นักบินอวกาศ
นักบินอวกาศ คือ บุคคลที่เดินทางไปกับยานอวกาศ ไม่ว่าจะไปในฐานะใด และไม่ว่าจะไปด้วยยานอวกาศแบบไหน ทั้งที่โคจรรอบโลก (ในระยะสูงจากพื้นราว 80-100 กิโลเมตรขึ้นไป) หรือที่เดินทางออกไปยังตำแหน่งอื่นใดนอกวงโคจรของโลก
คำว่า นักบินอวกาศ ในภาษาไทย นั้น ตรงกับคำศัพท์ในภาษาอังกฤษ ว่าแอสโตรนอต (astronaut) ซึ่งมีความหมายอย่างที่กล่าวมา เป็นที่น่าสังเกตว่า คำว่า นักบินอวกาศ ไม่ได้มีความหมายเฉพาะผู้ที่เป็นนักบิน (pilot) เท่านั้น แต่มีความหมายอย่างที่อาจเข้าใจได้ง่ายๆ ว่า ลูกเรืออวกาศ นั่นเอง อย่างไรก็ตาม ในภาษาไทยยังมีคำศัพท์อีกคำ ที่มีความหมายเช่นนี้ นั่นคือ มนุษย์อวกาศ
คำว่า แอสโตรนอต ในภาษาอังกฤษนั้น มีที่มาจากคำศัพท์ในภาษากรีก สองคำ คือ astro หมายถึงดวงดาว และ nautes ซึ่งหมายถึง กะลาสี
ปัจจุบันมีนักบินอวกาศหลายชาติ จึงมีการสร้างคำสำหรับเรียกนักบินอวกาศของแต่ละชาติต่างๆ กัน เช่น นักบินในโครงการอวกาศของรัสเซีย เรียกว่า คอสโมนอต (cosmonaut) อันเป็นการสร้างคำจากคำศัพท์จากภาษากรีกเช่นกัน โดยใช้คำว่า kosmo ที่หมายถึง อวกาศ และคำว่า nautes ที่หมายถึง กะลาสี
ส่วนในยุโรป มีการสร้างศัพท์ขึ้นใหม่ ว่า สเปชันนอต (spationaut) เป็นคำประสม ระหว่าง space ในภาษาละติน (อวกาศ) และ nautes ในภาษากรีก (กะลาสี) โดยมีความหมายว่านักบินอวกาศ หรือมนุษย์อวกาศ นั่นเอง
ส่วนในจีน เรียกว่า ไทโคนอต (taikonaut) ซึ่งเป็นคำศัพท์ที่คิดขึ้นใหม่ เมื่อ เดือนพฤษภาคม ปี ค.ศ. 1998 โดยสื่อมวลชนชาวมาเลเซีย ชื่อ Chiew Lee Yih ซึ่งมาจากคำว่า ไท่คง (太空) ในภาษาจีน หมายถึง อวกาศ แต่ในภาษาจีนนั้น มีคำว่า อยู่หาง หยวน (宇航員, ต้นหนอวกาศ) ซึ่งใช้กันมานานในความหมายว่า นักบินอวอากาศและมนุษย์อวกาศ ในภาษาพูดทั่วไปจะใช้ว่า ไท่คงเหริน (太空人) มีความหมายว่ามนุษย์อวกาศนั่นเอง แต่ข้อความภาษาอังกฤษที่ทางการจีนใช้เรียกนักบินอวกาศของตน ยังคงใช้ว่า astronaut ตามปกติ[1][2]
การบินในอวกาศโดยมนุษย์
[แก้]ประเทศ/องค์กร | องค์การอวกาศ | ท่าอวกาศยาน | นักบินอวกาศคนแรก | วันที่เริ่ม |
---|---|---|---|---|
สหภาพโซเวียต | โครงการอวกาศโซเวียต | ท่าอวกาศยานบัยโกเงอร์, คาซัคสถาน |
ยูรี กาการิน | 12 เมษายน 1961 |
สหรัฐ | นาซา | ฐานทัพอากาศแหลมคานาเวอรัล และศูนย์อวกาศเคนเนดี |
อลัน เชพเพิร์ด | 5 พฤษภาคม 1961 |
รัสเซีย | รัฐวิสาหกิจรอสคอสมอส | ท่าอวกาศยานบัยโกเงอร์, คาซัคสถาน |
อเล็กซานเดอร์ คาเรรี อเล็กซานเดอร์ วิกตอเรนโก้ |
17 มีนาคม 1992 |
จีน | องค์การบริหารอวกาศแห่งชาติจีน | ศูนย์ส่งดาวเทียมจิ่วเฉฺวียน | หยาง ลีเหว่ย | 15 ตุลาคม 2003 |
องค์การอวกาศยุโรป | องค์การอวกาศยุโรป | ท่าอวกาศยานยุโรปเฟรนช์เกียนา, เฟรนช์เกียนา, ฝรั่งเศส |
