ศักดิ์สยาม ชิดชอบ
ศักดิ์สยาม ชิดชอบ | |
---|---|
ศักดิ์สยาม ใน พ.ศ. 2562 | |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม | |
ดำรงตำแหน่ง 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 – 3 มีนาคม พ.ศ. 2566[1] (3 ปี 236 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
ก่อนหน้า | อาคม เติมพิทยาไพสิฐ |
ถัดไป | อธิรัฐ รัตนเศรษฐ (รักษาการ) |
เลขาธิการพรรคภูมิใจไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 14 ตุลาคม พ.ศ. 2555 – 17 มกราคม พ.ศ. 2567 (11 ปี 95 วัน) | |
ก่อนหน้า | พรทิวา นาคาศัย |
ถัดไป | ไชยชนก ชิดชอบ |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ | |
ดำรงตำแหน่ง 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 – 17 มกราคม พ.ศ. 2567 (4 ปี 299 วัน) | |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดบุรีรัมย์ เขต 3 | |
ดำรงตำแหน่ง 6 มกราคม พ.ศ. 2544 – 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 (5 ปี 49 วัน) | |
ก่อนหน้า | โสภณ เพชรสว่าง ประกิจ พลเดช |
ถัดไป | สนอง เทพอักษรณรงค์ ประสิทธิ์ ตั้งศรีเกียรติกุล |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2505 อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ชาติไทย (2543–2547) ไทยรักไทย (2547–2550) ภูมิใจไทย (2555–ปัจจุบัน) |
ศักดิ์สยาม ชิดชอบ (เกิด 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2505) ชื่อเล่น โอ๋ นักการเมืองชาวไทย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ อดีตเลขาธิการพรรคภูมิใจไทย อดีตประธานคณะทำงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (ชวรัตน์ ชาญวีรกูล) ในรัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ในการอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2565 ปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล สส. พรรคก้าวไกล อภิปรายว่าศักดิ์สยามถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนจำกัด บุรีเจริญคอนสตรัคชั่น ผ่านตัวแทนอำพราง โดยไม่ปรากฏหลักฐานการซื้อขายหุ้นในบัญชีทรัพย์สินที่ต้องแจ้งต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ส่งผลให้ สส.ฝ่ายค้านในขณะนั้น จำนวน 54 คน เข้าชื่อยื่นคำร้องผ่านประธานสภาผู้แทนราษฎรในขณะนั้น (ชวน หลีกภัย) เพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย โดยศาลรัฐธรรมนูญมีมติรับคำร้อง และมีคำสั่งให้ศักดิ์สยามหยุดปฏิบัติหน้าที่รัฐมนตรีตั้งแต่วันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2566 ต่อมาเมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2567 ศาลรัฐธรรมนูญได้มีมติเสียงข้างมากตัดสินให้ศักดิ์สยามสิ้นสุดความเป็นรัฐมนตรีตั้งแต่วันที่มีคำสั่งหยุดปฏิบัติหน้าที่ ศักดิ์สยามจึงได้ลาออกจาก สส. และเลขาธิการพรรคภูมิใจไทยในวันเดียวกัน
ประวัติ
[แก้]ศักดิ์สยาม ชิดชอบ เกิดเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2505อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ เป็นบุตรของนายชัย ชิดชอบ กับนางละออง ชิดชอบ (เป็นน้องชายของนายเนวิน ชิดชอบ และพลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ)
ที่ศักดิ์สยาม ชิดชอบ จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (สิงห์แดง รุ่น 33) ปริญญาโท พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) (พ.ศ. 2531)
การทำงาน
[แก้]ศักดิ์สยาม ชิดชอบ เคยรับราชการในตำแหน่งปลัดอำเภอ สังกัดกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ต่อมาจึงลงสมัครรับเลือกตั้งได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในปี พ.ศ. 2544 และ พ.ศ. 2548 ต่อมาจึงได้รับแต่งตั้งให้เป็นประธานคณะทำงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (พลตำรวจเอกโกวิท วัฒนะ)[2] ต่อมาในปี พ.ศ. 2550 ได้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549[3]
ในรัฐบาลของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้มีการแต่งตั้งให้ศักดิ์สยาม เป็นประธานคณะทำงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (ชวรัตน์ ชาญวีรกูล) ในวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2552 ได้รับพระราชทานยศ นายกองเอก[4]
พรรคภูมิใจไทย
[แก้]ศักดิ์สยาม ได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรคภูมิใจไทย ในปี พ.ศ. 2555 หลังจากพ้นกำหนดการตัดสิทธิทางการเมือง และต่อมาได้รับเลือกตั้งเป็นเลขาธิการพรรคภูมิใจไทย เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2555[5] ซึ่งก่อนหน้านั้นพี่ชาย (เนวิน ชิดชอบ) ได้ประกาศวางมือทางการเมืองไปแล้ว
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคภูมิใจไทย ลำดับที่ 15[6] แต่การเลือกตั้งเป็นโมฆะ
