มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
Nakhon Ratchasima Rajabhat University | |
ชื่อย่อ | มร.นม. (NRRU.) |
---|---|
คติพจน์ | ธมฺมจารี สุขํเสติ (ผู้ประพฤติธรรมย่อมอยู่เป็นสุข) |
ประเภท | สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ |
สถาปนา | 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547 |
สังกัดการศึกษา | กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม |
สังกัดวิชาการ |
|
งบประมาณ | 525,799,000 บาท (พ.ศ. 2568)[1] |
นายกสภาฯ | สุวัจน์ ลิปตพัลลภ |
อธิการบดี | รองศาสตราจารย์ อดิศร เนาวนนท์ |
อาจารย์ | 571 คน (พ.ศ. 2567) |
บุคลากรทั้งหมด | 1,197 คน (พ.ศ. 2567) |
ผู้ศึกษา | 13,413 คน (พ.ศ. 2566) |
ที่ตั้ง | |
เพลง | มาร์ชตะโกราย |
ต้นไม้ | ต้นราชพฤกษ์ |
สี | เขียว เหลือง |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย |
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ตั้งอยู่ที่ 340 ถนนสุรนารายณ์ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา 30000
อยู่ห่างจากอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารีไปทางตำบลจอหอ ประมาณ 3 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 274 ไร่ 3 งาน 41 ตารางวา พื้นที่หลักอยู่ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา จำนวน 174 ไร่ 3 งาน 41 ตารางวา และมีศูนย์ฝึกอบรมและวิจัยทางการเกษตร อีก 100 ไร่ อยู่ที่ ตำบลไชยมงคล อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ติดกับสวนสัตว์จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งอยู่ห่างจากมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ประมาณ 15 กิโลเมตร
มีปรัชญาประจำมหาวิทยาลัยว่า
แหล่งวิชาการ สร้างสรรค์คนดี มีคุณธรรม นำสังคม
ประวัติ
[แก้]- พ.ศ. 2457
การฝึกหัดครูได้เริ่มในมณฑลนครราชสีมา เมื่อกระทรวงธรรมการให้เปิดสอนหลักสูตรประโยคครูมูลสามัญ (ป.) ในโรงเรียนตัวอย่างประจำมณฑลนครราชสีมา โดยรับนักเรียนที่จบชั้นมัธยมปีที่ 3 เข้าศึกษาหลักสูตร 2 ปี เมื่อสำเร็จการศึกษาจะได้รับบรรจุเป็นข้าราชการครู
- พ.ศ. 2466
กระทรวงธรรมการได้จัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูมูลกสิกรรม ที่ข้างวัดโพธิ์ ตำบลโพธิ์กลาง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา เปิดสอนหลักสูตรประโยคครูมูลสามัญ (ป.) และประโยคครูประกาศนียบัตรจังหวัด (ว.) ต่อมาในปี พ.ศ. 2478 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “ โรงเรียนฝึกหัดครูประกาศนียบัตรจังหวัดนครราชสีมา ” เปิดสอนเฉพาะหลักสูตรประโยคครูประกาศนียบัตรจังหวัด (ว.)
- พ.ศ. 2481
ย้ายไปอยู่แทนที่โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรม อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา และในปี พ.ศ. 2485 เปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนฝึกหัดครูมูลโนนสูง” เปิดสอน 3 หลักสูตรได้แก่ ประโยคครูประกาศนียบัตรจังหวัด (ว.) ประโยคครูประชาบาล (ป.บ.) และประโยคครูมูล (ม.)
- พ.ศ. 2490
ย้ายเข้ามาอยู่ ณ ที่ตั้งปัจจุบันในอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา และเปลี่ยนชื่อเป็น “ โรงเรียนฝึกหัดครูนครราชสีมา ” ในปี พ.ศ. 2495 ได้ยุบเลิกหลักสูตรเดิม 3 หลักสูตร และเปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรประโยคครูประถม (ป.ป.) จนถึงปี พ.ศ. 2497 จึงเปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา (ป.กศ.) แทนหลักสูตรประกาศนียบัตรประโยคครูประถม (ป.ป.)