... | 2020 |
อินเดีย | องค์การวิจัยอวกาศอินเดีย | ศูนย์อวกาศซาทิช ดาวน | ... | 2022 |
ญี่ปุ่น | องค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น | ศูนย์อวกาศทะเนะงะชิมะ | ... | ... |
ประเทศที่ส่งนักบินอวกาศในปัจจุบัน
[แก้]ประเทศที่มีแผนที่จะส่งนักบินอวกาศ
[แก้]นักบินอวกาศคนแรกของประเทศ
[แก้]สมุดภาพ
[แก้]-
ยูรี กาการิน เป็นนักบินอวกาศคนแรกของโลกและสหภาพโซเวียต (ยุโรป)
-
อลัน เชพเพิร์ด เป็นนักบินอวกาศคนแรกของสหรัฐ (อเมริกาเหนือ)
-
อเล็กซานเดอร์ คาเรรี เป็นนักบินอวกาศหนึ่งในสองคนแรกของรัสเซีย
-
หยาง ลีเหว่ย เป็นนักบินอวกาศคนแรกของจีน
-
นีล อาร์มสตรอง เป็นมนุษย์ที่เหยียบพื้นผิวดวงจันทร์คนแรกของโลกและสหรัฐ
-
ซิกมันด์ จาห์น จากเยอรมนีตะวันออก เป็นชาวเยอรมันคนแรกในอวกาศ
-
เฮเลน ชาร์แมน เป็นชาวสหราชอาณาจักรคนแรกในอวกาศ
-
อัลฟ์ เมอร์โบลด์ จากเยอรมนีตะวันตก เป็นนักบินอวกาศคนแรกของเยอรมนี
-
ฟรังโก มาเลอร์บา เป็นชาวอิตาลีคนแรกในอวกาศ
-
ฌ็อง-ลัว เครเตียง เป็นชาวฝรั่งเศสคนแรกในอวกาศ
-
แฟม ตวน เป็นชาวเวียดนาม (เอเชีย) คนแรกในอวกาศ
-
มาร์โก พอนเทส เป็นชาวบราซิล (อเมริกาใต้) คนแรกในอวกาศ
-
มาร์ก ชัทเทิลเวิร์ธ เป็นชาวแอฟริกาใต้ (แอฟริกา) คนแรกในอวกาศ
-
อี โซ-ย็อน จากเกาหลีใต้ เป็นชาวเกาหลีคนแรกในอวกาศ
-
ราเกซ เชอร์มา เป็นชาวอินเดียคนแรกในอวกาศ
-
วาเลนตีนา เตเรชโควา เป็นนักบินอวกาศหญิงคนแรกของโลกและสหภาพโซเวียต
-
แซลลี ไรด์ เป็นนักบินอวกาศหญิงคนแรกของสหรัฐ
-
เยเลน่า คอนดาโคว่า เป็นนักบินอวกาศหญิงคนแรกของรัสเซีย
-
หลิว หยัง เป็นนักบินอวกาศหญิงคนแรกของจีน
-
จิอากิ มุไค เป็นผู้หญิงญี่ปุ่นคนแรกในอวกาศ
-
คลอเดีย ไฮเนเรอ เป็นผู้หญิงฝรั่งเศสคนแรกในอวกาศ
-
ซามานธา คริสโตเฟอเรตติ เป็นผู้หญิงอิตาลีคนแรกในอวกาศ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Chiew, Lee Yih (19 May 1998). "Google search of "taikonaut" sort by date". Usenet posting. Chiew Lee Yih. สืบค้นเมื่อ 27 September 2008.
- ↑ Chiew, Lee Yih (10 March 1996). "Chiew Lee Yih misspelled "taikonaut" 2 years before it first appear". Usenet posting. Chiew Lee Yih. สืบค้นเมื่อ 27 September 2008.
- ↑ "BBC News - Sci/Tech - Expensive ticket to ride". News.bbc.co.uk. สืบค้นเมื่อ 11 August 2017.
- ↑ "BBC News - SCI/TECH - Space tourist lifts off". News.bbc.co.uk. สืบค้นเมื่อ 11 August 2017.
- ↑ "BBC NEWS - Science/Nature - Lift-off for woman space tourist". News.bbc.co.uk. สืบค้นเมื่อ 11 August 2017.
- ↑ "'It's not tourism for me': Meet Australia's next space traveller". smh.com.au. สืบค้นเมื่อ 20 June 2022.