ข้ามไปเนื้อหา

ความตกลงมิวนิก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ความตกลงมิวนิก
ภาพถ่ายก่อนการลงนามในความตกลงมิวนิก (ค.ศ. 1938) (จากซ้ายไปขวา: เนวิล เชมเบอร์ลิน, เอดัวร์ ดาลาดีเย,
อดอล์ฟ ฮิตเลอร์, และเบนิโต มุสโสลินี)
วันลงนาม30 กันยายน ค.ศ. 1938
ที่ลงนามมิวนิก ไรช์เยอรมัน
ผู้ลงนาม อดอล์ฟ ฮิตเลอร์
เนวิล เชมเบอร์ลิน
เอดัวร์ ดาลาดีเย
เบนิโต มุสโสลินี
ภาคี

ความตกลงมิวนิก[a] เป็นความตกลงระหว่างนาซีเยอรมนี สหราชอาณาจักร สาธารณรัฐฝรั่งเศส และฟาสซิสต์อิตาลี ซึ่งลงนามเมื่อวันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 1938 ณ เมืองมิวนิก โดยในความตกลงอนุญาตให้เยอรมนีผนวกพื้นที่บริเวณชายแดนของเชโกสโลวาเกียหรือ "ซูเดเทินลันท์" เนื่องจากภูมิภาคนี้มีประชากรที่เป็นชาติพันธุ์เยอรมันอาศัยอยู่มากกว่าสามล้านคน[1] ความตกลงนี้ยังเป็นที่รู้จักกันในบางพื้นที่ในชื่อ การทรยศมิวนิก[b] อันเป็นผลจากความตกลงพันธมิตรใน ค.ศ. 1924[2] และกติกาสัญญาทางทหารใน ค.ศ. 1925 ระหว่างฝรั่งเศสกับสาธารณรัฐเชโกสโลวัก หลังจากความตกลง อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ประกาศว่านี่จะเป็นการอ้างสิทธิดินแดนสุดท้ายของตนในยุโรป

เยอรมนีได้เริ่มทำสงครามที่มีความรุนแรงต่ำโดยปราศจากการประกาศสงครามต่อเชโกสโลวาเกีย เมื่อวันที่ 17 กันยายน ค.ศ. 1938 ในการตอบสนอง สหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสได้ขอให้เชโกสโลวาเกียยกดินแดนของตนให้แก่เยอรมนีอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 20 กันยายน ตามมาด้วยการเรียกร้องดินแดนของโปแลนด์ เมื่อวันที่ 21 กันยายน และฮังการี เมื่อวันที่ 22 กันยายน ในขณะเดียวกัน กองทัพเยอรมันได้เข้ายึดพื้นที่บางส่วนของเขตเชบ (Cheb District) และเขตเชเซนิก (Jeseník District) และบุกรุกแบบชั่วครู่ แต่ถูกขับไล่ออกจากมณฑลชายแดนอื่น ๆ อีกหลายสิบแห่ง โปแลนด์ยังได้จัดตั้งกลุ่มหน่วยกำลังรบของตนใกล้กับชายแดนร่วมกับเชโกสโลวาเกีย และยังได้ยุยงให้มีการก่อวินาศกรรมที่ไม่ประสบความสำเร็จในวันที่ 23 กันยายน[3] ฮังการียังได้เคลื่อนกำลังพลไปยังชายแดนเชโกสโลวาเกีย โดยปราศจากการโจมตี

การประชุมภาวะฉุกเฉินของมหาอำนาจยุโรปหลัก-ไม่ได้รวมถึงเชโกสโลวาเกีย แม้ว่าตัวแทนของพวกเขาจะอยู่ในเมืองหรือสหภาพโซเวียต ซึ่งเป็นพันธมิตรกับทั้งฝรั่งเศสและเชโกสโลวาเกีย -ซึ่งเกิดขึ้นในมิวนิก เยอรมนี เมื่อวันที่ 29-30 กันยายน ค.ศ. 1938 ข้อตกลงนี้ได้บรรลุอย่างรวดเร็วตามเงื่อนไขของฮิตเลอร์ ซึ่งได้ถูกลงนามโดยผู้นำของเยอรมนี ฝรั่งเศส บริเตน และอิตาลี ชายแดนที่ติดกับเทือกเขาของเชโกสโลวักที่มหาอำนาจได้เสนอเพื่อเอาใจต่อเยอรมนี ไม่เพียงแต่เป็นชายแดนทางธรรมชาติระหว่างรัฐเช็กและรัฐเจอร์มานิกนับตั้งแต่สมัยกลางตอนต้น แต่ยังเป็นอุปสรรคที่สำคัญทางธรรมชาติต่อการโจมตีใด ๆ ต่อเยอรมนีที่อาจเกิดขึ้นได้ ได้รับการเสริมกำลังด้วยป้อมปราการชายแดนที่สำคัญ ซูเดเทินลันท์นั้นมีความสำคัญทางยุทธศาสตร์อย่างยิ่งต่อเชโกสโลวาเกีย

เมื่อวันที่ 30 กันยายน เชโกสโลวาเกียได้ยอมจำนนต่อแรงกดดันทางทหารจากเยอรมนี โปแลนด์ และฮังการี และแรงกดดันทางการทูตจากสหราชอาณาจักรและฝรั่งเศส และยินยอมที่จะสละดินแดนให้กับเยอรมนีตามเงื่อนไขมิวนิก จากนั้น เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม เชโกสโลวาเกียยังได้ยอมรับข้อเรียกร้องเกี่ยวกับดินแดนของโปแลนด์อีกด้วย[4]

ความตกลงมิวนิกได้มีผลตามมาในไม่ช้าด้วยรางวัลเวียนนาครั้งที่หนึ่ง เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน ค.ศ. 1938 โดยมีการแบ่งแยกดินแดนที่มีชาวฮังการีเป็นส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ทางตอนใต้ของสโลวาเกียและคาร์เพเทียนตอนล่างของรุส (Subcarpathian Rus') ทางตอนใต้ออกจากเชโกสโลวาเกีย เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1938 เชโกสโลวาเกียได้ยกดินแดนเล็ก ๆ ให้กับโปแลนด์ในภูมิภาคสปิช(Spiš)และโอราวา(Orava)[5]

ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1939 สาธารณรัฐเชโกสโลวักที่หนึ่ง ซึ่งเป็นรัฐหุ่นเชิดของนาซีได้ประกาศอิสรภาพ ภายหลังจากนั้นไม่นาน ฮิตเลอร์ก็ได้ทรยศต่อคำมั่นสัญญาอย่างเคร่งขรึมของตนที่จะเคารพต่อความเป็นบูรณภาพของเชโกสโลวาเกียโดยได้มีการสถาปนาจัดตั้งรัฐในอารักขาโบฮีเมียและมอเรเวีย มอบให้เยอรมนีควบคุมส่วนที่เหลืออยู่ของเชโกสโลวาเกียได้อย่างเต็มที่ รวมทั้งคลังสรรพาวุธทางทหารที่สำคัญซึ่งต่อมาได้มีบทบาทที่สำคัญในการบุกครองโปแลนด์และฝรั่งเศสของเยอรมนี[6] ซึ่งเป็นผลทำให้เชโกสโลวาเกียหายไป[7]

ปัจจุบัน ความตกลงมิวนิกได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นการกระทำอันล้มเหลวในการจำยอมสละ และคำนี้ได้กลายเป็น "คำขวัญสำหรับความไร้ประโยชน์ของรัฐเผด็จการที่ได้ขยายตัว"[8]

ประวัติศาสตร์

[แก้]

เบื้องหลัง

[แก้]

การเรียกร้องเอกราช

[แก้]
เขตแดนเช็กที่มีประชากรชนกลุ่มชาวเยอรมันใน ค.ศ. 1934 20% หรือมากกว่า (สีชมพู), 50% หรือมากกว่า (สีแดง) และ 80% หรือมากกว่า (สีแดงทึบ)[9] ใน ค.ศ. 1935
คอนราด เฮนไลน์, ผู้นำพรรคซูเดเทินเยอรมัน (SdP), สาขาของพรรคนาซีเยอรมนีในเชโกสโลวาเกีย
แอ็ดวาร์ต แบแน็ช ประธานาธิบดีแห่งเชโกสโลวาเกียและผู้นำแห่งรัฐบาลผลัดถิ่นเชโกสโลวัก

สาธารณรัฐเชโกสโลวักที่หนึ่งได้ถูกก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1918 ภายหลังการล่มสลายของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี เมื่อครั้งสงครามโลกครั้งที่หนึ่งได้สิ้นสุดลง สนธิสัญญาแซ็ง-แฌร์แม็งได้ให้การรับรองความเป็นเอกราชของเชโกสโลวาเกียและสนธิสัญญาทรียานงได้มีการกำหนดเขตชายแดนของรัฐใหม่ซึ่งก็คือ การแบ่งแยกดินแดนออกเป็นภูมิภาคของโบฮีเมียและมอราเวียในตะวันตกและสโวลาเกียและคาร์เพเทียน รูเทเนียในตะวันออกรวมไปถึงชาวเยอรมันที่มีมากกว่าสามล้านคน ประมาณ 22.95% ของประชากรทั้งหมดของประเทศ พวกเขาส่วนใหญ่ได้อาศัยอยู่ในเขตชายแดนของดินแดนเช็กตามประวัติศาสตร์ที่พวกเขาได้สร้างขึ้นมาใหม่โดยตั้งชื่อว่า ซูเดเทินลันท์ ซึ่งมีชายแดนติดกับประเทศเยอรมนีและออสเตรียที่เพิ่งก่อตั้งขึ้นมาใหม่

ชาวเยอรมันซูเดเทินไม่ได้รับการปรึกษาหารือว่าต้องการที่จะเป็นพลเมืองของเชโกสโลวาเกียหรือไม่ แม้ว่ารัฐธรรมนูญจะรับรองความเท่าเทียมกันสำหรับพลเมืองทุกคน แต่ก็มีแนวโน้มในหมู่ผู้นำทางการเมืองที่จะเปลี่ยนแปลงประเทศ"ให้กลายเป็นเครื่องมือของลัทธิชาตินิยมชาวเช็กและสโลวัก" มีความคืบหน้าในการรวบรวมชาวเยอรมันและชนกลุ่มน้อยอื่น ๆ แต่พวกเขายังคงมีบทบาทน้อยในรัฐบาลและกองทัพ ยิ่งไปกว่านั้น ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ซึ่งเริ่มต้นใน ค.ศ. 1929 ส่งผลกระทบต่อชาวเยอรมันซูเดเทินที่มีการงานเกี่ยวกับอุตสาหกรรมที่สูงและการส่งออกมากกว่าประชากรชาวเช็กและสโลวัก ภายใน ค.ศ. 1936 ประมาณ 60 เปอร์เซ็นของผู้ว่างงานในเชโกสโลวาเกียล้วนเป็นชาวเยอรมัน

ใน ค.ศ. 1933 ผู้นำชาวเยอรมันซูเดเทินนามว่า คอนราด เฮนไลน์ ได้ก่อตั้งพรรคซูเดเทินเยอรมัน (Sdp) ซึ่งเป็น"กลุ่มติดอาวุธ ประชานิยม และเป็นปรปักษ์อย่างเปิดเผย" ต่อรัฐบาลเชโกสโลวัก และในไม่ช่าก็ได้ยึดครองสองในสามของคะแนนเสียงในเขตที่มีประชากรชาวเยอรมันจำนวนมาก นักประวัติศาสตร์ต่างถกเถียงกันว่า Sdp เป็นองค์กรแนวหน้าของนาซีตั้งแต่เริ่มต้นหรือพัฒนาเป็นองค์กรเกียว ใน ค.ศ. 1935 Sdp เป็นพรรคการเมืองที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองในเชโกสโลวาเกีย เนื่องจากการโหวตของชาวเยอรมันจะมุ่งเป้าไปที่พรรคนี้ และคะแนนเสียงของเช็กและสโลวักต่างกระจายไปยังหลายฝ่าย