- พ.ศ. 2502
ได้รับการยกฐานะเป็น “วิทยาลัยครูนครราชสีมา” และเปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง (ป.กศ. ชั้นสูง) ต่อจากระดับ ป.กศ.
- พ.ศ. 2507
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เพื่อรับฟังคำกราบบังคมทูลรายงานความก้าวหน้าของการฝึกหัดครูไทยและทอดพระเนตรกิจการวิทยาลัยครูนครราชสีมาและนิทรรศการด้านวิชาการของนักศึกษา
- พ.ศ. 2518
ได้รับการยกฐานะเป็นสถาบันอุดมศึกษาสังกัดกระทรวงศึกษาธิการตามพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พุทธศักราช 2518 จึงขยายการผลิตครูถึงระดับปริญญาตรีครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ.)
- พ.ศ. 2520
เริ่มโครงการอบรมครูและบุคลากรทางการศึกษาประจำการ (อคป.) แล้วพัฒนามาเป็นโครงการจัดการศึกษาเพื่อปวงชน (กศ.ปช.) ในปัจจุบัน
- พ.ศ. 2527
เริ่มเปิดสอนสาขาวิชาชีพอื่นนอกเหนือจากสาขาวิชาการศึกษาในระดับอนุปริญญาและขยายถึงระดับปริญญาตรีในระยะต่อมา ปัจจุบันมี 5 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาการศึกษา สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ สาขาวิชาศิลปศาสตร์ สาขาวิชาบริหารธุรกิจ และสาขาวิชานิติศาสตร์
- พ.ศ. 2537
เปลี่ยนแปลงฐานะเป็น “สถาบันราชภัฏนครราชสีมา” สามารถเปิดสอนในระดับที่สูงกว่าปริญญาตรี
- พ.ศ. 2541
เริ่มเปิดสอนระดับปริญญาโท สาขาการบริหารการศึกษา และปีต่อ ๆ มา ตั้งแต่ พ.ศ. 2542-2545 ได้เปิดสอนสาขาอื่นเพิ่มอีก 6 สาขา ได้แก่ สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา สาขาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ สาขาการส่งเสริมสุขภาพ สาขาหลักสูตรและการสอน สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา และสาขาการพัฒนาสุขภาพชุมชน
- พ.ศ. 2547
ได้รับการยกฐานะเป็น “มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา”
- พ.ศ. 2548
เปิดสอนระดับปริญญาโทเพิ่มอีก 1 สาขา คือ สาขาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต
- พ.ศ. 2549
เปิดสอนระดับปริญญาเอก สาขาภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษา และเปิดสอนระดับปริญญาโทเพิ่มอีก 1 สาขา ได้แก่ สาขา เทคโนโลยีการจัดการสิ่งแวดล้อม
- พ.ศ. 2556
พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งดำรงพระราชอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯ เปิดอาคารยุพราชเบญจมงคล
สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย
[แก้]ตราสัญลักษณ์
[แก้]รูปพระราชลัญจกรประจำพระองค์ รัชกาลที่ 9 ซึ่งเป็นรูปพระที่นั่งอัฐทิศ ประกอบด้วยวงจักร กลางวงจักรมีอักขระเป็น "อุ" หรือเลข "๙" รอบวงจักรมีรัศมีเปล่งออกโดยรอบ เหนือจักรเป็นรูปเศวตฉัตร 7 ชั้น ตั้งอยู่บนพระที่นั่งอัฐทิศ แปลความหมายว่า มีพระบรมเดชานุภาพในแผ่นดิน โดยที่วันบรมราชาภิเษกตามโบราณราชประเพณี ได้เสด็จประทับเหนือพระที่นั่งอัฐทิศ สมาชิกรัฐสภาถวายน้ำอภิเษกจากทิศทั้งแปด รอบนอกของตราด้านบนมีตัวอักษรภาษาไทยว่า “มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา” ด้านล่างมีตัวอักษรภาษาอังกฤษว่า “NAKHON RATCHASIMA RAJABHAT UNIVERSITY”
- ความหมายสีทั้ง 5 สีในตราสัญลักษณ์
- สีน้ำเงิน ( ) แทนค่า สถาบันพระมหากษัตริย์ผู้ให้กำเนิด และพระราชทาน “สถาบันราชภัฏ”
- สีเขียว ( ) แทนค่า แหล่งที่ตั้งของมหาวิทยาลัยราชภัฏทั้ง 41 แห่งในแหล่งธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่สวยงาม
- สีทอง ( ) แทนค่า ความเจริญรุ่งเรืองทางภูมิปัญญา
- สีส้ม ( ) แทนค่า ความรุ่งเรืองทางศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ที่ก้าวไกลใน 41 มหาวิทยาลัยฯ
- สีขาว ( ) แทนค่า ความคิดอันบริสุทธิ์ของนักปราชญ์แห่งพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย
[แก้]
