แกรนด์ดัชเชสมารี-อาเดลาอีดแห่งลักเซมเบิร์ก
มารี-อาเดลาอีด | |||||
---|---|---|---|---|---|
แกรนด์ดัชเชสแห่งลักเซมเบิร์ก | |||||
ครองราชย์ | 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2455 – 14 มกราคม พ.ศ. 2462 | ||||
ก่อนหน้า | กีโยมที่ 4 | ||||
ถัดไป | ชาร์ล็อต | ||||
ผู้สำเร็จราชการ | แกรนด์ดัชเชสมารี อาน พระชนนี (2455) | ||||
นายกรัฐมนตรี | |||||
ประสูติ | 14 มิถุนายน พ.ศ. 2437 ปราสาทเบิร์ก Colmar-Berg ประเทศลักเซมเบิร์ก | ||||
สิ้นพระชนม์ | 24 มกราคม พ.ศ. 2467 (29 ปี) ปราสาทโฮเฮนบูร์ก เลงก์ไกรส์ รัฐบาวาเรีย ประเทศเยอรมนี | ||||
ฝังพระศพ | Notre-Dame Cathedral, Luxembourg | ||||
| |||||
ราชวงศ์ | นัสเซา-ไวล์บูร์ก | ||||
พระราชบิดา | กีโยมที่ 4 แห่งลักเซมเบิร์ก | ||||
พระราชมารดา | อิงฟังตามารีอา อานาแห่งโปรตุเกส | ||||
ศาสนา | โรมันคาทอลิก |
แกรนด์ดัชเชสมารี-อาเดลาอีดแห่งลักเซมเบิร์ก (ลักเซมเบิร์ก: Maria Adelheid Theresia Hilda Antonia Wilhelmina vu Lëtzebuerg, ฝรั่งเศส: Marie Adélaïde Thérèse Hilda Antonie Wilhelmine, พระนามเต็ม: มารี อเดเฮด เทเรซ ฮิลดา วิลเฮลมิเน ฟอน นัสเซา-ไวล์บวร์ก; 14 มิถุนายน พ.ศ. 2437 – 24 มกราคม พ.ศ. 2467) ทรงเป็นแกรนด์ดัสเชสผู้ครองลักเซมเบิร์กพระองค์แรก ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 2455 ถึง 2462 และเป็นเจ้าผู้ครองลักเซมเบิร์กสตรีพระองค์แรกนับแต่ดัชเชสมารีที่ 2 เตเรซา และทรงเป็นเจ้าผู้ครองลักเซมเบิร์กพระองค์แรกที่ประสูติในดินแดนนับแต่เคานต์จอห์นพระเนตรบอด (พ.ศ. 1839)
แกรนด์ดยุกกีโยมที่ 4 แห่งลักเซมเบิร์ก พระบิดา ทรงถือว่าพระนางเป็นทายาทใน พ.ศ. 2450 เพื่อป้องกันวิกฤตการสืบราชบัลลังก์เนื่องจากทรงไม่มีพระราชโอรส แกรนด์ดัชเชสมารี-อาเดลาอีดทรงครองรัฐเป็นเวลาไม่ถึง 7 ปีผ่านสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และด้วยทรงถูกมองว่าสนับสนุนการยึดครองของเยอรมนีจึงทำให้พระนางไม่เป็นที่นิยมทั้งในลักเซมเบิร์กและในประเทศเพื่อนบ้านฝรั่งเศสและเบลเยียม ใน พ.ศ. 2462 พระนางสละราชสมบัติแก่พระขนิษฐา เจ้าหญิงชาร์ล็อต ตามคำแนะนำของรัฐสภา
หลังจากสละราชบัลลังก์ พระนางทรงบวชเป็นนักพรตหญิงในประเทศอิตาลี ก่อนสึกเพราะทรงพระประชวร พระนางสิ้นพระชนม์ด้วยพระโรคไข้หวัดใหญ่ในประเทศเยอรมนีเมื่อ พ.ศ. 2467
ช่วงต้นพระชนม์ชีพ
เจ้าหญิงมารี-อาเดลาอีด ประสูติเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2437 ณ ปราสาทเบิร์ก เป็นพระราชธิดาพระองค์โตในแกรนด์ดยุกกีโยมที่ 4 แห่งลักเซมเบิร์กกับอิงฟังตามารีอา อานาแห่งโปรตุเกส พระอัยกาและพระอัยยิกาฝ่ายพระมารดาของเจ้าหญิงคือ พระเจ้ามีแกลแห่งโปรตุเกสกับอาเดิลไฮท์แห่งเลอเวินชไตน์-แวร์ทไฮม์-โรเซินแบร์ค
ด้วยพระราชบิดาของพระนางมีพระราชธิดาถึง 6 พระองค์แต่ไม่มีพระโอรส พระองค์จึงทรงประกาศให้เจ้าหญิงมารี-อาเดลาอีดเป็นทายาทโดยสันนิษฐานในวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2450 เพื่อทรงแก้ไขวิกฤตการสืบราชสัตติวงศ์ ดังนั้นมีพระราชบิดาสิ้นพระชนม์ในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2455 เจ้าหญิงทรงครองราชบัลลังก์สืบต่อขณะมีพระชนมายุ 17 พรรษา ทำให้ทรงเป็นแกรนด์ดัสเชสพระองค์แรกแห่งราชรัฐลักเซมเบิร์ก พระนางมารี แอนน์ พระราชมารดาทรงดำรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์จนถึงวันเฉลิมพระชนมพรรษา 18 พรรษาของแกรนด์ดัสเชสมารี-อาเดลาอีดในวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2455 เมื่อนายกรัฐมนตรีออกุสต์ ลาวาลถวายคำสัตย์ปฏิญญาณต่อพระนางเป็นพระมหากษัตริย์ชาวลักเซมเบิร์กพระองค์แรกที่ประสูติในดินแดนนับแต่เคานต์จอห์นพระเนตรบอด สุนทรพจน์ของลาวาลต่อรัฐสภาระหว่างพระราชพิธี คือ
