ข้ามไปเนื้อหา

อำเภอบางเลน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำเภอบางเลน
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Bang Len
คำขวัญ: 
แหล่งข้าวอุดมดี มากมีเป็ดปลา
วัฒนธรรมล้ำค่า งามตาท่าจีน
แผนที่จังหวัดนครปฐม เน้นอำเภอบางเลน
แผนที่จังหวัดนครปฐม เน้นอำเภอบางเลน
พิกัด: 14°1′18″N 100°9′56″E / 14.02167°N 100.16556°E / 14.02167; 100.16556
ประเทศ ไทย
จังหวัดนครปฐม
พื้นที่
 • ทั้งหมด588.836 ตร.กม. (227.351 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด94,617 คน
 • ความหนาแน่น160.69 คน/ตร.กม. (416.2 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 73130, 73190
(เฉพาะตำบลบางหลวงและหินมูล)
รหัสภูมิศาสตร์7305
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอบางเลน เลขที่ 1/1
หมู่ที่ 8 ถนนพลดำริห์ ตำบลบางเลน อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม 73130
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

บางเลน เป็นอำเภอที่มีขนาดพื้นที่มากที่สุดในจังหวัดนครปฐม

โรงผลิตน้ำประปาบางเลน ตำบลบางระกำ อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม
คลองทวีวัฒนา ไหลผ่านอำเภอบางเลนของจังหวัดนครปฐม ไปสิ้นสุดที่แม่น้ำท่าจีนในเขตอำเภอบางเลน ช่วงจังหวัดนนทบุรีและนครปฐม นิยมเรียกว่า "คลองนราภิรมย์" ตามชื่อวัดนราภิรมย์ ซึ่งตั้งอยู่ริมคลองในจังหวัดนครปฐม

ที่ตั้งและอาณาเขต

[แก้]

อำเภอบางเลนมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้

ประวัติ

[แก้]

อำเภอบางเลนตั้งขึ้นเป็นอำเภอเมื่อ พ.ศ. 2439 แต่ดั้งเดิมนั้นไม่ได้ตั้งอยู่บริเวณที่ว่าการอำเภอปัจจุบัน ที่ว่าการอำเภอเดิมตั้งอยู่ที่บ้านบางไผ่นารถ ใกล้บริเวณวัดบางไผ่นารถ ตำบลบางไทรป่า ริมฝั่งตะวันออกของแม่น้ำท่าจีน ใช้ชื่อว่า อำเภอบางไผ่นาท[1] ต่อมาได้ย้ายที่ว่าการอำเภอไปตั้งอยู่ในเขตตำบลบางปลา ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำท่าจีน ใช้ชื่อว่า อำเภอบางปลา ภายหลังอำเภอบางปลาแบ่งการปกครองเป็น 2 ตำบล คือ ตำบลบางปลาและตำบลบางเลน

ในปี พ.ศ. 2479 ได้ย้ายที่ตั้งอำเภอมาที่ตำบลบางเลน (อยู่บริเวณตลาดเก่าในปัจจุบัน) ปี พ.ศ. 2482 จึงเปลี่ยนชื่ออำเภอบางปลาเป็น อำเภอบางเลน[2] ครั้นถึง พ.ศ. 2521 หลวงพ่อกิติวุฒโทแห่งจิตตภาวันวิทยาลัยซื่งเป็นชาวบางเลน ได้มอบที่ดินมรดกของท่านไห้ทางราชการและได้บริจาคเงินก่อสร้างที่ว่าการอำเภอ จึงได้ย้ายที่ว่าการอำเภอจากริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำท่าจีน มาตั้งอยู่ริมถนนพลดำริห์ ในท้องที่หมู่ที่ 8 ตำบลบางเลน จนกระทั่งปัจจุบัน

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค

[แก้]

อำเภอบางเลนแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 15 ตำบล 180 หมู่บ้าน ได้แก่