- ต้นราชพฤกษ์ (Cassia fistula) เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีความสูง 10-20 เมตร ดอกขึ้นเป็นช่อยาว 20-40 เซนติเมตร แต่ละดอกมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 4-7 เซนติเมตร มีกลีบดอกสีเหลืองขนาดเท่ากัน 5 กลีบ ผลยาว 30-62 เซนติเมตร และ กว้าง 1.5-2.5 เซนติเมตร มีกลิ่นฉุน และมีเมล็ดที่มีพิษเป็นจำนวนมาก
สีประจำมหาวิทยาลัย
[แก้]TTTTTT | TTTTTT | |
คณะและหน่วยงานในสังกัด
[แก้]คณะ
[แก้]- คณะครุศาสตร์ [2]
- คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- คณะวิทยาการจัดการ[3]
- คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์[4]
- คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม[5]
- คณะสาธารณสุขศาสตร์
- คณะพยาบาลศาสตร์
- คณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ (โครงการจัดตั้ง)
- คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม (โครงการจัดตั้ง)
- บัณฑิตวิทยาลัย[6]
สำนัก
[แก้]- สำนักงานอธิการบดี เก็บถาวร 2018-04-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ เก็บถาวร 2008-04-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
- สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน เก็บถาวร 2008-06-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- สถาบันวิจัยและพัฒนา
- สำนักคอมพิวเตอร์
- สถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหิน
ศูนย์
[แก้]- ศูนย์วิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ เก็บถาวร 2008-06-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ศูนย์ภาษา เก็บถาวร 2007-10-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ศูนย์สุขภาพชุมชน เก็บถาวร 2012-11-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ศูนย์ศึกษาการพัฒนาครู เก็บถาวร 2017-08-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ศูนย์ข้อมูลท้องถิ่นเพื่อการพัฒนา
หน่วยงานอื่นๆ
[แก้]- สำนักตรวจสอบภายใน
- โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา เก็บถาวร 2012-11-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- โครงการสหกิจศึกษา เก็บถาวร 2011-02-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- คลินิกเทคโนโลยี เก็บถาวร 2008-04-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- องค์การนักศึกษา เก็บถาวร 2009-06-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- สโสรนักศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
- ชมรมพิราบขาว สังกัดหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต
- คลินิกกฎหมายและศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
อาคารสถานที่
[แก้]อาคารยุพราชเบญจมงคล (อาคาร 31) ประกอบด้วยพื้นที่โล่งสำหรับทำกิจกรรม ห้องจัดแสดงนิทรรศการ ห้องประชุม ห้องบรรยาย และห้องเรียนรวม มีวัตถุประสงค์ในการก่อสร้างเพื่อให้เป็นอาคารเรียนรวมสำหรับนักศึกษา รองรับจำนวนนักศึกษาที่มีเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากมหาวิทยาลัยได้มีการเปิดหลักสูตรเพิ่มหลายสาขาวิชา เริ่มจากการเชิญชวนผู้บริหาร คณาจารย์ ทั้งอดีตและปัจจุบัน ศิษย์เก่า และนักศึกษาปัจจุบัน ตลอดจนผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาค ดำเนินการออกแบบและขอรับการสนับสนุนงบประมาณแผ่นดินในการก่อสร้าง และงบประมาณรายได้ของมหาวิทยาลัยเพิ่มเติม โดยเมื่อรับมอบอาคารเรียบร้อยแล้ว มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการขอพระราชทานชื่ออาคารจากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เพื่อความเป็นสิริมงคล ซึ่งพระองค์มีพระมหากรุณาธิคุณ พระราชทานชื่ออาคารเรียนรวมของมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2554 ว่า “อาคารยุพราชเบญจมงคล” มีความหมายว่าเป็นอาคารเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในมหามงคลทรงเจริญพระชนมพรรษา 5 รอบ แห่งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร และ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯ เปิดอาคารยุพราชเบญจมงคล เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2556 นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณแก่ชาวมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาอย่างยิ่ง