เพื่อพิจารณาดู ท่านสุภาพบุรุษทั้งหลาย ในช่วงเวลาที่มีความสุขสำหรับอนาคตของประเทศ ข้อเท็จจริงที่ว่าแกรนด์ดัชเชสทรงเป็นประมุขพระองค์แรกของเราที่ประสูติในแผ่นดินอาณาจักรของเรา เป็นพระองค์แรกที่เจริญพระชันษาที่นี่ และผู้ซึ่ง ตั้งแต่ต้นของพระชนม์ชีพทรงหายพระทัยเอาอากาศของดินแดนพื้นเมืองของเราและทรงศึกษาความคิด แรงบันดาลใจและประเพณีของประชาชนที่พระองค์ทรงมีหน้าที่ปกครองนี้[1]
แกรนด์ดัชเชสมารี-อาเดลาอีดมีพระราชดำรัสในพระราชพิธีนี้ของพระนางเอง ดังนี้
เป็นความปรารถนาของข้าพเจ้าที่จะตัดสินตามข้อกำหนดความยุติธรรมและความเสมอภาคที่เป็นดลใจทุกการกระทำของข้าพเจ้า กฎหมายและประโยชน์ส่วนรวมจะชี้นำข้าพเจ้า การตัดสินอย่างยุติธรรมใช่เพียงความยุติธรรมที่เท่าเทียมสำหรับทุกคน แต่ความยุติธรรมคุ้มครองสำหรับคนยากจนและคนอ่อนแอด้วย ความไม่เสมอภาคทางเศรษฐกิจระหว่างบุคคลที่เพิ่มขึ้นเป็นความวิตกกังวลใหญ่ที่สุดในสมัยของเรา คงามสงบในสังคม ไม่ว่าจะเป็นการปรารถนาที่รุนแรงเพียงใด ยังเป็นอุดมคติยากจะไขว่ขว้าตราบจนวันนี้ การทำงานบนความปรองดองและความสมานฉันท์ไม่จำเป็นเลยหรือ[2]
ครองราชย์
แกรนด์ดัชเชสมารี-อาเดลาอีดทรงสนพระทัยในการเมืองอย่างมากและทรงมีบทบาทในรัฐบาลและชีวิตการเมืองของราชรัฐ พระนางทรงเป็นคาทอลิกเคร่ง โดยมีความศรัทธาทางศาสนาอย่างแรงกล้าและมุมมองทางการเมือง ในวันเสด็จขึ้นครองราชย์ วันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2455 แกรนด์ดัสเชสมารี-อาเดลาอีดมีพระปฐมบรมราชโองการว่า
...ข้าพเจ้าจะประพฤติตนให้ควรค่าแก่การไว้วางใจด้วยหลักคุณธรรมตามโบราณราชประเพณีของเราทั้งปวง ข้าพเจ้าจักยืนหยัด! (Je maintiendrai)[3]
วันเดียวกัน พระนางทรงปฏิเสธลงพระนามาภิไธยในกฎหมายลดบทบาทของพระคาทอลิกในระบบการศึกษา[4]
สงครามโลกครั้งที่หนึ่งและวิกฤตการเมือง
รัฐบาลพอล ไอส์เซน
แกรนด์ดัสเชสมารี-อาเดลาอีดไม่ทรงได้รับการเรียนรู้ด้านการเมืองการปกครองจากพระราชบิดา ในความเป็นจริงตามพระปฐมบรมราชโองการของพระนางซึ่งทรงกล่าวโดยนัย โดยในขณะนั้นพระนางจำต้องพึ่งพาคำแนะนำเกี่ยวกับประสบการณ์การเมืองจากรัฐบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งคำปรึกษาจากนายกรัฐมนตรี พอล ไอส์เชน ผู้มีอิทธิพลทางการเมืองสูงในรัชกาลพระอัยกาและพระราชบิดา และนายกรัฐมนตรีไอส์เซนก็มีอิทธิพลมากขึ้นในช่วงที่แกรนด์ดยุควิลเล็มที่ 4 พระราชบิดาทรงพระประชวร และช่วงที่แกรนด์ดัสเชสมารี แอนน์ พระราชมารดา สำเร็จราชการแผ่นดิน แนวคิดไอส์เซนมักถูกต่อต้านโดยแกรนด์ดัสเชสมารี-อาเดลาอีด
มีการปะทะกันเล็กน้อยระหว่างทั้งสองฝ่ายที่มีเหนือฝ่ายการเมืองหัวรุนแรงในตำแหน่งของรัฐบาล กลุ่มคอมมิวนิสต์, สังคมนิยมและกลุ่มลัทธิต่อต้านศาสนจักรได้รับแรงสนับสนุนในลักเซมเบิร์ก ผู้สนับสนุนลัทธิเหล่านี้ได้ใช้ถ้อยคำชักจูงโน้มน้าวเกี่ยวกับประชาธิปไตยเพื่อสร้างกระแสให้สถาบันพระมหากษัตริย์คาทอลิกเป็นศัตรูกับประชาชน โดยตรงกันข้ามกับแกรนด์ดัสเชสมารี-อาเดลาอีดที่ทรงศรัทธาในศาสนาสูง ซึ่งทรงทำการติดต่อและอุทิศพระองค์กับพระคณะคาร์เมไลท์ผู้ซึ่งยังคงมีอิทธิพลในการธำรงรักษาความเชื่อความศรัทธาท่ามกลางพสกนิกรของพระนาง พระนางทรงฟื้นฟูผู้จาริกแสวงบุญและพิธีเข้ารีตเป็นคริสต์ศาสนิกชนที่ซึ่งเสื่อมไปในรัชกาลพระราชบิดาของพระองค์ซื่งเป็นโปรแตสแตนต์ และทรงสามารถสร้างความพอใจแก่พสกนิกรได้ ทรงเคยตรัสและแย้งว่า
ความเชื่อความศรัทธาของพวกเขาต้องไม่น้อยกว่า แต่จะยิ่งใหญ่เมื่อข้าพเจ้าสิ้นชีพ และคุณรู้ประวัติศาสตร์ของประชาชนของข้าพเจ้า การสวดของพวกเขามักจะได้ขนมปังของตนเพียงผู้เดียว จะให้ฉันมอบหินแห่งความไม่ศรัทธาแก่พวกเขาหรือ[5]
การอุบัติอย่างรุนแรงและทันทีทีนใดของสงครามโลกครั้งที่หนึ่งใน พ.ศ. 2457 จักรวรรดิเยอรมันทำลายความเป็นกลางของลักเซมเบิร์กและบุกครองลักเซมเบิร์กในวันที่ 2 สิงหาคม แม้แกรนด์ดัสเชสมารี-อาเดลาอีดและรัฐบาลประท้วงรัฐบาลเยอรมนีอย่างเป็นทางการ แต่ก็ไม่อาจขับไล่กองทัพออกจากประเทศได้ พระนางจึงตัดสินพระทัยไม่ต่อต้านผู้รุกราน แต่ทรงพยายามดำรงสถานะความเป็นกลางของลักเซมเบิร์กตลอดสงคราม
