ข้ามไปเนื้อหา

ยีราฟ (สกุล)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ยีราฟ)

ยีราฟ
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: 11.61–0Ma สมัยไมโอซีนถึงปัจจุบัน
ยีราฟมาไซ (G. c. tippelskirchi) ที่อุทยานแห่งชาติมิกูมิ ประเทศแทนซาเนีย
สถานะการอนุรักษ์

ไม่มั่นคง  (IUCN 3.1)[1](ในฐานะกลุ่มชนิด)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอต
Eukaryota
อาณาจักร: สัตว์
Animalia
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
Chordata
ชั้น: สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
Mammalia
อันดับ: สัตว์กีบคู่
Artiodactyla
วงศ์: Giraffidae
Giraffidae
สกุล: Giraffa
Giraffa
Brisson, 1762
สปีชีส์: Giraffa camelopardalis
ชื่อทวินาม
Giraffa camelopardalis
Brisson, 1762
ชนิด

ดูอนุกรมวิธาน

บริเวณที่มีชนิดย่อยของ Giraffa

ยีราฟ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Giraffa) เป็นสกุลหนึ่งของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Giraffidae เป็นสัตว์เคี้ยวเอื้อง มีลักษณะเด่น คือ เป็นสัตว์ที่ตัวสูง ขายาว ลำคอยาว มีเขา 1 คู่ ตัวมีสีเหลืองและสีน้ำตาลเข้มเป็นลาย มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา ตัวผู้มีความสูง 4.8 ถึง 5.5 เมตร (16-18 ฟุต) และมีน้ำหนักถึง 900 กิโลกรัม (2,000 ปอนด์) ตัวเมียมีขนาดและความสูงน้อยกว่าเล็กน้อย จัดเป็นสัตว์บกที่มีความสูงที่สุดในโลก

ยีราฟ มีเขาทั้งตัวผู้และตัวเมีย ไม่ผลัดเขา ที่เขามีขนปกคลุมอยู่ เขาของยีราฟเป็นสิ่งแสดงถึงความแตกต่างระหว่างเพศ เขาของยีราฟตัวผู้ด้านบนมีลักษณะตัดราบเรียบและมีความใหญ่อวบกว่า ขณะที่ของตัวเมียจะมีขนสีดำปกคลุมเห็นเป็นพุ่มชัดเจน[2] มีพฤติกรรมอาศัยอยู่รวมเป็นฝูงราว 15-20 ตัว หรือมากกว่านั้น ในทุ่งโล่งร่วมกับสัตว์กินพืชชนิดอื่น ๆ เช่น แอนทิโลป, ม้าลาย หรือนกกระจอกเทศ เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 3 ปีครึ่ง ตั้งท้องนาน 420-461 วัน ลูกยีราฟหย่านมเมื่ออายุได้ 10 เดือน เมื่อคลอดออกมาแล้วจะสามารถยืนและเดินได้ภายในเวลาไม่นานเหมือนสัตว์กีบคู่ทั่วไป และวิ่งได้ภายในเวลา 2-3 วัน ตัวเมียมีเต้านมทั้งหมด 4 เต้า ยีราฟจะเป็นสัดทุก ๆ 14 วัน แต่ละครั้งเป็นอยู่ราว 24 ชั่วโมง มีอายุขัยเฉลี่ย 20-30 ปี[3]

ลักษณะพิเศษ

[แก้]

ด้วยความที่เป็นสัตว์ตัวสูง ยีราฟจำเป็นต้องมีหัวใจขนาดใหญ่เพื่อหมุนสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงสมอง ยีราฟสามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงสมองได้มากกว่ามนุษย์ถึง 3 เท่า เพื่อไปเลี้ยงสมองที่อยู่สูงขึ้นไปประมาณ 8 ฟุต เสมือนกับปั๊มน้ำที่สูบน้ำขึ้นไปยังตึกสูง หัวใจของยีราฟหนักประมาณ 10 กิโลกรัม ระบบไหลเวียนโลหิตจึงเป็นแบบพิเศษ เรียกว่า "Rete mirabile" ช่วยป้องกันอันตรายที่อาจเกิดจากการที่เลือดไปเลี้ยงสมองมากเกินไปเวลายีราฟก้มตัวดื่มน้ำ ระบบไหลเวียนเลือดพิเศษนี้จึงเปรียบเสมือนวาล์วปิดเปิดน้ำ [4]