ต่อมาในปี พ.ศ. 2562 เขาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ในสังกัดพรรคภูมิใจไทย[7] และในรัฐบาลสมัยที่ 2 ของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และเป็นกรรมการศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ต่อมาเมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2564 เขาถูกตรวจพบว่าติดเชื้อโควิด-19 นับเป็นรัฐมนตรีคนแรกที่ติดเชื้อดังกล่าว ซึ่งเชื่อมโยงกับคลัสเตอร์การระบาดจากคริสตัลคลับ สถานบันเทิงย่านทองหล่อ[8] ต่อมามีการเปิดเผยไทม์ไลน์ย้อนหลังของเขา พบว่าไม่ระบุว่าเคยเดินทางไปคริสตัลคลับ โดยอ้างว่าติดเชื้อจากเจ้าหน้าที่สำนักงานรัฐมนตรี[9] นอกจากนี้ ยังมีข่าวว่าเขาสั่งให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์แก้ไทม์ไลน์กลางดึก[10] เขาแจ้งความเอาผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 กับผู้ที่โพสต์รูปถ่ายบุคคลในผับซึ่งเขาอ้างว่าทำให้สังคมเข้าใจผิดว่าเป็นเขา[11] วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2564 มีการเปิดเผยว่ามีผู้ติดเชื้อจากเขาแล้ว 7 คน[12]
ต่อมา ปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อของพรรคก้าวไกล ได้อภิปรายไม่ไว้วางใจศักดิ์สยามในการอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2565 เรื่องการปกปิดทรัพย์สินในบัญชีที่จำเป็นต้องแจ้งต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เกี่ยวกับการถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนจำกัด บุรีเจริญคอนสตรัคชั่น ผ่านตัวแทนอำพราง โดยไม่ปรากฏหลักฐานการซื้อขายหุ้นในบัญชีทรัพย์สิน และยังนำ หจก.นี้มาเป็นคู่สัญญากับรัฐเพื่อรับงานในกระทรวงคมนาคม เข้าข่ายฮั้วประมูลและการขัดกันแห่งผลประโยชน์ ซึ่งอาจทำให้ขาดคุณสมบัติในการเป็นรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญ[13] ส่งผลให้เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสังกัดพรรคฝ่ายค้านในขณะนั้นจำนวน 54 คน เข้าชื่อยื่นคำร้องต่อชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎรในขณะนั้น เพื่อส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตรวจสอบการขาดคุณสมบัติความเป็นรัฐมนตรีของศักดิ์สยาม[14] ต่อมาเมื่อวันที่ 3 มีนาคม ศาลรัฐธรรมนูญมีมติรับคำร้อง และมีคำสั่งให้ศักดิ์สยาม ชิดชอบ หยุดปฏิบัติหน้าที่รัฐมนตรี[15]
ต่อมาเมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2567 ศาลรัฐธรรมนูญได้มีมติเสียงข้างมาก 7:1 ตัดสินให้ ศักดิ์สยาม ชิดชอบ สิ้นสุดความเป็นรัฐมนตรีตั้งแต่วันที่มีคำสั่งหยุดปฏิบัติหน้าที่ คือวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2566[16] ส่งผลให้ในวันเดียวกัน ศักดิ์สยามได้ยื่นหนังสือถึงวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ขอลาออกจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ส่งผลให้ชนม์ทิดา อัศวเหม ผู้สมัคร สส.บัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 5 เลื่อนลำดับขึ้นเป็น สส. แทน ก่อนจะลาออกในอีก 2 วันถัดมา[17] และในวันเดียวกันศักดิ์สยามได้ยื่นหนังสือถึงอนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ขอลาออกจากตำแหน่งเลขาธิการพรรคภูมิใจไทยด้วย[18]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2564 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[19]
- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[20]
- พ.ศ. 2533 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[21]
- พ.ศ. 2554 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[22]
เชิงอรรถ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "เปิดตุลาการศาล รธน. 7:1 เสียง ให้ "ศักดิ์สยาม" พ้นรัฐมนตรี". ไทยพีบีเอส. 17 มกราคม 2024. สืบค้นเมื่อ 17 มกราคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ เปิดใจ "ศักดิ์สยาม ชิดชอบ" ไขปริศนา..นอมินี "พี่เนวิน"
- ↑ "เปิดรายชื่อ ทั้ง 111 กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นระยะเวลา 5 ปี !!!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2011-06-02.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดน, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๕ ข หน้า ๑๑, ๔ มิถุนายน ๒๕๕๓
- ↑ อนุทินนั่งหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ, เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๑๐ ก หน้า ๓๒, ๑๗ มกราคม ๒๕๕๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ, เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๖๒ ก หน้า ๑๓, ๘ พฤษภาคม ๒๕๖๒
- ↑ ""ศักดิ์สยาม" ประเดิมติดโควิดคนแรกใน ครม. นายกฯ บอก "ก็รักษากันไป"". BBC ไทย. สืบค้นเมื่อ 8 April 2021.