ความแตกแยกระหว่างแกรนด์ดัสเชสกับนายกรัฐมนตรีไอส์เซนได้ตึงเครียดขึ้นเมื่อมีการเสนอลดบทบาทของศาสนาในระบบการศึกษา ซึ่งแกรนด์ดัสเชสทรงคัดค้านความปรารถนาของนายกรัฐมนตรี ทรงปฏิเสธที่จะลงพระปรมาภิไธยในพระราชบัญญัติ[6] เชื่อว่าพระนางตรัสถึงนายกรัฐมนตรีว่า
ข้าพเจ้าจะไม่ยอมให้มรดกอันล้ำค่ายิ่ง [โรมันคาทอลิก] นี้ถูกขโมยไปขณะที่ข้าพเจ้ายังรักษากุญแจนี้อยู่ [7]
ซึ่งแกรนด์ดัสเชสทรงปฏิเสธที่จะเคลื่อนไหวและมีพระราชปฏิสันถารให้นายกรัฐมนตรีไอส์เซนลาออกจากตำแหน่งถ้าเขาไม่เห็นด้วยตามพระราชเสาวนีย์ เรื่องนี้เป็นแรงกดดันให้นายกรัฐมนตรไอส์เซนเตรียมการลาออกจากตำแหน่งด้วยความเสียใจ แต่ก็ล้มเลิก[8] ก่อนที่เขาเกิดหัวใจวายซึ่งเป็นเหตุให้เขาถึงแก่อสัญกรรมในวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2458 การอสัญกรรมของเขาทำให้ระบบการเมืองของลักเซมเบิร์กสั่นคลอน[9] เมื่อสงครามได้เริ่มต้นขึ้นขณะนั้นไอส์เซนมีอายุ 73 ปี ดำรงเป็นนายกรัฐมนตรีแห่งลักเซมเบิร์กว่า 27 ปี ทำให้เป็นรัฐบาลหนึ่งเดียวที่ชาวลักเซมเบิร์กรู้จักกันมาก โดยตลอดปีแรกของการยึดครองโดยทหารเยอรมัน ทำให้เขากลายเป็นศูนย์รวมของชาวลักเซมเบิร์ก และเขาก็ได้รับความสำคัญจากการที่เป็นผู้รักษาสถานะของแกรนด์ดัสเชสมารี-อาเดลาอีด[10] ในช่วงที่เกิดวิกฤต ไอส์เซนได้รับความไว้วางใจจากรัฐสภาลักเซมเบิร์กและเขาจัดการโดยยึดรัฐบาลหลักร่วมกับฝ่ายการเมืองใหญ่ ๆ โดยปรากฏความเป็นเอกภาพหนึ่งเดียวไว้
รัฐบาลมัทธีอัส มองเกนาสท์
หลังไอส์เซนถึงแก่อสัญกรรม แกรนด์ดัชเชสมารี-อาเดลาอีดมีพระบรมราชโองการให้มัทธีอัส มองเกนาสท์ ซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังตั้งแต่ พ.ศ. 2425 มาเป็นนายกรัฐมนตรีจัดตั้งรัฐบาลเสียงข้างน้อย สถานะพิเศษของมองเกนาสท์คือ "รัฐบาลเฉพาะกาล" นายกรัฐมนตรีเป็นตำแหน่งอย่างเป็นทางการของเขา แต่เขาไม่ได้มีสถานะเป็นหัวหน้ารัฐบาล ไม่เหมือนอย่างที่นายกรัฐมนตรีคนอื่น ๆ ตั้งแต่ พ.ศ. 2400 เป็น แต่อย่างน้อยเขาก็ได้ดำรงตำแหน่ง "ประธานคณะรัฐมนตรี"[11]
คณะบริหารของมองเกนาสท์นั้นไม่ยืนยาวและเป็นวัตถุประสงค์หลักของแกรนด์ดัชเชสมารี-อาเดลาอีดเมื่อทรงแต่งตั้งมองเตนาสท์ที่มีประสบการณ์เพื่อความมั่นคง ทว่าไม่มีใครคาดว่ารัฐบาลจะสิ้นสุดลงเร็วเช่นนี้ ในวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2458 มองเกนาสท์ได้รับการเสนอชื่อให้เข้าดำรงตำแหน่งอธิการบดีวิทยาลัยครูลักเซมเบิร์ก การสรรหาผู้ดำรงตำแหน่งครั้งนี้ไม่ได้รับการอนุมัติจากราชรัฐและแกรนด์ดัชเชสมารี-อาเดลาอีดทรงปฏิเสธเขา[12] มองเกนาสท์ยังคงยืนกรานว่าการศึกษาเป็นงานอดิเรกของเขาและเขาคิดสรุปเอาเองว่าแกรนด์ดัสเชสจะทรงตอบรับข้อเสนอของรัฐมนตรีในฐานะที่เขามีประสบการณ์ด้านนี้ เขาคิดผิด แกรนด์ดัสเชสมีพระทัยมุ่งมั่นและไม่ทรงพอพระทัยนายกรัฐมนตรีเสียงข้างน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งบางสิ่งล้ำสมัยเกินไปกว่าพระราชประสงค์ของพระนาง ในวันถัดมามองเกนาสท์ถวายบังคมลาออกจากตำแหน่ง หลังจากเป็นนายกรัฐมนตรีได้เพียง 25 วัน
รัฐบาลฮูเบิร์ต ลูทช์
หลังทรงต่อสู้กับรัฐบาลมัทธีอัส มองเกนาสท์ แกรนด์ดัชเชสมารี-อาเดลาอีดทรงตัดสินพระทัยมีพระบรมราชโองการแต่งตั้งคณะรัฐบาลอนุรักษนิยมทั้งหมดซึ่งมีฮูเบิร์ต ลูทช์เป็นผู้นำ รัฐสภาถูกต่อต้านอย่างแน่นอน พรรคฝ่ายขวาได้ที่นั่งในสภาเพียง 20 ที่นั่งจากทั้งหมด 52 ที่นั่ง แต่อีกฝ่ายได้คะแนนเสียงที่เหนือกว่า[13] แกรนด์ดัชเชสมารี-อาเดลาอีดทรงยุติเหตุการณ์อันชะงักงันครั้งนี้โดยทรงใช้พระราชอำนาจยุบสภาผู้แทนราษฎรและทรงมอบอำนาจแก่ฝ่ายอนุรักษนิยม ครั้งนี้เป็นการกระทำที่รุนแรงแก่ฝ่ายซ้าย ซึ่งถือว่าครองเสียงข้างมากในรัฐสภาแต่เพียงผู้เดียวในการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญเพื่อสร้างความไว้วางใจแก่รัฐบาล[14] เหตุการณ์ครั้งนี้ได้ถูกขนานนามว่า "รัฐประหารอำนาจของฝ่ายซ้ายโดยแกรนด์ดัสเชส"[15] อย่างไรก็ตาม วันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2458 ลักเซมเบิร์กได้มีการสำรวจความคิดเห็น แม้ว่าที่นั่งของพรรคฝ่ายขวาจะเพิ่มขึ้นเป็น 25 ที่นั่ง แต่ยังแพ้คะแนนนิยมอีกฝ่าย ในวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2459 รัฐสภามีการอภิปรายไม่ไว้วางใจและนายกรัฐมนตรีลูทช์ถวายบังคมลาออกจากตำแหน่ง