ไม่นานภายหลังจากที่เยอรมนีได้ผนวกรวมกับออสเตรียหรืออันชลุส เฮนไลน์ได้เข้าพบกับฮิตเลอร์ที่กรุงเบอร์ลิน เมื่อวันที่ 28 มีนาคม ค.ศ. 1938 และเขาได้รับคำสั่งในการยกข้อเรียกร้องที่ไม่อาจยอมรับได้ต่อรัฐบาลประชาธิปไตยเชโกสโลวัก ซึ่งนำโดยประธานาธิบดี แอ็ดวาร์ต แบแน็ช เมื่อวันที่ 24 เมษายน Sdp ได้เสนอข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลเชโกสโลวาเกียที่เป็นที่รู้จักกันคือ โครงการคาร์ลสบาเดอร์ เฮนไลน์ได้เรียกร้องสิ่งต่าง ๆ เช่น เอกราชสำหรับชาวเยอรมันที่อาศัยอยู่ในเชโกสโลวาเกีย รัฐบาลเชโกสโลวาเกียได้ตอบสนองโดยกล่าวว่ายินดีที่จะมอบสิทธิชนกลุ่มน้อยมากยิ่งขึ้นแก่ชนกลุ่มน้อยชาวเยอรมัน แต่เดิมไม่มีความเต็มใจที่จะให้เอกราช Sdp ได้รับ 88% ของคะแนนเสียงชนกลุ่มน้อยชาวเยอรมันในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1938

ด้วยความตึงเครียดสูงระหว่างชาวเยอรมันและรัฐบาลเชโกสโลวัก เมื่อวันที่ 15 กันยายน ค.ศ. 1938 แบแน็ชได้เสนออย่างลับ ๆ ว่าจะมอบพื้นที่ของเชโกสโลวาเกียประมาณ 6,000 ตารางกิโลเมตร(2,300 ตารางไมล์) แก่เยอรมนี เพื่อแลกกับข้อตกลงของเยอรมันที่จะให้การยอมรับชาวเยอรมันซูเดเทินจำนวนประมาณ 1.5 ถึง 2.0 ล้านคน ซึ่งเชโกสโลวาเกียจะทำการขับไล่ แต่ฮิตเลอร์ยังไม่ได้ให้คำตอบ

วิกฤตการณ์ซูเดเทิน

[แก้]

ดังที่ฮิตเลอร์ได้แสดงท่าทีที่สงบก่อนหน้านี้ ฝรั่งเศสและบริติชนั้นตั้งใจที่จะหลีกเลี่ยงสงคราม รัฐบาลฝรั่งเศสไม่ต้องการที่จะเผชิญหน้ากับเยอรมนีเพียงลำพังและผู้นำจากรัฐบาลบริติชฝ่ายอนุรักษ์นิยมของนายกรัฐมนตรี เนวิล เชมเบอร์ลิน เขาคิดว่าความขับข้องใจของชาวเยอรมันซูเดเทินนั้นดูสมเหตุสมผลและเชื่อว่าเจตนารมณ์ของฮิตเลอร์จะถูกจำกัด ดังนั้น ทั้งบริติชและฝรั่งเศสจึงแนะนำให้เชโกสโลวาเกียยอมรับข้อเรียกร้องของเยอรมนี แบแน็ชคัดค้าน และเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม ได้เริ่มระดมพลกองกำลังทหารเพียงบางส่วนเพื่อตอบโต้การบุกครองของเยอรมนีที่อาจจะเกิดขึ้นได้[10]

เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม ฮิตเลอร์ได้นำเสนอร่างแผนการในการโจมตีเชโกสโลวาเกียแก่นายพลของเขาซึ่งมีชื่อรหัสนามว่า ปฏิบัติการเขียว[11] เขายืนยันว่า เขาจะไม่ "บดขยี้เชโกสโลวาเกีย"ด้วยกำลังทหารโดยปราศจาก"การยั่วยุ" "โอกาศที่เอื้ออำนวยโดยเฉพาะ" หรือ "เหตุผลทางการเมืองที่เพียงพอ"[12] เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม ฮิตเลอร์ได้เรียกประชุมผู้นำทางทหารของเขา ออกคำสั่งให้ทำการเร่งสร้างเรืออู และดำเนินในการสร้างเรือประจัญบานใหม่ของเขาอย่างบิสมาร์คและเทียร์พิทซ์ ในฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ. 1940 เขาได้เรียกร้องให้เพิ่มอำนาจการยิงของเรือประจัญบานชาร์นฮอร์ชตและไกเซเนาอย่างเร่งด่วน[13] ในขณะที่ได้ตระหนักว่าสิ่งเหล่ายังไม่เพียงพอสำหรับการทำสงครามทางทะเลกับบริติชอย่างเต็มรูปแบบ ฮิตเลอร์คาดหวังว่าจะเป็นอุปสรรคที่เพียงพอ[14] สิบวันต่อมา ฮิตเลอร์ได้ลงนามคำสั่งลับในการทำสงครามกับเชโกสโลวาเกียที่จะเริ่มต้นภายในวันที่ 1 ตุลาคม[13]

เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม Juliusz Łukasiewicz เอกอัครราชทูตโปแลนด์ประจำฝรั่งเศสได้บอกกับรัฐมนตรีต่างประเทศของฝรั่งเศส Georges Bonnet ว่าถ้าหากฝรั่งเศสจะต่อสู้กับเยอรมนีเพื่อปกป้องเชโกสโลวาเกีย "เราจะไม่เคลื่อนไหว" Łukasiewicz ยังได้บอกกับ Bonnet อีกว่าโปแลนด์จะคัดค้านความพยายามใด ๆ ของกองกำลังโซเวียตในการปกป้องเชโกสโลวาเกียจากเยอรมนี ดาลาลีเยได้บอกกับ jakob Surits เอกอัครราชทูตโซเวียตประจำฝรั่งเศส "ไม่เพียงแต่เราไม่สามารถนับถึงการสนับสนุนจากโปแลนด์ แต่เราไม่มีความเชื่อที่ว่าโปแลนด์จะไม่โจมตีเราจากด้านหลัง"[15] อย่างไรก็ตาม รัฐบาลโปแลนด์ชี้แนะหลายครั้ง(ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1936 และเดือนพฤษภาคม มิถุนายน และสิงหาคม ค.ศ. 1938) ว่าพร้อมที่จะต่อสู้กับเยอรมนี ถ้าหากฝรั่งเศสได้ตัดสินใจที่จะช่วยเหลือเชโกสโลวาเกีย: "ข้อเสนอของเบ็คต่อ Bonnet คำแถลงการณ์ของเขาต่อ เอกอัครราชทูต Drexel Biddle และคำแถลงการณ์ของ Vansittart ได้ระบุว่า แท้จริงแล้วรัฐมนตรีต่างประเทศของโปแลนด์พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงนโยบายอย่างรุนแรง หากมหาอำนาจตะวันตกตัดสินใจทำสงครามกับเยอรมนี อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอและแถลงการณ์เหล่านี้ไม่ได้กระตุ้นก่อให้เกิดปฏิกิริยาใด ๆ จากรัฐบาลบริติชและฝรั่งเศส ซึ่งมุ่งเป้าไปที่การหลบเลี่ยงสงครามด้วยการเอาใจเยอรมนี"[3]

เชโกสโลวาเกียได้สร้างระบบชายแดนป้อมปราการ ตั้งแต่ ค.ศ. 1935 ถึง ค.ศ. 1938 ซึ่งเป็นมาตรการการป้องกันต้านทานภัยคุกคามที่เพิ่มมากขึ้นของนาซีเยอรมนี

ผู้ช่วยของฮิตเลอร์ Fritz Wiedemann ได้เล่าในช่วงหลังสงครามว่า เขาต้อง"ตกใจอย่างมาก"กับแผนการใหม่ของฮิตเลอร์ที่จะโจมตีบริติชและฝรั่งเศส ภายหลังจาก"จัดการกับสถานการณ์"ในเชโกสโลวาเกียเป็นเวลาสามถึงสี่ปี[16] นายพล ลูทวิช เบ็ค หัวหน้าเสนาธิการเยอรมันได้ตั้งข้อสังเกตว่าฮิตเลอร์ได้เปลี่ยนใจในการสนับสนุนให้ดำเนินการอย่างรวดเร็วคือ การป้องกันเชโกสโลวักซึ่งยังคงมีการด้นสด ซึ่งไม่เป็นเช่นนั้นอีกในสองถึงสามปีต่อมา และการฟื้นแสนยานุภาพของบริติชจะไม่มีผลจนกระทั่ง ค.ศ. 1941 หรือ 1942[14] นายพล อัลเฟรท โยเดิล ได้ระบุในอนุทินของเขาว่าการระดมพลบางส่วนของเชโกสโลวาเกียในวันที่ 21 พฤษภาคม ทำให้ฮิตเลอร์ต้องออกคำสั่งใหม่สำหรับปฏิบัติการเขียวในวันที่ 30 พฤษภาคม และมาพร้อมกับจดหมายปะหน้าจากวิลเฮ็ล์ม ไคเทิล ระบุว่าแผนการจะต้องดำเนินการภายในวันที่ 1 ตุลาคมอย่างช้าที่สุด[14]

ในเวลาเดียวกัน รัฐบาลบริติชได้เรียกร้องให้แบแน็ชร้องขอผู้ไกล่เกลี่ย ด้วยความไม่ประสงค์ที่รัฐบาลจะตัดความสัมพันธ์กับยุโรปตะวันออก แบแน็ชยอมรับอย่างไม่เต็มใจ บริติชได้แต่งตั้งลอร์ดรันซิมัน อดีตรัฐมนตรีฝ่ายเสรีนิยม ซึ่งได้เดินทางมาถึงปรากในวันที่ 3 สิงหาคม พร้อมคำแนะนำให้เกลี้ยกล่อมแบแน็ชให้เห็นด้วยกับแผนการที่ยอมรับได้ต่อชาวเยอรมันซูเดเทิน[17] เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม Bonnet ได้บอกกับเอกอัครราชทูตเชโกสโลวักในกรุงปารีสว่า ในขณะที่ฝรั่งเศสจะประกาศสนับสนุนในที่สาธารณะเพื่อช่วยเหลือในการเจรจาของเชโกสโลวัก แต่ไม่ได้เตรียมที่จะทำสงครามบนซูเดเทินลันท์[17] ในเดือนสิงหาคม สื่อเยอรมันที่เต็มไปด้วยเรื่องราวที่กล่าวหาว่า เชโกสโลวักกระทำโหดร้ายต่อชาวเยอรมันซูเดเทิน โดยมีเจตนาที่จะบีบบังคับให้ตะวันตกกดดันให้เชโกสโลวักทำการยินยอม[18] ฮิตเลอร์คาดหวังว่าเชโกสโลวาเกียจะให้การปฏิเสธและตะวันตกจะรู้สึกมีเหตุผลที่ชอบธรรมเพียงพอที่จะปล่อยให้เชโกสโลวักไปสู่ชะตากรรมของพวกเขา[19] ในเดือนสิงหาคม เยอรมนีได้ส่งทหารจำนวน 750,000 นาย เข้าประชิดตามชายแดนของเชโกสโลวาเกีย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการซ้อมรบอย่างเป็นทางการ[20][19] วันที่ 4 หรือ 5 กันยายน[17] แบแน็ชได้ยื่นแผนสี่ฉบับ โดยให้ความต้องการเกือบทั้งหมดตามข้อตกลง ชาวเยอรมันซูเดเทินซึ่งอยู่ภายใต้การชี้นำจากฮิตเลอร์เพื่อหลีกเลี่ยงความประนีประนอม[19] และ SbP ได้จัดให้มีการประท้วงที่กระตุ้นก่อให้เกิดการดำเนินการของตำรวจในออสตราวา เมื่อวันที่ 7 กันยายน ซึ่งมีผู้แทนจากรัฐสภาสองคนถูกจับกุม[17] เยอรมันซูเดเทินได้ใช้เหตุการณ์และข้อกล่าวหาเท็จว่ากระทำอันโหดร้ายอื่น ๆ เพื่อเป็นข้ออ้างในการยุติเจรจาต่อไป[17][21]

