อำเภอวิเศษชัยชาญ
อำเภอวิเศษชัยชาญ | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Wiset Chai Chan |
คำขวัญ: ขนมไทยขึ้นชื่อ เลื่องลือวีรไทย หลวงพ่อใหญ่วัดสี่ร้อย แม่น้ำน้อยเกษตรกรรม จิตรกรรมฝาผนัง โด่งดังเซรามิก | |
แผนที่จังหวัดอ่างทอง เน้นอำเภอวิเศษชัยชาญ | |
พิกัด: 14°35′42″N 100°20′18″E / 14.59500°N 100.33833°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | อ่างทอง |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 224.702 ตร.กม. (86.758 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566) | |
• ทั้งหมด | 63,186 คน |
• ความหนาแน่น | 281.20 คน/ตร.กม. (728.3 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 14110 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 1506 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอวิเศษชัยชาญ ถนนโพธิ์พระยา-ท่าเรือ ตำบลศาลเจ้าโรงทอง อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง 14110 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
วิเศษชัยชาญ เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดอ่างทอง เดิมชื่อ อำเภอวิเศษไชยชาญ และก่อนหน้านั้น ชื่อ อำเภอไผ่จำศีล
ประวัติศาสตร์
[แก้]เมืองวิเศษไชยชาญ นี้สันนิษฐานว่าตั้งขึ้นราว พ.ศ. 2122–2127 โดยในพระราชพงศาวดารได้กล่าวถึงชื่อเมืองนี้เป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2127 ในแผ่นดินสมเด็จพระมหาธรรมราชา ครั้งนั้นสมเด็จพระนเรศวรมหาราชและสมเด็จพระเอกาทศรถเสด็จยาตราทัพขึ้นไปประชุมพลที่ป่าโมก แขวงเมืองวิเศษไชยชาญ เพื่อรับศึกพระยาพะสิมที่เมืองสุพรรณบุรี และกล่าวถึงอีกตอนในสงครามคราวเดียวกัน เมื่อทัพกรุงศรีอยุธยาตีกองทัพพระยาพะสิมแตกพ่ายไปแล้ว ทั้งสองพระองค์เสด็จยกกองทัพไปตั้งอยู่ที่บ้านชะไว แขวงเมืองวิเศษไชยชาญ เพื่อสกัดทัพพระเจ้าเชียงใหม่ที่จะยกลงมาจากทางเหนือ
ที่ตั้งของเมืองวิเศษไชยชาญในสมัยนั้นอยู่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำน้อย มีโคกใหญ่ที่ชาวบ้านเรียกว่า "บ้านจวน" ซึ่งเข้าใจว่าคงเป็นที่ตั้งของจวนผู้ว่าราชการเมือง อยู่ใกล้วัดขุมทอง ตำบลไผ่จำศิลในปัจจุบัน ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ แม่น้ำน้อยตื้นเขินเป็นตอน ๆ การเดินทางทางเรือไม่สะดวก ทางราชการจึงย้ายเมืองวิเศษไชยชาญไปตั้งที่ตำบลบางแก้ว ริมแม่น้ำเจ้าพระยา (ที่ตั้งศาลากลางจังหวัดอ่างทองในปัจจุบัน) พร้อมเปลี่ยนชื่อเรียกว่า "เมืองอ่างทอง" ส่วนแขวงเมืองวิเศษไชยชาญถูกลดฐานะเป็นอำเภอ เรียกว่า อำเภอไผ่จำศิล ขึ้นอยู่ในความปกครองของเมืองอ่างทองตั้งแต่ปี พ.ศ. 2439 โดยตั้งที่ว่าการอำเภอทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำน้อย หมู่ที่ 3 ตำบลไผ่จำศิล