รัฐบาลสหภาพแห่งชาติ
หลังความล้มเหลวในการบริหารราชการแผ่นดินของคณะรัฐบาลอนุรักษนิยมหลายคณะ แกรนด์ดัสเชสมารี-อาเดลาอีดทรงเปลี่ยนพระทัยโปรดเกล้าฯ ให้นักการเมืองแนวคิดเสรีนิยม วิกเตอร์ ทอร์น จัดตั้งรัฐบาลและเป็นนายกรัฐมนตรีในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ผลของการมีรัฐบาลผสมทั้งหมดซึ่งรวมทุกฝ่ายในการเมืองลักเซมเบิร์ก นอกเหนือจากทอร์นซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีแล้ว ยังมีฝ่ายอนุรักษนิยมอย่างเลออน คลัฟแมนน์และอันโตน เลอฟอร์ท, ฝ่ายสังคมนิยมคือ มิเชล เวลเตอร์ และฝ่ายเสรีนิยมคือ เลออน มอติแยร์[16]
แรงกดดันสำคัญของรัฐบาลลักเซมเบิร์กคือ เสบียงอาหาร[17] สงครามทำให้นำเข้าอาหารไม่ได้และความต้องการของชาวเยอรมันผู้ยึดครองย่อมมาก่อนชาวลักเซมเบิร์ก[18] ด้วยระบบการจัดหาอาหารที่ล้มเหลว มิเชล เวลเตอร์ รัฐมนตรีการเกษตรและการค้า ได้ประกาศห้ามส่งออกอาหารออกนอกลักเซมเบิร์ก[19] นอกจากนี้รัฐบาลยังมีนโยบายจำกัดสิ่งของบางสิ่งและการควบคุมราคาเพื่อแก้ไขปัญหาความต้องการที่สูงขึ้นและทำให้ราคาอาหารไม่แพงมากสำหรับชาวลักเซมเบิร์กที่ยากจน อย่างไรก็ตาม ผลลัพธ์ยังไม่เป็นไปตามต้องการ ชาวลักเซมเบิร์กยังเปลี่ยนไปขายในตลาดมืดมากขึ้น[20] และสร้างความตกใจแก่รัฐบาลลักเซมเบิร์ก กองทัพเยอรมันให้ความช่วยเหลือเล็กน้อยเท่านั้น นอกจากนี้ รัฐบาลกล่าวหากองทัพเยอรมันว่ามีส่วนช่วยการผลิตของตลาดมืดโดยปฏิเสธข้อบังคับกฎเกณฑ์และกองทัพเยอรมันลักลอบนำเข้าสินค้าฃ[21]
ในช่วงความยุ่งยากของประเทศนี้ แกรนด์ดัชเชสมารี-อาเดลาอีดทรงอุทิศพระองค์ในพระราชกรณียกิจด้านกาชาดในลักเซมเบิร์กและทรงดำเนินพระราชกรณียกิจด้านการพยาบาลแก่ทหารที่ออกรบในแนวหน้า แต่ทางด้านการเมือง ทรงมีความสนพระทัยตลอดสงครามอย่างไม่ลดน้อยลง
ชาวลักเซมเบิร์กจำนวนมากโดยเฉพาะคนงานเหมือง แสดงออกถึงความชิงชังรัฐบาลที่ไม่ผ่านการเลือกโดยกล่องลงคะแนนเพียงอย่างเดียว การแสดงอารมณ์ที่เป็นไปในทางการดื้อแพ่งหรือแย่กว่านั้น นายพล ฟอน เทสมาร์ได้คุกคามแต่ละคนที่มีทีท่าก่อความรุนแรง (ซึ่งนัดหยุดงานประท้วง) ด้วยโทษประหารสถานเดียว[22] อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2460 คนงานพยายามใช้อาวุธมากที่สุดโดยฝ่าฝืนคำขาดของนายพลฟอน เทสมาร์
นายพลฟอน เทสมาร์ได้ปราบปรามอย่างรุนแรง แต่เขาไม่ต้องการประหารชีวิตดังที่เขาขู่ไว้ เพียงเวลา 9 วัน การชุมนุมประท้วงถูกปราบปรามหมดสิ้นและแกนนำผู้ชุมนุมถูกจับกุม[23][23] การที่เยอรมนีปฏิเสธเคารพรัฐบาลลักเซมเบิร์กอย่างต่อเนื่องเป็นการทำลายเกียรติที่ซึ่งผู้ชุมนุมถูกปราบปรามโดยกองทัพเยอรมันแทนที่จะเป็นกองทหารลักเซมเบิร์ก (Gendarmerie) ซึ่งเป็นเรื่องที่มากเกินกำลังสำหรับนายกรัฐมนตรีทอร์น ในวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2460 รัฐบาลทอร์นได้กราบบังคมทูลลาออกต่อแกรนด์ดัชเชสมารี-อาเดลาอีด[16]
รัฐบาลเลออน คลัฟแมนน์
แม้ว่าประสบการณ์การจัดตั้งรัฐบาลร่วมจะล้มเหลวและจำเป็นต้องสร้างเอกภาพทางการเมือง โดยรัฐบาลสหภาพแห่งชาติได้ถูกยุบ เลออน คลัฟแมนน์ได้สร้างพันธมิตรระหว่างพรรคของเขากับพรรคสันนิบาตเสรีนิยมของเลออน มอติแยร์ โดยหาทางให้ชีวิตทางด้านการเมืองยืนยาว[24] เป้าหมายหลักคือการแก้ไขปัญหาที่มีมาอย่างยาวนานของฝ่ายซ้ายโดยการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2460 รัฐสภาเปิดการอภิปรายครั้งใหญ่เพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ ท้ายที่สุด มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญห้ามรัฐบาลทำสนธิสัญญาลับ เพิ่มรายได้ของผู้แทน (จนถึงเดี๋ยวนี้เป็น 5 ฟังก์ต่อวัน)[25] การให้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั่วไป และการเปลี่ยนคะแนนเสียงข้างมากปรกติมาเป็นการเลือกตั้งระบบสัดส่วน[24]
