ปูดำ
ปูดำ | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Arthropoda |
ไฟลัมย่อย: | Crustacea |
ชั้น: | Malacostraca |
อันดับ: | Decapoda |
อันดับฐาน: | Brachyura |
วงศ์: | Portunidae |
สกุล: | Scylla |
สปีชีส์: | S. olivacea |
ชื่อทวินาม | |
Scylla olivacea (Herbst, 1796) |
ปูดำ, ปูแดง, ปูทองแดง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Scylla olivacea) เป็นปูในสกุลปูทะเล มีกระดองกลมรีเป็นรูปไข่ ในประเทศไทยเป็นปูที่พบได้มากที่สุดในสกุลปูทะเล ทำให้ในหลายครั้งปูดำถูกใช้เรียกครอบคลุมถึงปูทุกชนิดในสกุล
ลักษณะ
[แก้]ลักษณะโดยทั่วไปเหมือนปูทะเล แตกต่างตรงที่ขอบระหว่างนัยน์ตาปูเขียวมีหนาม 4 อัน มีลักษณะมนปาน ฐานกว้างและชี้ออกด้านข้าง ส่วนด้านข้างนัยน์ตาแต่ละข้างมีหนามข้างละ 8-9 อัน หนามแหลมที่ปล้องกลางของกล้ามไม่ชัดเจนทั้งด้านในและด้านนอก ก้ามไม่มีจุดสี ครึ่งล่างของหน้าก้ามมีสีน้ำตาล น้ำตาลแดง หรือแดง ไม่มีลายร่างแหบนรยางค์[1]
การกระจายพันธุ์
[แก้]พบกระจายพันธุ์อยู่ตามแถบชายฝั่งเอเชียใต้ ปากีสถาน ญี่ปุ่น เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปจนถึงตอนเหนือของออสเตรเลีย โดยอาศัยอยู่ในโคลนตมตามป่าชายเลนหรือปากแม่น้ำที่น้ำท่วมถึง กินอาหารจำพวกสัตว์น้ำขนาดเล็ก ซากสัตว์ต่าง ๆ สำหรับในประเทศไทยพบได้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน
- ↑ สำนักงานวิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง. "การเพาะเลี้ยงปูทะเล" เกษตรปราดเปรื่อง (Smart farmer) สืบค้นเมื่อ 2023-07-27