ข้ามไปเนื้อหา

เรกองกิสตา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รุ่นสำหรับพิมพ์ไม่ได้รับการสนับสนุนอีกต่อไปและอาจมีข้อผิดพลาด โปรดอัปเดตบุ๊กมาร์กและใช้ตัวเลือกสำหรับพิมพ์ที่มีมาให้ในเบราว์เซอร์แทน
เรกองกิสตา

“การยอมแพ้ของกรานาดา” (La rendición de Granada) (ค.ศ. 1882) โดยฟรันซิสโก ปราดียา อี ออร์ติซ
วันที่ค.ศ. 722 (718) – 1492
สถานที่
ผล พื้นที่ของชาวมุสลิมทั้งหมดในคาบสมุทรไอบีเรียถูกยึดครองโดยอาณาจักรคริสเตียน
พระราชกฤษฎีกาอัลฮัมบรา
คู่สงคราม

เรกองกิสตา (สเปน, กาลีเซีย และอัสตูเรียส: Reconquista); เรกงกิชตา (โปรตุเกส: Reconquista); รากุงเก็สตา (กาตาลา: Reconquesta); เอร์เรกอนกิสตา (บาสก์: Errekonkista) หรือ อัลอิสติรดาด (อาหรับ: الاسترداد) เป็นช่วงเวลา 800 ปีในยุคกลางที่อาณาจักรคริสเตียนในคาบสมุทรไอบีเรียได้รับการพิชิตคืนมาจากอำนาจของมุสลิม

การพิชิตของฝ่ายมุสลิมในอาณาจักรวิซิกอทในคริสต์ศตวรรษที่ 8 (เริ่มในปี ค.ศ. 710–712) เป็นไปเกือบทั่วคาบสมุทรไอบีเรีย (นอกจากบริเวณส่วนใหญ่ของแคว้นกาลิเซีย แคว้นอัสตูเรียส แคว้นกันตาเบรีย และแคว้นบาสก์) แต่เมื่อมาถึงคริสต์ศตวรรษที่ 13 ดินแดนเหล่านี้ (นอกไปจากอาณาจักรเอมีร์แห่งกรานาดาของราชวงศ์นาสริดที่ได้ถูกพิชิตในปี ค.ศ. 1492) ก็คืนมาอยู่ภายใต้การปกครองของประมุขผู้นับถือคริสต์ศาสนา

การพิชิตดินแดนคืนเริ่มขึ้นทันทีหลังจากที่ฝ่ายมุสลิมพิชิตคาบสมุทรได้เกือบทั้งหมด และเป็นสงครามที่ต่อเนื่องกันมาหลายยุคหลายสมัยกว่าจะมาสิ้นสุดลง การก่อตั้งราชอาณาจักรอัสตูเรียส ภายใต้ เปเลเจียสแห่งอัสตูเรียส ในยุทธการที่หมู่บ้านโกบาดองกา ในปี ค.ศ. 722 เป็นชัยชนะครั้งสำคัญครั้งแรกในการพยายามพิชิตดินแดนคืน ชาร์เลอมาญทรงพิชิตดินแดนทางตะวันตกของเทือกเขาพิเรนีส และเซปทิเมเนีย (Septimania) และก่อตั้งเป็นฉนวนพรมแดนสเปน (Marca Hispanica) เพื่อใช้ในการป้องกันพรมแดนระหว่างฝ่ายจักรวรรดิแฟรงก์ และมุสลิม และหลังจากที่สงครามครูเสดได้เริ่มต้นขึ้นปรัชญาของการพิชิตดินแดนคืนก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของบริบท ของปรัชญาการทำสงครามเพื่อคริสต์ศาสนา แต่ตั้งแต่ก่อนสงครามครูเสดมาแล้วก็มีทหารจากดินแดนต่าง ๆ ในยุโรปที่เดินทางมายังไอบีเรียเพื่อร่วมในการพิชิตดินแดนคืน เพื่อเป็นการปฏิบัติอย่างผู้มีความศรัทธาในคริสต์ศาสนาหรือเพื่อเป็นการไถ่บาป

ระหว่างยุคการพิชิตดินแดนคืนสถานการณ์ในไอบีเรียเป็นสถานการณ์ที่ซับซ้อนกว่าที่จะอธิบายได้ด้วยปรัชญาใด ๆ ผู้นำคริสเตียนและมุสลิมบางทีก็ต่อสู้กันเอง และบางทีก็ร่วมมือกันระหว่างผู้นำต่างศาสนาในการต่อสู้ศัตรูร่วมกัน การต่อสู้ระหว่างฝ่ายคริสเตียนและฝ่ายมุสลิมก็หยุดยั้งเป็นช่วง ๆ ที่เป็นช่วงที่เป็นช่วงของความสันติสุข ฝ่ายมุสลิมเองเมื่อเสียดินแดนไปก็พยายามยึดกลับคืนมาอีก และปัจจัยที่ทำให้สับสนยิ่งขึ้นไปอีกคือกลุ่มทหารรับจ้างที่เข้าร่วมการต่อสู้กับฝ่ายใดก็ได้ที่ให้ค่าตัวสูงกว่า

การพิชิตดินแดนคืนยุติลงในปี ค.ศ. 1238 เมื่อดินแดนมุสลิมในไอบีเรียเหลืออยู่แต่เพียงอาณาจักรเอมีร์แห่งกรานาดา (Emirate of Granada) กลายเป็นเมืองขึ้นของกษัตริย์คริสเตียนแห่งคาสตีลซึ่งเป็นอยู่ต่อมาอีก 250 ปี จนฝ่ายสเปนได้รับชัยชนะในการยึดกรานาดา ในสงครามกรานาดาในปี ค.ศ. 1492 ซึ่งเป็นเหตุการณ์สุดท้ายในการกำจัดอำนาจของมุสลิมออกจากสเปนทั้งหมด ประมุของค์สุดท้ายของมุสลิมในกรานาดาคือมุฮัมมัดที่ 12 แห่งกรานาดา(en:Muhammad XII of Granada) หรือที่รู้จักกันในนาม "โบอับดิล" (Boabdil) ยอมแพ้แก่พระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 2 แห่งอารากอน และสมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลลาที่ 1 แห่งคาสตีล พระมหากษัตริย์และกษัตรีย์คาทอลิก (“los Reyes Católicos”)

อ้างอิง

  1. Findlay, Ronald; Lundahl, Mats (2016). The Economics of the Frontier: Conquest and Settlement. Springer. p. 45.

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ การพิชิตดินแดนคืน