ขณะที่กฎหมายข้างต้นทั้งหมดได้รับความนิยมในวงกว้าง ข้ามทางแยกทางการเมืองมากที่สุดเหมือนไม่จริงของการเสนอแก้ไขกฎหมายมาตรา 32 มาตราดังกล่าวไม่มีการแก้ไขช่วงปรับปรุงใหม่ของ พ.ศ. 2411 และข้อความในมาตรายังคงไม่เปลี่ยนแปลงนับแต่รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2391 ที่ระบุไว้ชัดเจนว่า อำนาจอธิปไตยทั้งปวงเป็นของแกรนด์ดัสเชส[25] สำหรับบางครั้งโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่มีความไม่พอใจในความสัมพันธ์ใกล้ชิดระหว่างแกรนด์ดัสเชสมารี-อาเดลาอีดกับเชื้อพระวงศ์เยอรมัน อำนาจอธิปไตยของชาติที่ขึ้นอยู่กับแกรนด์ดัสเชสอันเป็นสิ่งที่ไม่อาจยอมรับได้ รัฐสภาได้ลงคะแนนเสียงทบทวนประมวลกฎหมายมาตรา 23 แต่คลัฟแมนน์กลับปฏิเสธไม่กระทำตาม ซึ่งเห็นว่าการเปลี่ยนให้พิจารณาทบทวนที่มาของอำนาจอธิปไตยแห่งชาติแฝงด้วยแนวคิดสาธารณรัฐนิยม[24]
ในฤดูร้อน พ.ศ. 2461 มีการแสดงถึงการล่มสลายของอนาคตของรัฐบาลอย่างน่าทึ่ง ในวันที่ 8 กรกฎาคม เขตคลอเซนกลางกรุงลักเซมเบิร์กได้ถูกกองทัพอากาศอังกฤษทิ้งระเบิด ทำให้พลเรือนเสียชีวิต 10 คน[26] แม้ว่าเหตุการณ์นี้จะไม่ได้ทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรเป็นที่รักใคร่ในสายตาชาวลักเซมเบิร์ก แต่แกรนด์ดัสเชสมารี-อาเดลาอีดทรงใกล้ชิดกับชาวเยอรมันด้วยความเต็มพระทัย จึงทำให้ไม่ทรงเป็นที่นิยมชมชอบในหมู่พสกนิกรของพระนาง ในวันที่ 16 สิงหาคม นายกรัฐมนตรีเยอรมนี จอร์จ ฟอน เฮิร์ทลิง เดินทางเยือนลักเซมเบิร์ก แม้เฮิร์ทลิงจะเดินทางมาเพื่อเข้าเฝ้าแกรนด์ดัสเชส แต่คลัฟแมนน์ได้เข้าพบเขาด้วย ในสายตาประชาชนลักเซมเบิร์ก ความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศนั้นดูจริงใจอย่างกำกวม และเหตุการณ์ทั้งหมดนี้ทำให้ความน่าเชื่อถือในตัวนายกรัฐมนตรีคลัฟแมนน์หมดลง[24] ทั้งรวมทั้งข่าวในวันที่ 26 สิงหาคม ซึ่งเป็นข่าวหมั้นระหว่างเจ้าหญิงแอนโทเนียแห่งลักเซมเบิร์ก พระขนิษฐาในแกรนด์ดัสเชส กับเจ้าชายรุพเพิร์ต มกุฎราชกุมารแห่งบาวาเรีย ผู้ทรงเป็นจอมพลแห่งกองทัพเยอรมัน[27] แรงกดดันได้ส่งผลต่อนายกรัฐมนตรีคลัฟแมนน์ ด้วยพรรคของเขายังมั่นคงแต่ชื่อเสียงส่วนตัวของเขากลับหมดสิ้น เขาถูกทิ้งอย่างไม่มีทางเลือก นำมาสู่การกราบบังคมทูลลาออกจากตำแหน่งต่อแกรนด์ดัสเชสในวันที่ 28 กันยายน โดยนายกรัฐมนตรีคนต่อมาคือ อีมิล รอยเตอร์ นักการเมืองฝ่ายอนุรักษนิยมอีกคนหนึ่ง[28]
สิ้นสุดสงครามและการสละราชบัลลังก์
การสงบศึก
ในฤดูใบไม้ผลิ พ.ศ. 2461 สถานะของเยอรมนีในสงครามกลับต้านทานไม่ได้ การรุกฤดูใบไม้ผลิครั้งใหญ่ได้เป็นหายนะที่ไม่ลดน้อยลงไป ในขณะที่การโต้กลับของฝ่ายไตรภาคีพันธมิตร การรุกร้อยวันสามารถผลักดันให้ทหารเยอรมันกลับสู่แนวชายแดนของตนเอง ในวันที่ 6 พฤศจิกายน นายพลฟอน เทสมาร์ได้ประกาศถอนกองทัพทั้งหมดออกจากลักเซมเบิร์ก[29] 5 วันหลังจากคำประกาศของฟอน เทสมาร์ เยอรมนีได้ลงนามในสนธิสัญญาสงบศึกที่จะนำมาสู่การสิ้นสุดสงครามที่เป็นระยะเวลา 4 ปี ข้อตกลงของการสงบศึกรวมถึงการถอนทหารเยอรมันออกจากลักเซมเบิร์ก กับประเทศอื่นที่ถูกยึดครอง[30]
ฝ่ายพันธมิตรเห็นด้วยกับการที่เยอรมนีถอนทหารออกจากลักเซมเบิร์กซึ่งจะได้รับการสังเกตการณ์จากสหรัฐอเมริกา และสหรัฐอเมริกาได้รับเกียรติในการปลดปล่อยประเทศที่ถูกยึดครอง ในวันที่ 18 พฤศจิกายน นายพลจอห์น เจ. เพรสชิงได้ประกาศต่อประชาชนในลักเซมเบิร์กในการเริ่มต้นก่อตั้งกองทัพที่สามของสหรัฐอเมริกาที่จะเคลื่อนผ่านลักเซมเบิร์กโดยยึดครองไรน์แลนด์ของเยอรมนี แต่อเมริกาจะมาในฐานะพันธมิตรและผู้ปลดปล่อยว่า:
