ฟุตบอลโลก 2022 รอบคัดเลือก
รายละเอียดการแข่งขัน | |
---|---|
วันที่ | 6 มิถุนายน ค.ศ. 2019 – 14 มิถุนายน ค.ศ. 2022 |
ทีม | 206[note 1] (จาก 6 สมาพันธ์) |
สถิติการแข่งขัน | |
จำนวนนัดที่แข่งขัน | 865 |
จำนวนประตู | 2424 (2.8 ประตูต่อนัด) |
ผู้ชม | 8,912,978 (10,304 คนต่อนัด) |
ผู้ทำประตูสูงสุด | อาลี มับคูต (14 ประตู) |
ฟุตบอลโลก 2022 รอบคัดเลือก เป็นการแข่งขันที่จัดขึ้นโดยสมาพันธ์ย่อยทั้ง 6 สมาพันธ์ของฟีฟ่า เพื่อตัดสินหา 31 จาก 32 ทีมที่จะลงเล่นใน ฟุตบอลโลก 2022 ร่วมกับกาตาร์ซึ่งผ่านการเข้ารอบโดยอัตโนมัติในฐานะเจ้าภาพ โดยมีทีมจากชาติสมาชิกฟีฟ่าทั้งหมด 206 ทีมลงแข่งขัน
กาแข่งขันเริ่มต้นขึ้นในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2019 และมีกำหนดสิ้นสุดในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2022[1] โดยการแข่งขันบางส่วนได้ถูกเลื่อนออกไปเนื่องจากการระบาดทั่วของไวรัสโคโรนา
ทีมที่ผ่านเข้ารอบ
[แก้]ทีม | วิธีการเข้ารอบ | วันที่ผ่านเข้ารอบ | ครั้งที่เข้ารอบสุดท้าย | ครั้งล่าสุดที่ผ่านเข้ารอบสุดท้าย | จำนวนครั้งที่เข้ารอบสุดท้ายติดต่อกัน | ผลงานที่ดีที่สุดในครั้งที่ผ่านมา |
---|---|---|---|---|---|---|
กาตาร์ | เจ้าภาพ | 2 ธันวาคม 2010 | 1 | ไม่เคย | 1 | ไม่เคย |
เยอรมนี | ชนะเลิศ โซนยุโรป กลุ่ม เจ | 11 ตุลาคม 2021 | 20[a] | 2018 | 18 | ชนะเลิศ (1954, 1974, 1990, 2014) |
เดนมาร์ก | ชนะเลิศ โซนยุโรป กลุ่ม เอฟ | 12 ตุลาคม 2021 | 6 | 2018 | 2 | รอบก่อนรองชนะเลิศ (1998) |
บราซิล | ชนะเลิศ โซนอเมริกาใต้ | 11 พฤศจิกายน 2021 | 22 | 2018 | 22 | ชนะเลิศ (1958, 1962, 1970, 1994, 2002) |
เบลเยียม | ชนะเลิศ โซนยุโรป กลุ่ม อี | 13 พฤศจิกายน 2021 | 14 | 2018 | 3 | อันดับที่ 3 (2018) |
ฝรั่งเศส | ชนะเลิศ โซนยุโรป กลุ่ม ดี | 13 พฤศจิกายน 2021 | 16 | 2018 | 7 | ชนะเลิศ (1998, 2018) |
โครเอเชีย | ชนะเลิศ โซนยุโรป กลุ่ม เอช | 14 พฤศจิกายน 2021 | 6 | 2018 | 3 | รองชนะเลิศ (2018) |
สเปน | ชนะเลิศ โซนยุโรป กลุ่ม บี | 14 พฤศจิกายน 2021 | 16 | 2018 | 12 | ชนะเลิศ (2010) |
เซอร์เบีย | ชนะเลิศ โซนยุโรป กลุ่ม เอ | 14 พฤศจิกายน 2021 | 13[b] | 2018 | 4 | อันดับที่ 4 (1930, 1962) |
อังกฤษ | ชนะเลิศ โซนยุโรป กลุ่ม ไอ | 15 พฤศจิกายน 2021 | 16 | 2018 | 7 | ชนะเลิศ (1966) |
สวิตเซอร์แลนด์ | ชนะเลิศ โซนยุโรป กลุ่ม ซี | 15 พฤศจิกายน 2021 | 12 | 2018 | 5 | รอบก่อนรองชนะเลิศ (1934, 1938, 1954) |