ยีราฟ เป็นสัตว์ที่กินพืช กินได้ทั้งหญ้าที่ขึ้นอยู่กับพื้น และพุ่มไม้สูง ๆ โดยเฉพาะพุ่มไม้ประเภทอาเคเชียหรือกระถินณรงค์ที่มีหนามแหลม มีรสฝาด และมีพิษ แต่ยีราฟก็สามารถกินได้อย่างไม่มีปัญหา เพราะมีลิ้นที่ยาวถึง 45-47 เซนติเมตร และมีความหนาสาก ใช้ตวัดกินได้โดยไม่ได้รับอันตราย และทนทานต่อสารพิษได้ในระดับหนึ่ง[5] แต่เมื่อยีราฟจะดื่มน้ำหรือกินอาหารที่อยู่พื้นล่าง ต้องถ่างขาทั้งคู่หน้าออก และก้มคอลง เพราะมีกระดูกที่ข้อต่อต้นคอเพียง 7 ข้อเท่านั้น นับเป็นช่วงที่ยีราฟจะได้รับอันตรายจากสัตว์กินเนื้อที่บุกจู่โจมได้ เพราะเป็นช่วงที่อยู่ในท่าที่ไม่คล่องตัว[6] วัน ๆ หนึ่งยีราฟจะกินอาหารเฉลี่ยวันละ 20-30 กิโลกรัม ขณะที่นอนหลับในท่ายืนเพียงวันละ 2 นาที-2 ชั่วโมงเท่านั้น ยีราฟเมื่อวิ่ง จะวิ่งได้ไม่นานนักเนื่องจากหัวใจจะสูบฉีดเลือดอย่างหนัก และเมื่อวิ่งจะต่างจากสัตว์ชนิดอื่น ๆ เพราะทั้งขาหลังและขาหน้า ที่อยู่ข้างเดียวกัน จะยกขึ้นลงพร้อม ๆ กัน จึงมีลักษณะการวิ่งแบบควบกระโดดโคลงเคลงไปมา และคอที่ยาวก็จะมีอาการแกว่งไกวไปมาด้วย [7]

แม้จะเป็นสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ แต่ยีราฟก็ยังถูกคุกคามจากสัตว์กินเนื้อได้ เช่น สิงโต หรือไฮยีนา ยีราฟมีวิธีการป้องกันตัวคือ การเตะ จากขาหลังที่ทรงพลัง ซึ่งทำให้สิงโตได้รับบาดเจ็บได้ สิงโตจึงไม่ค่อยโจมตียีราฟตัวที่โตเต็มที่ แต่จะเล็งไปยังลูกยีราฟมากกว่า[8] กะโหลกและเขาแบบออสซิโคน ยีราฟทั้งเพศผู้ และเพศเมียมีเขาในแบบที่เรียกว่า ออสซิโคน ( ossicones ) ซึ่งจะโครงสร้างทีมีการเจริญจากกระดูกอ่อนแล้วคลุมด้วยผิวหนังและเชื่อมไปกับส่วนกระโหลก โดยเส้นเลือดที่แทรกตัวในเนื้อกระดูกอ่อนจะทำหน้าที่จับอุณภูมิที่มีการเปลี่ยนแปลง ( thermoregulator ) ลักษณะที่เห็นจะช่วยบอกเพศหรืออายุ โดยในยีราฟที่มีอายุน้อยหรือเพศเมียจะมีกลุ่มขนอยู่ส่วนปลายสุด ส่วนในเพศผู้ที่อายุถึงช่วงสมบูรณ์พันธ์แล้วจะไม่มีขนในลักษณะดังกล่าว ลักษณะอีกอันหนึ่งที่พบในยีราฟเพศผู้คือจะมีก้อนแข็งที่เกิดจากการสะสมของแคลเซี่ยมที่บริเวณหน้าผาก ( front of skull ) ทำให้กะโหลกส่วนหน้าผากของยีราฟเพศผู้นูนขึ้นและเป็นก้อนๆ ขนาดเล็ก ทำให้ยีราฟเพศผู้เมื่ออายุมากขึ้นน้ำหนักของกะโลหจะมีน้ำหนักมากขึ้น ซึ่งจะชวยในการต่อสู้กับยีราฟเพศผู้ตัวอื่น