ฮิตเลอร์ทักทายกับแชมเบอร์ลินบนขั้นบันไดของแบร์คโฮฟ วันที่ 15 กันยายน ค.ศ.1938

เมื่อวันที่ 12 กันยายน ฮิตเลอร์ได้กล่าวสุนทรพจน์ที่การชุมนุมพรรคนาซีในเนือร์นแบร์คเกี่ยวกับวิกฤตการณ์ซูเดเทินซึ่งเขาได้กล่าวประณามการกระทำของรัฐบาลเชโกสโลวาเกีย[22] ฮิตเลอร์ยังได้ตำหนิเชโกสโลวาเกียว่าเป็นรัฐอันฉ้อฉลที่เป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศที่ให้ความสำคัญถึงการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง การกล่าวอ้างว่า เป็นมุขยภาพของเช็ก แม้ว่าชาวเยอรมัน ชาวสโลวัก ชาวฮังการี ชาวยูเครน และชาวโปแลนด์ของประเทศต้องการที่จะอยู่ร่วมกันกับชาวเช็กอย่างแท้จริง[23] ฮิตเลอร์กล่าวหาแบแน็ชว่าพยายามที่จะกำจัดชาวเยอรมันซูเดเทินอย่างค่อยเป็นค่อยไป และกล่าวอ้างว่าตั้งแต่การก่อตั้งของเชโกสโลวาเกีย ชาวเยอรมันกว่า 600,000 คน ถูกบังคับอย่างจงใจให้ออกจากบ้านภายใต้ภัยคุกคามของทุกขภิกภัย หากพวกเขาพวกเขาไม่ออกไป[24] ฮิตเลอร์กล่าวหาว่ารัฐบาลของแบแน็ชทำการข่มเหงชาวเยอรมันพร้อมกับชาวฮังการี ชาวโปแลนด์ และชาวสโลวัก และกล่าวหาแบเน็ชว่าทำการขู่เข็ญทางเชื้อชาติด้วยการตราหน้าว่าเป็นคนทรยศต่อชาติ หากพวกเขาไม่จงรักภักดีต่อประเทศ[25] เขาได้กล่าวว่าตัวเขาเองในฐานะประมุขแห่งรัฐของเยอรมนีจะสนับสนุนสิทธิในการกำหนดการปกครองด้วยตนเองของสหายชาวเยอรมันในซูเดเทินลันท์[26] เขาได้ตำหนิแบแน็ชสำหรับรัฐบาลของเขาได้ทำการประหารชีวิตผู้ประท้วงชาวเยอรมันหลายคนเมื่อไม่นานนี้[27] เขาได้กล่าวหาแบแน็ชว่ามีพฤติกรรมกระหายสงครามและคุกคามต่อเยอรมนี ซึ่งหากเกิดสงครามขึ้น จะส่งผลทำให้แบแน็ชบีบบังคับชาวเยอรมันซูเดเทินลุกขึ้นต่อสู้กับความตั้งใจของพวกเขาในการต่อต้านชาวเยอรมันจากเยอรมนี[28] ฮิตเลอร์ได้กล่าวหารัฐบาลเชโกสโลวาเกียว่าเป็นระบอบรัฐบริวารของฝรั่งเศส โดยการอ้างอิงถึงรัฐมนตรีกระทรวงการบินของฝรั่งเศส Pierre Cot ซึ่งกล่าวว่า "เราต้องการรัฐนี้เป็นฐานทัพในการทิ้งระเบิดได้อย่างง่ายดายยิ่งขึ้นเพื่อทำลายเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของเยอรมนี"[29]

แชมเบอร์ลินได้รับการต้อนรับจากฮิตเลอร์ในช่วงเริ่มต้นการประชุมแบ็ด โกเดสแบร์ก วันที่ 24 กันยายน ค.ศ. 1938

วันที่ 13 กันยายน ภายหลังจากความรุนแรงภายในและการแตกแยกในเชโกสโลวาเกียได้เกิดขึ้น แชมเบอร์ลินได้ขอให้ฮิตเลอร์จัดการประชุมส่วนตัวเพื่อหาทางแก้ไขในการหลีกเลี่ยงสงคราม แชมเบอร์ลินได้ตัดสินใจที่จะทำเช่นนี้ภายหลังจากได้หารือกับที่ปรึกษาของเขาอย่างฮาลิแฟกซ์ เซอร์ จอห์น ซิมอน และเซอร์ ซามูเอล ฮอร์ การประชุมได้ถูกประกาศขึ้นในงานแถลงข่าวพิเศษที่ถนน 10 ดาว์นิ่ง และนำไปสู่การมองโลกในแง่ดีในความคิดเห็นของประชาชนชาวบริติชเพิ่มมากขึ้น แชมเบอร์ลินได้มาถึงโดยการเช่าเครื่องบินล็อกฮีด อีเล็กตร้าจากบริติชแอร์เวย์ในเยอรมนี เมื่อวันที่ 15 กันยายนและเดินทางไปถึงที่พักของฮิตเลอร์ในแบร์ชเทิสกาเดินเพื่อเข้าประชุม เที่ยวบินนี้เป็นหนึ่งในครั้งแรกที่ประมุขแห่งรัฐหรือเจ้าหน้าที่ทางการทูตขึ้นเครื่องบินไปเพื่อเข้าประชุมทางการทูตในเครื่องบิน เนื่องจากสถานการณ์ความตึงเครียดทำให้ไม่มีเวลาในการขึ้นรถไฟหรือเรือ เฮนไลน์ได้ขึ้นเครื่องบินไปยังเยอรมนีในวันเดียวกัน ในวันนั้น ฮิตเลอร์และแชมเบอร์ลินได้สนทนาโต้เถียงกัน ซึ่งฮิตเลอร์ยืนกรานว่าชาวเยอรมันซูเดเทินต้องได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิในการกำหนดปกครองตนเองของชาติ และสามารถที่จะผนวกรวมซูเดเทินลันท์เข้ากับเยอรมนี ฮิตเลอร์ได้กล่าวอ้างที่เป็นเท็จอย่างซ้ำแล้วซ้ำเล่าว่ารัฐบาลเชโกสโลวาเกียได้ทำการสังหารชาวเยอรมันซูเดเทนกว่า 300 คน ฮิตเลอร์ยังแสดงความกังวลต่อแชมเบอร์ลินเกี่ยวกับสิ่งที่เขามองว่า บริติชเป็น"ภัยคุกคาม" แชมเบอร์ลินโต้ตอบว่า เขาไม่ได้"คุกคาม"เลยสักนิด และถามฮิตเลอร์ด้วยความหงุดหงิดว่า "ทำไมฉันมาที่นี่เพื่อมาเสียเวลาด้วย?" ฮิตเลอร์ตอบว่า ถ้าหากแชมเบอร์ลินเต็มใจยอมรับการตัดสินใจของชาวเยอรมันซูเดเทิน เขามีความยินดีที่จะหารือเรื่องนี้ ฮิตเลอร์ยังโน้มน้าวแชมเบอร์ลินด้วยว่าเขาไม่ได้ต้องการทำลายเชโกสโลวาเกียอย่างแท้จริง แต่เขาเชื่อว่าเมื่อเยอรมนีได้ผนวกรวมดินแดนซูเดเทินลันท์ ชนกลุ่มน้อยของประเทศนั้นก็จะแยกตัวออกจากกันและทำให้ประเทศล่มสลาย แชมเบอร์ลินและฮิตเลอร์ได้สนทนากันเป็นเวลาสามชั่วโมง และการประชุมก็ได้ยุติลง แชมเบอร์ลินได้บินกลับไปยังอังกฤษและเข้าพบกับคณะรัฐมนตรีเพื่อปรึกษาหารือเกี่ยวกับเรื่องนี้

ภายหลังการประชุม ดาลาดีเยได้บินมายังลอนดอน เมื่อวันที่ 16 กันยายน เพื่อพบกับเจ้าหน้าที่ของบริติชเพื่อหารือเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติ สถานการณ์ในเชโกสโลวาเกียเริ่มตึงเครียดในวันนั้น โดยรัฐบาลเชโกสโลวาเกียได้ออกหมายจับเฮนไลน์ ซึ่งได้เดินทางมาถึงเยอรมนีเมื่อวันก่อนเพื่อมีส่วนร่วมในการเจรจา ข้อเสนอของฝรั่งเศสมีตั้งแต่การทำสงครามกับเยอรมนีไปจนถึงการสนับสนุนซูเดเทินลันท์ที่กำลังจะถูกให้แก่เยอรมนี การปรึกษาหารือกันได้จบลงด้วยแผนการของบริติช-ฝรั่งเศสที่มั่นคงซึ่งได้ถูกวางเอาไว้ บริติช-ฝรั่งเศสเรียกร้องให้เชโกสโลวาเกียยกดินแดนทั้งหมดที่มีประชากรมากกว่า 50% ของประชากรทั้งหมดของซูเดเทินลันท์แก่เยอรมนี เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนด้วยสัมปทานนั้น บริติช-ฝรั่งเศสได้ให้ความรับรองความเป็นเอกราชของเชโกสโลวาเกีย วิธีแก้ปัญหาที่ได้นำเสนอกลับถูกปฏิเสธโดยทั้งเชโกสโลวาเกียและฝ่ายค้านในบริเตนและฝรั่งเศส

ทหารจากกองทัพเชโกสโลวักทำการลาดตระเวนในซูเดเทินลันท์ ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1938

เมื่อวันที่ 17 กันยายน ค.ศ. 1938 ฮิตเลอร์ได้สั่งให้จัดตั้งซูเดเทินด็อยท์เชิส ไฟรคอร์("เหล่าทหารเสรีชาวเยอรมันซูเดเทิน") ซึ่งเป็นองค์กรกึ่งทหารที่เข้าควบคุมโครงสร้างของ Ordnersgruppe ซึ่งเป็นองค์กรของกลุ่มชาติพันธ์เชื้อสายเยอรมันในเชโกสโลวาเกียซึ่งได้ถูกทางการของเชโกสโลวาเกียยุบเลิกไปเมื่อวันก่อน เนื่องจากมีความเกี่ยวข้องในกิจกรรมความเคลื่อนไหวในการก่อการร้ายจำนวนมาก องค์กรดังกล่าวได้รับการปกป้อง ฝึกฝน และติดตั้งอุปกรณ์โดยอำนาจของเยอรมัน และดำเนินการในการก่อการร้ายข้ามพรมแดนไปยังดินแดนเชโกสโลวัก โดยอาศัยต่ออนุสัญญาว่าด้วยคำจำกัดความของการรุกราน ประธานาธิบดีเชโกสโลวัก แอ็ดวาร์ต แบแน็ช และรัฐบาลผลัดถิ่นในภายหลังได้ถือว่า วันที่ 17 กันยายน ค.ศ. 1938 เป็นจุดเริ่มต้นของสงครามเยอรมัน-เชโกสโลวักโดยปราศจากการประกาศสงคราม ความเข้าใจในครั้งนี้ได้ถูกสันนิษฐานโดยศาลรัฐธรรมนูญของเช็กในยุคปัจจุบัน ในวันต่อมา กองกำลังเชเชโกสโลวักได้สูญเสียบุคคลากรโดยถูกสังหารในหน้าที่กว่า 100 นาย บาดเจ็บร้อยนาย และอีก 2,000 นายซึ่งถูกลักพาไปยังเยอรมนี

เมื่อวันที่ 18 กันยายน ดูเช่แห่งอิตาลี เบนิโต มุสโสลินี ได้กล่าวสุนทรพจน์ในเมืองตรีเยสเต ประเทศอิตาลี โดยที่เขาได้ประกาศว่า "หากว่ามีสองค่ายสำหรับปรากและฝ่ายต่อต้าน โปรดให้รู้เลยว่าอิตาลีได้เลือกข้างแล้ว" โดยมีความหมายที่ชัดเจนว่า มุสโสลินีได้สนับสนุนเยอรมันในยามวิกฤต