เนเธอร์แลนด์ | ชนะเลิศ โซนยุโรป กลุ่ม จี | 16 พฤศจิกายน 2021 | 11 | 2014 | 1 | รองชนะเลิศ (1974, 1978, 2010) |
อาร์เจนตินา | รองชนะเลิศ โซนอเมริกาใต้ | 16 พฤศจิกายน 2021 | 18 | 2018 | 13 | ชนะเลิศ (1978, 1986) |
อิหร่าน | ชนะเลิศ โซนเอเชีย รอบที่ 3 กลุ่ม เอ | 27 มกราคม 2022 | 6 | 2018 | 3 | รอบแบ่งกลุ่ม (1978, 1998, 2006, 2014, 2018) |
เกาหลีใต้ | รองชนะเลิศ โซนเอเชีย รอบที่ 3 กลุ่ม เอ | 1 กุมภาพันธ์ 2022 | 11 | 2018 | 10 | อันดับที่ 4 (2002) |
ญี่ปุ่น | รองชนะเลิศ โซนเอเชีย รอบที่ 3 กลุ่ม บี | 24 มีนาคม 2022 | 7 | 2018 | 7 | รอบ 16 ทีมสุดท้าย (2002, 2010, 2018) |
ซาอุดีอาระเบีย | ชนะเลิศ โซนเอเชีย รอบที่ 3 กลุ่ม บี | 24 มีนาคม 2022 | 6 | 2018 | 2 | รอบ 16 ทีมสุดท้าย (1994) |
เอกวาดอร์ | อันดับที่ 4 โซนอเมริกาใต้ | 24 มีนาคม 2022 | 4 | 2014 | 1 | รอบ 16 ทีมสุดท้าย (2006) |
อุรุกวัย | อันดับที่ 3 โซนอเมริกาใต้ | 24 มีนาคม 2022 | 14 | 2018 | 4 | ชนะเลิศ (1930, 1950) |
แคนาดา | ชนะเลิศ โซนคอนคาแคฟ รอบที่ 3 | 27 มีนาคม 2022 | 2 | 1986 | 1 | รอบแบ่งกลุ่ม (1986) |
กานา | ผู้ชนะ โซนแอฟริกา รอบที่ 3 | 29 มีนาคม 2022 | 4 | 2014 | 1 | รอบก่อนรองชนะเลิศ (2010) |
เซเนกัล | ผู้ชนะ โซนแอฟริกา รอบที่ 3 | 29 มีนาคม 2022 | 3 | 2018 | 2 | รอบก่อนรองชนะเลิศ (2002) |
โปรตุเกส | ผู้ชนะ โซนยุโรป รอบที่ 2 สายซี | 29 มีนาคม 2022 | 8 | 2018 | 6 | อันดับที่สาม (1966) |
โปแลนด์ | ผู้ชนะ โซนยุโรป รอบที่ 2 สายบี | 29 มีนาคม 2022 | 9 | 2018 | 2 | อันดับที่สาม (1974, 1982) |
ตูนิเซีย | ผู้ชนะ โซนแอฟริกา รอบที่ 3 | 29 มีนาคม 2022 | 6 | 2018 | 2 | รอบแบ่งกลุ่ม (1978, 1998, 2002, 2006, 2018) |
โมร็อกโก | ผู้ชนะ โซนแอฟริกา รอบที่ 3 | 29 มีนาคม 2022 | 6 | 2018 | 2 | รอบ 16 ทีมสุดท้าย (1986) |
แคเมอรูน | ผู้ชนะ โซนแอฟริกา รอบที่ 3 | 29 มีนาคม 2022 | 8 | 2014 | 1 | รอบก่อนรองชนะเลิศ (1990) |
สหรัฐ | อันดับที่ 3 โซนคอนคาแคฟ รอบที่ 3 | 30 มีนาคม 2022 | 11 | 2014 | 1 | อันดับที่ 3 (1930) |
เม็กซิโก | รองชนะเลิศ โซนคอนคาแคฟ รอบที่ 3 | 30 มีนาคม 2022 | 17 | 2018 | 8 | รอบก่อนรองชนะเลิศ (1970, 1986) |
เวลส์ | ผู้ชนะ โซนยุโรป รอบที่ 2 สายเอ | 5 มิถุนายน 2022 | 2 | 1958 | 1 | รอบก่อนรองชนะเลิศ (1958) |
