ยงยุทธ ติยะไพรัช
ยงยุทธ ติยะไพรัช | |
---|---|
ยงยุทธ ใน พ.ศ. 2563 | |
ประธานรัฐสภาไทย และ ประธานสภาผู้แทนราษฎร | |
ดำรงตำแหน่ง 24 มกราคม พ.ศ. 2551 – 30 เมษายน พ.ศ. 2551 (0 ปี 96 วัน) | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
นายกรัฐมนตรี | สุรยุทธ์ จุลานนท์ สมัคร สุนทรเวช |
ก่อนหน้า | มีชัย ฤชุพันธุ์ (ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ) |
ถัดไป | ชัย ชิดชอบ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม | |
ดำรงตำแหน่ง 11 มีนาคม พ.ศ. 2548 – 19 กันยายน พ.ศ. 2549 (1 ปี 192 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ทักษิณ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | สุวิทย์ คุณกิตติ |
ถัดไป | เกษม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา |
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 – 8 ตุลาคม พ.ศ. 2545 (1 ปี 222 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ทักษิณ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | อรรคพล สรสุชาติ |
ถัดไป | ศิธา ทิวารี |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 3 เมษายน พ.ศ. 2504 อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | เอกภาพ (2532–2539) ประชาธิปัตย์ (2539–2543) ไทยรักไทย (2543—2550) พลังประชาชน (2550–2551) เพื่อชาติ (2556–2566) เพื่อไทย (2567–ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | สลักจฤฎดิ์ ติยะไพรัช |
ยงยุทธ ติยะไพรัช (เกิด 3 เมษายน พ.ศ. 2504) เป็นนักการเมืองชาวไทย อดีตประธานรัฐสภา และอดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร[1] อดีตสำนักนายกรัฐมนตรี อดีตเลขาธิการนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในรัฐบาล ทักษิณ ชินวัตร อดีตรองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงราย
ประวัติ
[แก้]ยงยุทธ ติยะไพรัช เป็นบุตรของแต้ซ้ง (บิดา) กับ จม (มารดา) แซ่เตีย สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมจากโรงเรียนสามัคคีวิทยาคม จังหวัดเชียงราย ระดับปริญญาตรีคณะเกษตรศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2526 (รุ่นเดียวกับอภิรักษ์ โกษะโยธิน), ระดับปริญญาโท สาขาการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2536 และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก สาขา Urban Environmental Management ในปี พ.ศ. 2555 จาก สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย[2]
การเมือง
[แก้]ยงยุทธ ลงสมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และได้รับการเลือกตั้งครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2538 ในสังกัดพรรคเอกภาพ โดยการสนับสนุนของฉัฐวัสส์ มุตตามระ อดีต ส.ส.เชียงราย, สุรสิทธิ์ เจียมวิจักษณ์ และบัวสอน ประชามอญ ที่มาอยู่พรรคไทยรักไทยด้วยกัน กระทั่งการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2539 ยงยุทธเข้าสังกัด พรรคประชาธิปัตย์ ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง ได้รับตำแหน่ง เลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ก่อนที่จะย้ายมาลงในนามพรรคไทยรักไทย เมื่อปี พ.ศ. 2544 และได้รับการเลือกตั้ง และได้รับตำแหน่งทางการเมือง เริ่มต้นจาก โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี, เลขาธิการนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม[3]
วิพากษ์วิจารณ์
[แก้]ที่มาฉายา "ยุทธ ตู้เย็น": กรณีปิดล้อมบ้านตา-ยาย บ้านศตะกูรมะ