หลังจากสี่ปีแห่งความรุนแรงในดินแดน ราชรัฐลักเซมเบิร์กโชคดีที่ได้รับการปลดปล่อย...ทหารอเมริกันเข้ามาในราชรัฐด้วยฐานะของมิตรและจะประพฤติปฏิบัติตามกฎหมายระหว่างประเทศอย่างเข้มงวด การประพฤติตัวครั้งนี้ของพวกเขาที่ซึ่งจะไม่ขยายไปมากกว่านี้เมื่อเป็นสิ่งจำเป็นที่แท้จริง จะไม่เป็นภาระสำหรับคุณ การดำเนินงานของรัฐบาลและสถาบันจะไม่ถูกขัดขวาง ชีวิตและการดำรงชีวิตของคุณจะไม่ถูกรบกวน ตัวคุณและทรัพย์สินจักได้รับการเคารพ[31]
การก่อกบฏ วิกฤตสถาบันพระมหากษัตริย์และการสละราชบัลลังก์
แม้ว่าฝ่ายสัมพันธมิตรจะพึงพอใจกับการแก้ไขปัญหาครั้งนี้ ในขณะนั้นรัฐบาลลักเซมเบิร์กต้องประสบปัญหาการก่อความไม่สงบของกลุ่มคอมมิวนิสต์ หลังจากการถอนทัพของเยอรมนี นักปฏิวัติได้ทำการจัดตั้งอิทธิพลของสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซียในสภาคณะกรรมกรเหนือลักเซมเบิร์ก ในวันที่ 10 พฤศจิกายน หนึ่งวันหลังจากคาร์ล ไลป์เน็คท์และโรซา ลุกเซมบวร์กได้ประกาศรัฐสังคมนิยมในเยอรมนี กลุ่มคอมมิวนิสต์ในลักเซมเบิร์ก (เมือง)ประกาศก่อตั้งสาธารณรัฐซึ่งต่อจากนั้นเพียงไม่กี่ชั่วโมง[32] การก่อกบฏอื่นๆได้เกิดขึ้นที่อิสช์-ซูร์-อัลแซตในชั่วโมงแรกๆของวันที่ 11 พฤศจิกายน แต่ก็ล้มเหลว[33] นักสังคมนิยมได้ทำการโจมตีพฤติกรรมของแกรนด์ดัชเชสมารี-อาเดลาอีด ผู้ซึ่งทรงเข้าแทรกแซงและขัดขวางอดีตนายกรัฐมนตรีไอส์เซนอยู่เสมอ ในวันที่ 12 พฤศจิกายน นักการเมืองสายสังคมนิยมและเสรีนิยมได้พบสาเหตุของปัญหาเก่าที่เรื้อรังมานาน พวกเขาได้กราบบังคมทูลขอให้แกรนด์ดัสเชสทรงสละราชสมบัติ[34] ญัตติรัฐสภาลักเซมเบิร์กในเรื่องการยกเลิกราชาธิปไตยในลักเซมเบิร์กได้พ่ายแพ้ด้วยคะแนนเสียง 21 ต่อ 19 เสียง(งดออกเสียง 3 เสียง) แต่ทางรัฐสภาได้ทำการให้รัฐบาลจัดทำการออกเสียงประชามติในประเด็นนี้[32]
ถึงแม้ว่ากลุ่มฝ่ายซ้ายที่พยายามทำการก่อตั้งสาธารณรัฐลักเซมเบิร์กจะล้มเหลว สาเหตุหลักมาจากความไม่พอใจในการจัดการปัญหา และตราบเท่าที่พระนางมารี-อาเดลาอีดยังทรงดำรงเป็นแกรนด์ดัสเชส ฝ่ายเสรีนิยมจึงเป็นพัมธมิตรกับฝ่ายสังคมนิยมในการต่อต้านพระนาง รัฐบาลฝรั่งเศสปฏิเสธที่จะทำงานร่วมกับรัฐบาลที่นำโดยผู้ร่วมมือ[33] รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศฝรั่งเศส สเตเฟน ปิชองได้เรียกผู้ร่วมมือในฐานะ"ผู้ทำการประนีประนอมกับศัตรูของฝรั่งเศสขั้นร้ายแรง"[32] จากการที่พระนางทรงเป็นผู้"นิยมเยอรมัน" รัฐบาลฝรั่งเศสโดยปิชอง รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศได้ประกาศในเดือนธันวาคม ปีพ.ศ. 2461 ถึงตัวแทนจากคณะรัฐบาลของแกรนด์ดัสเชสมารี-อาเดลาอีดว่า
รัฐบาลฝรั่งเศสเราไม่ประสงค์พิจารณาที่จะเจรจาต่อรองกับรัฐบาลขององค์แกรนด์ดัสเชสแห่งลักเซมเบิร์ก ผู้ซึ่งเราได้พิจารณาแล้วว่าแกรนด์ดัสเชสทรงเป็นผู้ร่วมมือในฐานะ"ผู้ทำการประนีประนอมกับศัตรูของฝรั่งเศสขั้นร้ายแรง"[35]
แรงกดดันจำนวนมากเกิดจากสิ่งเหล่านี้ ในวันที่ 9 มกราคม กองร้อยทหารหนึ่งของกองทัพลักเซมเบิร์กได้ก่อกบฏขึ้น โดยได้ประกาศว่าเป็นกองทัพแห่งสาธารณรัฐใหม่[33] นำโดยอีมิล แซร์เวียส (บุตรชายของเอ็มมานูเอล แซร์เวียส อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ 5 ของลักเซมเบิร์กในสมัยสมเด็จพระเจ้าวิลเลมที่ 3 แห่งเนเธอร์แลนด์) ในฐานะของ"ประธานคณะกรรมการความปลอดภัยสาธารณะ"[36] อย่างไรก็ตามโดยในเดือนมกราคม ภาวะสุญญากาศทางการเมืองได้เกิดขึ้นโดยการออกไปของเยอรมันและแทนที่ด้วยทหารอเมริกันและฝรั่งเศส ประธานรัฐสภาลักเซมเบิร์ก ฟรองซัวส์ อัล์ทวีส์ได้ขอให้ทหารฝรั่งเศสเข้ามาแทรกแซง[37] ความกระตือรือร้นพยายามที่จะตัดขาดการก่อปฏิวัติโดยผู้นิยมเบลเยียม กองทัพฝรั่งเศสได้เข้าปราบปรามกลุ่มที่คาดว่าจะเป็นนักปฏิวัติ