เมื่อวันที่ 20 กันยายน ฝ่ายต่อต้านเยอรมันภายในกองทัพได้พบกันเพื่อหารือเกี่ยวกับแผนการครั้งสุดท้ายที่พวกเขาได้พัฒนาขึ้นเพื่อโค่นล้มระบอบนาซี การประชุมครั้งนี้ซึ่งนำโดยนายพล ฮันส์ โอสเทอร์ รองหัวหน้าของหน่วยอัพแวร์(สำนักการต่อต้านจารกรรมของเยอรมนี) สมาชิกคนอื่น ๆ รวมทั้งร้อยเอก ฟรีดริช วิลเฮล์ม ไฮนซ์ และเจ้าหน้าที่นายทหารคนอื่น ๆ ที่เป็นผู้นำการทำรัฐประหารตามแผนการที่ได้พบกันในที่ประชุม เมื่อวันที่ 22 กันยายน แชมเบอร์ลินกำลังขึ้นเครื่องบินเพื่อไปยังเยอรมนีเพื่อพูดคุยเพิ่มเติมที่บัด โกเดสแบร์ก ได้บอกกับสื่อมวลชที่ได้พบกับเขาที่นั่นว่า "เป้าหมายของผมคือสันติภาพในยุโรป ผมเชื่อว่า การเดินทางครั้งนี้เป็นหนทางสู่สันติภาพนั้น" แชมเบอร์ลินได้มาถึงโคโลญ ซึ่งได้รับการต้อนรับอย่างยิ่งใหญ่ด้วยวงดนตรีเยอรมันที่ได้บรรเลงเพลงที่ชื่อว่า "ก็อดเซฟเดอะคิง" และชาวเยอรมันได้มอบดอกไม้และของขวัญให้แก่แชมเบอร์ลิน แชมเบอร์ลินได้คิดไว้ล่วงหน้าว่าการยอมรับการผนวกรวมดินแดนซูเดเทินลันท์ทั้งหมดของเยอรมนีโดยสมบูรณ์ โดยไม่มีการลดหย่อนใด ๆ จะบังคับให้ฮิตเลอร์ยอมรับข้อตกลง เมื่อได้รับแจ้งเรื่องนี้ ฮิตเลอร์ได้ตอบว่า "นี่หมายความว่าฝ่ายสัมพันธมิตรเห็นด้วยกับการอนุมัติของปรากในการโอนย้ายซูเดเทินลันท์สู่เยอรมนีงั้นหรอ?" แชมเบอร์ลินตอบว่า "ถูกต้องแล้ว" ฮิตเลอร์ตอบโต้ด้วยการส่ายหัว โดยกล่าวว่า ฝ่ายสัมพันธมิตรให้ข้อเสนอที่ไม่เพียงพอ เขาได้บอกกับแชมเบอร์ลินว่า เขาต้องการให้เชโกสโลวาเกียทำการยุบโดยสิ้นเชิงและดินแดนเหล่านี้ต้องถูกแจกจ่ายไปยังเยอรมนี โปแลนด์ และฮังการี และบอกแชมเบอร์ลินให้ยอมรับหรือละทิ้งไป แชมเบอร์ลินรู้สึกสั่นคลอนด้วยคำพูดนี้ ฮิตเลอร์ได้บอกแชมเบอร์ลินว่าตั้งแต่การพบครั้งสุดท้าย เมื่อวันที่ 15 การกระทำของเชโกสโลวาเกีย ซึ่งฮิตเลอร์ได้อ้างรวมทั้งการสังหารชาวเยอรมันด้วย ทำให้สถานการณ์นี้มีอาจยอมรับได้สำหรับเยอรมนี

เวลาต่อมาในการประชุม มีการหลอกลวงเพื่อโน้มน้าวและกดดันแชมเบอร์ลิน: หนึ่งในผู้ช่วยของฮิตเลอร์ได้เข้ามาในห้องเพื่อแจ้งข่าวให้ฮิตเลอร์รับทราบว่ามีชาวเยอรมันอีกหลายคนถูกสังหารในเชโกสโลวาเกีย ซึ่งฮิตเลอร์ได้ตะโกนตอบกลับว่า "ผมจะล้างแค้นให้ทุกคน ไอ้พวกเช็กจะต้องถูกทำลาย" การประชุมได้จบลงโดยฮิตเลอร์ได้ปฏิเสธที่จะยินยอมทำตามข้อเรียกร้องของฝ่ายสัมพันธมิตร ต่อมาในช่วงเย็นวันนั้น ฮิตเลอร์มีความกังวลมากขึ้นว่าเขาได้กดดันแชมเบอร์ลินมากเกินไป และได้โทรศัพท์ไปที่ห้องชุดโรงแรมที่แชมเบอร์ลินได้พักที่นั่น โดยบอกเขาว่าจะยอมรับการผนวกดินแดนซูเดเทินลันท์เท่านั้น โดยปราศจากการออกแบบในดินแดนอื่น ๆ โดยให้เชโกสโลวาเกียเริ่มทำการอพยพชนกลุ่มชาวเช็กออกจากดินแดนชนกลุ่มชาวเยอรมันภายในวันที่ 26 กันยายน เวลา 8.00 น. ภายหลังจากถูกกดดันโดยแชมเบอร์ลิน ฮิตเลอร์ตกลงที่จะยื่นคำขาดสำหรับวันที่ 1 ตุลาคม (วันเดียวกันกับปฏิบัติการเขียวได้ถูกตั้งเอาไว้เป็นการเริ่มต้น) ฮิตเลอร์ได้กล่าวกับแชมเบอร์ลินว่านี่เป็นการยินยอมอย่างหนึ่งที่เขายินดีที่จะมอบให้แก่นายกรัฐมนตรีในฐานะ"ของขวัญ" ด้วยความเคารพต่อความจริงที่ว่าแชมเบอร์ลินนั้นเต็มใจที่จะล่าถอยกลับไปยังจุดยืนก่อนหน้านี้ ฮิตเลอร์ได้กล่าวอีกว่า เมื่อได้ผนวกรวมดินแดนซูเดเทินลันท์แล้ว เยอรมนีจะไม่มีการอ้างสิทธิ์ในดินแดนเชโกสโลวาเกียอีกต่อไป และจะลงนามในข้อตกลงร่วมกันเพื่อรับรองชายแดนของเยอรมนีและเชโกสโลวาเกีย

คณะรัฐมนตรีเชโกสโลวักชุดใหม่ภายใต้การนำโดยนายพล ยาน ซีโรวี ได้ถูกแต่งตั้งขึ้น และเมื่อวันที่ 23 กันยายน ได้มีการออกกฤษฎีกาการระดมพล ซึ่งเป็นที่ยอมรับของสาธารณชนด้วยความกระตือรือร้น ภายใน 24 ชม. มีจำนวนผู้ชายหนึ่งล้านคนได้เข้าร่วมกองทัพเพื่อปกป้องประเทศ กองทัพบกของเชโกสโลวาเกียนั้นมีความทันสมัย มีประสบการณ์ และมีระบบป้อมปราการชายแดนที่ยอดเยี่ยม ซึ่งมีความเตรียมพร้อมที่จะต่อสู้รบ สหภาพโซเวียตได้ประกาศความตั้งใจที่จะเข้ามาช่วยเหลือแก่เชโกสโลวาเกีย โดยมีเงื่อนไขว่ากองทัพแดงจะสามารถข้ามดินแดนโปแลนด์และโรมาเนียได้ ทั้งสองประเทศได้ปฏิเสธที่จะให้กองทัพบกโซเวียตเข้ามาใช้ดินแดนของตน

ในช่วงเช้าตรู่ของวันที่ 24 กันยายน ฮิตเลอร์ได้เผยบันทึกข้อตกลงโกเดสแบร์ก ซึ่งเรียกร้องให้เชโกสโลวาเกียยกดินแดนซูเดเทินลันท์แก่เยอรมนีภายในวันที่ 28 กันยายน โดยจะมีการจัดลงประชามติในพื้นที่ที่ไม่ระบุรายละเอียดภายใต้การดูแลของกองทัพเยอรมันและเชโกสโลวัก บันทึกข้อตกลงยังได้ระบุว่า ถ้าหากเชโกสโลวาเกียไม่เห็นด้วยกับข้อเรียกร้องของเยอรมนีภายในเวลา 14.00 น. ของวันที่ 28 กันยายน เยอรมนีจะเข้ายึดซูเดเทินลันท์ด้วยกำลัง ในวันเดียวกัน แชมเบอร์ลินกลับมาถึงอังกฤษและประกาศว่าฮิตเลอร์เรียกร้องให้ทำการผนวกรวมซูเดเทินลันท์โดยไม่ชักช้า การประกาศดังกล่าวสร้างความเดือดดาลให้กับชาวบริติชและฝรั่งเศสซึ่งต้องการที่จะเผชิญหน้ากับฮิตเลอร์ทุกครั้ง แม้ว่ามันจะหมายถึงสงครามก็ตาม และผู้สนับสนนก็จะเข้มแข็งขึ้น แจน มาซาริก เอกอัครราชทูตเชโกสโลวักประจำสหราชอาณาจักรมีความรู้สึกยินดี เมื่อได้ยินถึงการสนับสนุนเชโกสโลวาเกียจากบริติชและฝรั่งเศสซึ่งต่อต้านแผนการของฮิตเลอร์ โดยกล่าวว่า "ประเทศชาติของเซนต์วาสลัฟจะไม่มีวันเป็นชาติของความเป็นทาส"

แชมเบอร์ลินกับเบนิโต มุสโสลินี เดือนกันยายน ค.ศ. 1938

วันที่ 25 กันยายน เชโกสโลวาเกียได้ยอมรับเงื่อนไขที่ได้ตกลงเอาไว้ก่อนหน้านี้โดยบริเตน ฝรั่งเศส และเยอรมนี อย่างไรก็ตาม วันต่อมา ฮิตเลอร์ได้เพิ่มข้อเรียกร้องใหม่ โดยยืนยันว่าการอ้างสิทธิ์ของกลุ่มชาติพันธุ์เยอรมันในโปแลนด์ และฮังการีก็ได้รับความพึงพอใจเช่นกัน

วันที่ 26 กันยายน แชมเบอร์ลินได้ส่งเซอร์ ฮอเรซ วิลสันไปส่งจดหมายส่วนตัวถึงฮิตเลอร์โดยประกาศว่า ฝ่ายสัมพันธมิตรต้องการที่จะแก้ไขอย่งสันติต่อวิกฤตการณ์ซูเดเทิน ต่อมาในช่วงเย็นของวันนั้น ฮิตเลอร์ได้กล่าวสุนทรพจน์ที่เบอร์ลินสปอร์ตพาเลซ เขากล่าวอ้างว่า ซูเดเทิน"เป็นความต้องการดินแดนครั้งสุดท้ายที่ข้าพเจ้าจะทำในยุโรป" และกำหนดเส้นตายให้เชโกสโลวาเกียในวันที่ 28 กันยาย เวลา 14.00 น. เพื่อยกดินแดนซูเดเทินลันท์แก่เยอรมนีหรือเผชิญกับสงคราม เมื่อถึงจุดนี้ รัฐบาลบริติชเริ่มเตรียมการในการทำสงคราม และสภาสามัญก็กลับมาประชุมอีกครั้งจากช่วงเวลาพักของรัฐสภา

เมื่อวันที่ 27 กันยายน ค.ศ. 1938 เมื่อการเจรจาระหว่างฮิตเลอร์และแชมเบอร์ลินได้เริ่มตึงเครียด แชมเบอร์ลินได้กล่าวปราศัยกับประชาชนชาวบริติช โดยบอกกล่าวเฉพาะอย่างยิ่งว่า "ช่างน่ากลัว น่าพิศวง น่าเหลือเชื่อจริง ๆ ที่พวกเราควรที่จะขุดหลุมสนามเพลาะและลองสวมหน้ากากป้องกันแก๊สที่นี่เพราะการทะเลาะวิวาทในประเทศอันห่างไกลระหว่างผู้คนที่เราไม่รู้อะไรเลย"