ออสเตรเลีย | ผู้ชนะ เพลย์ออฟ เอเอฟซี–คอนเมบอล | 13 มิถุนายน 2022 | 6 | 2018 | 5 | รอบ 16 ทีมสุดท้าย (2006) |
คอสตาริกา | ผู้ชนะ เพลย์ออฟ คอนคาแคฟ–โอเอฟซี | 14 มิถุนายน 2022 | 6 | 2018 | 3 | รอบก่อนรองชนะเลิศ (2014) |
กระบวนการคัดเลือก
[แก้]สมาชิกฟีฟ่าทั้งหมดซึ่งปัจจุบันมีทั้งสิ้น 211 ทีมมีสิทธิ์เข้าร่วมการคัดเลือก ยกเว้นกาตาร์ในฐานะเจ้าภาพที่ผ่านเข้ารอบสุดท้ายโดยอัตโนมัติ อย่างไรก็ตาม กาตาร์ ยังต้องเข้าร่วมการแข่งขันรอบคัดเลือกในโซนเอเชีย เนื่องจากสองรอบแรกนั้นเป็นรอบคัดเลือกสำหรับการแข่งขัน เอเชียนคัพ 2023 ไปในตัวด้วย หากพวกเขาจบในฐานะผู้ชนะหรือรองชนะเลิศในกลุ่มของพวกเขา ในการแข่งขันรอบที่สาม ทีมที่ได้ลำดับที่สามที่มีคะแนนที่ดีกว่าทีมลำดับที่สามของอีกกลุ่มหนึ่งจะได้ผ่านเข้ารอบแทน[2] การแข่งขันในครั้งนี้และเป็นครั้งแรกหลังจากการแข่งขันสองครั้งแรกในปี 1930 และ 1934 ที่เจ้าภาพฟุตบอลโลกเป็นประเทศที่ทีมชาติไม่เคยเล่นรอบสุดท้ายมาก่อน[3] โดยทีมแชมป์ฟุตบอลโลกครั้งล่าสุด อย่างฝรั่งเศส ก็จะลงเล่นรอบคัดเลือกตามปกติ [4]
การแบ่งโควต้าสำหรับแต่ละสมาพันธ์ได้มีการหารือโดยคณะกรรมการบริหารของฟีฟ่า เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม ค.ศ. 2015 ที่เมือง ซือริช หลังการประชุมใหญ่ของฟีฟ่า [5] คณะกรรมการบริหารตกลงกันว่าหลักการรอบคัดเลือกที่ได้ถูกใช้ในปี 2006, 2010, 2014 จะถูกนำมาใช้ในการแข่งขันในปี 2018 และ 2022[6]
- กาตาร์ เจ้าภาพ: 1
- ซีเอเอฟ (แอฟริกา): 5
- เอเอฟซี (เอเชีย): 4 หรือ 5
- ยูฟ่า (ยุโรป): 13
- คอนคาแคฟ (อเมริกาเหนือและอเมริกากลางและแคริบเบียน): 3 หรือ 4
- โอเอฟซี (โอเชียเนีย): 0 หรือ 1
- คอนเมบอล (อเมริกาใต้): 4 หรือ 5
ภูมิหลังการคัดเลือก
[แก้]องค์กรต่อต้านการใช้สารต้องห้ามโลก ได้สั่งห้ามรัสเซียมิให้แข่งขันกีฬาที่สำคัญทั้งหมดเป็นเวลา 4 ปีหลังจากพบว่า หน่วยงานต่อต้านการใช้สารต้องห้ามของรัสเซีย ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดในการส่งมอบข้อมูลห้องปฏิบัติการที่มีการจัดการให้กับผู้ตรวจสอบ[7] อย่างไรก็ตามทีมชาติรัสเซียยังคงสามารถผ่านการคัดเลือกได้เนื่องจากการลงโทษจะมีผลเฉพาะการแข่งขันรอบสุดท้ายเพื่อตัดสินแชมป์โลก หากรัสเซียผ่านเข้ารอบนักฟุตบอลรัสเซียยังคงสามารถแข่งขันในการแข่งขันได้โดยรอการตัดสินจากฟีฟ่า อย่างไรก็ตาม ทีมที่เป็นตัวแทนของรัสเซียซึ่งใช้ธงชาติและเพลงชาติของรัสเซียไม่สามารถเข้าร่วมภายใต้การตัดสินของ WADA ได้[8] ปัจจุบัน คำตัดสินอยู่ระหว่างการอุทธรณ์ต่อศาลอนุญาโตตุลาการกีฬา[9]
