ข้ามไปเนื้อหา

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้านภาจรจำรัสศรี ภัทรวดีราชธิดา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
เจ้าฟ้านภาจรจำรัสศรี ภัทรวดีราชธิดา
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 5 เจ้าฟ้าชั้นโท
ประสูติ5 พฤษภาคม พ.ศ. 2427
สิ้นพระชนม์31 สิงหาคม พ.ศ. 2432 (5 ปี)
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมารดาพระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้านภาจรจำรัสศรี ภัทรวดีราชธิดา[1] (5 พฤษภาคม พ.ศ. 2427 – 31 สิงหาคม พ.ศ. 2432) เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่พระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา

พระประวัติ

[แก้]

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้านภาจรจำรัสศรี ภัทรวดีราชธิดา ประสูติเมื่อวันจันทร์ ขึ้น 11 ค่ำ เดือน 6 ปีวอก ฉศก จุลศักราช 1246 ตรงกับวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2427 เป็นพระราชบุตรพระองค์ที่ 50 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่พระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา มีพระเชษฐาและพระขนิษฐาร่วมพระชนนีคือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามาลินีนภดารา ศิรินิภาพรรณวดี กรมขุนศรีสัชนาลัยสุรกัญญา และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้านิภานภดล วิมลประภาวดี กรมขุนอู่ทองเขตขัตติยนารี

เมื่อแรกประสูติมีพระนามว่า พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าเขจรจำรัส[2] แต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมิโปรด จึงพระราชทานพระนามใหม่ว่า พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้านภาจรจำรัสศรี และในปี พ.ศ. 2431 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระราชโอรสและพระราชธิดาที่ประสูติแต่พระอรรคชายาเธอขึ้นเป็นเจ้าฟ้า พระองค์จึงมีพระอิสริยยศเป็น พระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้านภาจรจำรัสศรี ภัทรวดีราชธิดา[3]

พระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้านภาจรจำรัสศรี ภัทรวดีราชธิดาประชวรเป็นไข้มาตั้งแต่วันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2432 พระอาการทรงและทรุดเรื่อยมาจนกระทั่งสิ้นพระชนม์ในวันที่ 31 สิงหาคม ศกนั้น เวลาเช้า 5 โมงเศษ สิริพระชันษา 5 ปี 118 วัน ประดิษฐานพระศพในหอธรรมสังเวช และโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯ แทนพระองค์ไปทอดผ้าสดับปกรณ์[4] และได้รับพระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุ ท้องสนามหลวง เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2433[5]

พระอิสริยยศ

[แก้]
ธรรมเนียมพระยศของ
เจ้าฟ้านภาจรจำรัสศรี
ตราประจำพระองค์
การทูลใต้ฝ่าพระบาท
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับพ่ะย่ะค่ะ/เพคะ
  • 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2427 – พ.ศ. 2427 : พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าเขจรจำรัส
  • พ.ศ. 2427 – พ.ศ. 2431 : พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้านภาจรจำรัสศรี
  • พ.ศ. 2431 – 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 : พระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้านภาจรจำรัสศรี ภัทรวดีราชธิดา[6]
  • 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 : พระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้านภาจรจำรัสศรี ภัทรวดีราชธิดา
  • 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 : พระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้านภาจรจำรัสศรี ภัทรวดีราชธิดา
  • 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478 : พระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้านภาจรจำรัสศรี ภัทรวดีราชธิดา

พงศาวลี

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
เชิงอรรถ
  1. ราชสกุลวงศ์, หน้า 95
  2. จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ภาค 17. พระนคร : อักษรนิติ, 2481, หน้า 108
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศเลื่อนพระนามพระอัครชายาเธอและสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ พระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้า, เล่ม 5, ตอน 8, 25 มิถุนายน 2431, หน้า 62
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวสิ้นพระชนม์พระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้า, เล่ม 6, ตอน 22, 1 กันยายน ร.ศ. 108, หน้า 194
  5. ราชกิจจานุเบกษา, การพระเมรุท้องสนามหลวง [พระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้านภาจรจำรัสศรี และพระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าสมัยวุฎฐิวโรดม] , เล่ม 6, ตอน 45, 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2432, หน้า 384
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศเลื่อนพระนามพระอัครชายาเธอและสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ พระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้า, เล่ม 5, ตอน 8, 25 มิถุนายน 2431, หน้า 62
บรรณานุกรม
  • จิรวัฒน์ อุตตมะกุล. พระภรรยาเจ้า และสมเด็จเจ้าฟ้า ในรัชกาลที่ ๕. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์มติชน, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2548. 398 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-322-964-7
  • สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. ราชสกุลวงศ์. กรุงเทพ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, พิมพ์ครั้งที่ 14 พ.ศ. 2554. 296 หน้า. หน้า 95. ISBN 978-974-417-594-6