ข้ามไปเนื้อหา

วัดญาณเวศกวัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดญาณเวศกวัน
แผนที่
ที่ตั้งตำบลบางกระทึก อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายเถรวาท มหานิกาย
พระประธานพระพุทธประธานญาณเวศกวโนดม
เจ้าอาวาสสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
พระจำพรรษา27 รูป (ข้อมูลปี ๒๕๕๙) พระอาคันตุกะ 5 รูป
icon สถานีย่อยพระพุทธศาสนา

วัดญาณเวศกวัน ตั้งอยู่เลขที่ 10 หมู่ที่ 3 ตำบลบางกระทึก อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ได้รับอนุญาตเป็นทางการ ให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2532 เริ่มมีพระสงฆ์เข้าจำพรรษาในปีเดียวกันนั้น และมีประกาศตั้งเป็นวัดในปี พ.ศ. 2537 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2542 สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มี สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) เป็นเจ้าอาวาส พระมงคลธีรคุณ (อินศร จินฺตาปญฺโญ) และพระครูปลัดสัมพิพัฒน์ศีลาจารย์ (ครรชิต คุณวโร) เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาส

ภายในเนื้อที่ 28 ไร่ 1 งาน 85 ตารางวา ร่มรื่นด้วยพรรณไม้น้อยใหญ่ ผลิดอกออกใบอยู่ทั่วบริเวณ โอบล้อมด้วยบรรยากาศ แห่งธรรมชาติที่เกื้อกูลกันระหว่างสรรพชีวิต เป็นรมณียสถานที่ให้ความสดชื่นผ่อนคลาย สงบเย็น แก่ผู้ที่แวะเวียนเข้ามาพักพิง ด้วย ความตั้งใจที่จะให้อารามแห่งนี้เป็นป่าที่เหมาะแก่การเข้ามาแสวงหาความรู้ เจริญธรรม เจริญปัญญา สมดังชื่อ "ญาณเวศกวัน" อันมี ความหมายว่า "ป่าที่มีเรือนแห่งความรู้" หรือ "ป่าของผู้เข้าสู่ญาณ" พื้นที่ส่วนใหญ่ของวัดจึงมีไว้สำหรับต้นไม้มากกว่าสิ่งปลูกสร้าง เพราะธรรมชาติที่อยู่รายล้อมรอบตัวคือแหล่งการศึกษาเรียนรู้อันกว้างใหญ่ ล้ำลึก เป็นธรรมะใกล้ตัวที่ผู้มีปัญญาจะพึงค้นพบ

อาณาเขตของวัด

[แก้]

วัดมีอาณาเขตเรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้

พระประธานในอุโบสถ

[แก้]

พระประธานในอุโบสถ มีพระนามว่า พระพุทธประธานญาณเวศกวโนดม หน้าตักกว้าง 59 นิ้ว ทำพิธีเททองที่ โรงหล่อ พระพุทธปฏิมาพรเลิศ อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2541 นำเข้าประดิษฐานในอุโบสถ เมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2542 ปิดทองเสร็จและสมโภช เมื่อวันที่ 12 มกราคม และ 17 มกราคม พ.ศ. 2542

ประเภทและลักษณะ

[แก้]

เป็นวัดในฝ่ายมหานิกาย เรียบง่ายธรรมชาติสะอาดดูดีไร้ตู้บริจาคเรี่ยราดแบบวัดอื่นๆไม่จำหน่ายเครื่องรางหรือสินค้าทุกชนิดแต่แจกตำราหนังสือเป็นธรรมทาน ภายในวัดรื่มรื่นไปด้วยต้นไม้แน่นหนาสดชื่นเงียบสงบกลางวัดเป็นสระน้ำใหญ่โดยมีโบสถ์ตั้งอยู่ข้างๆ ไม่มีรูปปั้นสักการะให้ขัดสายตามีเพียงองค์พระในโบสถ์เท่านั้น ที่จอดรถสะดวกสบายเงียบร่มรื่นธรรมชาติสะอาดตาห้องน้ำดีสวยสะอาด เหมาะกับผู้ที่ตั้งใจมาทำบุญ,ถวายสังฆทาน,นั่งสมาธิ,ฟังธรรมฟังเทศและพักผ่อนหย่อนใจได้ดีสถานที่หนึ่ง

การเดินทาง

[แก้]

จากถนนพุทธมณฑลสาย4ที่มาจากเพชรเกษมจะมีซอยซ้ายมือก่อนถึงทางเข้าพุทธมณฑลนิดเดียว ให้เลี้ยวซ้ายเข้าไปในซอยประมาณสองกิโลเมตรและซ้ายมือจะเป็นทางเข้าไปวัดอีก500เมตร ทางเข้าถนนดีเรียบเงียบสงบด้านข้างถนนเป็นคลองชลประทานเล็กๆเรียบตลอดถนน ถ้ามาจากด้านถนนบรมราชชนนีให้เลยทางเข้าพุทธมณฑลไปแล้วยูเทิร์นกลับรถเสร็จแล้วชิดซ้ายเตรียมตัวเลี้ยวเข้าซอยก่อนถึงพุทธมณฑลนิดเดียว

อ้างอิง

[แก้]
  1. เจ้าอาวาส