สมาพันธ์ | สิทธิ์ในการเข้ารอบสุดท้าย | ทีมที่เข้าร่วมคัดเลือก | ทีมที่ตกรอบ | ทีมที่ผ่านเข้ารอบ | วันเริ่มต้นการคัดเลือก | วันสิ้นสุดการคัดเลือก | |||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เอเอฟซี | 4 หรือ 5 +1 | 45+1 | 40 | 5+1 | 6 มิถุนายน ค.ศ. 2019 | 13 มิถุนายน ค.ศ. 2022 | |||
ซีเอเอฟ | 5 | 54 | 49 | 5 | 4 กันยายน ค.ศ. 2019 | 29 มีนาคม ค.ศ. 2022 | |||
คอนคาแคฟ | 3 หรือ 4 | 34 | 30 | 4 | 24 มีนาคม ค.ศ. 2021 | 14 มิถุนายน ค.ศ. 2022 | |||
คอนเมบอล | 4 หรือ 5 | 10 | 6 | 4 | 8 ตุลาคม ค.ศ. 2020 | 13 มิถุนายน ค.ศ. 2022 | |||
โอเอฟซี | 0 หรือ 1 | 7 | 7 | 0 | 17 มีนาคม ค.ศ. 2022 | 14 มิถุนายน ค.ศ. 2022 | |||
ยูฟ่า | 13 | 55 | 42 | 13 | 24 มีนาคม ค.ศ. 2021 | 5 มิถุนายน ค.ศ. 2022 | |||
รวม | 31+1 | 205+1 | 174 | 31+1 | 6 มิถุนายน ค.ศ. 2019 | 14 มิถุนายน ค.ศ. 2022 |
- ↑ เยอรมนีแข่งขันในชื่อ "เยอรมนีตะวันตก" ตั้งแต่ ค.ศ. 1950 ถึง 1990
- ↑ นี่เป็นครั้งที่ 3 ที่เซอร์เบียการผ่านเข้าสู่รอบสุดท้ายของฟุตบอลโลก อย่างไรก็ตาม ฟีฟ่ากำหนดให้เซอร์เบียเป็นทีมชาติที่สืบทอดจากทีมชาติยูโกสลาเวียและทีมชาติเซอร์เบียและมอนเตเนโกร ซึ่งทั้งสองทีมเคยเข้าร่วมแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายทั้งหมด 10 ครั้ง
การคัดเลือกของสมาพันธ์
[แก้]เอเอฟซี
[แก้]เอเอฟซีกำหนดให้กาตาร์ซึ่งเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก 2022 เข้าร่วมในรอบคัดเลือกด้วย เนื่องจากสองรอบแรกนั้นจะเป็นการหาทีมที่ผ่านเข้าไปแข่งขัน เอเชียนคัพ 2023 ไปในตัว[10]
ติมอร์ - เลสเต ถูกห้ามไม่ให้เข้าร่วมการแข่งขัน เอเชียนคัพ 2023 รอบคัดเลือก หลังจากพบว่ามีผู้เล่นที่ไม่มีสิทธิ์เข้าร่วมแข่งขันทั้งหมด 12 คนในการ แข่งขันรอบคัดเลือกของเอเชียนคัพ 2019[11] อย่างไรก็ตาม เนื่องจากทางฟีฟ่าไม่ได้ห้ามพวกเขาลงแข่งขันในรอบคัดเลือกฟุตบอลโลกปี 2022 ติมอร์-เลสเตจึงยังคงได้รับการอนุญาตให้เข้าร่วมการแข่งขัน เพียงแต่พวกเขาจะไม่มีสิทธิ์ที่จะผ่านเข้ารอบเอเชียนคัพเท่านั้นเอง
โครงสร้างการคัดเลือกเป็นไปดังนี้:[12]
- รอบแรก: มี 12 ทีม (ทีมอันดับ 35-46) มาเล่นรอบคัดเลือกเพื่อหา 6 ทีมเพื่อผ่านเข้าสู่รอบต่อไป