พิพิธภัณฑ์เมืองนครราชสีมา (อาคาร 10) เป็นพิพิธภัณฑ์สาธารณะที่มีการบูรณาการความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรมของจังหวัดนครราชสีมา ควรค่าที่คนโคราชจะได้รับรู้และภาคภูมิใจ โดยมุ่งหวังที่จะกระตุ้นให้เยาวชนชื่นชอบและสนใจที่จะศึกษาค้นคว้าในประวัติศาสตร์ ศิลปะและมรดกทางวัฒนธรรมที่บรรพชนไทยได้สั่งสมสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน นับได้ว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดนครราชสีมาที่นักท่องเที่ยวจะได้รับข้อมูล ความรู้ และความเข้าใจเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวบริเวณจังหวัดนครราชสีมาก่อนที่จะไปชมยังสถานที่จริง
ศาลเจ้าพ่อขุนศักรินทร์ เป็นเทวสถานประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ภายในประดิษฐานประติมากรรมปูนปั้นขุนศักรินทร์ สิ่งศักสิทธิ์ที่ชาวราชภัฏนครราชสีมาเชื่อว่าท่านคอยปกป้องคุ้มครองให้ทุกคนมีความแคล้วคลาดปลอดภัย ซึ่งมีพิธีบวงสรวงอย่างยิ่งใหญ่อลังการต่อเนื่องทุกปี
หลักสูตร ระดับปริญญาตรี
[แก้]ครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ.)
[แก้]- สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
- สาขาวิชาสังคมศึกษา
- สาขาวิชาศิลปศึกษา
- สาขาวิชาดนตรี
- สาขาวิชานาฏศิลป์
- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป
- สาขาวิชาภาษาไทย
- สาขาวิชาฟิสิกส์
- สาขาวิชาพลศึกษา
- สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
- สาขาวิชาชีววิทยา
- สาขาวิชาเคมี
- สาขาวิชาคณิตศาสตร์
- สาขาวิชาอุตสาหกรรมศิลป์
- สาขาวิชาพุทธศาสนศึกษา
- สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว-ภาษาไทย
- สาขาวิชาการศึกษาพิเศษ-ภาษาไทย
- สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
- สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา
ครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต (ค.อ.บ.)
[แก้]- สาขาวิชาอุตสาหกรรมศิลป์
ศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)
[แก้]- สาขาวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว (วิชาเลือกโท ภาษาจีน, ภาษาญี่ปุ่น, ภาษาฝรั่งเศส)
- สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ
- สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
- สาขาวิชาภาษาไทย
- สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น
- สาขาวิชาภาษาจีน
- สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์และบรรณารักษศาสตร์
- สาขาวิชาการจัดการโรงแรม (วิชาเลือกโท ภาษาจีน, ภาษาญี่ปุ่น, ภาษาฝรั่งเศส)
- สาขาวิชาการพัฒนาสังคม
วิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)
[แก้]- สาขาวิชาสถิติประยุกต์
- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการอาหาร
- สาขาวิชาภูมิสารสนเทศ
- สาขาวิชาวิชาฟิสิกส์
- สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
- สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
- สาขาวิชาชีววิทยา
- สาขาวิชาเคมี
- สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์
- สาขาวิชาเกษตรศาสตร์
- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย
- สาขาวิชาเทคนิคการสัตวแพทย์
- สาขาวิชาสารสนเทศเพื่อการจัดการ
สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (สธ.บ.)
