ข้ามไปเนื้อหา

กติกาสัญญาเหล็ก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กติกาสัญญาเหล็ก
กติกาสัญญามิตรภาพและพันธมิตรระหว่างเยอรมนีและอิตาลี
ประเภททหาร-การเมือง
วันลงนาม22 พฤษภาคม ค.ศ. 1939
ที่ลงนามเบอร์ลิน, เยอรมนี
วันหมดอายุ1949 (effectively in 1943/5)
ผู้ลงนาม
ภาษาเยอรมัน, อิตาลี

กติกาสัญญาเหล็ก (อังกฤษ: Pact of Steel) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า กติกาสัญญามิตรภาพและพันธมิตรระหว่างเยอรมนีและอิตาลี (อังกฤษ: Pact of Friendship and Alliance between Germany and Italy) เป็นสนธิสัญญาระหว่างอิตาลีและนาซีเยอรมนี เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม ค.ศ. 1939 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของทั้งสองฝ่าย และมีพยานของทั้งสองฝ่าย เคาท์ กาลีซโซ ชิอาโน (ฝ่ายอิตาลี) และโยอาคิม ฟ็อน ริบเบินทร็อพ (ฝ่ายเยอรมนี)

กติกาสัญญาดังกล่าวแบ่งออกเป็น 2 ส่วน: ส่วนแรกเป็นการประกาศความไว้วางใจและช่วยเหลือซึ่งกันระหว่างอิตาลีและนาซีเยอรมนี และส่วนที่สองซึ่งถือว่าเป็นข้อตกลงลับ ซึ่งเป็นการให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจและการทหาร อย่างไรก็ตาม ฝ่ายคณะรัฐบาลอิตาลี รวมไปถึง เคาท์ กาลีอัสโซ คาเอียโน ต่างก็มีปฏิกิริยาต่อต้านกติกาสัญญา

มุสโสลินีลงนามในกติกาสัญญาดังกล่าว กติกาสัญญาเหล็กนี้ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็น "กติกาสัญญาเลือด" (Pact of Blood)

เนื้อหา

[แก้]

โดยทั่วไปแล้ว กติกาสัญญาเหล็กได้กำหนดให้เยอรมนีและอิตาลีต้องให้ความช่วยเหลือแก่กันและกัน และให้ความช่วยเหลือทางการทหารเมื่ออีกฝ่ายอยู่ในสถานะสงคราม กติกาสัญญาดังกล่าวยังได้กำหนดให้ทั้งสองประเทศไม่สามารถตกลงสันติภาพได้หากปราศจากความเห็นชอบของอีกฝ่าย โดยกติกาญญาดังกล่าวได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานที่ว่าจะเกิดสงครามในอีกสามปี แต่ทว่าอิตาลีเตรียมตัวไม่พร้อมสำหรับสงครามโลกครั้งที่สอง และต้องใช้เวลากว่าหนึ่งปีกว่าอิตาลีจะสามารถทำตามข้อตกลงได้

ข้อตกลงลับ

[แก้]

ข้อตกลงลับในกติกาสัญญาเหล็กถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน ซึ่งไม่เปิดเผยต่อสาธารณะ ส่วนแรกเป็นการให้ความร่วมมือทางการทหารและเศรษฐกิจ ส่วนที่สองเป็นการให้ความร่วมมือในการควบคุมสื่อเพื่อแสดงอำนาจของลัทธิฟาสซิสต์ โดยการส่งผู้เชี่ยวชาญไปติดต่อกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของอีกฝ่าย

อ้างอิง

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]