- รอบสอง: มี 40 ทีม (ทีมอันดับ 1-34 และ 6 ทีมที่ผ่านรอบแรก) มาแบ่งเป็น 8 กลุ่ม กลุ่มละ 5 ทีม โดยจะคัดเอาผู้ชนะของแต่ละกลุ่ม มี 8 ทีม และทีมอันดับสองที่มีผลงานดีที่สุดอีก 4 ทีมผ่านเข้ารอบสามต่อไป
- รอบสาม: จากการแข่งขันรอบสองจะมี 12 ทีมที่ผ่านเข้ามาถึงรอบสุดท้ายจะถูกแบ่งเป็นสองกลุ่ม กลุ่มละ 6 ทีม โดยแชมป์และรองแชมป์ของกลุ่มจะผ่านเข้าไปเล่นฟุตบอลโลก 2022 ที่ประเทศกาตาร์
- รอบสี่: อันดับสามของทั้งสองกลุ่มจะมาเพลย์ออฟเพื่อหาผู้ชนะไปแข่งกับตัวแทนจากทวีปอื่น
รอบที่ 3
[แก้]กลุ่ม เอ | กลุ่ม บี | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
แหล่งที่มา : ฟีฟ่า
|
แหล่งที่มา : ฟีฟ่า
|
รอบที่ 4
[แก้]ทีมหนึ่ง | ผล | ทีมสอง |
---|---|---|
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ | 1–2 | ออสเตรเลีย
|
ซีเอเอฟ
[แก้]รอบที่ 3
[แก้]ทีมแรก | ผล | ทีมที่สอง | นัดแรก | นัดที่สอง |
---|---|---|---|---|
อียิปต์ | 1–1 (ดวลลูกโทษ 1–3) |
เซเนกัล | 1–0 | 0–1 (ต่อเวลา) |
แคเมอรูน | 2–2 (ย) | แอลจีเรีย | 0–1 | 2–1 (ต่อเวลา) |
กานา | 1–1 (ย) | ไนจีเรีย | 0–0 | 1–1 |
สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก | 2–5 | โมร็อกโก | 1–1 | 1–4 |
มาลี | 0–1 | ตูนิเซีย | 0–1 | 0–0
|
คอนคาแคฟ
[แก้]รอบที่ 3
[แก้]อันดับ | ทีม | เล่น | คะแนน |
---|---|---|---|
1 | แคนาดา | 14 | 28 |
2 | เม็กซิโก | 14 | 28 |
3 | สหรัฐ | 14 | 25 |
4 | คอสตาริกา | 14 | 25 |
5 | ปานามา | 14 | 21 |
6 | จาเมกา | 14 | 11 |
7 | เอลซัลวาดอร์ | 14 | 10 |
8 | ฮอนดูรัส | 14 | 4 |
คอนเมบอล
[แก้]สภาบริหารคอนเมบอล ได้ตัดสินใจในวันที่ 24 มกราคม ค.ศ. 2019 ที่จะยังคงรักษารูปแบบการแข่งขันเหมือนเดิมกับการแข่งขัน 6 ครั้งก่อนหน้านี้[13] แข่งขันระหว่างเดือนตุลาคม ค.ศ. 2020 ถึงมิถุนายน ค.ศ. 2022 (ก่อนหน้านี้กำหนดไว้ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2020 ถึงพฤศจิกายน ค.ศ. 2021 แต่ในภายหลังได้เลื่อนออกไปเนื่องจาก การระบาดทั่วของโควิด-19)
ตารางคะแนน
[แก้]อันดับ | ทีม | เล่น | คะแนน |
---|---|---|---|
1 | บราซิล (Q) | 17 | 45 |
2 | อาร์เจนตินา (Q) | 17 | 39 |
3 | อุรุกวัย (Q) | 18 | 28 |
4 | เอกวาดอร์ (Q) | 18 | 26 |
5 | เปรู (A) | 18 | 24 |
6 | โคลอมเบีย (E) | 18 | 23 |
7 | ชิลี (E) | 18 | 19 |
8 | ปารากวัย (E) | 18 | 16 |
9 | โบลิเวีย (E) | 18 | 15 |
10 | เวเนซุเอลา (E) | 18 | 10 |
(A) ผ่านเข้าสู่รอบต่อไป; (E) ตกรอบ; (Q) ผ่านเข้าสู่รอบที่ระบุ.