จนกระทั่งปี พ.ศ. 2451 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้ามีพระบรมราชานุญาต ให้เปลี่ยนชื่ออำเภอไผ่จำศิล เป็น อำเภอวิเศษไชยชาญ และปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับการให้ใช้ชื่อ "อำเภอวิเศษไชยชาญ" ในหนังสือราชกิจจานุเบกษา 2 ครั้ง[1],[2] และราชการก็ใช้ชื่อ อำเภอวิเศษไชยชาญ หลังจากนั้นเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2510 ทางราชการได้กำหนดการเขียนชื่อจังหวัด อำเภอ และกิ่งอำเภอ เพื่อให้เขียนเป็นแบบเดียวกัน โดยได้เปลี่ยนการสะกดเป็น "อำเภอวิเศษชัยชาญ"[3][4] อย่างเป็นทางการ
เมื่อปี พ.ศ. 2522 กรมการปกครอง ได้มีคำสั่งย้ายที่ว่าการอำเภอวิเศษชัยชาญไปตั้งอยู่ริมถนนโพธิ์พระยา-ท่าเรือ หมู่ที่ 7 ตำบลศาลเจ้าโรงทอง ซึ่งเป็นที่ตั้งที่ว่าการอำเภอหลังปัจจุบัน
- วันที่ 18 ตุลาคม 2451 เปลี่ยนชื่ออำเภอไผ่จำศิล จังหวัดอ่างทอง เป็น อำเภอวิเศษไชยชาญ[1]
- วันที่ 9 สิงหาคม 2479 โอนพื้นที่ตำบลศาลาดิน และตำบลม่วงเตี้ย อำเภอโพธิ์ทอง มาขึ้นกับอำเภอวิเศษไชยชาญ[5]
- วันที่ 1 เมษายน 2480 เปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดอ่างทอง และจังหวัดสุพรรณบุรี โดยโอนพื้นที่ตำบลดอนปรู อำเภอวิเศษไชยชาญ จังหวัดอ่างทอง ไปขึ้นกับอำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี[6]
- วันที่ 16 มกราคม 2481 ยุบตำบลไผ่ดำ อำเภอป่าโมก และโอนท้องที่ที่ยุบมาขึ้นกับตำบลบางจัก อำเภอวิเศษไชยชาญ[7]
- วันที่ 26 ธันวาคม 2481 เปลี่ยนแปลงเขตอำเภอป่าโมก และอำเภอวิเศษไชยชาญ โดยโอนพื้นที่ตำบลไผ่ดำ อำเภอป่าโมก มาขึ้นกับ อำเภอวิเศษไชยชาญ และเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอวิเศษไชยชาญ (1,2,3,4,5,6,7,8)[8][9] จังหวัดอ่างทอง
- (1) รวมตำบลโพธิ์เขียว เข้ากับตำบลศาลเจ้าโรงทอง และขนานนามว่า ตำบลศาลเจ้าโรงทอง
- (2) รวมตำบลศาลาดิน เข้ากับตำบลม่วงเตี้ย และขนานนามว่า ตำบลม่วงเตี้ย
- (3) รวมตำบลตลาดใหม่ เข้ากับตำบลห้วยคันแหลน และขนานนามว่า ตำบลห้วยคันแหลน
- (4) โอนพื้นที่หมู่ 13 (ในขณะนั้น) ของตำบลสามโก้ ไปขึ้นกับตำบลยี่ล้น
- (5) โอนพื้นที่หมู่ 6 (ในขณะนั้น) ของตำบลยี่ล้น ไปขึ้นกับตำบลอบทม
- (6) โอนพื้นที่หมู่ 7 (ในขณะนั้น) ของตำบลอบทม ไปขึ้นกับตำบลสาวร้องไห้
- (7) โอนพื้นที่หมู่ 8 (ในขณะนั้น) ของตำบลสาวร้องไห้ ไปขึ้นกับตำบลไผ่วง
- (8) โอนพื้นที่หมู่ 8 (ในขณะนั้น) ของตำบลบางจัก ไปขึ้นกับตำบลหลักแก้ว
- วันที่ 17 กันยายน 2498 จัดตั้งสุขาภิบาลศาลเจ้าโรงทอง ในท้องที่บางส่วนของตำบลไผ่จำศิล และตำบลศาลเจ้าโรงทอง[10]
- วันที่ 2 ตุลาคม 2505 แยกพื้นที่ตำบลอบทม และตำบลสามโก้ อำเภอวิเศษไชยชาญ ไปตั้งเป็น กิ่งอำเภอสามโก้[11] ขึ้นกับอำเภอวิเศษไชยชาญ
- วันที่ 21 พฤษภาคม 2506 โอนพื้นที่หมู่ 1,2 (ในขณะนั้น) ของตำบลอบทม กิ่งอำเภอสามโก้ อำเภอวิเศษไชยชาญ ไปขึ้นกับตำบลยี่ล้น อำเภอวิเศษไชยชาญ[12]