ถึงแม้ว่าแกรนด์ดัสเชสจะไม่ทรงกระทำสิ่งต่างๆที่ไม่เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ อย่างไรก็ตาม กระแสความไม่จงรักภักดีได้สร้างการต่อต้านมากเกินไปสำหรับแกรนด์ดัสเชสมารี-อาเดลาอีด เสียงของรัฐสภาได้เรียกร้องให้พระนางสละราชบัลลังก์ขณะมีพระชนมายุ 25 พรรษา ในวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2462 แก่พระขนิษฐา เจ้าหญิงชาร์ล็อต[34] เบลเยียมซึ่งต้องการที่จะผนวกลักเซมเบิร์กในฐานะรัฐร่วมประมุขต้องยอมรับแกรนด์ดัสเชสชาร์ล็อตในฐานะพระประมุขของลักเซมเบิร์กอย่างเลี่ยงไม่ได้ในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พระราชวงศ์ยังทรงดำรงอย่างแทบจะไม่มีความหมายจนกระทั่งเดือนกันยายน พ.ศ. 2462 เมื่อการลงคะแนนเสียงประชามติซึ่งกำหนดอนาคตของราชรัฐผลคือคะแนนเสียงจากประชาชนถึง 77.8% ต้องการให้มีสถาบันพระมหากษัตริย์ภายใต้ราชวงศ์นัสเซา-ไวล์บูร์กต่อไป[38]
ตารางผลการลงประชามติในด้านประมุขแห่งชาติปีพ.ศ. 2462
เลือก | คะแนนเสียง | % |
---|---|---|
แกรนด์ดัชเชสชาร์ล็อตแห่งลักเซมเบิร์ก | 66,811 | 77.8 |
สาธารณรัฐ | 16,885 | 19.7 |
ยังคงพระราชวงศ์เช่นเดิม แต่ถอดถอนแกรนด์ดัชเชสชาร์ล็อต | 1,286 | 1.5 |
ยังคงสถาบันพระมหากษัตริย์เช่นเดิม แต่แทนที่ด้วยราชวงศ์อื่น | 889 | 1.0 |
บัตรเสีย | 5,113 | – |
รวมทั้งสิ้น | 90,984 | 100 |
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง/จำนวนผู้มาใช้สิทธิ | 126,193 | 72.1 |
แหล่งที่มา: Nohlen & Stöver |
หลังสละราชบัลลังก์และสิ้นพระชนม์
หลังจากแกรนด์ดัชเชสมารี-อาเดลาอีดสละราชบัลลังก์ พระนางได้เสด็จลี้ภัยออกจากประเทศโดยเสด็จประพาสทั่วยุโรป พระนางทรงเข้าคณะคาร์เมไลท์ในโมเดนา ประเทศอิตาลีในปีพ.ศ. 2463 ต่อจากนั้นทรงเข้าคณะภคินีน้อยแห่งผู้ยากไร้ในโรม โดยทรงใช้พระสมัญญานามว่า "ซิสเตอร์มารีแห่งผู้ยากไร้" ด้วยสภาพพระวรกายที่ทรุดลงทำให้พระนางไม่ทรงสามารถปฏิบัติศาสนกิจในฐานะนักพรตหญิงได้และในที่สุดทรงต้องออกจากคณะ จากนั้นทรงย้ายไปประทับที่ปราสาทโฮเฮนเบิร์กในรัฐบาวาเรีย ที่ซึ่งทรงพระประชวรและสิ้นพระชนม์ในวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2467 สิริพระชนมายุ 29 พรรษา ในวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2490 พระศพของพระนางได้ถูกนำมาฝังในสุสานราชรัฐแห่งมหาวิหารน็อทร์-ดาม ลักเซมเบิร์ก[39]
พระอิศริยยศ
- 14 มิถุนายน พ.ศ. 2437 - 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2450 : เจ้าหญิงมารี-อาเดลาอีดแห่งนัสเซา-ไวล์บวร์ก[40]
- 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 - 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2455 : แกรนด์ดัสเชสรัชทายาทแห่งลักเซมเบิร์ก, เจ้าหญิงแห่งนัสเซา-ไวล์บวร์ก[40]
- 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2455 - 14 มกราคม พ.ศ. 2462 : แกรนด์ดัสเชสแห่งลักเซมเบิร์ก
- 14 มกราคม พ.ศ. 2462 - 24 มกราคม พ.ศ. 2467 : แกรนด์ดัชเชสมารี-อาเดลาอีดแห่งลักเซมเบิร์ก, เจ้าหญิงแห่งนัสเซา-ไวล์บวร์ก
- ในฐานะของนักพรตหญิงนิกายโรมันคาทอลิก : ซิสเตอร์มารีแห่งผู้ยากไร้ (Sister Marie of the Poor)
พระราชตระกูล
เชิงอรรถ
- ↑ http://www.monarchie.lu/fr/histoire/souverains/marie-adelaide/index.html
- ↑ http://www.monarchie.lu/fr/histoire/souverains/marie-adelaide/index.html
- ↑ Jean Schoos, "Vor 50 Jahren, Dokumentation zur Regierung und Abdankung I.K.H. der Grossherzogin Marie-Adelheid," in <Lumemburger Marienkaldender>, no. 88 (1969), p. 78
- ↑ Péporté, Pit (2010). Inventing Luxembourg: representations of the past, space and language from the nineteenth to the twenty-first century. BRILL. p. 90. ISBN 90-04-18176-8.
- ↑ Ibid
- ↑ Christian Calmes, "Marie-Adelaide (1894-1924), Grande-Duchesse de Luxembourg de 1012 a 1919" in <De l'Etat a la Nation 1839-1989> (Luxembourg: 1989), p. 93.
