สนั่น ขจรประศาสน์
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
สนั่น ขจรประศาสน์ | |
---|---|
สนั่น ใน พ.ศ. 2551 | |
รองนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 – 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 | |
นายกรัฐมนตรี | สมัคร สุนทรเวช สมชาย วงศ์สวัสดิ์ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ |
ดำรงตำแหน่ง 5 ตุลาคม พ.ศ. 2541 – 29 มีนาคม พ.ศ. 2543 | |
นายกรัฐมนตรี | ชวน หลีกภัย |
ดำรงตำแหน่ง 26 สิงหาคม พ.ศ. 2533 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2533 | |
นายกรัฐมนตรี | ชาติชาย ชุณหะวัณ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 – 29 มีนาคม พ.ศ. 2543 | |
นายกรัฐมนตรี | ชวน หลีกภัย |
ก่อนหน้า | เสนาะ เทียนทอง |
ถัดไป | บัญญัติ บรรทัดฐาน |
ดำรงตำแหน่ง 17 ธันวาคม พ.ศ. 2537 – 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 | |
นายกรัฐมนตรี | ชวน หลีกภัย |
ก่อนหน้า | ชวลิต ยงใจยุทธ |
ถัดไป | บรรหาร ศิลปอาชา |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | |
ดำรงตำแหน่ง 23 กันยายน พ.ศ. 2535 – 13 ธันวาคม พ.ศ. 2537 | |
นายกรัฐมนตรี | ชวน หลีกภัย |
ก่อนหน้า | สิปปนนท์ เกตุทัต |
ถัดไป | ไตรรงค์ สุวรรณคีรี |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ | |
ดำรงตำแหน่ง 4 สิงหาคม พ.ศ. 2531 – 26 สิงหาคม พ.ศ. 2533 | |
นายกรัฐมนตรี | ชาติชาย ชุณหะวัณ |
ก่อนหน้า | หาญ ลีลานนท์ |
ถัดไป | ชวน หลีกภัย |
เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ | |
ดำรงตำแหน่ง 10 มกราคม พ.ศ. 2530 – 17 กันยายน พ.ศ. 2543 (13 ปี 250 วัน) | |
ก่อนหน้า | วีระกานต์ มุสิกพงศ์ |
ถัดไป | อนันต์ อนันตกูล |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 7 กันยายน พ.ศ. 2478 อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 (77 ปี) โรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
ศาสนา | พุทธ |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ (2511–2543) มหาชน (2547–2550) ชาติไทย (2550–2551) ชาติไทยพัฒนา (2552–2556) |
คู่สมรส | นางฉวีวรรณ ขจรประศาสน์ |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
สังกัด | กองทัพบกไทย |
ยศ | พลตรี[1] |
พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์ (7 กันยายน พ.ศ. 2478 — 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556[2]) เป็นอดีตนายทหารบกและอดีตนักการเมืองชาวไทย อดีตรองนายกรัฐมนตรี แกนนำพรรคชาติไทยพัฒนา และอดีตเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้ก่อตั้งและอดีตหัวหน้าพรรคมหาชน เคยดำรงตำแหน่งสำคัญในรัฐบาลเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กระทรวงอุตสาหกรรมและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีชื่อที่นิยมเรียกกันทั่วไปว่า "เสธ.หนั่น"
ประวัติ
[แก้]พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์ เป็นชาวจังหวัดพิจิตร เกิดวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2478 เป็นบุตรคนที่ 6 ของขุนขจรประศาสน์ (ทองอยู่ ขจรโลก) และนางบ๊วย มีพี่น้อง 7 คน[3][ระบุข้อมูลทางบรรณานุกรมไม่ครบ]
