ความขัดแย้งเขตห้ามบินผ่านในประเทศอิรัก
เขตห้ามบินผ่านในประเทศอิรัก | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ ผลที่ตามมาของสงครามอ่าว | |||||||
รายละเอียดเขตห้ามบินผ่าน | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
สหรัฐ สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส ออสเตรเลีย เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ ซาอุดีอาระเบีย ตุรกี อิตาลี | ประเทศอิรัก | ||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
จอร์จ เอช. ดับเบิลยู. บุช (จนถึง 20 มกราคม ค.ศ. 1993) สมเด็จพระราชาธิบดีฟะฮัด สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลลอฮ์ | ซัดดัม ฮุสเซน | ||||||
กำลัง | |||||||
ช่วงหนึ่งมีทหารราบ 6,000 นาย อากาศยาน 50 ลำ และเจ้าหน้าที่ 1,400 นาย | ไม่ทราบจำนวนเจ้าหน้าที่กองทัพอากาศอิรักและกำลังตำรวจอิรัก | ||||||
ความสูญเสีย | |||||||
เฮลิคอปเตอร์ยูเอช-60 แบล็กฮอว์กถูกยิงตก 2 ลำ (ยิงกันเอง, เสียชีวิต 26 นาย) เจ้าหน้าที่กองทัพอากาศสหรัฐถูกฆ่าในปฏิบัติการการวางระเบิดอัลคุบัรทาวเวอร์ 19 นาย โดรน RQ-1 Predator 5 ลำถูกยิงตก |
ไม่ทราบจำนวนทหารที่ถูกฆ่า ไม่ทราบจำนวนระบบป้องกันภัยทางอากาศที่ถูกทำลาย มิโคยัน-กูเรวิชค์ มิก-25 ถูกยิงตก 1 ลำ มิโคยัน-กูเรวิชค์ มิก-23 ถูกยิงตก 1 ลำ Fitters Su-22 ถูกยิงตก 2 ลำ | ||||||
พลเมืองอิรักถูกฆ่า 1,400 คน (อ้างโดยรัฐบาลอิรัก)[1] |
ความขัดแย้งเขตห้ามบินผ่านในประเทศอิรัก เป็นความขัดแย้งระดับต่ำในเขตห้ามบินผ่านสองแห่งในประเทศอิรักที่ประกาศโดยสหรัฐ, สหราชอาณาจักร และฝรั่งเศสหลังสงครามอ่าวใน ค.ศ. 1991 สหรัฐระบุว่าเขตห้ามบินผ่านมีจุดประสงค์ในการป้องกันชนกลุ่มน้อยเคิร์ดในอิรักตอนเหนือและมุสลิมชีอะฮ์ในอิรักตอนใต้ อากาศยานของอิรักถูกห้ามไม่ให้บินในบริเวณนี้ อากาศยานตรวจการณ์ของสหรัฐ อังกฤษ และฝรั่งเศสบังคับใช้นโยบายนี้ จนกระทั่งฝรั่งเศสถอนตัวใน ค.ศ. 1996[2]
รัฐบาลอิรักอ้างว่ามีพลเมือง 1,400 คนถูกฆ่าจากการทิ้งระเบิดของฝ่ายสัมพันธมิตรในเขตห้ามบิน[3] ชาวเคิร์ดที่อยู่ทางเหนือได้สิทธิปกครองตนเองและได้รับการปกป้องจากความกลัวว่าจะมีการสังหารหมู่อัลอันฟาลใน ค.ศ. 1988 ที่ทำให้มีผู้ถูกฆ่ามากกว่าหมื่นคน ในช่วง 9 ปีแรกของมาตรการเขตห้ามบินผ่าน มีอากาศยานฝ่าเขตห้ามบินในบริเวณนี้มากกว่า 280,000 ลำ[4]
สหประชาชาติไม่อนุญาตให้ทำกิจกรรมทางทหารนี้[5] และบุฏรุส บุฏรุส-ฆอลี เลขาธิการสหประชาชาติในเวลานั้น ภายหลังได้ให้สัมภาษณ์แก่จอห์น พิลเจอร์ โดยกล่าวว่าเขตห้ามบินผ่านนั้น "ไม่ชอบด้วยกฎหมาย"[6][7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Carrington, Anca. "Iraq: Issues, Historical Background, Bibliography." Page 18.
- ↑ "BBC News | FORCES AND FIREPOWER | Containment: The Iraqi no-fly zones". news.bbc.co.uk. สืบค้นเมื่อ 2019-10-17.
- ↑ Sponeck, Graf Hans-Christof; Sponeck, H. C. von; Amorim, Celso N. (October 2006). A Different Kind of War: The UN Sanctions Regime in Iraq. Berghahn Books. ISBN 9781845452223.
- ↑ "Iraq Under Siege: Ten Years On". www.globalpolicy.org. สืบค้นเมื่อ 2019-10-17.
- ↑ "No-fly zones: The legal position". 2001-02-19. สืบค้นเมื่อ 2019-10-17.
- ↑ A People Betrayed เก็บถาวร 14 พฤศจิกายน 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ZNet, 23 February 2003
- ↑ ITV - John Pilger - Labour claims its actions are lawful while it bombs Iraq, starves its people and sells arms to corrupt states