กระโหลกส่วนหน้าผากจะมีแคลเซี่ยมมาสะสม ทำให้ส่วนดังกล่าวมีก้อนแข็งเล็กๆ พอกตัวขึ้น

กะโหลกและเขาแบบออสซิโคน

[แก้]

ยีราฟทั้งเพศผู้ และเพศเมียมีเขาในแบบที่เรียกว่า ออสซิโคน ซึ่งจะโครงสร้างทีมีการเจริญจากกระดูกอ่อนแล้วคลุมด้วยผิวหนังและเชื่อมไปกับส่วนกระโหลก โดยเส้นเลือดที่แทรกตัวในเนื้อกระดูกอ่อนจะทำหน้าที่จับอุณภูมิที่มีการเปลี่ยนแปลง ( thermoregulator ) ลักษณะที่เห็นจะช่วยบอกเพศหรืออายุ โดยในยีราฟที่มีอายุน้อยหรือเพศเมียจะมีกลุ่มขนอยู่ส่วนปลายสุด ส่วนในเพศผู้ที่อายุถึงช่วงสมบูรณ์พันธ์แล้วจะไม่มีขนในลักษณะดังกล่าว ลักษณะอีกอันหนึ่งที่พบในยีราฟเพศผู้คือจะมีก้อนแข็งที่เกิดจากการสะสมของแคลเซี่ยมที่บริเวณหน้าผาก ( front of skull ) ทำให้กะโหลกส่วนหน้าผากของยีราฟเพศผู้นูนขึ้นและเป็นก้อนๆ ขนาดเล็ก ทำให้ยีราฟเพศผู้เมื่ออายุมากขึ้นน้ำหนักของกะโลหจะมีน้ำหนักมากขึ้น ซึ่งจะชวยในการต่อสู้กับยีราฟเพศผู้ตัวอื่น สูตรฟันของยีราฟจะเป็น I0/3 C0/1 P3/3. M3/3 = 32 [9]

คอของยีราฟประกอบด้วยกล้ามเนื้อที่แข็งแกร่งยึดติดกับบริเวณหัวไหล่ คอของยีราฟจึงไม่ห้อยตกลงมา ซึ่งคอของยีราฟนอกจากจะใช้เพื่อการดำรงชีวิตทั่วไป ยังมีส่วนสำคัญในพฤติกรรมทางสังคมเช่นกัน ยีราฟตัวผู้จะเข้าต่อสู้โดยใช้คอถูหรือฟาดกับยีราฟตัวอื่นด้วยความรุนแรง ซึ่งอาจถึงขั้นบาดเจ็บสาหัสหรือตายได้ เพื่อจะแสดงความเป็นจ่าฝูง และใช้เกี้ยวพาราสีหาคู่เพื่อสืบพันธุ์ด้วย[8]

การจำแนก

[แก้]