- ↑ O'Shaughnessy, Edith (1932). Marie Adelaide – Grand Duchess of Luxemburg, Duchess of Nassau. London: Jonathan Cape. pp. 134–135
- ↑ Calmes, Christian (1989). The Making of a Nation From 1815 to the Present Day. Luxembourg City: Saint-Paul. p. 93
- ↑ Operational Intelligence Report. 24 September 1911. Retrieved on 23 July 2006. p.64 (ฝรั่งเศส)
- ↑ O'Shaughnessy (1932), p. 65.
- ↑ Thewes (2003), p. 65.
- ↑ Thewes (2003), p. 65.
- ↑ Thewes (2003), p. 66.
- ↑ Thewes (2003), p. 66.
- ↑ Kreins (2003), p. 88.
- ↑ 16.0 16.1 Thewes (2003), p. 69.
- ↑ Thewes (2003), p. 68.
- ↑ Letter from Thorn to Buch (in German), 28 August 1916
- ↑ Letter from Tessmar to assorted commanders (in German), 8 May 1916
- ↑ Thewes (2003), p. 68.
- ↑ Letter from Thorn to Buch (in German), 28 August 1916
- ↑ Proclamation by Tessmar to steel workers at Differdange (in German), 10 May 1917
- ↑ 23.0 23.1 Letter from Kauffmann to Zimmerman (in German), 3 August 1917
- ↑ 24.0 24.1 24.2 24.3 Thewes (2003), p. 72.
- ↑ 25.0 25.1 /(เยอรมัน) "Mémorial A, 1868, No. 23" (PDF). Service central de législation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2006-09-27. สืบค้นเมื่อ 23 July 2006. (ฝรั่งเศส)
- ↑ Faber (1932), p. 155
- ↑ Thewes (2003), p. 74.
- ↑ Thewes (2003), p. 76.
- ↑ Letter from Tessmar to Reuter (in German), 6 November 1918.
- ↑ La convention d'armistice เก็บถาวร 2012-12-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Article A(II). 11 November 1918. Retrieved on 20 February 2012. (ฝรั่งเศส)
- ↑ Proclamation by Pershing to the people of Luxembourg (in French), 18 November 1918.
- ↑ 32.0 32.1 32.2 Kreins (2003), p. 89.
- ↑ 33.0 33.1 33.2 Thewes (2003), p. 81.
- ↑ 34.0 34.1 Dostert et al. (2002), p. 21.
- ↑ Scuto, loc. cit
- ↑ Luxembourg country profile. WorldStatesman.org. Retrieved on 23 July 2006.
- ↑ Kreins (2003), p. 90.
- ↑ Dostert et al. (2002), p. 22
- ↑ This section was translated from the same article in the German version of Wikipedia.
- ↑ 40.0 40.1 It was customary for a reigning Grand Duke, his heir apparent, and their spouses to use the style of Royal Highness. Junior non-reigning members headed by a Grand Duke instead used the style Grand Ducal Highness. Since 1919, when Grand Duchess Charlotte married with Prince Felix of Bourbon-Parma, all the male-line descendants adopted the style Royal Highness, in capacity of being a descendant of the Royal House of Bourbon-Parma.
อ้างอิง
- O'Shaughnessy, Edith. Marie Adelaide, Grand Duchess of Luxemburg, Duchess of Nassau. New York: Jonathan Cape and Robert Ballou, 1932.
- Schous, Marie. Marie Adelheid van Nassau, Groothertogin van Luxemburg. 's Hertogenbosch: G. Mosmans, 1931.
- Zenner, Theodor. Marie Adelheid: Lebensbild der verstorbenen Grossherzogin von Luxemburg. 1925
- Marburg, Theodor. The Story of a Soul. Philadelphia: Dorrance, 1938.
- Leighton, Isabel, and Bertram Bloch. Marie-Adelaide: A Play. New York: Rialto Service Bureau.
- German occupation of Luxembourg. GWPDA, 21 May 1998. Retrieved on 2006-07-23. (ในภาษาฝรั่งเศสและเยอรมัน)
- Calmes, Christian (1989). The Making of a Nation From 1815 to the Present Day. Luxembourg City: Saint-Paul.
- Dostert, Paul; Margue, Paul (September 2002). The Grand Ducal Family of Luxembourg (PDF). Luxembourg City: Service Information et Presse. ISBN 2-87999-018-1. สืบค้นเมื่อ 23 July 2006.
- Faber, Ernest (1932). Luxemburg im Kriege 1914–1918 (ภาษาเยอรมัน). Mersch.
- Kreins, Jean-Marie (2003). Histoire du Luxembourg (ภาษาฝรั่งเศส) (3rd ed.). Paris: Presses Universitaires de France. ISBN 978-2-13-053852-3.
- O'Shaughnessy, Edith (1932). Marie Adelaide – Grand Duchess of Luxemburg, Duchess of Nassau. London: Jonathan Cape.
- Thewes, Guy (July 2003). Les gouvernements du Grand-Duché de Luxembourg depuis 1848 (PDF) (ภาษาฝรั่งเศส) (limited ed.). Luxembourg City: Service Information et Presse. ISBN 2-87999-118-8. สืบค้นเมื่อ 23 July 2006.
- Marie-Adélaïde (in French) at the official website of the Luxembourg royal family
- http://www.ewtn.com/library/HOMELIBR/FR94303.TXT เก็บถาวร 2013-03-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
ก่อนหน้า | แกรนด์ดัชเชสมารี-อาเดลาอีดแห่งลักเซมเบิร์ก | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
แกรนด์ดยุกวิลเล็มที่ 4 แห่งลักเซมเบิร์ก | แกรนด์ดัชเชสแห่งลักเซมเบิร์ก (ราชวงศ์นัสเซา-เวลเบิร์ก) (25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2455 - 14 มกราคม พ.ศ. 2462) |
แกรนด์ดัชเชสชาร์ล็อตแห่งลักเซมเบิร์ก | ||
แกรนด์ดยุกวิลเลมที่ 4 แห่งลักเซมเบิร์ก | ดัสเชสแห่งนัสเซา (ราชวงศ์นัสเซา-ไวลบูร์ก) ผู้อ้างสิทธิในพระอิศริยยศ (25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2455 - 14 มกราคม พ.ศ. 2462) |
แกรนด์ดัชเชสชาร์ล็อตแห่งลักเซมเบิร์ก |