- ↑ "เปิดยิบ! ไทม์ไลน์ "ศักดิ์สยาม" ผู้ป่วยโควิดบุรีรัมย์ พบกลับบ้านหัวค่ำ ไม่โผล่สถานบันเทิง ระบุชัดติดจาก จนท.สำนักงาน รมว". ผู้จัดการออนไลน์ (ภาษาอังกฤษ). 9 April 2021. สืบค้นเมื่อ 10 April 2021.
- ↑ ""ศักดิ์สยาม" สั่ง สสจ. บุรีรัมย์ แก้ไทม์ไลน์ใหม่ รายละเอียด 23-25 มี.ค.ผิด". ประชาชาติธุรกิจ. 9 April 2021. สืบค้นเมื่อ 10 April 2021.
- ↑ ""ศักดิ์สยาม" แจ้งความ พ.ร.บ. คอมฯ ชาวเน็ต ปมว่อนภาพชายหน้าคล้าย". ประชาชาติธุรกิจ. 8 April 2021. สืบค้นเมื่อ 10 April 2021.
- ↑ "สอบสวนโรค พบผู้สัมผัสเสี่ยง "ศักดิ์สยาม" ติดโควิดแล้ว 7 คน". ไทยรัฐ. 9 April 2021. สืบค้นเมื่อ 10 April 2021.
- ↑ "ก้าวไกล แฉ "ศักดิ์สยาม" ซุกหุ้นใช้ลูกจ้างเป็นนอมินีเอาบริษัทตัวเองรับงาน ก.คมนาคม". ผู้จัดการออนไลน์. 19 กรกฎาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ปย.ขัดกัน! ฝ่ายค้าน'ยื่น'ชวน'ส่ง'ศาล รธน.'วินิจฉัย'ศักดิ์สยาม'สิ้นสภาพ'รมต.-ส.ส.'หรือไม่". สำนักข่าวอิศรา. 2023-02-07. สืบค้นเมื่อ 2023-09-18.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ศักดิ์สยาม ชิดชอบ ถูกศาลรัฐธรรมนูญสั่งหยุดปฏิบัติหน้าที่รัฐมนตรี
- ↑ "เปิดตุลาการศาล รธน. 7:1 เสียง ให้ "ศักดิ์สยาม" พ้นรัฐมนตรี". ไทยพีบีเอส. 17 มกราคม 2024. สืบค้นเมื่อ 17 มกราคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "'เพลง ชนม์ทิดา' ยื่นลาออกจาก ภูมิใจไทย 'นันทนา สงฆ์ประชา' เสียบแทนแทน". คมชัดลึกออนไลน์. 2024-01-19.
- ↑ "ศักดิ์สยาม ไขก๊อกเก้าอี้เลขาฯภท.-สส.แล้ว ขยับ 'น้องเพลง ชนม์ทิดา' ขึ้นเป็น สส". ข่าวสด. 17 มกราคม 2024. สืบค้นเมื่อ 17 มกราคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๔, เล่ม ๑๓๙ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๒, ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๒, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๑๑๑ ฉบับพิเศษ หน้า ๒๑, ๒๕ มิถุนายน ๒๕๓๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๘ ข หน้า ๑๑, ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๔
ก่อนหน้า | ศักดิ์สยาม ชิดชอบ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
อาคม เติมพิทยาไพสิฐ | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (10 กรกฎาคม 2562 – 1 กันยายน พ.ศ. 2566 3 มีนาคม พ.ศ. 2566 (หยุดปฏิบัติหน้าที่)) |
สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2505
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากจังหวัดบุรีรัมย์
- บุคคลจากจังหวัดสุรินทร์
- สกุลชิดชอบ
- ข้าราชการพลเรือนชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดบุรีรัมย์
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ
- พรรคชาติไทย
- นักการเมืองพรรคไทยรักไทย
- พรรคภูมิใจไทย
- บุคคลจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
- บุคคลจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- บุคคลจากคณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.