลดมลภาวะ และเป็นผู้ดำเนินการจัดตั้งตลาดนัดสวนจตุจักร[3]
  • ก่อตั้งงานสารทไทยกล้วยไข่เมืองกำแพงเพชร
  • ก่อตั้งพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสนามเพรียง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร[4]
  • สร้างศาลพระอิศวร สถานที่เที่ยวสำคัญของจังหวัดกำแพงเพชร[5]
  • ก่อตั้ง "งานพระนครคีรี เทิดทูนราชจักรีวงศ์" เพื่อระลึกถึงรัชกาลแผ่นดิน 4, 5, 6 แห่งราชวงศ์จักรีขณะเป็นพ่อเมืองเพชรบุรี[6]
  • ร่วมก่อตั้งอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา[7]

เกียรติยศที่ได้รับ

  • รางวัลกิตติคุณสัมพันธ์ (สังข์เงิน) จากสมาคมนักประพันธ์แห่งประเทศไทย (ด้านสาขาวิชาการ)
  • ได้รับการยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญของจังหวัดลพบุรี

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. มติคณะรัฐมนตรี วันอังคารที่ ๑๓ เดือนมกราคม พ.ศ.๒๕๕๒ (ข้อมูลจาก สำนักส่งเสริมและประสานงานคณะรัฐมนตรี)
  2. ทำเนียบรายชื่อผู้อำนวยการกองการเจ้าหน้าที่ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย
  3. ประวัติตลาดนัดสวนจตุจักร. (จากเว็บไซต์ chillisiam.com)
  4. เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าเขาสนามเพรียง. ข้อมูลจากสำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดกำแพงเพชร
  5. ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยว ศาลพระอิศวร จังหวัดกำแพงเพชร. สารสนเทศภูมิศาสตร์แหล่งท่องเที่ยว สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
  6. การจัดงาน พระนครคีรี - เมืองเพชร ครั้งที่ 15. (ข่าวจาก ryt9.com วันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544)
  7. อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา (เว็บไซต์หมูหินดอตคอม)
ก่อนหน้า เชาวน์วัศ สุดลาภา ถัดไป
นายชลอ ธรรมศิริ
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
(4 กรกฎาคม พ.ศ. 2522 - 16 เมษายน พ.ศ. 2524)
พลเรือเอกเทียม มกรานนท์