ยีราฟ ยังแบ่งออกเป็นสปีชีส์ได้ทั้งหมด 4 ชนิด จากการลำดับ DNA ซึ่งสรุปได้ว่าทั้ง 4 สายพันธุ์นี้ไม่ได้มีการผสมข้ามสายพันธ์มาแล้วกว่า 1 ถึง 2 ล้านปีแล้ว การสรุปเป็นไปอย่างลงตัวในเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยสรุปให้ยีราฟเป็นสกุล ที่ประกอบด้วยยีราฟ 4 ชนิด จากเดิมที่คาดว่ามีเพียงสายพันธุ์เดียว ดังที่ได้ระบุไว้ด้านล่าง[10]

ลายของยีราฟ สันนิษฐานว่ามีไว้สำหรับพรางตัว เพราะดูแล้วจะกลมกลืนไปกับพุ่มไม้และสภาพแวดล้อม เหมือนสีของแสงและเงาของต้นไม้[7]

การสืบพันธุ์

[แก้]

การผสมพันธุ์ของยีราฟจะเป็นไปในลักษณะที่เรียกว่า Polygamous คือตัวผู้ที่แข็งแรงที่เอาชนะเพศผู้ตัวอื่นในพื้นที่แห่งนั้น ซึ่งยีราฟเพศผู้จะรู้ว่าเพศเมียตัวใดอยู่ในสภาวะเป็นสัดหรือไม่ ด้วยการทดสอบจากปัสสาวะของเพศเมีย และการแสดงออกทางใบหน้าที่มีคำศัพท์ว่า Flehmen respond ( ดูภาพประกอบ ) เมื่อยีราฟเพศผู้พบยีราฟเพศเมียที่อยู่ในช่วงการเป็นสัด ยีราฟเพศผู้จะพยายามเดินตามเพื่อผสมพันธุ์ การเกี้ยวพาราสี ยีราฟเพศผู้จะเอาคอพักที่หัวหรือคอของเพศเมียที่เป็นสัด ในช่วงการผสมพันธุ์ยีราฟเพศผู้จะยืนเอาส่วนหน้าอกชิดส่วนท้ายของยีราฟเพศเมีย และช่วงการผสมขาหน้าพักขาที่บริเวณด้านบนของเชิงกรานยีราฟเพศเมีย

ยีราฟเพศผู้ทดสอบปัสสสาวะของยีราฟเพศเมียเพื่อทดสอบการเป็นสัด
การแสดงสีหน้า ที่ใบหน้าเมื่อยีราฟเพศผู้ เมื่อทดสอบการเป็นสัดของเพศเมีย Fleshmen
ยีราฟเพศผู้เดินตามแบบชิดตัวเพื่อพยายามผสมพันธุ์เพศเมียที่เป็นสัด

ศัพทมูลวิทยา

[แก้]

คำว่า "camelopardalis" เป็นศัพท์ภาษาละติน (ที่มีต้นเค้าจากคำศัพท์ใน ภาษากรีก) จากคำว่า "camelos" (อูฐ) กับ "pardalis" (เสือดาว) เนื่องจากลักษณะยีราฟคล้ายกับสัตว์ทั้งสองชนิดดังกล่าว ส่วนในภาษาอังกฤษสมัยกลาง เคยใช้คำว่า "camelopard" เรียก ยีราฟ

ส่วนคำว่า "ยีราฟ" (giraffe) ในภาษาอังกฤษ มีรากศัพท์มาจากภาษาอาหรับ "zarafa"

นอกจากนี้แล้ว ยีราฟ ยังถูกใช้เป็นชื่อเรียกกลุ่มดาวฤกษ์กลุ่มหนึ่งด้วย

ความสัมพันธ์กับมนุษย์

[แก้]
ภาพวาดใน ค.ศ. 1414 ของยีราฟที่ถูกนำเข้ามาในราชวงศ์หมิง ผ่านทางเบงกอล

ใช้เป็นของกำนัล

[แก้]