ต่อมาวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2485 บิดาได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้ราชทินนามเป็นนามสกุล[4]
เคยรับราชการเป็นทหารบกเหล่าทหารม้า มียศทางทหารสุดท้ายเป็นพันโท ก่อนจะถูกให้ออกจากราชการ เมื่อ พ.ศ. 2520 เมื่อร่วมก่อการกบฏ 26 มีนาคม 2520 ซึ่งมี พล.อ.ฉลาด หิรัญศิริ เป็นหัวหน้าและมี พ.ท.สนั่นเป็นเลขาธิการคณะ พ.ท.สนั่นถูกจำคุกที่ เรือนจำลาดยาว จากข้อหากบฏ ทำให้ได้พบและสนิทสนมกับ พ.อ.มนูญ รูปขจร (ปัจจุบันคือ พล.ต.มนูญกฤต รูปขจร) ต่อมาในภายหลังเมื่อ พ.ท.สนั่น ได้เข้าทำงานการเมืองและดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของไทย[5] พ.ท.สนั่นได้รับโปรดเกล้าฯ พระราชทานยศเป็น "พลตรี" เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2532[6]
ครอบครัว
[แก้]พลตรีสนั่น สมรสกับฉวีวรรณ ขจรประศาสน์ (นามสกุลเดิม วงศ์ใหญ่) มีบุตรธิดารวม 4 คน คนที่ 3 เป็นบุตรชายเข้าสู่วงการเมือง คือ ศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิจิตร เขต 3 พรรคมหาชน ส่วนอีก 3 คนเป็นบุตรสาวทั้งหมด คือ บงกชรัตน์ ขจรประศาสน์, ปัทมารัตน์ ขจรประศาสน์ และวัฒนีพร ขจรประศาสน์
พลตรีสนั่น มีธุรกิจส่วนตัวคือ ฟาร์มนกกระจอกเทศชื่อ "ขจรฟาร์ม" ซึ่งเป็นฟาร์มนกกระจอกเทศที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย[ต้องการอ้างอิง] นอกจากนี้ยังทำไร่องุ่นดงเจริญ และผลิตไวน์ชื่อ "ชาโต เดอ ชาละวัน"
การเมือง
[แก้]ในเหตุการณ์กบฏ 26 มีนาคม พ.ศ. 2520 ที่มีความพยายามโค่นล้มรัฐบาลชุดที่มีนายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นนายกรัฐมนตรี จาก พล.อ.ฉลาด หิรัญศิริ แต่ไม่สำเร็จ พล.ต.สนั่น ซึ่งในขณะนั้นมียศเป็น พันโท (พ.ท.) ได้เข้าร่วมกับฝ่ายกบฏด้วย
ภายหลัง เมื่อถูกจับ ถูกตัดสินจำคุกซึ่งต่อมาได้ลงโทษจำคุกตลอดชีวิตร่วมกับผู้ก่อการคนอื่น ๆ แต่ภายหลังทั้งหมดได้รับการนิรโทษกรรมเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม ปีเดียวกัน[7]
กรณีกลุ่มงูเห่าและพรรคประชากรไทย
[แก้]ปลายปี พ.ศ. 2540 พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ถูกแรงกดดันให้ลาออกจากตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี เนื่องจากการลดค่าเงินบาทในวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 และตัดสินใจลาออกเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 ในเวลานั้นพรรคร่วมรัฐบาล ที่ประกอบด้วย พรรคความหวังใหม่, พรรคชาติพัฒนา, พรรคชาติไทย, พรรคประชากรไทย, พรรคกิจสังคม ตกลงร่วมกันที่จะสนับสนุน พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ หัวหน้าพรรคชาติพัฒนา อดีตนายกรัฐมนตรี ให้กลับมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง แต่ทางพรรคฝ่ายค้านที่มีพรรคประชาธิปัตย์เป็นแกนนำ และมีจำนวนส.ส.น้อยกว่าพรรคความหวังใหม่เพียง 2 เสียง ก็มีความพยายามที่จะเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลด้วยเช่นกัน
วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 นายเสนาะ เทียนทอง เลขาธิการพรรคความหวังใหม่ ได้จัดแถลงข่าว ยืนยันการจัดตั้งรัฐบาล โดยมี พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี ที่ชั้นล่างของทำเนียบรัฐบาล แต่ในเวลาเดียวกัน พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ก็เปิดแถลงข่าว เรื่องการจัดตั้งรัฐบาลด้วย โดยมีเสียงสนับสนุนจากพรรคกิจสังคมของ นายมนตรี พงษ์พานิช ที่ย้ายฟากมาจากพรรคร่วมรัฐบาลเดิมอย่างกะทันหัน และมีตัวแปรสำคัญคือ ส.ส. พรรคประชากรไทย จำนวน 12 คน นำโดย นายวัฒนา อัศวเหม และ นายฉลอง เรี่ยวแรง ที่เข้าร่วมสนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์ ขณะที่หัวหน้าพรรคประชากรไทย คือ นายสมัคร สุนทรเวช ไม่ทราบมาก่อนและยังสนับสนุนฝ่าย พล.อ.ชาติชาย ทำให้สถานการณ์พลิกกลับอย่างรวดเร็ว กลายเป็นเสียงทางฝ่ายพรรคประชาธิปัตย์มีมากกว่า และทำให้นายชวน หลีกภัย ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยที่ 2 ในที่สุด
หลังเหตุการณ์ครั้งนี้ นายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรคประชากรไทย ได้กล่าวเปรียบเทียบว่า ตนเป็นเหมือนชาวนาในนิทานอีสป เรื่อง "ชาวนากับงูเห่า" ที่เก็บงูเห่าที่กำลังจะตายจากความหนาวเย็น มาไว้ในอกเสื้อเพื่อให้ความอบอุ่น แต่ต่อมางูเห่านั้นก็ฉกชาวนาตาย ซึ่งนายสมัครเปรียบเทียบกับ แกนนำของ ส.ส. ทั้ง 12 คน โดยเฉพาะ ส.ส.กลุ่มปากน้ำ ของนายวัฒนา อัศวเหม ซึ่งเดิมสังกัดพรรคชาติไทย แต่ภายหลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ไม่มีพรรคใดรับเข้าสังกัด จนในที่สุดมาเข้าสังกัดพรรคประชากรไทย ที่นายสมัครเป็นหัวหน้าพรรค และต่อมามีการตัดสินใจทางการเมือง ที่ขัดต่อมติพรรคดังกล่าว ทำให้ต่อมาสื่อมวลชน เรียก ส.ส. 12 คนนี้ตามคำพูดของนายสมัครว่า "กลุ่มงูเห่า" อยู่เป็นเวลานาน
ต่อมามีคำวินิจฉัยเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวว่า ส.ส. พรรคประชากรไทยทั้ง 12 คน มีสิทธิตามกฎหมาย ที่จะตัดสินใจทางการเมืองโดยอิสระ เช่น การสนับสนุน นายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี โดยไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามมติพรรค หรือความต้องการของหัวหน้าพรรคการเมืองที่ตนสังกัด การรวบรวมเสียง ส.ส. จนสามารถสนับสนุน นายชวน หลีกภัย ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี สมัยที่ 2 ได้สำเร็จครั้งนี้ ทำให้ พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ในขณะนั้น ได้รับการกล่าวขานถึงในฐานะผู้มีเหลี่ยมคูทางการเมือง และเป็นกรณีศึกษาหนึ่งของประวัติศาสตร์การเมืองไทย
ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี
[แก้]นายอดิศร เพียงเกษ ส.ส.จังหวัดขอนแก่น พรรคความหวังใหม่ ได้เปิดเผยข้อมูลระหว่างการอภิปรายไม่ไว้วางใจพลตรีสนั่น ว่า พลตรีสนั่น แสดงบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินเป็นเท็จ ต่อ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) โดยระบุว่ามีการกู้ยืมเงินจำนวน 45 ล้านบาท จากบริษัท เอเอเอส ออโต้เซอร์วิส ทั้งที่ไม่มีการกู้ยืมจริง
ต่อมา นายวีระ สมความคิด ประธานกลุ่มพิทักษ์สิทธิเสรีภาพประชาชน ได้ยื่นหนังสือต่อ ป.ป.ช. ให้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง จนคดีเข้าสู่ กระบวนการทางกฎหมาย และต่อมา ศาลรัฐธรรมนูญ มีคำวินิจฉัยเป็นเอกฉันท์ เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2543 ว่า พล.ต.สนั่น มีความผิด ฐานจงใจแสดงบัญชีทรัพย์สินอันเป็นเท็จ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 295 ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี[8]