[แก้]- สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน
รัฐศาสตร์บัณฑิต (ร.บ.)
[แก้]• สาขารัฐศาสตร์
นิติศาสตรบัณฑิต (น.บ.)
[แก้]- สาขาวิชานิติศาสตร์
นิเทศศาสตรบัณฑิต (นศ.บ.)
[แก้]- สาขาวิชานิเทศศาสตร์
รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (รป.บ.)
[แก้]- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
บริหารธุรกิจบัณฑิต (บธ.บ.)
[แก้]- สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ (ต่อเนื่อง)
- สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
- สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์
- สาขาวิชาการตลาด
- สาขาวิชาการจัดการทั่วไป
- สาขาวิชาการเงินการธนาคาร
- สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
อุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต (อส.บ.)
[แก้]- สาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
- สาขาวิชานวัตกรรมเซรามิกส์
- สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรม(ต่อเนื่อง)
- สาขาวิชาเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม(ต่อเนื่อง)
ศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต (ศป.บ.)
[แก้]- สาขาวิชาออกแบบนิเทศศิลป์
- สาขาวิชาทัศนศิลป์
เศรษฐศาสตรบัณฑิต (ศ.บ.)
[แก้]- สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
บัญชีบัณฑิต (บช.บ.)
[แก้]- สาขาวิชาการบัญชี (4 ปี)
- สาขาวิชาการบัญชี (ต่อเนื่อง)
สถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต (สถ.บ.)
[แก้]- สาขาวิชาสถาปัตยกรรม (5 ปี)
วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.)
[แก้]- สาขาวิชาวิศวกรรมการจัดการอุตสาหกรรม
- สาขาวิชาวิศวกรรมการก่อสร้าง
- สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าอุตสาหกรรม
ระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต
[แก้]- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
- สาขาวิชาการศึกษา
ระดับปริญญาโท
[แก้]- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
- สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
- สาขาวิชาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน
- สาขาวิชาการส่งเสริมสุขภาพ
- สาขาวิชาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา
- สาขาวิชาการพัฒนาสุขภาพชุมชน
- สาขาวิชาวิทยาศาสตรศึกษา
- สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการสิ่งแวดล้อม
- สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษา
- สาขาวิชาการจัดการ
- สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
ระดับปริญญาเอก
[แก้]- สาขาวิชาภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษา
- สาขาวิชาการเมืองการปกครองภาครัฐและเอกชน
ทำเนียบผู้บริหาร
[แก้]ทำเนียบผู้บริหารสถานศึกษา/สถาบัน/มหาวิทยาลัย | ||||
ลำดับ | รายนาม | ตำแหน่ง | เริ่มดำรงตำแหน่ง | สิ้นสุด |
---|---|---|---|---|
1 | ขุนกัลยาณเวทย์ (ศุข อาสนนันท์) |
ครูใหญ่ โรงเรียนตัวอย่างประจำมณฑลนครราชสีมา |
พ.ศ. 2457 | พ.ศ. 2459 |
2 | นายทองสุก ปานสิงหะ |
ครูใหญ่ | พ.ศ. 2459 | พ.ศ. 2461 |
3 | ขุนอักษรเสริฐ (เปล่ง บุญสมบัติ) |