โอเอฟซี
[แก้]รอบสุดท้าย
[แก้]รอบรองชนะเลิศ | รอบชิงชนะเลิศ | |||||
27 มีนาคม 2022 – โดฮา (อัล-อาระบี) | ||||||
หมู่เกาะโซโลมอน | 3 | |||||
30 มีนาคม 2022 – โดฮา (อัล-อาระบี) | ||||||
ปาปัวนิวกินี | 2 | |||||
หมู่เกาะโซโลมอน | 0 | |||||
27 มีนาคม 2022 – โดฮา (อัล-อาระบี) | ||||||
นิวซีแลนด์ | 5 | |||||
นิวซีแลนด์ | 1 | |||||
ตาฮีตี | 0 | |||||
ยูฟ่า
[แก้]รอบแรก
[แก้]กลุ่ม เอ | กลุ่ม บี | กลุ่ม ซี | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
|
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
กลุ่ม ดี | กลุ่ม อี | กลุ่ม เอฟ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
กลุ่ม จี | กลุ่ม เอช | กลุ่ม ไอ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
กลุ่ม เจ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
รอบที่ 2
[แก้]รอบรองชนะเลิศ | รอบชิงชนะเลิศ | |||||
24 มีนาคม พ.ศ. 2565 – คาร์ดิฟฟ์ | ||||||
เวลส์ | 2 | |||||
5 มิถุนายน พ.ศ. 2565 – คาร์ดิฟฟ์ | ||||||
ออสเตรีย | 1 | |||||
เวลส์ | 1 | |||||
1 มิถุนายน พ.ศ. 2565 – กลาสโกว์ | ||||||
ยูเครน | 0 | |||||
สกอตแลนด์ | 1 | |||||
ยูเครน | 3 | |||||
รอบรองชนะเลิศ | รอบชิงชนะเลิศ | |||||
ยกเลิก | ||||||
รัสเซีย | ||||||
29 มีนาคม พ.ศ. 2565 – Chorzów | ||||||
โปแลนด์[note 2] | ชนะบาย | |||||
โปแลนด์ | 2 | |||||
24 มีนาคม พ.ศ. 2565 – โซลนา | ||||||
สวีเดน | 0 | |||||
สวีเดน (ต่อเวลา) | 1 | |||||
เช็กเกีย | 0 | |||||
รอบรองชนะเลิศ | รอบชิงชนะเลิศ | |||||
24 มีนาคม พ.ศ. 2565 – โปร์ตู | ||||||
โปรตุเกส | 3 | |||||
29 มีนาคม พ.ศ. 2565 – โปร์ตู | ||||||
ตุรกี | 1 | |||||
โปรตุเกส | 2 | |||||
24 มีนาคม พ.ศ. 2565 – ปาแลร์โม | ||||||
มาซิโดเนียเหนือ | 0 | |||||
อิตาลี | 0 | |||||
มาซิโดเนียเหนือ | 1 | |||||
รอบเพลย์ออฟข้ามทวีป
[แก้]การแข่งขันรอบเพลย์ออฟระหว่าง 2 สมาพันธ์เพื่อหา 2 ทีมสุดท้ายที่จะได้ผ่านเข้าไปแข่งในฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย จะเกิดขึ้นในวันที่ 13–14 มิถุนายน ค.ศ. 2022[16][17]
เอเอฟซี พบ คอนเมบอล
[แก้]ทีมหนึ่ง | ผล | ทีมสอง |
---|---|---|
ออสเตรเลีย | 0–0 (ต่อเวลา) (ดวลลูกโทษ 5–4) |
เปรู
|
คอนคาแคฟ พบ โอเอฟซี
[แก้]ทีมหนึ่ง | ผล | ทีมสอง |
---|---|---|
คอสตาริกา | 1–0 | นิวซีแลนด์
|
ผู้ทำประตูสูงสุด
[แก้]มีการทำประตูทั้งหมด 2402 ประตู จากการแข่งขัน 855 นัด เฉลี่ย 2.81 ประตูต่อนัด ผู้เล่นที่อยู่ใน ตัวหนา คือยังอยู่ในระบบการแข่งขัน
การทำประตู 14 ครั้ง
การทำประตู 13 ครั้ง
การทำประตู 12 ครั้ง
การทำประตู 10 ครั้ง
การทำประตู 9 ครั้ง
การทำประตู 8 ครั้ง
ด้านล่างนี้คือรายชื่อผู้ทำประตูสำหรับทุกสมาพันธ์และเพลย์ออฟระหว่างสมาพันธ์:
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ เกาหลีเหนือถอนตัวระหว่างการแข่งขัน รัสเซียถูกแบนระหว่างการแข่งขัน เซนต์ลูเซีย, อเมริกันซามัว, ซามัว, ตองงา และวานูวาตู ถอนตัวก่อนการแข่งขัน