จากการถูกดำเนินคดีทางการเมืองดังกล่าว ทำให้ พล.ต.สนั่น ต้องลาออกจากตำแหน่ง เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ที่เป็นมายาวนานถึง 13 ปี โดยมี นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ เข้ารักษาการตำแหน่งเลขาธิการพรรคเป็นเวลาสั้น ๆ และต่อมา นายอนันต์ อนันตกูล ได้รับเลือกให้ขึ้นดำรงตำแหน่ง เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์คนใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2543
ก่อตั้งพรรคมหาชน
[แก้]หลังการถูกตัดสิทธิทางการเมือง พล.ต.สนั่น ลาออกจากพรรคประชาธิปัตย์ และในที่สุดได้ก่อตั้ง พรรคมหาชน ขึ้น โดยมี ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ เป็นหัวหน้าพรรคคนแรก ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2548 และต่อมา พล.ต.สนั่น ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าพรรคคนต่อมา
ร่วมงานกับพรรคชาติไทย
[แก้]วันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2550 พล.ต.สนั่น พร้อมด้วย นายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ บุตรชาย และสมาชิกพรรคมหาชน เดินทางไปสมัครเป็นสมาชิกพรรคชาติไทย โดยให้เหตุผลว่ากฎหมายพรรคการเมืองปัจจุบันไม่เอื้อต่อการดำเนินงานของพรรคการเมืองขนาดเล็ก ถือเป็นการสิ้นสุดการดำเนินงานของพรรคมหาชนไปโดยบริยาย[9]
ต่อมาในการร่วมรัฐบาลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 พล.ต.สนั่นดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช และรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ และรัฐบาลนายอภิสิทธ์ เวชชาชีวะ [10]
ร่วมงานกับพรรคชาติไทยพัฒนา
[แก้]ในวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2555 พล.ต.สนั่น ในฐานะประธานที่ปรึกษาพรรคชาติไทยพัฒนา ได้ประกาศยุติบทบาททางการเมือง โดยขอยุติการทำหน้าที่ในฐานะ ส.ส. แต่ยังคงพร้อมที่จะช่วยงานในส่วนของพรรค และงานการเมืองของประเทศต่อไป[11]
การปรองดองทางการเมือง
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ปัญหาสุขภาพ
[แก้]พล.ต.สนั่น ป่วยด้วยโรคถุงลมโป่งพอง เกิดอาการหัวใจวายกะทันหัน จนครอบครัวต้องนำส่งโรงพยาบาลนนทเวช เมื่อกลางดึกของวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 แพทย์ต้องปั๊มหัวใจให้ฟื้นชีพ แต่อาการไม่ดีขึ้น จึงย้ายไปโรงพยาบาลศิริราช[12] จนกระทั่งถึงแก่อนิจกรรมอย่างสงบ เมื่อเวลา 17.09 น. วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 จากภาวะแทรกซ้อนจากอาการถุงลมโป่งพอง[2] มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส
ยศกองอาสารักษาดินแดนชั้นสัญญาบัตร
[แก้]- นายกองใหญ่ กองอาสารักษาดินแดน กระทรวงมหาดไทย เนื่องจากดำรงตำแหน่งเป็น "ผู้บัญชาการกองอาสารักษาดินแดน" โดยตำแหน่ง
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2532 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[13]
- พ.ศ. 2531 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[14]
- พ.ศ. 2520 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[15]
- พ.ศ. 2512 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[16]
- พ.ศ. 2538 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[17]
- พ.ศ. 2512 – เหรียญสนองเสรีชน (ส.ส.ช.)
