ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร
ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร | |
---|---|
รองนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 – 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 | |
นายกรัฐมนตรี | ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ | |
ดำรงตำแหน่ง 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 – 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558 | |
นายกรัฐมนตรี | ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
ก่อนหน้า | สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล |
ถัดไป | ดอน ปรมัตถ์วินัย |
สมาชิกวุฒิสภา | |
ดำรงตำแหน่ง 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 – 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 | |
รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 – 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 | |
หัวหน้า | ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
ผู้บัญชาการทหารสูงสุด | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2554 – 30 กันยายน พ.ศ. 2557 | |
ก่อนหน้า | พลเอก ทรงกิตติ จักกาบาตร์ |
ถัดไป | พลเอก วรพงษ์ สง่าเนตร |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2496 อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา |
คู่สมรส | เพ็ญลักษณ์ ปฏิมาประกร |
ชื่อเล่น | เจี๊ยบ |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
สังกัด | กองบัญชาการกองทัพไทย |
ประจำการ | พ.ศ. 2515–2557 |
ยศ | พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก |
บังคับบัญชา | ผู้บัญชาการทหารสูงสุด |
พลเอก ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร หรือ บิ๊กเจี๊ยบ (9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2496 - ปัจจุบัน) เป็นนายทหารชาวไทย, รองนายกรัฐมนตรี, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ, อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด, อดีตสมาชิกวุฒิสภา และอดีตรองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฝ่ายความมั่นคง
ประวัติ
[แก้]ชีวิตส่วนตัว
[แก้]ธนะศักดิ์ ชื่อเล่นนามว่า เจี๊ยบ เกิดที่ตำบลแชะ อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา เป็นบุตรของ พ.อ. ยงยุทธ ปฏิมาประกร หลานตาใน รองอำมาตย์เอก หลวงนิติการประสิทธิ์ (นวน เหมนิธิ) กับ ภริยาคนที่ 2 อุก นิติการประสิทธิ์ (ญ.) เป็นผู้สืบสายสกุล “ณ ราชสีมา” ชั้น 8 สาย "พระยาภักดีสงคราม (เจ้าเมืองนางรอง)"[1][2] และสวาสดิ์ ปฏิมาประกร (ญ.)
ธนะศักดิ์ สมรสกับ นางเพ็ญลักษณ์ ปฏิมาประกร (นามสกุลเดิม: บุนนาค)[3]
การศึกษา
[แก้]ธนะศักดิ์ จบการศึกษาจาก ดังนี้
- โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 12 (เลขประจำตัว 3671)
- โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 23
(ตท.12 และจปร.23 ซึ่งเป็นรุ่นเดียวกับพล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา, พล.อ. ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ, พล.อ. ธวัชชัย สมุทรสาคร)[4]
- ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา[5]
บทบาทในทางสังคม
[แก้]งานด้านการทหาร
[แก้]ธนะศักดิ์ได้รับพระราชทานยศ ร้อยตรี ในปีพ.ศ. 2519 เป็นทหารเหล่าทหารราบ ตำแหน่งแรกของธนะศักดิ์ คือ ผู้บังคับหมวดปืนเล็ก กองร้อยอาวุธเบา กองพันทหารราบที่ 2 กรมผสมที่ 4 จังหวัดนครสวรรค์ เติบโตในราชการมาจากกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ (ทหารเสือราชินี) และหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ จังหวัดลพบุรี โดยตรง และเคยเป็นผู้บังคับบัญชาหน่วยนี้มาก่อน รวมทั้งเป็นผู้บังคับบัญชาคนแรกของหน่วยปฏิบัติการเฉพาะกิจ 90 ซึ่งสังกัดในหน่วยนี้ด้วย[6] ต่อมาในการรัฐประหารเมื่อปี พ.ศ. 2557 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ[7] ซึ่งตั้งขึ้นภายหลังการยึดอำนาจครั้งนั้น
ชีวิตส่วนตัวมีชื่อเล่นว่า "เจี๊ยบ" สื่อมวลชนจึงมีชื่อที่นิยมเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า "บิ๊กเจี๊ยบ"
งานด้านการเมือง
[แก้]ในรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เขาดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2557 มีแหล่งข่าวทางทูตว่า ความปรารถนาชัดแจ้งและดิ้นรนที่จะได้การรับรองจากตะวันตกผลักดันให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแสวงการให้สัญญาณเชิงสัญลักษณ์มากกว่าการริเริ่มที่มีแก่นสาร แหล่งข่าวกระทรวงการต่างประเทศอีกแหล่งหนึ่งว่า พล.อ.ธนะศักดิ์ พาดพิง"ประชาธิปไตย" 13 ครั้งในสุนทรพจน์เขา ขณะที่ประธานาธิบดีสหรัฐบารัก โอบามา พาดพิง 7 ครั้ง และนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักรเดวิด แคเมอรอนพาดพิง 10 ครั้ง การอ้างถึงประชาธิปไตยบ่อยครั้งกลายเป็นเรื่องขบขันในบรรดาสมาชิกชุมชนทางทูต
ต่อมาเขาได้พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558 ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีเพียงตำแหน่งเดียว และได้รับมอบหมายให้กำกับดูแลงานกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และกระทรวงวัฒนธรรม[8]
เกียรติยศ
[แก้]รางวัล
[แก้]- รางวัลเกียรติยศจักรดาว สาขาบริหารการปกครองและเสริมสร้างความมั่นคงแห่งชาติ ประจำปีพ.ศ. 2554[9]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]ไทย