ในยุคโบราณ ยีราฟถือเป็นสัตว์ที่ใช้เป็นเครื่องกำนัลหรือบรรณาการแก่กัน โดยมีบันทึกไว้ว่า ในยุคจักรพรรดิหย่งเล่อ แห่งราชวงศ์หมิง การเดินทางโดยเรือรอบโลกของเจิ้งเหอ มีการนำเอายีราฟกลับมาสู่ประเทศจีนในสมัยนั้นด้วย[11]

นัยสำคัญทางวัฒนธรรม

[แก้]

ยีราฟยังได้ปรากฏตัวในแอนิเมชัน โดยรับบทเป็นตัวประกอบใน เดอะ ไลอ้อน คิง และ ดัมโบ้ รวมถึงมีบทบาทที่โดดเด่นในภาพยนตร์ เดอะ ไวล์ด แก็งค์เขาดินซิ่งป่วนป่า และ มาดากัสการ์ ส่วนยีราฟโซฟี เป็นยางกัดที่ได้รับความนิยมตั้งแต่ปี ค.ศ. 1961 และตัวละครที่เป็นยีราฟที่มีชื่อเสียงอื่นๆเป็นตัวนำโชคของ ทอยส์ "อาร์" อัส ที่มีชื่อว่า ยีราฟเจฟฟรีย์[12] นอกจากนี้ ยีราฟยังเป็นสัตว์ประจำชาติของประเทศแทนซาเนีย[13]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Muller, Z.; Bercovitch, F.; Brand, R.; Brown, D.; Brown, M.; Bolger, D.; Carter, K.; Deacon, F.; Doherty, J.B.; Fennessy, J.; Fennessy, S.; Hussein, A.A.; Lee, D.; Marais, A.; Strauss, M.; Tutchings, A.; Wube, T. (2018) [amended version of 2016 assessment]. "Giraffa camelopardalis". IUCN Red List of Threatened Species. 2018: e.T9194A136266699. doi:10.2305/IUCN.UK.2016-3.RLTS.T9194A136266699.en. สืบค้นเมื่อ 12 November 2021.
  2. "สุดหล้าฟ้าเขียว". tv.truelife.com. 4 June 2016. สืบค้นเมื่อ 4 June 2016.[ลิงก์เสีย]
  3. "ยีราฟ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-24. สืบค้นเมื่อ 2012-12-31.
  4. ยีราฟมีวาล์ว[ลิงก์เสีย]
  5. สัตว์ก็ใช้สมุนไพรเป็นนะคร้าบ ตอนที่ 2
  6. เป็นอย่างนั้นได้อย่างไร ยีราฟคอยาวกินน้ำได้อย่างไร โดย กัมบูร์นัก ลอร์ แปลโดย ปราณี ศิริจันทพันธ์ (นานมีบุ๊คส์, 2548) 160 หน้า. ISBN 9789749601129
  7. 7.0 7.1 หน้า 71, สัตว์สวยป่างาม โดย ชมรมนิเวศวิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล (สิงหาคม, 2518)
  8. 8.0 8.1 ทำไมยีราฟถึงคอยาว
  9. Prothero, D. R.; Schoch, R. M. (2003). Horns, Tusks, and Flippers: The Evolution of Hoofed Mammals. Johns Hopkins University Press. pp. 67–72. ISBN 978-0-8018-7135-1.
  10. Fennessy, Julian; Bidon, Tobias; Reuss, Friederike; Kumar, Vikas; Elkan, Paul; Nilsson, Maria A.; Vamberger, Melita; Fritz, Uwe; Janke, Axel (2016). "Multi-locus Analyses reveal four giraffe species instead of one". Current Biology. doi:10.1016/j.cub.2016.07.036.
  11. จูตี้...จักรพรรดิ Visionไกลของราชวงศ์ หมิง
  12. Williams, E. (2011). Giraffe. Reaktion Books. ISBN 1-86189-764-2.
  13. Knappert, J (1987). East Africa: Kenya, Tanzania & Uganda. Vikas Publishing House. p. 57. ISBN 0-7069-2822-9.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]