[แก้]ยงยุทธ ได้รับฉายาจากสื่อมวลชนว่า ยุทธ ตู้เย็น จากกรณีของครอบครัวศตะกูรมะ เมื่อ พ.ศ. 2547 ในปฏิบัติการสนองนโยบายทำสงครามกับยาเสพติดของรัฐบาล ทักษิณ เมื่อเวลา 03.00 น. ของวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ตำรวจคอมมานโด นำโดย พล.ต.ต.โกสินทร์ หินเธาว์ ผู้บังคับการกองปราบปราม ในขณะนั้นนำกำลังเข้าปิดล้อมบ้านของนายนิสสัย ศตะกูรมะ อายุ 70 ปี และนางอุดม ศตะกูรมะ อายุ 67 ปี ที่ตำบลเชียงรากน้อย อำเภอบางไทร พระนครศรีอยุธยา และเปิดฉากยิงถล่ม โดยได้ข้อมูลจากนายยงยุทธ ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ว่าบ้านหลังนี้เป็นแหล่งผลิตและค้ายาบ้า โดยนายยงยุทธ ได้ข้อมูลจากตู้ ปณ.ร้องทุกข์นายกรัฐมนตรี [4]
ภายหลังเหตุการณ์ เจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าตรวจค้น และไม่พบสิ่งผิดกฎหมายใดๆ แต่สภาพบ้านเสียหายอย่างหนัก โดยเฉพาะตู้เย็นซึ่งตั้งอยู่ภายในบ้าน มีรูกระสุนกว่า 50 นัด นิสสัยและอุดม ศตะกูรมะ ซึ่งอยู่บนบ้านเพียงสองคนในวันนั้นถูกคุมตัวโดยเจ้าหน้าที่ใช้ปืนเอ็ม 16 จ่อศีรษะนานหลายชั่วโมง[5] [6] จนถึงเช้าทางการตำรวจแถลงในภายหลังว่า ได้รับข้อมูลที่ผิดพลาด และยินดีที่จะชดใช้ค่าเสียหายให้ทั้งหมด โดยนำตู้เย็นใบนั้นกลับไปด้วย อ้างว่าจะซื้อให้ใหม่ ต่อมาทางครอบครัวศตะกูรมะติดต่อขอคืน เพื่อนำมาเก็บไว้เป็นที่ระลึก
ภายหลังเหตุการณ์นี้ นางอุดม ศตะกูรมะ ยื่นฟ้องกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องนั่นคือนายยงยุทธและพวกในฐานะผู้เสียหาย ต่อศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทั้งนี้ศาลพิเคราะห์พยาน และหลักฐานที่โจทก์ยื่นให้ เห็นว่ามีมูลจึงรับฟ้อง จำเลยรวม 8 คน
ในระหว่างการสืบพยานหลังจากเกิดเหตุตำรวจบุกถล่มบ้านไม่นาน ในวันต่อมาบุตรชายคนสุดท้องของนายนิสสัย และนางอุดม ซึ่งต้องคดีอาญา และถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ เพิ่งได้รับพระราชทานอภัยโทษ และกำลังจะได้รับการปล่อยตัวกลับ”เสียชีวิตปริศนาในห้องขัง” แพทย์ระบุสาเหตุการตายว่า “ระบบหายใจไหลเวียนโลหิตล้มเหลวจากพยาธิสภาพปอด และตับ” รายงานผลการตรวจโดยห้องปฏิบัติการระบุว่า พบสตริกนิน (Strychnine) ในกระเพาะอาหาร ต่อมาสถาบันนิติเวชวิทยา สำนักงานตำรวจแห่งชาติ แถลงว่าเกิดความผิดพลาดในการพิมพ์ผลการตรวจ โดยเจ้าหน้าที่ธุรการพิมพ์ตกคำว่า “ไม่” ในรายงาน และนายแพทย์ผู้ตรวจก็เซ็นรับรองไปโดยไม่ได้ตรวจสอบให้ละเอียด [7]
ภายหลังเหตุการณ์นี้นางอุดม ศตะกูรมะ จึงได้ถอนคำร้องนายยงยุทธ ติยะไพรัชและพวกต่อศาลอาญา พระนครศรีอยุธยา
จากกรณีดังกล่าว เป็นเหตุให้สื่อมวลชนฝ่ายตรงข้าม ตั้งฉายาให้ยงยุทธว่า "ยุทธ ตู้เย็น"
ข้อกล่าวหาจัดตั้งมวลชน ปะทะกับกลุ่มผู้ชุมนุม
[แก้]มีกรณีกล่าวหายงยุทธว่า เป็นผู้อยู่เบื้องหลัง การจัดตั้งลูกจ้างของกรมป่าไม้ ให้มาปะทะกับกลุ่มผู้ชุมนุมพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย[8] เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 ต่อมาเมื่อเกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 คณะรัฐประหารออกคำสั่งเรียก ให้ยงยุทธและเนวิน ชิดชอบ ไปรายงานตัว[9]
คดีความ
[แก้]การทุจริตเลือกตั้งในฐานะกรรมการบริหารพรรค: เหตุยุบพรรคพลังประชาชน
[แก้]เมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2551 ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ลงมติเห็นชอบให้ยงยุทธเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร, สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ เป็นรองประธานฯ คนที่ 1 และ พันเอก อภิวันท์ วิริยะชัย เป็นรองประธานฯ คนที่ 2 โดยมี พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ[10]