[แก้]- พ.ศ. 2551 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[10]
- พ.ศ. 2548 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[11]
- พ.ศ. 2525 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี ชั้นที่ 5 เหรียญรามมาลาเข็มกล้ากลางสมร (ร.ม.ก.)[12]
- พ.ศ. 2522 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[13]
- พ.ศ. 2530 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[14]
- พ.ศ. 2531 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[15]
- พ.ศ. 2553 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[16]
- พ.ศ. 2537 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 4 (ภ.ป.ร.4)[17]
ต่างประเทศ
[แก้]- อินโดนีเซีย:
- พ.ศ. 2556 - เครื่องอิสริยาภรณ์ดาราการติกาเอกปักษี ชั้นอุตมา[20]
ลำดับสาแหรก
[แก้]ลำดับสาแหรกของ พล.อ.ธนศักดิ์ ปฏิมาประกร | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
ลำดับสาแหรกของ นวล อธินันทน์ ณ ราชสีมา มารดา อุก นิติการประสิทธิ์ ผู้เป็นยายทวด | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
[แก้]- ↑ กรมศิลปากร, จดหมายเหตุนครราชสีมา 11 กันยายน พ.ศ. 2497, พิมพ์สนองคุณ เจ้าพระยานครราชสีมา (ปิ่น ณ ราชสีมา) และ เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอินท์ ณ ราชสีมา), กรุงเทพฯ: ห้องสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ม.ป.ป.)
- ↑ ต้นสกุล ณ ราชสีมา ย้อนเรื่อง เมืองโคราช
- ↑ "เว็บไซต์สายสกุลบุนนาค". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-09. สืบค้นเมื่อ 2011-09-30.
- ↑ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งทหารแล้ว พล.อ.ธนะศักดิ์ นั่งแท่นผบ.ทท.คนใหม่ จากกระปุกดอตคอม
- ↑ “พล.อ.ธนะศักดิ์” รับปริญญาเอก ม.บูรพา ได้ดุษฎีนิพนธ์ดีเด่น[ลิงก์เสีย]
- ↑ วาสนา นาน่วม, ลับลวงเลือด สำนักพิมพ์มติชน (กันยายน, 2553) ISBN 9789740206552
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน 32 ราย)
- ↑ นายกฯ"แบ่งงาน 6 รองนายกฯ....
- ↑ รางวัลเกียรติยศจักรดาว ปี 2554[ลิงก์เสีย]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2009-01-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๓, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2005-12-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๑๐, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี, เล่ม ๙๙ ตอนที่ ๗๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๒, ๓ มิถุนายน ๒๕๒๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๖ ตอนที่ ๑๕๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๑๒ กันยายน ๒๕๒๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๒๓๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖๙, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๓๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๒๑๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๑, ๑๖ ธันวาคม ๒๕๓๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ และเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๕๓, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๗, ๕ มิถุนายน ๒๕๕๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๐ ข หน้า ๑, ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๓๘
- ↑ PRESIDENT TONY TAN KENG YAM CONFERS DISTINGUISHED SERVICE ORDER (MILITARY) ON GENERAL TANASAK PATIMAPRAGORN, CHIEF OF DEFENCE FORCES OF ROYAL THAI ARMED FORCES, AT STATE ROOM, ISTANA
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๑๐ ข หน้า ๒, ๖ พฤษภาคม ๒๕๕๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๒๙ ข หน้า ๕, ๕ ธันวาคม ๒๕๕๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๑๑, ๑๗ กันยายน ๒๕๕๖
ก่อนหน้า | ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พลตำรวจเอก ประชา พรหมนอก สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล กิตติรัตน์ ณ ระนอง พงศ์เทพ เทพกาญจนา ปลอดประสพ สุรัสวดี ยุคล ลิ้มแหลมทอง |
รองนายกรัฐมนตรี (ครม.61) (30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 - 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560) |
พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ | ||
สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (ครม. 61) (30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 - 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558) |
ดอน ปรมัตถ์วินัย | ||
พลเอก ทรงกิตติ จักกาบาตร์ | ผู้บัญชาการทหารสูงสุด (1 ตุลาคม พ.ศ. 2554 - 30 กันยายน พ.ศ. 2557) |
พลเอก วรพงษ์ สง่าเนตร |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2496
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- นักการเมืองไทย
- บุคคลจากอำเภอครบุรี
- รองนายกรัฐมนตรีไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทย
- ทหารบกชาวไทย
- ผู้บัญชาการทหารสูงสุดไทย
- บุคคลจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
- บุคคลจากโรงเรียนเตรียมทหาร
- บุคคลจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรมาลา
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ภ.ป.ร.4
- รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
- สกุล ณ ราชสีมา
- สกุลเหมนิธิ
- นายพลชาวไทย