อาณาจักรสุธรรมวดี
อาณาจักรสุธรรมวดี | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสตกาล–17 พฤษภาคม ค.ศ. 1057 | |||||||||
สถานะ | อาณาจักร | ||||||||
เมืองหลวง | สุธรรมปุระ (สุธรรมนคร, สะเทิม) | ||||||||
ภาษาทั่วไป | มอญ | ||||||||
ศาสนา | พุทธเถรวาท | ||||||||
การปกครอง | ราชาธิปไตย | ||||||||
ประวัติศาสตร์ | |||||||||
• ก่อตั้งราชวงศ์ | ศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสตกาล | ||||||||
• อาณาจักรล่มสลาย | 17 พฤษภาคม ค.ศ. 1057 | ||||||||
|
อาณาจักรสะเทิม, สุวรรณภูมิ หรือ สุธรรมวดี (พม่า: သထုံခေတ် [θətʰòʊ̯ɰ̃ kʰɪʔ] หรือ သုဝဏ္ဏဘူမိ [θṵwəna̰bʊ̀mḭ]) เป็นอาณาจักรมอญที่เชื่อว่าก่อตั้งในพม่าตอนล่างราวศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสตกาลจนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 11 มีศูนย์กลางที่เมืองสะเทิม[1]: 63, 77 มีการติดต่อค้าขายใกล้ชิดกับอินเดียใต้และศรีลังกา และกลายเป็นศูนย์กลางหลักของพระพุทธศาสนาเถรวาทในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เหมือนกับอาณาจักรมอญอื่น ๆ อาณาจักรสะเทิมเผชิญกับการบุกรุกทีละน้อยจากจักรวรรดิเขมร แต่ถูกพิชิตโดยอาณาจักรพุกามจากทางเหนือใน ค.ศ. 1057
ชื่ออาณาจักร
[แก้]ตามความเชื่อของชาวมอญ อาณาจักรนี้มีชื่อว่าสุวรรณภูมิ (พม่า: သုဝဏ္ဏဘူမိ) ซึ่งเป็นชื่อที่ประเทศไทยตอนล่างอ้างสิทธิและก่อตั้งเมื่อสมัยพุทธกาล ช่วงศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสต์ศักราช สะเทิมเป็นชื่อในภาษาพม่าของ Sadhuim ในภาษามอญ ซึ่งมาจากคำว่า สุธรรมปุระ ในภาษาบาลี จากสุธรรม (ศาสาสุธรรมา) สถานที่สำหรับประชุมของเหล่าเทวดา[2]
ประวัติ
[แก้]ตามความเชื่อของชาวมอญ อาณาจักรสุธรรมวดีก่อตั้งในสมัยพุทธกาล มีกษัตริย์ปกครองทั้งหมด 59 พระองค์ โดยเชื่อว่ากลุ่มผู้ลี้ภัยทางการเมืองได้ก่อตั้งเมืองหงสาวดี ขึ้นในปี ค.ศ. 573[3] มีการติดต่อค้าขายใกล้ชิดกับอินเดียใต้และลังกา และกลายเป็นศูนย์กลางหลักของพระพุทธศาสนาเถรวาทในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
อาณาจักรสุธรรมวดีสลายลงเนื่องจากพระเจ้าอนิรุทธ์ กษัตริย์แห่งพุกามได้ยกทัพมาตีและกวาดต้อนผู้คน ทรัพย์สมบัติ พระสงฆ์ พระไตรปิฎก รวมทั้งพระเจ้ามนูหะ กษัตริย์แห่งสุธรรมวดี กลับไปพุกาม ซึ่งพระองค์ได้ทรงสร้างวัดมนูหะ หรือวิหารพระอึดอัดไว้ ณ ที่นั่น
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- เชิงอรรถ
- ↑ Coedès, George (1968). Walter F. Vella (บ.ก.). The Indianized States of Southeast Asia. trans.Susan Brown Cowing. University of Hawaii Press. ISBN 978-0-8248-0368-1.
- ↑ Shorto, p. 590
- ↑ Phayre, pp. 24–32
- บรรณานุกรม
- Aung-Thwin, Michael (2005). The Mists of Rāmañña: the Legend that was Lower Burma. University of Hawaii Press. ISBN 978-0-8248-2886-8.
- Hall, D.G.E. (1960). Burma (3rd ed.). Hutchinson University Library. ISBN 978-1-4067-3503-1.
- Harvey, G. E. (1925). History of Burma: From the Earliest Times to 10 March 1824. London: Frank Cass & Co. Ltd.
- Htin Aung, Maung (1967). A History of Burma. New York and London: Cambridge University Press.
- Kyaw Thet (1962). History of Burma (ภาษาพม่า). Yangon: Yangon University Press.
- Lieberman, Victor B. (2003). Strange Parallels: Southeast Asia in Global Context, c. 800–1830, volume 1, Integration on the Mainland. Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-80496-7.
- Phayre, Lt. Gen. Sir Arthur P. (1883). History of Burma (1967 ed.). London: Susil Gupta.
- Shorto, H.L. (2002). "The 32 Myos in the medieval Mon Kingdom". ใน Vladimir I. Braginsky (บ.ก.). Classical civilisations of South East Asia: an anthology of articles. Routledge. ISBN 9780700714100.
- South, Ashley (2003). Mon nationalism and civil war in Burma: the golden sheldrake. Routledge. ISBN 978-0-7007-1609-8.
- มอญ : ชนชาติเจ้าของอารยธรรมอันเก่าแก่ในแผ่นดินพม่า
- มอญ : ชนชาติบนแผ่นดินสุวรรณภูมิ เก็บถาวร 2008-05-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- มอญ : ต้นตออารยธรรมอุษาคเนย์ เรียบเรียงจากข้อเขียนของนายปันหละ พิมพ์ในสารานุกรมพม่า ฉบับที่ 10 เก็บถาวร 2008-05-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน