ข้ามไปเนื้อหา

สโมสรฟุตบอลกระบี่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กระบี่ เอฟซี
ชื่อเต็มสโมสรฟุตบอลจังหวัดกระบี่
ฉายาอินทรีอันดามัน
ก่อตั้ง2007; 17 ปีที่แล้ว (2007)
สนามสนามกีฬากลางจังหวัดกระบี่
ประเทศไทย
ความจุ6,000 ที่นั่ง
เจ้าของบริษัท สโมสรฟุตบอลกระบี่ จำกัด
ประธานสระราวุฒิ ตรีพันธ์
ผู้จัดการศุภกร มีกรณ์
ผู้ฝึกสอนสระราวุฒิ ตรีพันธ์
ลีกไทยลีก 3
2566–67ไทยลีก 2, อันดับที่ 18 (ตกชั้น) ลดลง
เว็บไซต์เว็บไซต์สโมสร
สีชุดทีมเยือน
สีชุดที่สาม
ฤดูกาลปัจจุบัน

สโมสรฟุตบอลกระบี่ เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพในประเทศไทย โดยเป็นสโมสรตัวแทนจากจังหวัดกระบี่ ปัจจุบันเล่นในไทยลีก 3 โซนภาคใต้

ประวัติสโมสร

[แก้]

ยุคโปรลีก

[แก้]

โปรลีก 2550

[แก้]

สโมสรฟุตบอลจังหวัดกระบี่ ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2550 เพื่อเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอล โปรวินเชียลลีก โดยได้เข้าร่วมแข่งขันครั้งแรกใน ฤดูกาล 2550 โดยเริ่มตันเข้าร่วมแข่งขันในรอบ รอบคัดเลือก กลุ่ม 4 โดยทีมได้สนับสนุนจาก สมาคมกีฬาจังหวัดกระบี่ โดยใช้นักฟุตบอลภายในจังหวัด โดยในปีนั้นสโมสรผ่านเข้ารอบมาแข่งขันในรอบสุดท้ายได้สำเร็จ โดยสามารถผ่านเข้ามาถึงรอบรองชนะเลิศได้สำเร็จ ก่อนที่จะไปแพ้ให้กับ สโมสรจังหวัดสงขลา

โปรลีก 2551

[แก้]

ในปีถัดมา (ฤดูกาล 2551) สโมสรได้ลงทำการแข่งขันอีกครั้งใน รอบคัดเลือก กลุ่ม 4 โดยสามารถผ่านเข้ารอบรองและรอบชิงชนะเลิศได้ และได้ตำแหน่งรองชนะเลิศ ร่วมกับ สโมสรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ อย่างไรก็ดี ผลงานในรอบสุดท้าย ที่ กรุงเทพมหานคร สโมสรทำผลงานได้ดี โดยจบด้วยอันดับที่ 1 ของสายเอ และผ่านเข้ารอบรองชนะเลิศ แต่ก็แพ้ให้กับ สโมสรจังหวัดชัยภูมิ ไป 0-1

ยุคลีกภูมิภาค

[แก้]

ต่อมาทาง สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้มีนโยบายที่จะปรับโครงสร้างของ ไทยลีกดิวิชัน 2 ให้มีความเป็นมืออาชีพ และ ขยายความนิยมฟุตบอลไทยให้ไปสู่ระดับท้องถิ่นมากขึ้น เลยได้ทำการเปลื่ยนเป็นระบบลีกภูมิภาคขึ้น เมื่อ ปี พ.ศ. 2552 ทางสมาคมกีฬาฯ เองจึงส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขัน ลีกภูมิภาค ดิวิชัน 2 โดยทำการแข่งขันใน โซนภาคใต้ โดยผลงานในปีนั้น สโมสรจบอันดับที่ 4 จาก ทั้งหมด 8 สโมสร

ต่อมาใน ฤดูกาล 2554 ผลงานของสโมสรก็ดีขึ้น โดยสามารถจบตำแหน่งชนะเลิศ ของโซนภาคใต้ได้สำเร็จ พร้อมกับได้สิทธิ์เข้าร่วมการแข่งขันในรอบแชมเปี้ยนส์ ลีก และสโมสรก็จบอันดับที่สอง ของสาย บี ได้สิทธิ์เลื่อนชั้นแข่งขันใน ไทยลีกดิวิชัน 1 ได้สำเร็จ

ยุคดิวิชั่น 1

[แก้]

โดยนับตั้งแต่สโมสร เลื่อนชั้นเข้ามาเล่นใน ไทยลีก 2 ผลงานของสโมสรจะอยู่ในโซนกลางตารางค่อนท้าย โดยในปีแรก (ฤดูกาล 2555) สโมสรทำผลงานได้ดี คืออยู่ในโซนลุ้นเลื่อนชั้น โดยจบฤดูกาลที่ อันดับ 6 มี 57 คะแนน จาก 34 นัด แต่หลังจากนั้น ผลงานก็จบอยู่ในโซนท้ายตารางโดยตลอด โดย ฤดูกาล 2560 สโมสรต้องหนีตกชั้น แต่ก็ยังสามารถรอดมาได้โดยมี 38 คะแนน จาก 32 นัด ห่างจาก สโมสรอันดับสุดท้ายที่จะตกชั้นเพียง 4 คะแนน

