ข้ามไปเนื้อหา

สะพานติณสูลานนท์

พิกัด: 7°9′16″N 100°33′33″E / 7.15444°N 100.55917°E / 7.15444; 100.55917
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สะพานติณสูลานนท์

สะพานติณสูลานนท์ เป็นสะพานคอนกรีตที่ยาวที่สุดในประเทศไทย อยู่ในอำเภอเมืองสงขลา และอำเภอสิงหนคร โดยเชื่อมเกาะยอ 2 ด้าน ระหว่างฝั่งบ้านน้ำกระจาย อำเภอเมืองสงขลา และบ้านเขาเขียว อำเภอสิงหนคร ความยาวของสะพาน 2 ช่วงแรก 940 เมตร และ 1,700 เมตร ตามลำดับ รวมเป็น 2,640 เมตร ก่อสร้างขึ้นในสมัย ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

จุดประสงค์ของการสร้างสะพานแห่งนี้ คือ การรองรับการคมนาคมทางรถยนต์ โดยไม่ต้องรอข้ามแพขนานยนต์ซึ่งมีไม่เพียงพอกับปริมาณรถยนต์ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้การเดินทางต้องใช้เวลานาน ทั้งเมื่อข้ามฝั่งมาแล้วก็ยังทำให้การจราจรติดขัดในตัวเมืองอีกด้วย ดังนั้น ในปี พ.ศ. 2524 รัฐบาลจึงมีนโยบายจะพัฒนาจังหวัดสงขลา และอำเภอหาดใหญ่ให้เป็นเมืองหลัก โดยกรมทางหลวงเป็นเจ้าของโครงการ และบริษัทจากประเทศไต้หวันเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง เปิดให้ใช้เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2529

สะพานติณสูลานนท์ ถือเป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 408 ซึ่งเชื่อมต่อระหว่างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 414 กับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 407 (สงขลา-หาดใหญ่) ชาวจังหวัดสงขลานิยมเรียกสะพานนี้ติดปากว่า "สะพานป๋าเปรม" "สะพานติณ" หรือ "สะพานเปรม" และถือเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งหนึ่งที่ขึ้นชื่อของจังหวัด[1]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "สะพานติณสูลานนท์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-12. สืบค้นเมื่อ 2012-02-21.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

7°9′16″N 100°33′33″E / 7.15444°N 100.55917°E / 7.15444; 100.55917