ข้ามไปเนื้อหา

สถานีพหลโยธิน (รถไฟฟ้ามหานคร)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พหลโยธิน
BL14

Phahon Yothin
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งห้าแยกลาดพร้าว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
เจ้าของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
ผู้ให้บริการทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM)
สาย     สายเฉลิมรัชมงคล
ชานชาลา1 ชานชาลาเกาะกลาง
ทางวิ่ง2
การเชื่อมต่อ ห้าแยกลาดพร้าว
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างใต้ดิน
ทางเข้าออกสำหรับผู้พิการมีบริการ
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานีBL14
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ3 กรกฎาคม พ.ศ. 2547; 20 ปีก่อน (2547-07-03)
ผู้โดยสาร
25644,241,269
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า รถไฟฟ้ามหานคร สถานีต่อไป
ลาดพร้าว
มุ่งหน้า หลักสอง
สายเฉลิมรัชมงคล สวนจตุจักร
มุ่งหน้า ท่าพระ ผ่าน บางซื่อ
สถานีก่อนหน้า รถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีต่อไป
พหลโยธิน 24
มุ่งหน้า คูคต
สายสุขุมวิท
เชื่อมต่อที่ ห้าแยกลาดพร้าว
หมอชิต
มุ่งหน้า เคหะฯ
ที่ตั้ง
แผนที่

สถานีพหลโยธิน (อังกฤษ: Phahon Yothin Station, รหัส BL14) เป็นสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน ในเส้นทางรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ที่ถนนลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร บริเวณห้าแยกลาดพร้าว

ที่ตั้ง

[แก้]

บริเวณห้าแยกลาดพร้าว (ปากทางลาดพร้าว) จุดบรรจบถนนลาดพร้าว, ถนนพหลโยธิน และถนนวิภาวดีรังสิต ในพื้นที่แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร

ที่ตั้งของสถานีพหลโยธิน เป็นพื้นที่ต่อเนื่องกันกับย่านพหลโยธินของการรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งมีพื้นที่กว้างขวางตั้งแต่บริเวณบางซื่อจนถึงจตุจักร มีการประกอบธุรกิจหลากหลายรูปแบบ และเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศ เพราะเป็นที่ตั้งของ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) หรือหมอชิต 2 และสถานีรถไฟชุมทางบางซื่อ ที่อยู่ไม่ไกลจากสถานีพหลโยธิน ดังนั้นสถานีพหลโยธินจึงเป็นสถานีหนึ่งที่มีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาพื้นที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทยในอนาคต

สำหรับบริเวณห้าแยกลาดพร้าวเป็นจุดเชื่อมต่อการเดินทางที่สำคัญของกรุงเทพมหานครตอนเหนือ ในย่านถนนลาดพร้าว พหลโยธิน วิภาวดีรังสิต และรัชดาภิเษก (บริเวณแยกรัชโยธิน-รัชวิภา) โดยเป็นที่ตั้งอาคารสำนักงาน อาคารที่พักอาศัยอย่างหนาแน่น และมีสถานศึกษาที่สำคัญหลายแห่ง รวมทั้งมีศูนย์การค้าอยู่รายรอบ ประกอบด้วยศูนย์การค้าใหญ่หลายแห่ง เช่น เซ็นทรัลพลาซ่า ลาดพร้าว, ยูเนี่ยน มอลล์, โลตัส และแหล่งค้าปลีกผู้ค้ารายย่อย เช่นตลาดนัดหลังการบินไทย ซึ่งในย่านดังกล่าวยังไม่มีระบบรถไฟฟ้าเข้าไปถึง แต่ในต้นปี 2559 รฟม. ได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าบีทีเอสส่วนต่อขยาย (หมอชิต - สะพานใหม่ - คูคต) ซึ่งการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยเป็นผู้รับผิดชอบทั้งโครงการ จึงทำให้สถานีพหลโยธินมีผู้โดยสารใช้บริการเป็นจำนวนมาก และเป็นสถานีที่มีความสำคัญทางธุรกิจในพื้นที่โดยรอบ

แผนผังสถานี

[แก้]
ศูนย์การค้า เมโทรมอลล์
2
สะพานลอย
- ยูเนี่ยน มอลล์, ป้ายรถประจำทางไปสวนจตุจักร, เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว, ห้าแยกลาดพร้าว
G
ระดับถนน
- ป้ายรถประจำทาง, ที่ทำการไปรษณีย์สามแยกลาดพร้าว, ยูเนี่ยน มอลล์, สวนสมเด็จย่า 84
B1
ทางเดินลอดถนน
ทางเดินลอดถนน ทางออก 1-5, ศูนย์การค้า เมโทรมอลล์
B2
ชั้นขายบัตรโดยสาร
ชั้นขายบัตรโดยสาร ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร
B3
ชานชาลา
ชานชาลา 2 สายสีน้ำเงิน มุ่งหน้า ท่าพระ (ผ่าน บางซื่อ)
ชานชาลาเกาะกลาง, ประตูรถจะเปิดทางด้านขวา
ชานชาลา 1 สายสีน้ำเงิน มุ่งหน้า หลักสอง

รายละเอียดของสถานี

[แก้]

สีสัญลักษณ์ของสถานี

[แก้]