แต่ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ปีเดียวกัน ที่ประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ส่วนกลาง 5 คน ลงมติให้ใบแดงแก่ยงยุทธ ด้วยคะแนนเสียง 3:1 (อีกหนึ่งเสียงที่หายไปคือสดศรี สัตยธรรม ซึ่งงดออกเสียง) เนื่องจากเรื่องร้องเรียน การทุจริตเลือกตั้ง ที่จังหวัดเชียงราย ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 หลังจากนั้น ยงยุทธก็แถลงข่าวลาออกจากตำแหน่งอย่างเป็นทางการ โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2551
หลังจากเหตุการณ์ดังกล่าว ศาลฎีกาผู้วินิจฉัยชี้ขาดการทุจริต ส.ส. มีคำวินิจฉัยว่านายยงยุทธ กระทำผิดฝ่าฝืนพรป.เลือกตั้ง มาตรา 53 ทำให้การเลือกตั้งส.ส.เชียงรายไม่สุจริต เที่ยงธรรม ศาลรัฐธรรมนูญจึงเห็นว่าการที่นายยงยุทธ เป็นกรรมการบริหารพรรค มีบทบาทสำคัญในพรรค ได้รับยกย่องเป็นรองหัวหน้าและประธานสภา มีหน้าที่ต้องควบคุมดูแลส.ส. แต่กลับกระทำความผิดเสียเอง คุกคามระบอบประชาธิปไตย มีเหตุสมควรให้ยุบพรรคพลังประชาชนเพื่อเป็นมาตรฐานพฤติกรรมที่ดีงาม ไม่ให้กระทำความผิดขึ้นอีก ศาลรัฐธรรมนูญจึงมีมติเอกฉันท์ให้ยุบพรรคพลังประชาชนตาม พรป.เลือกตั้ง และให้เพิกถอนสิทธิ์เลือกเป็นเวลา 5 ปี ตามมาตรา 68 วรรค 4 และมาตรา 237 วรรค 2 [11]
กรณีเป็นผู้ต้องหาคดีทุจริตเลือกตั้งนายกอบจ.เชียงราย
[แก้]ในการเลือกตั้งนายกอบจ.ปี 2557 นางบุศริณธญ์ (ติยะไพรัชน์) วรพัฒนานันน์ พี่สาวยงยุทธ ติยะไพรัช ได้รับเลือกตั้งเป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย อย่างไรก็ตามที่ประชุมกกต.ได้มีมติให้ใบเหลือง จากกรณีถูกร้องเรียนว่า นายวีระเดช สมวรรณ นายอำเภอเมืองเชียงราย ได้ใช้อำนาจหน้าที่ราชการเพื่อช่วยเหลือผู้สมัคร โดยได้ประสานให้ผู้นำท้องถิ่นและฝ่ายปกครองในพื้นที่มาประชุมกัน และให้นายยงยุทธ ติยะไพรัช ในฐานะน้องชายเข้ามาในที่ประชุมและพูดหาเสียงให้แก่นางบุศริณธญ์ สอบถามเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองถึงคะแนนนิยมของนางบุศริณธญ์ในลักษณะเหมือนเป็นการบังคับ ขืนใจให้บุคคลที่ถูกซักถามเกิดความเกรงกลัว กกต.เห็นว่ามีความผิดโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐใช้ตำแหน่งหน้าที่กระทำการใดๆ เป็นคุณหรือเป็นโทษแก่ผู้สมัคร จึงสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ และดำเนินคดีอาญาแก่นายยงยุทธ และนายวีระเดช[12]
ภายหลังศาลอุทธรณ์ภาคมีคำพิพากษายืนตามมติกกต.[13]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]ยงยุทธ ติยะไพรัช ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทยและต่างประเทศ ดังนี้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
[แก้]- พ.ศ. 2546 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[14]
- พ.ศ. 2545 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[15]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
[แก้]- สวีเดน :
- พ.ศ. 2546 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์ดาวขั้วโลก ชั้นที่ 1[16]
- เนเธอร์แลนด์ :
- พ.ศ. 2547 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์ออเรนจ์-นัสเซา ชั้นที่ 1[17]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งประกาศแต่งตั้งประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎร
- ↑ อดีตรัฐมนตรีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ยงยุทธ ติยะไพรัช เข้ารับปริญญาดุษฎีบัณฑิตจากสถาบันเอไอที
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี
- ↑ ""ศตะกูรมะ"ไขข้อข้องใจร่ำรวยจากการขายที่-เก็บหอมรอมริบ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-12. สืบค้นเมื่อ 2006-10-24.