ลำดับ อักษรไทย อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2565)[3]
1. บางเลน Bang Len
12
12,561
2. บางปลา Bang Pla
13
7,327
3. บางหลวง Bang Luang
21
9,396
4. บางภาษี Bang Phasi
13
9,900
5. บางระกำ Bang Rakam
15
5,253
6. บางไทรป่า Bang Sai Pa
10
6,048
7. หินมูล Hin Mun
11
5,982
8. ไทรงาม Sai Ngam
11
5,156
9. ดอนตูม Don Tum
9
5,141
10. นิลเพชร Ninlaphet
10
5,130
11. บัวปากท่า Bua Pak Tha
10
4,385
12. คลองนกกระทุง Khlong Nok Krathung
11
3,569
13. นราภิรมย์ Naraphirom
11
5,665
14. ลำพญา Lam Phaya
11
4,460
15. ไผ่หูช้าง Phai Hu Chang
7
4,621

การปกครองส่วนท้องถิ่น

[แก้]

ท้องที่อำเภอบางเลนประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 19 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลบางหลวง ครอบคลุมพื้นที่หมู่ที่ 1–3 และบางส่วนของหมู่ที่ 6, 13 ตำบลบางหลวง และบางส่วนของหมู่ที่ 6 ตำบลหินมูล
  • เทศบาลตำบลบางเลน ครอบคลุมพื้นที่หมู่ที่ 9 และบางส่วนของหมู่ที่ 6–8, 10 ตำบลบางเลน และบางส่วนของหมู่ที่ 2–3, 10 ตำบลบางไทรป่า
  • เทศบาลตำบลรางกระทุ่ม ครอบคลุมพื้นที่หมู่ที่ 4–5 และบางส่วนของหมู่ที่ 6, 12 ตำบลบางภาษี
  • เทศบาลตำบลลำพญา ครอบคลุมพื้นที่หมู่ที่ 3 และบางส่วนของหมู่ที่ 2, 4–9 ตำบลลำพญา
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางเลน ครอบคลุมพื้นที่หมู่ที่ 1–5, 11–12 และบางส่วนของหมู่ที่ 6–8, 10 ตำบลบางเลน
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางปลา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางปลาทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางหลวง ครอบคลุมพื้นที่หมู่ที่ 4–5, 7–12, 14–21 และบางส่วนของหมู่ที่ 6, 13 ตำบลบางหลวง
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางภาษี ครอบคลุมพื้นที่หมู่ที่ 1–3, 7–11, 13 และบางส่วนของหมู่ที่ 6, 12 ตำบลบางภาษี
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางระกำ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางระกำทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางไทรป่า ครอบคลุมพื้นที่หมู่ที่ 1, 4–9 และบางส่วนของหมู่ที่ 2–3, 10 ตำบลบางไทรป่า
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหินมูล ครอบคลุมพื้นที่หมู่ที่ 1–5, 7–12 และบางส่วนของหมู่ที่ 6 ตำบลหินมูล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลไทรงาม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไทรงามทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลดอนตูม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดอนตูมทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลนิลเพชร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนิลเพชรทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบัวปากท่า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบัวปากท่าทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลคลองนกกระทุง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองนกกระทุงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลนราภิรมย์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนราภิรมย์ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลลำพญา ครอบคลุมพื้นที่หมู่ที่ 1, 10–11 และบางส่วนของหมู่ที่ 2, 4–9 ตำบลลำพญา
  • องค์การบริหารส่วนตำบลไผ่หูช้าง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไผ่หูช้างทั้งตำบล

อ้างอิง

[แก้]
  1. "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนนามอำเภอไผ่นาท แขวงเมืองนครไชยศรี เป็นอำเภอบางปลา อำเภอนาถอำนวย หรืออำเภอสามแก้วสามแก้ว เป็นอำเภอกำแพงแสน อำเภอบางโทรัดเป็นอำเภอบ้านบ่อ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 20 (28): 459. วันที่ 11 ตุลาคม 2446
  2. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนามอำเภอ กิ่งอำเภอ และตำบลบางแห่ง พุทธศักราช ๒๔๘๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 56 (0 ก): 354–364. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-02-19. สืบค้นเมื่อ 2010-08-15. วันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2482
  3. "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]