ใช้สีเหลืองตกแต่งกระเบื้องที่เสา ผนังและขอบด้านบนของแนวประตูกั้นชานชาลา เนื่องจากสถานีตั้งอยู่บริเวณสวนสมเด็จย่า 84 จึงใช้สีที่มีความเกี่ยวข้องกับราชวงศ์ [1]

รูปแบบของสถานี

[แก้]

เป็นสถานีใต้ดิน กว้าง 22 เมตร ยาว 226 เมตร ระดับชานชาลาอยู่ลึก 18 เมตรจากผิวดิน เป็นชานชาลาแบบกลาง (Station with Central Platform)

ทางเข้า-ออก

[แก้]

การจัดพื้นที่ในตัวสถานี

[แก้]

แบ่งเป็น 2 ชั้นบนดิน และ 3 ชั้นใต้ดิน ประกอบด้วย

  • 2 สะพานลอย
  • G ระดับถนน
  • B1 ศูนย์การค้า เมโทรมอลล์, เมโทรอาร์ต
  • B2 ชั้นออกบัตรโดยสาร
  • B3 ชั้นชานชาลา

สิ่งอำนวยความสะดวก

[แก้]
  • ลิฟต์ไปยังชั้นขายบัตรโดยสารและชานชาลา ทางเข้า-ออกที่ 1 และ 4
  • สะพานลอยและอาคารเชื่อมต่อกับสถานีห้าแยกลาดพร้าว ของรถไฟฟ้าบีทีเอส บริเวณด้านหน้าศูนย์การค้าเซ็นทรัล ลาดพร้าว มีระยะทาง 450 เมตร สามารถเชื่อมต่อกันได้ด้วยสะพานทางเดินยกระดับจากทางออกที่ 3 และทางออกที่ 4 ของสถานี ไปยังทางออกที่ 6 ของสถานีห้าแยกลาดพร้าว
  • สะพานลอยเชื่อมต่อไปยังถนนวิภาวดีรังสิต บริเวณอาคารสำนักงานใหญ่ของบริษัท ปตท.[2]

ศูนย์การค้าภายในสถานี

[แก้]

ภายในสถานีพหลโยธิน ได้จัดให้มีส่วนร้านค้าหรือ เมโทรมอลล์ ที่ชั้นบนสุดของสถานี เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2548 เป็นสถานีที่สองในระบบรถไฟฟ้ามหานคร ถัดจากสถานีสุขุมวิท ต่อมาได้เปิดเมโทรอาร์ต ห้องแสดงและชุมชนสำหรับผู้รักงานศิลปะ เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2566

รถโดยสารประจำทาง

[แก้]
  • ถนนลาดพร้าว สาย 8(ขสมก.) 27(1-37)(TSB) 92 96 122 145 182 502 517 145(เมกา บางนา) 545(2-26) 8 44(2-42) 8(2-38)(TSB)
  • ถนนพหลโยธิน บริเวณสวนสมเด็จย่า 84 สาย 8(ขสมก.) 145(เมกา บางนา) 24 26 27(1-37)(TSB) 34(ขสมก.) 39(ขสมก.) 59 63 92 96 104 107 129 136 145 182 502 503 517 524 545(2-26) 191 28 39(1-5)(TSB) 34(1-3)(TSB) 529E(4-29E) 2-17 8 44(2-42) 8(2-38)(TSB)
  • ถนนวิภาวดีรังสิต หน้าบริษัท ปตท. สาย 3 29(1-1) 52 134 510 555(ขสมก.) 191 *77(ขสมก.) 69(2-13) 187(1-17) 555(S6)(TSB) *77(3-45)(TSB)
  • 77ผ่านวิภาวดีเฉพาะขาไปหมอชิต 2 เท่านั้น

เวลาให้บริการ

[แก้]
ปลายทาง วัน ขบวนแรก ขบวนสุดท้าย
สายเฉลิมรัชมงคล[3]
ชานชาลาที่ 1
BL38 หลักสอง จันทร์ – ศุกร์ 05:58 23:39
เสาร์ – อาทิตย์ นักขัตฤกษ์ 06:00 23:39
ชานชาลาที่ 2
BL01 ท่าพระ
(ผ่านบางซื่อ)
จันทร์ – ศุกร์ 05:56 23:58
เสาร์ – อาทิตย์ นักขัตฤกษ์ 05:59 23:58
ขบวนสุดท้ายเชื่อมต่อสายสีม่วง 23:12

สถานที่สำคัญใกล้เคียง

[แก้]
แผนผังบริเวณสถานี
ศูนย์การค้าและโรงแรม
อาคารสำนักงาน
  • อาคาร ซัน ทาวเวอร์ส
  • อาคาร ทีเอสที ทาวเวอร์
  • อาคารลาดพร้าว ฮิลล์

อ้างอิง

[แก้]
  1. จุดเริ่มต้นของคนเดินทาง: ดำดินเดินทาง. คอลัมน์นายรอบรู้ นิตยสารสารคดี เดือนตุลาคม 2548
  2. ปตท. ต่อยอดโครงสร้างพื้นฐาน สร้าง “สกายวอล์ค” เชื่อมการเดินทาง เพื่อคุณภาพชีวิตคนเมือง
  3. "รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ตารางเดินรถไฟฟ้า". www.mrta.co.th.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]