จอห์น เมเจอร์
เดอะไรต์ออนะระเบิล เซอร์ จอห์น เมเจอร์ | |
---|---|
นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร | |
ดำรงตำแหน่ง 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1990 – 2 พฤษภาคม ค.ศ. 1997 (6 ปี 186 วัน) | |
กษัตริย์ | สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 |
ก่อนหน้า | มาร์กาเรต แทตเชอร์ |
ถัดไป | โทนี แบลร์ |
หัวหน้าพรรคอนุรักษนิยม | |
ดำรงตำแหน่ง 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1990 – 19 มิถุนายน ค.ศ. 1997 | |
ก่อนหน้า | มาร์กาเรต แทตเชอร์ |
ถัดไป | วิลเลียม เฮก |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | จอห์น รอย เมเจอร์ 29 มีนาคม ค.ศ. 1943 เซอร์รีย์, อังกฤษ |
ศาสนา | แองกลิคัน |
พรรคการเมือง | อนุรักษนิยม |
คู่สมรส | Norma Johnson (สมรส 1970) |
บุตร | 2 |
บุพการี | ทอม เมเจอร์-บอลล์ (พ่อ) |
ความสัมพันธ์ | เทอร์รี เมเจอร์-บอลล์ (พี่/น้องชาย) |
เซอร์จอห์น เมเจอร์ (อังกฤษ: Sir John Major) (เกิด 29 มีนาคม ค.ศ. 1943) นักการเมืองชาวอังกฤษและอดีตนายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักรจากพรรคอนุรักษนิยม
ชีวิตทางการเมือง
[แก้]หลังจากนางมาร์กาเรต แทตเชอร์ได้ลาออกจากตำแหน่งในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1990 เนื่องจากปัญหาภายในพรรคและการเสื่อมความนิยมจากนโยบายผู้มีสิทธิ์ออกเสียง (Poll Tax) ทำให้นายจอห์น เมเจอร์ชนะการเลือกตั้งหัวหน้าพรรคและก้าวขึ้นดำรงตำแหน่งแทน ในการเลือกตั้งทั่วไปในสหราชอาณาจักร พ.ศ. 2535 แม้ว่าผลสำรวจความคิดเห็นก่อนหน้านี้และหน้าคูหาจะระบุว่าพรรคแรงงานจะมีคะแนนนำ แต่พรรคอนุรักษนิยมได้รับที่นั่ง 336 ที่นั่ง ทำให้สามารถจะจัดตั้งรัฐบาลเสียงข้างมากได้เป็นสมัยที่ 4 ติดต่อกัน การเลือกตั้งครั้งนี้พรรคอนุรักษนิยมยังได้รับคะแนนเสียงสูงที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองสหราชอาณาจักร[1] หลังจากการเลือกตั้งพรรคแรงงานภายใต้การนำของหัวหน้าพรรคคนใหม่ของโทนี แบลร์ได้ปรับจุดยืนจากพรรคฝ่ายซ้ายเป็นพรรคสายกลางมากขึ้น สนับสนุนระบบตลาดเสรีมากขึ้น ประกอบกับคะแนนนิยมที่เสื่อมลงของพรรคอนุรักษนิยมในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจตั้งแต่ พ.ศ. 2535 ทำให้พรรคแรงงานได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งทั่วไปในสหราชอาณาจักร พ.ศ. 2540 หลังจากพ่ายแพ้นายจอห์น เมเจอร์ ได้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรค[2][3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1992: Tories win again against odds
- ↑ 1997: Labour landslide ends Tory rule
- ↑ "Mr Major's Resignation Statement" เก็บถาวร 2013-07-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 8 กรกฎาคม 2557