ครูใหญ่ | พ.ศ. 2461 | พ.ศ. 2466 |
4 | ราชบุรุษ ขุนศุภลักษณ์ศึกษากร (เจียม ศุภลักษณ์) |
ครูใหญ่ โรงเรียนฝึกหัดครูมูลกสิกรรม ประจำมณฑลนครราชสีมา |
พ.ศ. 2466 | พ.ศ. 2477 |
5 | ว่าที่รองอำมาตย์ตรีขุนสุบงกชศึกษากร (นาก สุบงกช) |
ครูใหญ่ โรงเรียนฝึกหัดครูประกาศนียบัตรจังหวัด |
พ.ศ. 2477 | พ.ศ. 2782 |
6 | นายช่วง จันทรมะโน |
ครูใหญ่ โรงเรียนฝึกหัดครูมูลโนนสูง |
พ.ศ. 2482 | พ.ศ. 2486 |
7 | นายสมชาย ดวงจันทร์ |
ครูใหญ่ โรงเรียนฝึกหัดครูนครราชสีมา |
พ.ศ. 2486 | พ.ศ. 2489 |
8 | นายอรรจน์ วิวัฒน์ สุนทรพงศ์ | อาจารย์ใหญ่ วิทยาลัยครูนครราชสีมา |
พ.ศ. 2489 | พ.ศ. 2502 |
9 | นายสุรินทร์ สรศิร์ | ผู้อำนวยการชั้นพิเศษ วิทยาลัยครูนครราชสีมา |
พ.ศ. 2502 | พ.ศ. 2508 |
10 | นางวิไลวรรณ เอื้อวิทยาศุภร | อาจารย์ชั้นพิเศษ (รักษาราชการผู้อำนวยการวิทยาลัยครูนครราชสีมา) |
พ.ศ. 2506 | พ.ศ. 2509 |
11 | นางสาวฉวีวรรณ ดุลยจินดา |
ผู้อำนวยการ วิทยาลัยครูนครราชสีมา |
พ.ศ. 2508 | พ.ศ. 2508 |
12 | นายสนอง สิงหพันธุ์ |
ผู้อำนวยการ วิทยาลัยครูนครราชสีมา |
พ.ศ. 2509 | พ.ศ. 2517 |
13 | นายพจน์ ธัญญขันธ์ |
อธิการ วิทยาลัยครูนครราชสีมา |
พ.ศ. 2517 | พ.ศ. 2519 |
14 | นายทวี ท่อแก้ว |
อธิการ วิทยาลัยครูนครราชสีมา |
พ.ศ. 2519 | พ.ศ. 2520 |
15 | นายประธาน จันทรเจริญ |
อธิการ วิทยาลัยครูนครราชสีมา |
พ.ศ. 2521 | พ.ศ. 2522 |
16 | รองศาสตราจารย์ ดร.อินทร์ ศรีคูณ |
อธิการ วิทยาลัยครูนครราชสีมา |
พ.ศ. 2522 | พ.ศ. 2528 |
17 | รองศาสตราจารย์ ดร.ทองคูณ หงส์พันธุ์ |
อธิการ วิทยาลัยครูนครราชสีมา |
พ.ศ. 2528 | พ.ศ. 2532 |
18 | ดร.บัณฑิต วงษ์แก้ว |
อธิการ วิทยาลัยครูนครราชสีมา |
พ.ศ. 2532 | พ.ศ. 2535 |
19 | ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมศักดิ์ ทองงอก |
อธิการ วิทยาลัยครูนครราชสีมา |
พ.ศ. 2535 | พ.ศ. 2538 |
20 | ผู้ช่วยศาสตราจารย์อุทัย เดชตานนท์ |
อธิการบดี สถาบันราชภัฏนครราชสีมา |
พ.ศ. 2538 | พ.ศ. 2542 |
21 | รองศาสตราจารย์เชิดชัย โชครัตนชัย |
อธิการบดี สถาบันราชภัฏนครราชสีมา |
พ.ศ. 2542 | พ.ศ. 2546 |
22 | ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เศาวนิต เศาณานนท์ |
อธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา |
พ.ศ. 2546 | พ.ศ. 2556 |
23 | รองศาสตราจารย์ เทื้อน ทองแก้ว |
รักษาราชการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา |
พ.ศ. 2557 | พ.ศ. 2557 |
24 | รองศาสตราจารย์ ดร.วิเชียร ฝอยพิกุล |
อธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา |
พ.ศ. 2557 | พ.ศ. 2562 |
25 | รองศาสตราจารย์ ดร.อดิศร เนาวนนท์ | อธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา |
พ.ศ. 2562 | ยังอยู่ในตำแหน่ง |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๒๓, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
- ↑ http://www.edu.nrru.ac.th
- ↑ http://www.fms.nrru.ac.th
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-11-25. สืบค้นเมื่อ 2005-09-04.
- ↑ http://fit.nrru.ac.th/
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-10-29. สืบค้นเมื่อ 2005-09-04.