- ↑ รัสเซียถูกตัดสิทธิ์จากการแข่งขันสืบเนื่องจากการรุกรานยูเครนของรัสเซีย[14] ทำให้โปแลนด์ผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศด้วยการชนะบาย[15]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "INTERNATIONAL MATCH CALENDAR 2018–2024" (PDF). FIFA. 19 October 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-01-05. สืบค้นเมื่อ 2019-01-16.
- ↑ Palmer, Dan (31 July 2017). "Hosts Qatar to compete in qualifying for 2022 World Cup". insidethegames.biz. Dunsar Media Company. สืบค้นเมื่อ 15 August 2017.
- ↑ Harding, David (6 September 2017). "World Cup failure puts Qatar back in spotlight". Yahoo Sports. Agence France-Presse. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-18. สืบค้นเมื่อ 4 January 2018.
- ↑ "2022 World Cup odds: France favorite to repeat in Qatar; USA behind Mexico with 16th-best odds". CBSSports.com. 15 July 2018. สืบค้นเมื่อ 7 September 2018.
- ↑ "2022 FIFA World Cup to be played in November/December". FIFA. 20 March 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-10. สืบค้นเมื่อ 2019-01-16.
- ↑ "Current allocation of FIFA World Cup™ confederation slots maintained". FIFA. 30 May 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-16. สืบค้นเมื่อ 2019-01-16.
- ↑ "Russia banned for four years to include 2020 Olympics and 2022 World Cup". BBC. 9 December 2019. สืบค้นเมื่อ 9 December 2019.
- ↑ "Can Russia play at the World Cup 2022 and Euro 2020?". BBC. 9 December 2019. สืบค้นเมื่อ 9 December 2019.
- ↑ "WADA files official request with Court of Arbitration for Sport to resolve RUSADA dispute". World Anti-Doping Agency. 9 January 2020. สืบค้นเมื่อ 14 February 2020.
- ↑ Palmer, Dan (31 July 2017). "Hosts Qatar to compete in qualifying for 2022 World Cup". insidethegames.biz. สืบค้นเมื่อ 20 August 2017.
- ↑ "Federacao Futebol Timor-Leste expelled from AFC Asian Cup 2023". The-AFC.com. 20 January 2017.
- ↑ "Pakistan to learn World Cup, Asian Cup qualifying fate on April 17". Dawn.com. 22 March 2019.
- ↑ "Clasificatorio sudamericano al Mundial de Qatar arrancará en marzo del 2020" (ภาษาสเปน). Conmebol.com. 24 January 2019.
- ↑ "FIFA/UEFA suspend Russian clubs and national teams from all competitions". FIFA. 28 February 2022. สืบค้นเมื่อ 28 February 2022.
- ↑ "Decisions taken concerning FIFA World Cup Qatar 2022 qualifiers". FIFA. 8 March 2022. สืบค้นเมื่อ 8 March 2022.
- ↑ "Draw date set for new-look FIFA World Cup Qatar 2022 intercontinental play-offs". FIFA. 19 November 2021.
- ↑ Allen, William (26 November 2021). "2022 World Cup inter-confederation play-off draw: fixtures and format". as.com. สืบค้นเมื่อ 30 November 2021.