เมื่อวันที่ 28 กันยายน เวลา 10.00 น. สี่ชั่วโมงก่อนเส้นตายและไม่มีการยินยอมตามข้อเรียกร้องของฮิตเลอร์โดยเชโกสโลวาเกีย ลอร์ดเพิร์ธ เอกอัครราชทูตบริติชประจำอิตาลีได้เรียกให้กาลีซโซ ชิอาโน รัฐมนตรีต่างประเทศของอิตาลีเข้าประชุมอย่างเร่งด่วน เพิร์ธได้แจ้งแก่ชิอาโนว่าแชมเบอร์ลินได้สั่งให้เขาขอให้มุสโสลินีเข้าสู่เจรจาและขอให้ฮิตเลอร์ชะลอการยื่นคำขาด ณ เวลา 11.00 น. ชิอาโนได้เข้าพบกับมุสโสลินีและแจ้งให้เขาทราบถึงข้อเสนอของแชมเบอร์ลิน มุสโสลินีเห็นด้วยกับมันและตอบสนองด้วยการโทรศัพท์หาเอกอัครราชทูตอิตาลีประจำเยอรมนีและบอกเขาว่า "ไปหาท่านฟือเรอร์ทันทีและบอกเขาว่า ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ผมจะอยู่เคียงข้างท่าน แต่ผมขอเวลายี่สิบสี่ชั่วโมงก่อนการสู้รบจะเริ่มต้นขึ้น ในเวลาเดียวกัน ผมจะเรียนรู้สิ่งที่สามารถทำได้เพื่อแก้ปัญหา" ฮิตเลอร์ได้รับข้อความจากมุสโสลินีในขณะที่หารือกับเอกอัครราชทูตฝรั่งเศส ฮิตเลอร์ได้บอกกับเอกอัครราชทูตว่า "เบนิโต มุสโสลนี เพื่อนรักของผมได้ขอให้ผมเลื่อนคำสั่งในการเคลื่อนทัพของกองทัพบกเยอรมันเป็นเวลายี่สิบสี่ชั่วโมง และผมก็เห็นด้วย แน่นอน ว่านี่ไม่ใช่การยินยอม เพราะวันของการบุกครองได้ถูกกำหนดเอาไว้ในวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1938" ในขณะที่พูดคุยกับแชมเบอร์ลิน ลอร์ดเพิร์ธได้กล่าวขอบคุณจากแชมเบอร์ลินแก่มุสโสลินีเช่นเดียวกับข้อเรียกร้องของแชมเบอร์ลินให้มุสโสลนีเข้าร่วมประชุมสี่มหาอำนาจของบริเตน ฝรั่งเศส เยอรมนี และอิตาลีในมิวนิก เมื่อวันที่ 29 กันยายน เพื่อยุติปัญหาซูเดเทินก่อนเส้นตายในเวลา 14.00 น. ซึ่งมุสโสลินีได้ตอบตกลง ข้อเรียกร้องเพียงข้อเดียวของฮิตเลอร์คือต้องแน่ใจว่ามุสโสลินีมีส่วนร่วมในการเจรจาในการประชุมครั้งนี้ เนวิลล์ เฮนเดอร์ซัน อเล็กซานเดอร์ คาโดแกน และลอร์ดดักลาส เลขานุการส่วนตัวของแชมเบอร์ลินได้ส่งข่าวของการประชุมไปยังแชมเบอร์ลิน ในขณะที่เขากำลังกล่าวปราศัยในรัฐสภา และแชมเบอร์ลินได้ประกาศถึงการประชุมและยอมรับที่จะเข้าร่วมเมื่อการกล่าวปราศัยได้จบลง เมื่อแฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐได้รับทราบว่าการประชุมได้ถูกกำหนดเอาไว้แล้ว เขาได้ส่งโทรเลขไปยังแชมเบอร์ลินว่า "คนดี"

การลงมติ
[แก้]
ลำดับเหตุการณ์ภายหลังจากความตกลงมิวนิค: 1.ซูเดเทินลันท์กลายเป็นส่วนหนึ่งของเยอรมนีตามข้อตกลงมิวนิค (ตุลาคม ค.ศ. 1938) 2. โปแลนด์ได้ผนวกรวมเข้ากับ Zaolzie, ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีมีชาวโปแลนด์จำนวนมาก ซึ่งทั้งสองประเทศได้ทำสงครามกันใน ค.ศ. 1919 (ตุลาคม ค.ศ. 1938) 3.พื้นที่ชายแดน (สามพื้นที่ทางตอนใต้ของสโลวาเกียและทางตอนใต้ของคาร์เพเทียน รูเทเนีย) กับชนกลุ่มน้อยชาวฮังการีกลายเป็นส่วนหนึ่งของฮังการีตามเงื่อนไขของรางวัลเวียนนาครั้งที่หนึ่ง (พฤศจิกายน ค.ศ. 1938) 4. วันที่ 15 มีนาคม ค.ศ. 1939, ในช่วงที่เยอรมันบุกครองส่วนที่เหลือของดินแดนเช็ก, ฮังการีได้ผนวกรวมกับส่วนที่เหลือของคาร์เพเทียน รูเทเนีย (ซึ่งได้ปกครองตนเอง ตั้งแต่เดือนตุลาคม ค.ศ. 1938) 5. เยอรมนีได้ก่อตั้งรัฐในอารักขาโบฮีเมียและมอเรเวียด้วยรัฐบาลหุ่นเชิด เมื่อวันที่ 16 มีนาคม ค.ศ. 1939 6. วันที่ 14 มีนาคม ค.ศ. 1939, รัฐบาลฝ่ายคาทอลิกและฟาสซิสต์ที่สนับสนุนต่อฮิตเลอร์ได้ประกาศจัดตั้งสาธารณรัฐสโลวัก ซึ่งเป็นรัฐบริวารของฝ่ายอักษะ
เนวิล เชมเบอร์ลิน นายกรัฐมตรีแห่งบริติช ภายหลังการลงจอดที่สนามบินเฮสตัน หลังจากที่เขาได้เข้าพบกับอดอล์ฟ ฮิตเลอร์

การสนทนาได้เริ่มต้นขึ้นทันทีที่ฟือเรอร์เบา (Führerbau) ภายหลังจากเชมเบอร์ลินและดาลาดีเยเดินทางมาถึง ทำให้ไม่มีเวลาในการปรึกษาหารือกัน การประชุมได้ถูกจัดขึ้นเป็นภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส และเยอรมัน[30] ข้อตกลงได้ถูกบรรลุเมื่อวันที่ 29 กันยายน และเมื่อเวลาประมาณ 01.30 น. วันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 1938[31] อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ เนวิล เชมเบอร์ลิน เบนิโต มุสโสลินี และเอดัวร์ ดาลาดีเยได้ลงนามในข้อตกลงมิวนิก ข้อตกลงดังกล่าวได้ถูกนำเสนออย่างเป็นทางการโดยมุสโสลินี แม้ว่าในความเป็นจริง แผนการของอิตาลีเกือบจะเหมือนกับข้อเสนอของโกเดสแบร์ก กองทัพเยอมันจะเข้ายึดครองซูเดเทินลันท์โดยสมบูรณ์ภายในวันที่ 10 ตุลาคม และคณะกรรมาธิการระหว่างประเทศจะตัดสินอนาคตของบริเวณพื้นที่ข้อพิพาทอื่น ๆ[32]

เชโกสโลวาเกียได้รับแจ้งจากบริเตนและฝรั่งเศสถึงทางเลือกของประเทศ คือ ถ้าไม่ยอมจำนนต่อการผนวกรวมที่ได้กำหนดไว้ก็ต้องเผชิญกับการรุกรานจากนาซีเยอรมนีเพียงลำพัง รัฐบาลเชโกสโลวาเกียตระหนักถึงความสิ้นหวังในการต่อสู้กับนาซีได้เพียงลำพัง จึงได้ยอมจำนนอย่างไมีค่อยเต็มใจนัก (30 กันยายน) และตกลงที่จะปฏิบัติตามข้อตกลง การตั้งถิ่นฐานดังกล่าวทำให้ซูเดเทินลันท์ตกเป็นของเยอรมนีซึ่งเริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม และควบคุมส่วนที่เหลือของเชโกสโลวาเกียโดยพฤตินัยตราบเท่าที่ฮิตเลอร์สัญญาว่าจะไม่ดำเนินการต่อไปอีก วันที่ 30 กันยายน ภายหลังจากได้เข้าพักผ่อนแล้ว แชมเบอร์ลินได้ไปที่อพาร์ตเมนต์ของฮิตเลอร์ใน Prinzregentenstraße และขอให้เขาลงนามในคำแถลงการณ์ที่เรียกว่า ความตกลงกองทัพเรืออังกฤษ-เยอรมัน "เป็นสัญลักษณ์ของความปรารถนาของทั้งสองประเทศของเราที่จะไม่ทำสงครามกันอีก" หลังจากที่ล่ามของฮิตเลอร์ได้พูดแปลภาษาให้ฟัง เขาก็เห็นด้วยอย่างมีความสุข[33]

เมื่อวันที่ 30 กันยายน เมื่อเขาเดินทางกลับอังกฤษ แชมเบอร์ลินได้กล่าวสุนทรพจน์ "สันติภาพเพื่อเวลาของเรา" (peace for our time) ที่เป็นข้อโต้แย้งกับฝูงชนในลอนดอน[34]

ฟือเรอร์เบาในมิวนิก สถานที่ตั้งในการลงนามข้อตกลงมิวนิก
ปัจจุบัน ภาพถ่ายของห้องสำนักงานของฮิตเลอร์ในฟือเรอร์เบา ที่ซึ่งข้อตกลงมิวนิกได้ถูกลงนาม พร้อมด้วยเตาผิงและโคมไฟเพดาน

ปฏิกิริยา

[แก้]

การตอบสนองทันที

[แก้]
เชโกสโลวาเกีย
[แก้]

ชาวเชโกสโลวักรู้สึกผิดหวังกับการตั้งถิ่นฐานของมิวนิก พวกเขาไม่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมในการประชุม และรู้สึกว่าพวกเขาถูกหักหลังโดยรัฐบาลของบริติชและฝรั่งเศส ชาวเช็กและสโลวักหลายคนอ้างถึงข้อตกลงมิวนิกว่า มิวนิกดิกทัท (เช็ก: Mnichovský diktát; สโลวัก: Mníchovský diktát) วลีที่ว่า "การทรยศมิวนิก" ก็ถูกนำมาใช้เช่นกันเพราะพันธมิตรทางทหารของเชโกสโลวาเกียกับฝรั่งเศสได้ถูกพิสูจน์แล้วว่าไร้ประโยชน์ สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับรัฐบาลฝรั่งเศสได้แสดงความเห็นว่า เชโกสโลวาเกียจะถือว่าเป็นผู้รับผิดชอบต่อสงครามยุโรปที่กำลังจะเกิดขึ้น หากสาธารณรัฐเชโกสโลวักได้ทำการปกป้องตนเองด้วยกำลังต่อต้านการรุกรานของเยอรมัน

คำขวัญที่ว่า "เกี่ยวกับเรา ไม่มีพวกเรา" (O nás bez nás!; O nás bez nás!) เป็นการสรุปถึงความรู้สึกของประชาชนในเชโกสโลวาเกีย (ปัจจุบันคือ สาธารณรัฐเช็กและสโลวาเกีย) ที่มีต่อข้อตกลงนี้ เมื่อเสียซูเดเทินลันท์ให้กับเยอรมนี เช็กโก-สโลวาเกีย (ในขณะที่เปลี่ยนชื่อรัฐ) ได้สูญเสียชายแดนที่สามารถป้องกันกับเยอรมนีได้และป้อมปราการชายแดนเชโกสโลวาเกีย หากไม่มีพวกมัน ความเป็นเอกราชก็จะมีความหมายมากกว่าความเป็นจริง นอกจากนี้ เชโกสโลวาเกียยังได้สูญเสียอุตสาหกรรมผลิตเหล็ก/เหล็กกล้าถึง 70% และพลเมือง 3.5 ล้านคนให้แก่เยอรมนี ชาวเยอรมันซูเดเทินได้เฉลิมฉลองสิ่งที่พวกเขาเห็นว่าเป็นการปลดปล่อยของพวกเขา ดูเหมือนว่าสงครามที่ใกล้จะอุบัติขึ้นได้ถูกหลีกเลี่ยง

