ข้ามไปเนื้อหา

ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร
พุทธศักราช 2502
ข้อมูลทั่วไป
ผู้ลงนามพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร
วันลงนาม28 มกราคม พ.ศ. 2502
ผู้ลงนามรับรองจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์
(หัวหน้าคณะปฏิวัติ)
วันลงนามรับรอง28 มกราคม พ.ศ. 2502
วันประกาศ28 มกราคม พ.ศ. 2502 [1]
(ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๗๖/ตอนที่ ๑๗/หน้า ๑/๒๘ มกราคม ๒๕๐๒)
วันเริ่มใช้28 มกราคม พ.ศ. 2502
ท้องที่ใช้ไทย ราชอาณาจักรไทย
การร่าง
ชื่อร่างธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502
ผู้ยกร่างสภาร่างรัฐธรรมนูญ
การยกเลิก
ประกาศใช้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495
คำสั่งและประกาศของคณะปฏิวัติปี พ.ศ. 2501-2502
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511

ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับที่ 7 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2502 โดยมี จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ หัวหน้าคณะปฏิวัติเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ

โดยธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรฉบับนี้มีทั้งสิ้น 20 มาตราโดยมาตราที่สำคัญที่สุดคือมาตรา 17 ที่ได้ให้อำนาจของนายกรัฐมนตรีทั้งในทางบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ

ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรฉบับนี้ประกาศใช้มายาวนานถึง 9 ปี 4 เดือน 23 วันจึงได้ถูกยกเลิกไปเมื่อได้มีการประกาศใช้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511 เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2511

อ้างอิง

[แก้]
  1. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช ๒๕๐๒ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๗๖ ตอน ๑๗ ก พิเศษ หน้า ๑ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๒

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]