ที่ตั้งสโมสรและสนามเหย้า

[แก้]
สนามกีฬากลางจังหวัดกระบี่
พิกัดภูมิศาสตร์ ที่ตั้ง สนาม ความจุ ปีที่ใช้งาน
8°06′30″N 98°55′00″E / 8.108411°N 98.916595°E / 8.108411; 98.916595 จังหวัดกระบี่ สนามกีฬากลางจังหวัดกระบี่ 3,590 พ.ศ. 2552–2553, พ.ศ. 2554–ปัจจุบัน
8°06′41″N 98°55′13″E / 8.111433°N 98.920292°E / 8.111433; 98.920292 จังหวัดกระบี่ สนามกีฬามหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติวิทยาเขตกระบี่ ไม่ทราบ พ.ศ. 2554

ผลงานของสโมสรในแต่ละฤดูกาล

[แก้]
ฤดูกาล ลีก เอฟเอคัพ ลีกคัพ ผู้ทำประตูสูงสุด
ระดับ แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย คะแนน อันดับ ชื่อ จำนวนประตู
2552 ดิวิชั่น 2 ภาคใต้ 14 5 3 6 17 21 18 อันดับ 5
2553 ดิวิชั่น 2 ภาคใต้ 24 10 5 9 33 32 35 อันดับ 6
2554 ดิวิชั่น 2 ภาคใต้ 24 14 7 3 37 22 49 ชนะเลิศ
2555 ดิวิชั่น 1 34 17 6 11 49 28 57 อันดับ 6 บราซิล Cristiano Lopes
ไทย เอกชัย นุ้ยขาว
ไทย ทวีพงษ์ เจริญรูป
7
2556 ดิวิชั่น 1 34 11 8 15 44 49 41 อันดับ 9 รอบสอง แคเมอรูน John Mary 10
2557 ดิวิชั่น 1 34 13 8 13 41 38 47 อันดับ 10 รอบสอง บราซิล Erivaldo Oliveira 12
2558 ดิวิชั่น 1 38 12 13 13 46 47 49 อันดับ 14 รอบสี่ รอบสอง โกตดิวัวร์ Labi Kassiaty 10
2559 ดิวิชั่น 1 26 7 8 11 27 26 29 อันดับ 10 รอบสอง รอบก่อนรองชนะเลิศ นามิเบีย Tangeni Shipahu 8
2560 ไทยลีก 2 32 10 8 14 50 62 38 อันดับ 12 รอบคัดเลือก รอบคัดเลือก เพลย์-ออฟ ไทย สุพจน์ จดจำ 23
2561 ไทยลีก 2 28 7 5 16 26 49 26 อันดับ 14 รอบ 16 ทีมสุดท้าย รอบแรก ไทย สุพจน์ จดจำ 9
2562 ไทยลีก 3 ตอนล่าง 26 10 6 10 34 29 36 อันดับ 7 รอบ 32 ทีมสุดท้าย ไม่ได้เข้าร่วม อาร์เจนตินา นิโคลัส อาโบต 8
2563–64 ไทยลีก 3 โซนภาคใต้ 17 10 5 2 43 17 35 อันดับ 2 รอบ 64 ทีมสุดท้าย รอบคัดเลือก รอบสอง เยอรมนี จอร์จ เคลเบล 15
ไทยลีก 3 รอบแชมเปี้ยนส์ลีก 5 2 1 2 6 6 7 อันดับ 3
2564–65 ไทยลีก 3 โซนภาคใต้ 24 17 3 4 45 11 54 อันดับ 1 ไม่ได้เข้าร่วม รอบ 16 ทีมสุดท้าย ไทย ภุชเคนทร์ จันแดง 12
ไทยลีก 3 รอบแชมเปี้ยนส์ลีก โซนตอนล่าง 5 3 1 1 8 6 10 อันดับ 1
2565–66 ไทยลีก 2 34 10 12 12 46 46 42 อันดับ 12 รอบ 64 ทีมสุดท้าย รอบเพลย์ออฟ โอมาน บะดัร อะลิ 15
2566–67 ไทยลีก 2 34 3 11 20 23 63 20 อันดับ 18 ไม่ได้เข้าร่วม ไม่ได้เข้าร่วม ไทย ภุชเคนทร์ จันแดง 5
2567–68 ไทยลีก 3 โซนภาคใต้
ชนะเลิศ รองชนะเลิศ อันดับที่สาม เลื่อนชั้น ตกชั้น

ผู้เล่น

[แก้]

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน

[แก้]