โธมัส แมนน์ ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรมได้เขียนบทและกล่าวบนแท่นพิธีเพื่อปกป้องแผ่นดินเกิดแทนซึ่งได้ประกาศความภาคภูมิใจในการเป็นพลเมืองเชโกสโลวักและยกย่องความสำเร็จของสาธารณรัฐ เขาได้กล่าวโจมตีว่า "ยุโรปพร้อมที่จะเป็นทาส" โดยเขียนว่า "ชาวเชโกสโลวาเกียพร้อมที่จะต่อสู้เพื่อเสรีภาพและอยู่เหนือชะตากรรมของตนเอง" และ "สายเกินไปที่รัฐบาลบริติชจะรักษาสันติภาพ พวกเขาสูญเสียโอกาสมากเกินไป" แอ็ดวาร์ต แบแน็ช ประธานาธิบดีแห่งเชโกสโลวาเกียได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพใน ค.ศ. 1939

เยอรมนี
[แก้]

แม้ว่าบริติชและฝรั่งเศสจะพึงพอใจ นักการทูตชาวบริติชในเบอร์ลินอ้างว่าเขาได้รับเขาได้รับแจ้งจากผู้ติดตามของฮิตเลอร์ว่าไม่นานหลังจากการพบกับแชมเบอร์ลิน ฮิตเลอร์ได้กล่าวอย่างเกรี้ยวกราดว่า: "ท่านสุภาพบุรุษ นี่เป็นการประชุมระดับนานาชาติครั้งแรกของผม และผมก็มั่นใจได้เลยว่าคุณจะเห็นมันเป็นครั้งสุดท้ายของผม" ในช่วงหนหนึ่ง มีคนได้ยินเขาพูดเกี่ยวกับแชมเบอร์ลินว่า: "ถ้าหากมีชายชราโง่ ๆ เข้ามาสอดแทรกที่นี่อีกครั้งด้วยร่มของเขา ฉันจะเตะเขาให้ตกจากบันไดและกระโดดเหยียบลงไปที่ท้องของเขาต่อหน้าช่างภาพ" ในการกล่าวสุนทรพจน์ต่อสาธารณะภายหลังจากมิวนิก ฮิตเลอร์ได้ประกาศว่า "ขอบคุณพระเจ้า พวกเราไม่มีนักการเมืองที่ถือร่มในประเทศนี้"

ฮิตเลอร์มีความรู้สึกว่าถูกโกงจากการทำสงครามกับเช็กอย่างจำกัดซึ่งเขาได้ตั้งเป้าหมายไว้ตลอดช่วงฤดูร้อน ในช่วงต้นตุลาคม เลขาธิการสื่อมวลชนของแชมเบอร์ลินได้ขอให้มีการประกาศเกี่ยวกับมิตรภาพระหว่างชาวเยอรมันและชาวบริติช เพื่อเสริมความแข็งแกร่งของตำแหน่งภายในประเทศของแชมเบอร์ลิน แต่ฮิตเลอรกลับกล่าวสุนทรพจน์ประณามถึง "การแทรกแซงการปกครอง" ของแชมเบอร์ลิน ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1939 ไม่นานก่อนการบุกครองโปแลนด์ ฮิตเลอร์ได้บอกกับนายพลของเขาว่า: "ศัตรูของเราเป็นคนที่ต่ำกว่าโดยมาก ไม่ใช่คนที่ชอบลงมือทำ ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ พวกเขาเป็นหนอนตัวเล็ก ๆ ฉันเห็นพวกมันที่มิวนิก"

ช่วงก่อนข้อตกลงมิวนิก ความมุ่งมั่นของฮิตเลอร์ที่จะทำการรุกรานเชโกสโลวาเกียในวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1938 ได้ก่อให้เกิดวิกฤตการณ์ครั้งใหญ่ในโครงสร้างบังคับบัญชาของเยอรมัน หัวหน้าคณะเสนาธิการ นายพล ลูทวิช เบ็ค ได้ประท้วงในชุดบันทึกที่มีเนื้อหายืดยาวว่าจะเป็นการเริ่มต้นของสงครามโลกที่เยอรมันจะเป็นฝ่ายแพ้อีกครั้ง และเรียกร้องให้ฮิตเลอร์ยุติความขัดแย้งที่ได้คาดการณ์เอาไว้ ฮิตเลอร์ได้เรียกข้อโต้แย้งในการต่อต้านสงครามของเบ็คว่า "kindische Kräfteberechnungen" ("การคิดคำนวณกำลังแบบเด็ก ๆ") เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม ค.ศ. 1938 มีการประชุมภายในกองทัพอย่างลับ ๆ ขึ้น เบ็ดได้อ่านรายงานที่มีเนื้อหาอันยืดยาวของเขาต่อเจ้าหน้าที่ที่ได้รวมตัวกัน พวกเขาทั้งหมดเห็นพ้องต้องกันว่าจะต้องทำอะไรสักอย่างเพื่อขัดขวางถึงความพินาศย่อยยับครั้งนี้อย่างแน่นอน เบ็คคาดหวังว่าพวกเขาจะลาออกด้วยกันแต่กลับไม่มีใครลาออกเลยสักคนยกเว้นเบ็ค นายพล ฟรันทซ์ ฮัลเดอร์ ซึ่งได้เข้ามาแทนที่ตำแหน่งของเขา รู้สึกเห็นใจเบ็คและพวกเขาทั้งสองได้สมคบคิดกับนายพลระดับสูงหลายคนอย่างพลเรือเอก วิลเฮ็ล์ม คานาริส(หัวหน้าหน่วยข่าวกรองของเยอรมัน) และกราฟ ฟอน เฮลเดอร์ฟ(หัวหน้ากรมตำรวจแห่งเบอร์ลิน) เพื่อจับกุมฮิตเลอร์ทันทีที่เขาได้ออกคำสั่งให้ทำการบุกครอง แผนการนี้จะใช้ได้ก็ต่อเมือสหราชอาณาจักรจะออกคำเตือนที่เข้มงวดและจดหมายถึงผลกระทบที่พวกเขาจะต่อสู้เพื่อรักษาเชโกสโลวาเกียเอาไว้ สิ่งนี้จะช่วยโน้มน้าวให้ชาวเยอรมันเชื่อว่าความพ่ายแพ้บางอย่างกำลังรอเยอรมนีอยู่ ดังนั้นจึงได้มีการส่งเจ้าหน้าที่ไปยังอังกฤษเพื่อบอกกับแชมเบอร์ลินว่าจะมีการวางแผนโจมตีเชโกสโลวาเกีย และตั้งใจที่จะโค่นล้มฮิตเลอร์ ถ้าเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้น ข้อเสนอนี้ได้ถูกปฏิเสธโดยคณะรัฐมนตรีของบริติช และไม่มีการออกจดหมายดังกล่าว ดังนั้นข้อเสนอในการถอดถอนฮิตเลอร์ยังไม่ได้ดำเนินการแต่อย่างใด ด้วยมูลเหตุนี้จึงเป็นที่ถกเถียงกันว่าข้อตกลงมิวนิกทำให้ฮิตเลอร์ครองอยู่ในอำนาจ—ฮัลเดอร์ยังคงรู้สึกขมขื่นต่อข้อปฏิเสธของแชมเบอร์ลินสำหรับช่วงทศวรรษในภายหลังสงคราม—แม้ว่าความพยายามในการถอดถอนดังกล่าวจะประสบความสำเร็จได้มากกว่าแผนลับในปี ค.ศ. 1944 หรือไม่ก็ตาม

บริติชและฝรั่งเศส
[แก้]
ชาวเยอรมันซูเดเทินตะโกนเชียร์การมาถึงของกองทัพเยอรมันซึ่งได้เข้ามาสู่ซูเดเทินลันท์ เมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ. 1938

ข้อตกลงดังกล่าวได้รับการปรบมือโดยทั่วหน้า ดาลาดีเย นายกรัฐมนตรีแห่งฝรั่งเศสไม่เชื่อตามที่นักวิชาการคนหนึ่งได้กล่าวว่า สงครามยุโรปนั้นมีความชอบธรรม "เพื่อรักษาชาวเยอรมันจำนวนสามล้านคนเอาไว้ภายใต้อำนาจอธิปไตยของสาธารณรัฐเช็ก" การสำรวจมติมหาชนในบริเตน ฝรั่งเศส และสหรัฐได้ระบุว่า คนส่วนใหญ่ต่างสนับสนุนต่อข้อตกลงนี้ แบแน็ช ประธานาธิบดีแห่งเชโกสโลวาเกียได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพใน ค.ศ. 1939

การพาดหัวข่าวของหนังสือพิมพ์เดอะนิวยอร์กไทมส์ เกี่ยวกับข้อตกลงมิวนิกว่า "ฮิตเลอร์ได้น้อยกว่าการเรียกร้องซูเดเทิน" และรายงานว่า "ฝูงชนที่ดูรื่นเริง" ได้ยกย่องดาลาดีเย เมื่อเขากลับมายังฝรั่งเศส และแชมเบอร์ลินก็ได้รับ"การตะโกนเชียร์อย่างบ้าคลั่ง" เมื่อเขากลับมายังบริเตน

ประชาชนชาวบริติชคาดว่าสงครามกำลังจะเกิดขึ้นและ"ท่าทางเยี่ยงรัฐบุรุษ"ของแชมเบอร์ลินได้รับการต้อนรับเป็นครั้งแรกด้วยเสียงเชียร์ เขาได้รับการต้อนรับในฐานะวีรบุรุษโดยราชวงศ์และเชื้อเชิญให้มายืนอยู่บนระเบียงที่พระราชวังบักกิงแฮมก่อนที่เขาจะนำเสนอข้อตกลงต่อรัฐสภาบริติช ปฏิกิริยาเชิงบวกโดย ๆ ทั่วไปกลับดูจืดชืออย่างรวดเร็ว แม้จะได้รับการอุปถัมภ์จากราชวงศ์ก็ตาม อย่างไรก็ตาม มีท่าทีต่อต้านตั้งแต่เริ่มต้น เคลเมนต์ แอตต์ลี และฝ่ายค้านจากพรรคแรงงานได้คัดค้านข้อตกลงนี้ โดยเป็นพันธมิตรกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฝ่ายอนุรักษ์นิยมสองคนคือ Duff Cooper และ Vyvyan Adams ซึ่งเคยถูกมองว่าเป็นองค์ประกอบปฏิกิริยาในพรรคอนุรักษ์นิยม

ดาลาดีเยเชื่อว่าเป้าหมายสูงสุดของฮิตเลอร์เป็นภัยคุกคาม เขาได้บอกกับบริติชในการประชุมเมื่อปลายเดือนเมษายน ค.ศ. 1938 ว่าเป้าหมายในระยะยาวที่แท้จริงของฮิตเลอร์คือการรักษา"การครองงำภาคพื้นทวีปเอาไว้เมื่อเทียบกับความทะเยอทะยานของนโปเลียนนั้นอ่อนแอ" เขาได้กล่าวต่อไปว่า "วันนี้เป็นรอบของเชโกสโลวาเกีย พรุ่งนี้จะถึงรอบของโปแลนด์และโรมาเนีย" เมื่อเยอรมนีได้รับน้ำมันและข้าวสาลีตามที่ต้องการแล้ว เขาก็จะหันไปทางตะวันตก แน่นอนว่าเราต้องเพิ่มความพยายามเพื่อหลีกเลี่ยงสงคราม แต่จะไม่ได้ระบสัมปทานนอกเสียจากบริเตนใหญ่และฝรั่งเศสเกาะติดกัน การแทรกแซงในปรากสำหรับการยินยอมครั้งใหม่ แต่ได้ประกาศในเวลาเดียวกันว่าพวกเขาจะปกป้องเอกราชของเชโกสโลวาเกีย ในทางกลับกัน ถ้าหากมหาอำนาจตะวันตกยอมจำนนอีกครั้ง พวกเขาจะเร่งเร้าสงครามที่พวกเขาต้องการหลีกเลี่ยงเท่านั้น" บางทีอาจจะท้อแท้จากการโต้เถียงของผู้นำกองทัพฝรั่งเศสและเจ้าหน้าที่พลเรือนเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการทหารที่ยังไม่พร้อมและฐานะทางการเงินที่อ่อนแอ ในขณะที่ยังคงบอบช้ำจากการนองเลือดของฝรั่งเศสในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ซึ่งเขาได้พบเห็นเป็นการส่วนตัว ดาลาดีเยซึ่งคาดว่าจะมีฝูงชนที่เกลียดชังได้ส่งเสียงโห่ร้อง