- ↑ ยิงถล่มบ้านผิด-พิมพ์ตก ชะตาชีวิต "บ้านศตะกูรมะ"
- ↑ ย้อนรอยคดีดัง”ยุทธ ตูเย็น”(1) ยิงถล่มบ้าน”ศตะกูรมะ”กับการคืนอำนาจผ่านทางแนวหน้า มั่นคง ตรงไป ตรงมา.
- ↑ ย้อนรอยคดีดัง”ยุทธ ตูเย็น”(1) ยิงถล่มบ้าน”ศตะกูรมะ”กับการคืนอำนาจผ่านทางแนวหน้า มั่นคง ตรงไป ตรงมา.
- ↑ อ้างอิงเวบ m.thai[ลิงก์เสีย]
- ↑ คำสั่งหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่ 9/2549 เรื่อง ให้ นายยงยุทธ ติยะไพรัช และนายเนวิน ชิดชอบ ไปรายงานตัว
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎร (นายยงยุทธ ติยะไพรัช นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ พันเอก อภิวันท์ วิริยะชัย)
- ↑ TNN 2/12/2008
- ↑ ฟ้าผ่าสภา อบจ.เมืองพ่อขุน กกต.ใบเหลืองนายก อบจ.เชียงราย ควบฟันอาญา นอภ.-ยุทธตู้เย็น
- ↑ "ศาลอุทธรณ์ภาคมีคำพิพากษายืนตามมติกกต" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-08-03. สืบค้นเมื่อ 2021-08-03.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๒, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๙, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๕, ๗ มีนาคม ๒๕๔๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๖ ข หน้า ๒, ๒๕ มีนาคม ๒๕๔๗
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ก่อนหน้า | ยงยุทธ ติยะไพรัช | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
มีชัย ฤชุพันธุ์ ในตำแหน่งประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ |
ประธานรัฐสภา ประธานสภาผู้แทนราษฏร (24 มกราคม พ.ศ. 2551 – 30 เมษายน พ.ศ. 2551) |
ชัย ชิดชอบ | ||
สุวิทย์ คุณกิตติ | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (11 มีนาคม พ.ศ. 2548 – 19 กันยายน พ.ศ. 2549) |
เกษม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา | ||
นายอรรคพล สรสุชาติ | โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 - 8 ตุลาคม พ.ศ. 2545) |
นาวาอากาศตรี ศิธา ทิวารี |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2504
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากอำเภอเชียงของ
- นักการเมืองจากจังหวัดเชียงราย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไทย
- ประธานรัฐสภาไทย
- ประธานสภาผู้แทนราษฎรไทย
- เลขาธิการนายกรัฐมนตรีไทย
- โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงราย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบสัดส่วน
- นักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์
- นักการเมืองพรรคพลังธรรม
- นักการเมืองพรรคเอกภาพ
- นักการเมืองพรรคไทยรักไทย
- นักการเมืองพรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541)
- พรรคเพื่อชาติ
- แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ
- บุคคลจากโรงเรียนสามัคคีวิทยาคม
- บุคคลจากคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- บุคคลจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- บุคคลจากสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.