ข้ามไปเนื้อหา

อำเภอกำแพงแสน

หน้าถูกกึ่งป้องกัน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อำเภอกำแพงแสน
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Kamphaeng Saen
อดีตสถานีรถไฟกำแพงแสน ในเส้นทางรถไฟสายใต้ ปัจจุบันมีฐานะเพียงที่หยุดรถ แต่ไม่มีรถไฟขบวนใดจอดรับส่งผู้โดยสาร ถูกยุบเป็นที่หยุดรถเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2519
อดีตสถานีรถไฟกำแพงแสน ในเส้นทางรถไฟสายใต้ ปัจจุบันมีฐานะเพียงที่หยุดรถ แต่ไม่มีรถไฟขบวนใดจอดรับส่งผู้โดยสาร ถูกยุบเป็นที่หยุดรถเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2519
คำขวัญ: 
เมืองเก่าโบราณ สถานผลิตนักบินประเทศ
แหล่งบัณฑิตการเกษตร เขตพื้นดินเนื้อดี
อนุสาวรีย์อินทรศักดิ์ศจี ปฐพีแห่งความร่มเย็น
แผนที่จังหวัดนครปฐม เน้นอำเภอกำแพงแสน
แผนที่จังหวัดนครปฐม เน้นอำเภอกำแพงแสน
พิกัด: 13°59′2″N 99°59′38″E / 13.98389°N 99.99389°E / 13.98389; 99.99389
ประเทศ ไทย
จังหวัดนครปฐม
พื้นที่
 • ทั้งหมด405.019 ตร.กม. (156.379 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด126,281 คน
 • ความหนาแน่น311.79 คน/ตร.กม. (807.5 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 73140, 73180 (เฉพาะตำบลกระตีบ ห้วยม่วง สระพัฒนา และหมู่ที่ 1, 3-5, 11, 14, 16, 22-23 ตำบลสระสี่มุม)
รหัสภูมิศาสตร์7302
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอกำแพงแสน หมู่ที่ 1 ถนนมาลัยแมน ตำบลทุ่งกระพังโหม อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม 73140
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

กำแพงแสน เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดนครปฐม

ชมพูพันธุ์ทิพย์ ที่ถนนในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

ที่ตั้งและอาณาเขต

อำเภอกำแพงแสนมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้

อดีตสถานีรถไฟกำแพงแสน ในเส้นทางรถไฟสายใต้ (กรุงเทพ-ชุมทางหนองปลาดุก-สุพรรณบุรี)
อุทยานแมลงเฉลิมพระเกียรติ อยู่ภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

ประวัติ

ในอดีตอำเภอกำแพงแสนเป็น เมืองกำแพงแสน (มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 11-16) ซึ่งเป็นเพียงเมืองเล็ก ๆ สันนิษฐานว่าน่าจะมีฐานะเป็นเมืองบริวารของเมืองนครไชยศรีมากกว่าจะเป็นเมืองที่ตั้งอยู่อย่างอิสระ เป็นเมืองโบราณสมัยทวารวดีที่มีขนาดเล็กและตั้งอยู่ไม่ไกลจากเมืองนครไชยศรี ตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่างเมืองใหญ่ 2 เมือง คือเมืองอู่ทองและเมืองนครไชยศรี ปัจจุบันบริเวณเมืองเก่ากำแพงแสนเป็นพื้นที่ของกรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

อำเภอกำแพงแสนได้ตั้งขึ้นครั้งแรกที่วัดห้วยพระ ตำบลห้วยพระ อำเภอดอนตูม โดยใช้ชื่อว่า อำเภอกำแพงแสน ตั้งตามชื่อเมืองโบราณ ต่อมาเมื่อประสพภัยแล้งไม่สะดวกในการสัญจรเพราะในอดีตใช้เรือเป็นหลัก จึงได้ย้ายที่ว่าการอำเภอใหม่จากวัดห้วยพระไปที่ชายทุ่งสามแก้ว ห่างจากที่ตั้งเดิมไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 1 กิโลเมตร และได้เปลี่ยนชื่ออำเภอกำแพงแสน มาเป็น "อำเภอนาถอำนวย" หรือชาวบ้านเรียกตามชื่อหมู่บ้านว่า "อำเภอสามแก้ว" ตั้งอยู่จนถึงปี พ.ศ. 2446[1][2] ก็ได้เปลี่ยนชื่อกลับเป็น "อำเภอกำแพงแสน"

ในวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2490 ได้ย้ายที่ว่าการอำเภอกำแพงแสน จากที่ตั้งชายทุ่งสามแก้ว มาตั้งที่ว่าการอำเภอใหม่ริมคลองท่าสาร-บางปลา บริเวณบ้านยาง ติดถนนมาลัยแมน (ถนนนครปฐม-สุพรรณบุรี) หมู่ที่ 6 ตำบลทุ่งกระพังโหม[3] ห่างจากที่ตั้งเดิมไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 14 กิโลเมตร และเมื่อปี พ.ศ. 2532 ได้ย้ายที่ว่าการอำเภอกำแพงแสนไปสร้างที่ว่าการอำเภอหลังใหม่ ณ ที่ดินที่ราษฎรได้บริจาคให้ริมถนนมาลัยแมน ห่างจากที่ตั้งเดิมไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 2 กิโลเมตร ตรงข้ามโรงเรียนกำแพงแสนวิทยา ส่วนที่ตั้งเดิมได้ใช้เป็นสำนักงานเทศบาลตำบลกำแพงแสน

สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
ที่หยุดรถไฟทุ่งบัว ในเส้นทางรถไฟสายใต้ (กรุงเทพ-ชุมทางหนองปลาดุก-สุพรรณบุรี) มีขบวนรถไฟจอดวันละ 2 ขบวน คือ ขบวนรถชานเมืองที่ 355/356 กรุงเทพ-สุพรรณบุรี-กรุงเทพ

การแบ่งเขตการปกครอง

การปกครองส่วนภูมิภาค

อำเภอกำแพงแสนแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 15 ตำบล 204 หมู่บ้าน ได้แก่

ลำดับ อักษรไทย อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2565)[4]
1. ทุ่งกระพังโหม Thung Kraphanghom
7
7,082
2. กระตีบ Kratip
8
9,048
3. ทุ่งลูกนก Thung Luk Nok
23
13,378
4. ห้วยขวาง Huai Khwang
21
13,040
5. ทุ่งขวาง Thung Khwang
10
6,151
6. สระสี่มุม Sa Si Mum
24
10,306
7. ทุ่งบัว Thung Bua
11
5,528
8. ดอนข่อย Don Khoi
16
7,780
9. สระพัฒนา Sa Phatthana
14
6,994
10. ห้วยหมอนทอง Huai Mon Thong
12
8,889
11. ห้วยม่วง Huai Muang
12
7,390
12. กำแพงแสน Kamphaeng Saen
12
9,729
13. รางพิกุล Rang Phikun
9
6,439
14. หนองกระทุ่ม Nong Krathum
11
5,646
15. วังน้ำเขียว Wang Nam Khiao
14
8,257

การปกครองส่วนท้องถิ่น

ท้องที่อำเภอกำแพงแสนประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 16 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลกำแพงแสน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งกระพังโหม (เฉพาะบางส่วนของหมู่ที่ 1–2, 7) ตำบลวังน้ำเขียว (เฉพาะบางส่วนของหมู่ที่ 3) และตำบลกำแพงแสน ( เฉพาะหมู่ที่ 1, 3 และบางส่วนของหมู่ที่ 2, 4)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งกระพังโหม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งกระพังโหม (นอกเขตเทศบาลตำบลกำแพงแสน)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลกระตีบ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกระตีบทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งลูกนก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งลูกนกทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยขวาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยขวางทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งขวาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งขวางทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสระสี่มุม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสระสี่มุมทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งบัว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งบัวทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลดอนข่อย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดอนข่อยทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสระพัฒนา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสระพัฒนาทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยหมอนทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยหมอนทองทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยม่วง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยม่วงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพงแสน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกำแพงแสน (นอกเขตเทศบาลตำบลกำแพงแสน)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลรางพิกุล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลรางพิกุลทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกระทุ่ม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองกระทุ่มทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลวังน้ำเขียว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังน้ำเขียว (นอกเขตเทศบาลตำบลกำแพงแสน)

อ้างอิง

  1. "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนนามอำเภอไผ่นาท แขวงเมืองนครไชยศรี เป็นอำเภอบางปลา อำเภอนาถอำนวย หรืออำเภอสามแก้วสามแก้ว เป็นอำเภอกำแพงแสน อำเภอบางโทรัดเป็นอำเภอบ้านบ่อ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 20 (28): 459. วันที่ 11 ตุลาคม 2446
  2. "แก้คำผิด ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๒๐ ตอนที่ ๒๘ แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนนามอำเภอไผ่นาท แขวงเมืองนครไชยศรี เป็นอำเภอบางปลา อำเภอสามแก้ว เป้นอำเภอกำแพงแสน อำเภอบางโทรัดเป็นอำเภอบ้านบ่อ หน้า ๔๕๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 20 (29): 490. วันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2446
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ย้ายที่ว่าการอำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (31 ง): 1805–1806. วันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2490
  4. "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.