ในวันภายหลังที่มิวนิก แชมเบอร์ลินได้รับจดหมายและโทรเลขเพื่อแสดงความขอบคุณมากกว่า 20,000 ฉบับ และของขวัญและรวมถึงช่อดอกไม้บัลบ์ 6,000 ชิ้นจากชาวดัตช์ผู้เลื่อมใสที่รู้ปิติยินดีและไม้กางเขนจากสมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 11

โปแลนด์
[แก้]
กองทัพโปแลนด์ได้เข้าสู่ Zaolzie in 1938

โปแลนด์กำลังสร้างองค์กรลับขึ้นในพื้นที่ของ Zaolzie ตั้งแต่ ค.ศ. 1935 ในฤดูร้อน ค.ศ. 1938 โปแลนด์ได้พยายามจัดตั้งกลุ่มกองโจรในพื้นที่ เมื่อวันที่ 21 กันยายน โปแลนด์ได้ร้องขอให้โอนย้ายพื้นที่โดยตรงไปยังการควบคุมของตนเองอย่างเป็นทางการ ทูตโปแลนด์ประจำกรุงปรากนามว่า Kazimierz Papée ได้ระบุว่า การได้รับ Cieszyn Silesia กลับคืนมาจะเป็นสัญญาณที่ดีของความปรารถนาดีและ"การแก้ไขความอยุติธรรม" ใน ค.ศ. 1920 บันทึกที่คล้ายกันได้ถูกส่งไปยังปารีสและลอนดอนโดยขอให้ชนกลุ่มน้อยชาวโปแลนด์ในเชโกสโลวาเกียได้รับสิทธิเช่นเดียวกับชาวเยอรมันซูเดเทิน ในวันรุ่งขึ้น แบแน็ชได้ส่งจดหมายถึงประธานาธิบดีแห่งโปแลนด์นามว่า Ignacy Mościcki พร้อมกับคำมั่นสัญญาว่าจะได้รับ"การแก้ไขชายแดน" แต่จดหมายดังกล่าวได้ถูกส่งไปได้เพียงในวันที่ 26 กันยายน การตอบกลับของ Mościcki ที่ได้ส่งไปเมื่อวันที่ 27 กันยายนนั้นเป็นการหลีกเลี่ยง แต่ก็มาพร้อมกับข้อเรียกร้องของรัฐบาลโปแลนด์ที่จะส่งมอบเขตเทศมณฑล Zaolzie สองแห่งโดยทันที เพื่อเป็นการโหมโรงเพื่อยุติข้อพิพาทชายแดนขั้นตอนสุดท้าย แบแน็ชได้ตอบกลับว่ายังไม่ได้ข้อสรุป เขาตกลงที่จะส่งมอบดินแดนอันเป็นข้อพิพาทให้กับโปแลนด์ แต่กลับโต้แย้งว่ามันไม่สามารถทำได้ในช่วงก่อนการรุกรานของเยอรมัน เพราะมันจะเป็นการขัดขวางการเตรียมความพร้อมในการทำสงครามของเชโกสโลวัก ทางโปแลนด์รับรู้คำตอบว่าเป็นการเล่นอีกอย่างหนึ่งเพื่อถ่วงเวลา

การดำเนินทางการทูตของโปแลนด์ได้เกิดขึ้นพร้อมกับการจัดวางกองกำลังทหารตามแนวชายแดนของเชโกสโลวาเกียในวันที่ 23-24 กันยายน และโดยการออกคำสั่งให้เรียกกองกำลังนี้ว่า "หน่วยรบ" ของชาวโปแลนด์ Zaolzie และ"เหล่าทหาร Zaolzie" ซึ่งเป็นองค์กรกึ่งทหารที่ประกอบไปด้วยอาสาสมัครจากทั่วทั้งประเทศโปแลนด์ เพื่อข้ามชายแดนเชโกสโลวาเกียและเข้าโจมตีหน่วยทหารเชโกสโลวัก อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ก้าวข้ามเพียงแค่ไม่กี่คน ก็ถูกกองกำลังเชโกสโลวักขับไล่และล่าถอยกลับไปยังโปแลนด์

เอกอัครราชทูตโปแลนด์ประจำเยอรมนีได้รับทราบผลของการประชุมมิวนิก เมื่อวันที่ 30 กันยายนมาจากริบเบินทร็อพ ซึ่งให้การรับรองกับเขาว่าเบอร์ลินได้กำหนดเงื่อนไขการค้ำประกันส่วนที่เหลือของเชโกสโลวาเกียเกี่ยวกับปฏิบัติตามข้อเรียกร้องดินแดนของโปแลนด์และฮังการี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของโปแลนด์นามว่า Józef Beck รู้สึกผิดหวังกับเหตุการณ์นี้ ในคำพูดของเขาเอง การประชุมคือ "ความพยายามของคณะกรรมการของมหาอำนาจในการกำหนดตัดสินใจที่มีผลผูกผันกับรัฐอื่น ๆ (และโปแลนด์ไม่สามารถยินยอมในเรื่องนี้ได้ เนื่องจากจะถูกลดลงเป็นวัตถุทางการเมืองที่ผู้อื่นจะดำเนินตามความประสงค์ของพวกเขา)" ซึ่งส่งผลลัพธ์ในเวลา 23:45 น. เมื่อวันที่ 30 กันยายน 11 ชั่วโมงภายหลังจากที่รัฐบาลเชโกสโลวักยอมรับเงื่อนไขมิวนิว โปแลนด์ได้ยื่นคำขาดต่อรัฐบาลเชโกสโลวัก เป็นการเรียกร้องให้อพยพทางทหารและตำรวจของเชโกสโลวาเกียโดยทันที และให้เวลาแก่ปรากจนถึงเวลา 11:45 น. เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม กระทรวงต่างประเทศของเชโกสโลวาเกียได้โทรหาเอกอัครราชทูตโปแลนด์ประจำปราก และบอกเขาว่าโปแลนด์สามารถได้ในสิ่งที่ต้องการแต่ได้ขอให้ล่าช้าออกไปเป็นเวลา 24 ชั่วโมง เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม กองทัพโปแลนด์ซึ่งอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาโดยนายพล วลาดิสลาฟ บอร์ตนอฟสกี ได้ผนวกพื้นที่ราวประมาณ 801.5 ตารางกิโลเมตรโดยมีประชากรจำนวน 227,399 คน ฝ่ายบริหารได้แบ่งพื้นที่ผนวกออกเป็นสองส่วนระหว่างเทศมณฑล Frysztat และเทศมณฑล Cieszyn

นักประวัติศาสตร์นามว่า Dariusz Baliszewski ได้เขียนไว้ว่า ในช่วงการผนวกรวมนั้น ไม่มีความร่วมมือระหว่างกองกำลังทหารโปแลนด์และเยอรมัน แต่กลับมีกรณีของความร่วมมือกันระหว่างกองกำลังทหารโปแลนด์และเช็กในการป้องกันดินแดนจากพวกเยอรมัน ตัวอย่างเช่นใน Bohumín

ในที่สุด การยื่นคำขาดของโปแลนด์ได้ให้การตัดสินใจแก่แบแน็ชโดยรายงานของเขาเองที่จะละทิ้งความคิดใด ๆ ที่จะต่อต้านการย้ายถิ่นฐาน(เชโกสโลวาเกียจะถูกโจมตีจากทุกด้าน) เยอรมันมีความยินดีกับผลลัพธ์ดังกล่าวและยินดีที่จะเสียสละในการยกศูนย์รถไฟขนาดเล็กประจำจังหวัดให้แก่โปแลนด์เพื่อแลกกับผลประโยชน์ของโฆษณษชวนเชื่อที่ตามมา มันได้แพร่กระจายการกล่าวประณามโทษของการแบ่งแยกเชโกสโลวาเกีย ทำให้โปแลนด์เป็นผู้มีส่วนร่วมในกระบวนการนี้ และทำให้เกิดความสับสนกับความคาดหวังทางการเมือง โปแลนด์ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้สมรู้ร่วมคิดกับเยอรมัน อย่างไรก็ตาม ไม่มีข้อตกลงอย่างเป็นทางการระหว่างโปแลนด์และเยอรมันเกี่ยวกับเชโกสโลวาเกียเมื่อใดก็ตาม

นายพล Ludvík Krejčí เสนาธิการกองทัพบกแห่งกองทัพเชโกสโลวาเกียได้รายงานมาเมื่อวันที่ 29 กันยายนว่า "กองทัพของเราจะคงอยู่ในสภาพพร้อมรบอย่างสมบูรณ์ภายในเวลาประมาณสองวันเพื่อต่อต้านการโจมตี แม้ว่ากองทัพเยอรมันจะมาพร้อมกันหมดก็ตาม โดยที่โปแลนด์จะไม่เคลื่อนไหวในการต่อต้านเรา"

นักประวัติศาสตร์ เช่น H.L. Roberts และ Anna Cienciala ได้พิจารณาว่าการกระทำของแบแน็ชในช่วงวิกฤตครั้งนี้จะไม่เป็นมิตรกับเชโกสโลวาเกีย แต่ไม่ได้ต้องการแสวงหาการทำลายล้างอย่างจริงจัง ในขณะที่ยุคสตาลิน ประวัติศาสตร์โปแลนด์มักจะกล่าวกันว่า Beck เป็น"สายลับเยอรมัน" และได้ให้ความร่วมมือกับเยอรมนี แต่ประวัติศาสตร์ในช่วงหลังปี ค.ศ. 1956 โดยทั่วไปได้ให้การปฏิเสธถึงลักษณะเช่นนี้

ฮังการี
[แก้]

ฮังการีได้ปฏิบัติตามคำเรียกร้องของโปแลนด์ในการโอนย้ายดินแดนพร้อมด้วยคำเรียกร้องของตนเอง เมื่อวันที่ 22 กันยายน[35] คำเรียกร้องของฮังการีก็ได้บรรลุผลในที่สุด ในช่วงอนุญาโตตุลาการเวียนนา เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน ค.ศ.1938

ที่อื่น
[แก้]
การ์ตูนล้อเลียนทางการเมืองมาจากโปแลนด์ซึ่งพรรณาถึงสภาพโซเวียตในหัวข้อว่า "อีวาน" ได้ถูกเตะขับออกจากยุโรป: "ดูเหมือนว่ายุโรปคงจะเลิกให้ความเคารพฉันซะแล้ว"

โจเซฟ สตาลินเกิดอาการหัวเสียด้วยผลลัพธ์ของการประชุมที่มิวนิก เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม ค.ศ. 1935 ฝรั่งเศสและสหภาพโซเวียตได้ลงนามในสนธิสัญญาความช่วยเหลือซึ่งกันและกันระหว่างฝรั่งเศสและโซเวียต โดยมีจุดประสงค์เพื่อระงับความก้าวร้าวของนาซีเยอรมนี โซเวียตซึ่งมีสนธิสัญญาในการให้ความช่วยเหลือทางทหารร่วมกันกับเชโกสโลวาเกีย จึงมีความรู้สึกว่าถูกฝรั่งเศสทรยศหักหลัง บริติชและฝรั่งเศสได้ใช้โซเวียตเป็นส่วนใหญ่ในฐานะเป็นภัยคุกคามต่อเยอรมัน สตาลินได้สรุปว่าประเทศตะวันตกกำลังสมรู้ร่วมคิดกับฮิตเลอร์เพื่อมอบประเทศในยุโรปกลางให้กับเยอรมัน ทำให้เกิดความวิตกกังวลว่าพวกเขาอาจจะทำเช่นเดียวกันกับสภาพโซเวียตในอนาคต ซึ่งจะทำให้เกิดการแบ่งแยกสหภาพโซเวียตระหว่างประเทศตะวันตก ด้วยความเชื่อเหล่านี้ทำให้สหภาพโซเวียตได้ปรับเปลี่ยนนโยบายต่างประเทศของตนในการสร้างสายสัมพันธ์ไมตรีกับเยอรมนี ซึ่งในที่สุดก็ได้นำไปสู่การลงนามในกติกาสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบินทร็อพในปี ค.ศ. 1939