- พ.ศ. 2525 – เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ 2 (เหรียญเงิน)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ พระราชทานยศ
- ↑ 2.0 2.1 "ด่วน!ปิดตำนานชาละวัน'เสธ.หนั่น'สิ้นแล้ว". กรุงเทพธุรกิจ. February 15, 2013. สืบค้นเมื่อ September 9, 2016.
- ↑ สนั่น ขจรประศาสน์. "จากเด็กบ้านนอกมาเป็นทหารม้า จากบางขวางสู่ทำเนียบรัฐบาล ล้วนเป็นผมลิขิตชีวิตเอง". ISBN 974822948-3. บริษัท ศิลป์สยามบรรจุภัณฑ์และการพิมพ์ จำกัด.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตใช้ราชทินนามเป็นชื่อสกุล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 59 (65 ง): 2661. 6 ตุลาคม พ.ศ. 2485. สืบค้นเมื่อ 9 ธันวาคม 2561.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
- ↑ พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการอันเป็นความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร ระหว่างวันที่ 25 และวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2520 พ.ศ. 2520
- ↑ กองบรรณาธิการมติชน, 289 ข่าวดัง 3 ทศวรรษหนังสือพิมพ์มติชน, 2549, ISBN 974-323-889-1
- ↑ ""ชาติไทย-มหาชน" จับขั้วไร้เงื่อนไข". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-31. สืบค้นเมื่อ 2007-10-29.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ)
- ↑ [1]เก็บถาวร 2012-10-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน โฆษก ชทพ.แถลง"เสธ.หนั่น"จะยุติบทบาทการเป็น ส.ส.จริง จากผู้จัดการออนไลน์
- ↑ ""เสธ.หนั่น" ป่วยถุงลมโป่งพอง-งดเยี่ยม เลขาฯ เผยอีก 2-3 วัน คงกลับบ้านได้". November 22, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-29. สืบค้นเมื่อ September 9, 2016.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๒๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๒๐๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๔ ตอนที่ ๙๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑๗, ๒๑ ตุลาคม ๒๕๒๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๘๖ ตอนที่ ๑๑๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๘๖๐, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ และเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๓๘, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๘ ข หน้า ๒๓, ๑๑ ธันวาคม ๒๕๔๐
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ThaisWatch.com
- นายกฯ ตั้ง “เสธ.หนั่น” รักษาการ รมว.สธ. คาดได้ตัวหลังปีใหม่ “มานิต” แถลงพรุ่งนี้ เก็บถาวร 2012-10-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
ก่อนหน้า | สนั่น ขจรประศาสน์ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ ชวรัตน์ ชาญวีรกูล สนั่น ขจรประศาสน์ โอฬาร ไชยประวัติ |
รองนายกรัฐมนตรี (ครม. 59) (20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 – 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554) |
ยงยุทธ วิชัยดิษฐ เฉลิม อยู่บำรุง โกวิท วัฒนะ กิตติรัตน์ ณ ระนอง ชุมพล ศิลปอาชา |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2478
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2556
- บุคคลจากอำเภอทับคล้อ
- ชาวไทยเชื้อสายจีน
- ทหารบกชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- รองนายกรัฐมนตรีไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิจิตร
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ
- นักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์
- พรรคมหาชน
- พรรคชาติไทย
- พรรคชาติไทยพัฒนา
- บุคคลจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
- บุคคลจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้บังคับบัญชาและเจ้าหน้าที่กองอาสารักษาดินแดน
- ผู้ได้รับเหรียญจักรมาลา
- เสียชีวิตจากโรคถุงลมโป่งพอง
- บุคคลในประวัติศาสตร์ไทย พ.ศ. 2516–2544
- บุคคลในประวัติศาสตร์ไทย หลัง พ.ศ. 2544
- หัวหน้าพรรคการเมืองในประเทศไทย