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
1 GK ไทย กฤตภาส ยิ้มละมัย
2 DF ไทย วรวิทย์ ดวงจิตร
3 DF รัสเซีย อาลิม ซูมาคูลอฟ
4 DF ไทย ชัยธัช มณีอินทร์
6 DF ไทย ธนยศ โสภาผล
8 MF ไทย เอกวิทย์ มาชำนิ
9 FW อียิปต์ อับเดลระฮ์มัน เซดดิก
11 FW ไทย พันธวัช หัดดลหละ
14 DF ไทย อรรถพล จงรักษ์
15 MF ไทย รักษิต ดวงทอง
16 DF ไทย สุชาติ ชายใหญ่ (กัปตันทีม)
17 MF ไทย ธนกร ทองทา
18 MF ไทย สิริศักดิ์ พรหมดวง
19 GK ไทย นรากร คนแรงดี
21 DF ไทย ปรเมษ ศิลารักษ์
22 MF ไทย ธราเทพ จักษุรางค์
23 FW ไทย ชยพล พันวิเศษ
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
24 MF ไทย ดิสดรณ์ พันธุ์จันทร์
25 DF ไทย เมธัส ยุทธณรงค์
26 MF ไทย กรวิทย์ เสวิดาร
27 MF ไทย อาทิตริว สงสยม
29 FW ไทย นวพล รอดเขียว
31 MF ไทย นรุตม์ชัย ผิวบุญเรือง
33 DF ไทย ภูริภัทร ทองเฝือ
43 MF ไทย คณาธิป ผลอินทร์
44 MF ไทย อดิเทพ วงรักษา
55 DF ไทย ศุภเชษฐ์ นิลวงษ์
66 MF ไทย สืบศักดิ์ สุดศรี
69 DF ไทย ยศภัทร ศักดิ์พรหม
70 FW อิรัก เอซซุลด์ดิน อัลบัสซัม
77 FW ไทย อาบีบ อาลี ซิงคา
91 GK ไทย ศุภโชค กูหมาด
98 FW ไทย ณัฐภูมิ ขี่ทอง

ผู้เล่นที่ถูกยืมตัว

[แก้]

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น

รายนามผู้ฝึกสอน

[แก้]
ช่วงเวลา ชื่อ หมายเหตุ
2552 ไทย ณัฐิวัตร รักษากิจ
2553 ไทย ชัยรัตน์ สิทธิกุล
2553 ไทย ณัฐิวัตร รักษากิจ
2554 ไทย เทวา พิมพ์สมพร ชนะเลิศ ลีกภูมิภาค ดิวิชัน 2 ภาคใต้: 2554
2554–2555 ไทย ธนเดช ฟูประเสริฐ อันดับที่ 4 ลีกภูมิภาค ดิวิชัน 2: 2554
2556 ไทย สวาท ขอนแก้ว
2556 ไทย ไพบูลย์ เลิศวิมลรัตน์
2556–2557 ไทย ทองสุข สัมปหังสิต
มกราคม 2557 – มีนาคม 2558 ไทย ชยพล คชสาร
มีนาคม – ธันวาคม 2558 ไทย วรวรรณ ชิตะวณิช
มกราคม – พฤษภาคม 2559 ไทย วิรัตน์ แคยิหวา
พฤษภาคม 2559 – เมษายน 2560 ไทย พล ชมชื่น
เมษายน – กันยายน 2560 ไทย เจตนิพัทธ์ รชตเฉลิมโรจน์
กันยายน – พฤศจิกายน 2560 ไทย วิรัตน์ แคยิหวา
ธันวาคม 2560 – เมษายน 2561 อาร์เจนตินา ดานีเอล บลังกู
เมษายน – มิถุนายน 2561 ไทย วิรัตน์ แคยิหวา
มิถุนายน – ธันวาคม 2561 มอนเตเนโกร ราโดสลาฟ บาตัค
ธันวาคม 2561 – มิถุนายน 2562 ไทย ทวีพงศ์ เจริญรูป
มิถุนายน – ธันวาคม 2562 ไทย อิทธิพล พิมพ์วงศ์
มกราคม – พฤศจิกายน 2563 ไทย อมร ผิวดี
พฤศจิกายน 2563 – กันยายน 2564 ไทย ณัฐพงศ์ คงสุข
กันยายน 2564 – พฤศจิกายน 2565 ไทย ประจักษ์ เวียงสงค์ รองชนะเลิศ ไทยลีก 3 ระดับประเทศ: 2564–65
ชนะเลิศ ไทยลีก 3 โซนภาคใต้: 2564–65
พฤศจิกายน 2565 – กรกฎาคม 2566 ไทย สมชาย มากมูล
กรกฎาคม – สิงหาคม 2566 ไทย ณัฐพงศ์ คงสุข (รักษาการ)
สิงหาคม – พฤศจิกายน 2566 ไทย อลงกรณ์ ทองอ่ำ
พฤศจิกายน 2566 – มีนาคม 2567 ไทย อานนท์ บรรดาศักดิ์
มีนาคม – เมษายน 2567 ไทย อิทธิพล พิมพ์วงศ์
สิงหาคม 2567 – ไทย สระราวุฒิ ตรีพันธ์

เกียรติประวัติ

[แก้]

ลีก

[แก้]

ถ้วย

[แก้]
  • ฟุตบอลชิงโล่พระราชทาน 14 จังหวัดภาคใต้
    • ชนะเลิศ : 2547, 2549, 2551
    • รองชนะเลิศ: 2548, 2550

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]