ความเห็นภายหลัง
[แก้]

ผลที่ตามมา

[แก้]
ผู้อพยพชาวเช็กที่ออกมาจากซูเดเทินลันท์

เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม แบแน็ชได้ลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งเชโกสโลวาเกีย เนื่องจากเขาได้ตะหนักดีว่าการล่มสลายของเชโกสโลวาเกียเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ภายหลังจากการประทุของสงครามโลกครั้งที่สอง เขาได้จัดตั้งรัฐบาลผลัดถิ่นของเชโกสโลวักในลอนดอน เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม ค.ศ. 1938 กติกาสัญญาไม่รุกรานระหว่างกันฝรั่งเศส-เยอรมันได้ถูกลงนามในกรุงปารีสโดยรัฐมนตรีต่างประเทศของฝรั่งเศส Bonnet และรัฐมนตรีต่างประเทศของเยอรมัน โยอาคิม ฟ็อน ริบเบินทร็อพ[36][37][38]

รางวัลเวียนนาครั้งที่หนึ่งสู่ฮังการี

[แก้]
Admiral Horthy during the Hungarians' triumphant entry into Košice, November 1938
Poland annexed the Zaolzie area of Czechoslovakia inhabited by 36% of ethnic Poles in 1938.
"For 600 years we have been waiting for you (1335–1938)". An ethnic Polish band welcoming the annexation of Zaolzie by Poland in Karviná, October 1938

เยอรมันบุกครองดินแดนส่วนที่เหลือของเชโกสโลวาเกีย

[แก้]

การเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางยุทโธปกรณ์ของแวร์มัคท์

[แก้]

เนื่องจากการป้องกันชายแดนส่วนใหญ่ที่อยู่ในดินแดนที่ถูกยกให้เป็นผลมาจากข้อตกลงมิวนิก ส่วนที่เหลือของเชโกสโลวาเกียจึงถูกเปิดกว้างต่อการรุกรานมากขึ้น แม้ว่าจะมีคลังยุทโธปกรณ์สมัยใหม่ที่ค่อนข้างใหญ่ก็ตาม ในการกล่าวสุนทรพจน์ในรัฐสภาไรชทัก ฮิตเลอร์ได้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการยึดครองเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งแก่กองทัพเยอรมันและเห็นได้ชัดว่า การยึดครองเชโกสโลวาเกีย เยอรมนีได้รับปืนใหญ่ภาคสนามและปืนใหญ่ 2,175 กระบอก และรถถัง 469 คัน ชิ้นส่วนปืนใหญ่ต่อต้านอากาศยาน 500 ชิ้น ปืนกล 43,000 กระบอก ปืนไรเฟิลทหาร 1,090,000 กระบอก และปืนพกสั้น 114,000 กระบอก กระสุนปืนขนาดเล็กประมาณจำนวนหนึ่งพันล้านนัด และกระสุนสำหรับต่อต้านอากาศยานจำนวน 3 ล้านนัด สิ่งนั้นสามารถติดตั้งอาวุธได้ประมาณครึ่งหนึ่งของแวร์มัคท์ อาวุธของเชโกสโลวาเกียในเวลาต่อมานั้นมีบทบาทที่สำคัญในการบุกครองโปแลนด์และฝรั่งเศสของเยอรมัน ซึ่งล่าสุดเป็นประเทศที่เรียกร้องให้เชโกสโลวาเกียยินยอมในการยกดินแดนซูเดเทินลันท์ใน ค.ศ. 1938

กำเนิดฝ่ายต่อต้านของเยอรมันในกองทัพ

[แก้]

ในเยอรมนี วิกฤตการณ์ซูเดเทินได้นำไปสู่สิ่งที่เรียกว่า การสมรู้ร่วมคิดของโอสเทอร์ นายพล ฮันส์ โอสเทอร์ รองหัวหน้าของหน่วยอัพแวร์(หน่วยข่าวกรองทางทหารของนาซีเยอรมนี) และบุคคลสำคัญในกองทัพเยอรมันที่ต่อต้านระบอบการปกครองสำหรับพฤติกรรมดังกล่าว ซึ่งเป็นลางร้ายที่จะนำพาเยอรมนีเข้าสู่สงครามที่พวกเขาเชื่อว่าไม่พร้อมที่จะสู้รบ พวกเขาพูดคุยโต้เถียงถึงการโค่นล้มฮิตเลอร์และระบอบการปกครองด้วยการวางแผนบุกเข้าโจมตีทำเนียบนายกรัฐมนตรีไรช์โดยกองกำลังที่ภักดีไปสู่แผนลับ

การเรียกร้องอาณานิคมของอิตาลีจากฝรั่งเศส

[แก้]

อิตาลีได้สนับสนุนเยอรมนีอย่างเข้มแข็งที่มิวนิก และไม่กี่สัปดาห์ต่อมา ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1938 ได้พยายามใช้ข้อได้เปรียบของตนเพื่อสร้างข้อเรียกร้องใหม่ต่อฝรั่งเศส มุสโสลินีได้เรียกร้องท่าเรือเสรีที่จิบูตี การควบคุมเส้นทางรถไฟระหว่างอาดดิสอาบาบา-จิบูตี การมีส่วนร่วมของอิตาลีในการจัดการของบริษัทคลองสุเอซ บางส่วนจากอำนาจปกครองดินแดนร่วมกันระหว่างฝรั่งเศส-อิตาลีเหนือตูนีเซีย และการอนุรักษ์วัฒนธรรมอิตาลีในเกาะคอร์ซิกาที่ฝรั่งเศสถือครอง โดยที่ประชาชนชาวฝรั่งเศสไม่ได้หลอมรวมกัน ฝรั่งเศสได้ปฏิเสธข้อเรียกร้องเหล่านั้นและเริ่มข่มขู่ด้วยการฝึกซ้อมทางทะเลเป็นการเตือนถึงอิตาลี

คำอ้างอิงจากผู้เข้าร่วมที่สำคัญ

[แก้]

การทำให้ตกเป็นโมฆะตามกฎหมาย

[แก้]

"ผีร้ายแห่งมิวนิค"

[แก้]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. อังกฤษ: Munich Agreement; เช็ก: Mnichovská dohoda; สโลวัก: Mníchovská dohoda; เยอรมัน: Münchner Abkommen
  2. เช็ก: Mnichovská zrada; สโลวัก: Mníchovská zrada

อ้างอิง

[แก้]
  1. see the text at "Munich Pact September 30, 1938"
  2. Text in League of Nations Treaty Series, vol. 23, pp. 164–169.
  3. 3.0 3.1 Goldstein, Erik; Lukes, Igor (1999), The Munich Crisis, 1938: Prelude to World War II, New York, pp. 59–60, ISBN 9781136328398, สืบค้นเมื่อ 25 August 2019
  4. Goldstein, Erik; Lukes, Igor (2012-10-12). The Munich Crisis, 1938: Prelude to World War II (ภาษาอังกฤษ). Routledge. ISBN 9781136328398.
  5. Jesenský 2014, p. 88-89.
  6. "Hoedl-Memoiren". joern.de. สืบค้นเมื่อ 20 July 2019.
  7. office, Kafkadesk Prague (2021-03-14). "On this Day, in 1939: Slovakia declared its independence to side with Nazi Germany - Kafkadesk". kafkadesk.org (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2021-10-04.
  8. "Munich Agreement", Encyclopædia Britannica. Retrieved 6 August 2018.
  9. Statistický lexikon obcí v Republice československé I. Země česká. Prague. 1934.
    Statistický lexikon obcí v Republice česko7slovenské II. Země moravskoslezská. Prague. 1935.
  10. Noakes & Pridham 2010, p. 102, Vol. 3.
  11. Noakes & Pridham 2010, vol. 3 p. 101.
  12. Noakes & Pridham 2010, vol. 3 pp. 1001–1002.
  13. 13.0 13.1 Noakes & Pridham 2010, vol. 3 p. 102.
  14. 14.0 14.1 14.2 Noakes & Pridham 2010, vol. 3 p. 104.
  15. Hehn, Paul N (2005). A Low, Dishonest Decade: The Great Powers, Eastern Europe and the Economic Origins of World War II, 1930–1941. Bloomsbury Academic. p. 89. ISBN 9780826417619.
  16. Noakes & Pridham 2010, vol. 3 pp. 102–103.
  17. 17.0 17.1 17.2 17.3 17.4 Bell 1986, p. 238.
  18. Noakes & Pridham 2010, vol. 2 p. 201.
  19. 19.0 19.1 19.2 Noakes & Pridham 2010, vol. 3 p. 105.
  20. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Eleanor L. Turk 1999. Pp. 123
  21. Noakes & Pridham 2010, p. 105, Vol. 3.
  22. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Eleanor L. Turk 1999. Pp. 1232
  23. Adolf Hitler, Max Domarus. The Essential Hitler: Speeches and Commentary. Bolchazy-Carducci Publishers, 2007. ISBN 9780865166271. Pp. 626.
  24. Adolf Hitler, Max Domarus. The Essential Hitler: Speeches and Commentary. Bolchazy-Carducci Publishers, 2007. ISBN 9780865166271. Pp. 627.
  25. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Adolf Hitler 2007. Pp. 6262
  26. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Adolf Hitler 2007. Pp. 6263
  27. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Adolf Hitler 2007. Pp. 6264
  28. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Adolf Hitler 2007. Pp. 6265
  29. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Adolf Hitler 2007. Pp. 6272
  30. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Reynolds2
  31. Gilbert & Gott 1967, p. 178.
  32. Susan Bindoff Butterworth, Daladier and the Munich crisis: A reappraisal." Journal of Contemporary History 9.3 (1974): 191-216.
  33. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Reynolds
  34. "Peacetime". Encyclopedia Britannica.
  35. Jesenský 2014, p. 82.
  36. Gibler, Douglas M (2008). International Military Alliances, 1648–2008. CQ Press. p. 203. ISBN 978-1604266849.
  37. "The Franco-German Declaration of December 6th, 1938". สืบค้นเมื่อ 11 June 2020.
  38. France Signs "No-War" Pact with Germany, Chicago Tribune, 7 December 1938

บรรณานุกรม

[แก้]

หนังสือ

[แก้]

เว็บไซต์

[แก้]

วารสาร

[แก้]
  • Dray, W. H. (1978). "Concepts of Causation in A. J. P. Taylor's Account of the Origins of the Second World War". History and Theory. 17 (2): 149–174. doi:10.2307/2504843. JSTOR 2504843.
  • Jordan, Nicole. "Léon Blum and Czechoslovakia, 1936-1938." French History 5#1 (1991): 48–73.
  • Thomas, Martin. "France and the Czechoslovak crisis." Diplomacy and Statecraft 10.23 (1999): 122–159.

อ่านเพิ่ม

[แก้]
  • Bouverie, Tim. Appeasing Hitler: Chamberlain, Churchill and the Road to War (2019).
  • Butterworth, Susan Bindoff. "Daladier and the Munich crisis: A reappraisal." Journal of Contemporary History 9.3 (1974): 191-216
  • Cole, Robert A. "Appeasing Hitler: The Munich Crisis of 1938: A Teaching and Learning Resource," New England Journal of History (2010) 66#2 pp 1–30.
  • Duroselle, Jean-Baptiste. France and the Nazi Threat: The Collapse of French Diplomacy 1932–1939 (2004) pp 277–301.
  • Faber, David. Munich, 1938: Appeasement and World War II (2009)
  • Farnham, Barbara Reardon. Roosevelt and the Munich crisis: A study of political decision-making (Princeton University Press, 2021).
  • Goddard, Stacie E. "The rhetoric of appeasement: Hitler's legitimation and British foreign policy, 1938–39." Security Studies 24.1 (2015): 95-130.
  • Gottlieb, Julie et al. eds. The Munich Crisis, politics and the people: International, transnational and comparative perspectives (2021) excerpt
  • Watt, Donald Cameron. How war came: the immediate origins of the Second World War, 1938–1939 (1989) online free to borrow
  • Werstein, Irving. Betrayal: the Munich pact of 1938 (1969) online free to borrow
  • Wheeler-Bennett, John. Munich: Prologue to tragedy (1948).

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]