- วันที่ 27 กรกฎาคม 2508 ยกฐานะกิ่งอำเภอสามโก้ อำเภอวิเศษไชยชาญ เป็น อำเภอสามโก้[13]
- วันที่ 30 พฤศจิกายน 2508 จัดตั้งสุขาภิบาลบางจัก ในท้องที่บางส่วนของตำบลสี่ร้อย ตำบลหัวตะพาน ตำบลคลองขนาก และตำบลบางจัก[14]
- วันที่ 17 ตุลาคม 2515 ตั้งตำบลไผ่ดำพัฒนา แยกออกจากตำบลหัวตะพาน และตำบลบางจัก[15]
- วันที่ 20 กรกฎาคม 2525 ตั้งตำบลตลาดใหม่ แยกออกจากตำบลห้วยคันแหลน[16]
- วันที่ 10 กรกฎาคม 2533 โอนพื้นที่หมู่ 2 บ้านท้ายลาด (ในขณะนั้น) ของตำบลไผ่ดำพัฒนา ไปตั้งเป็นหมู่ 7 ของตำบลหัวตะพาน และกำหนดเขตให้ตำบลไผ่ดำพัฒนามีการปกครอง 7 หมู่บ้าน ส่วนตำบลหัวตะพานกำหนดเขตให้มีการปกครอง 7 หมู่บ้าน[17]
- วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะสุขาภิบาลศาลเจ้าโรงทอง และสุขาภิบาลบางจัก เป็นเทศบาลตำบลศาลเจ้าโรงทอง และเทศบาลตำบลบางจัก[18] ด้วยผลของกฎหมาย
- วันที่ 1 กรกฎาคม 2547 ยุบองค์การบริหารส่วนตำบลสี่ร้อย รวมกับองค์การบริหารส่วนตำบลท่าช้าง[19]
- วันที่ 17 ธันวาคม 2553 เปลี่ยนแปลงชื่อเทศบาลตำบลศาลเจ้าโรงทอง อำเภอวิเศษชัยชาญ เป็น เทศบาลตำบลวิเศษไชยชาญ[20]
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]อำเภอวิเศษชัยชาญตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอสามโก้และอำเภอโพธิ์ทอง
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอเมืองอ่างทอง อำเภอป่าโมก
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอผักไห่ (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา)
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอเมืองสุพรรณบุรีและอำเภอศรีประจันต์ (จังหวัดสุพรรณบุรี)
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]อำเภอวิเศษชัยชาญแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 15 ตำบล 126 หมู่บ้าน
ลำดับ | อักษรไทย | อักษรโรมัน | จำนวนหมู่บ้าน | จำนวนประชากร (ธันวาคม 2565)[21] |
---|---|---|---|---|
1. | ไผ่จำศิล | Phai Cham Sin | 8
|
5,434
|
2. | ศาลเจ้าโรงทอง | San Chao Rong Thong | 12
|
7,173
|
3. | ไผ่ดำพัฒนา | Phai Dam Phatthana | 8
|
3,242
|
4. | สาวร้องไห้ | Sao Rong Hai | 8
|
4,342
|
5. | ท่าช้าง | Tha Chang | 6
|
3,910
|
6. | ยี่ล้น | Yi Lon | 9
|
4,187
|
7. | บางจัก | Bang Chak | 14
|
6,127
|
8. | ห้วยคันแหลน | Huai Khan Laen | 6
|
3,246
|
9. | คลองขนาก | Khlong Khanak | 9
|
3,797
|
10. | ไผ่วง | Phai Wong | 7
|
3,065
|
11. | สี่ร้อย | Si Roi | 7
|
3,375
|
12. | ม่วงเตี้ย | Muang Tia | 12
|
5,614
|
13. | หัวตะพาน | Hua Taphan | 7
|
3,010
|
14. | หลักแก้ว | Lak Kaeo | 8
|
5,076
|
15. | ตลาดใหม่ | Talat Mai | 5
|
2,074
|
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]ท้องที่อำเภอวิเศษชัยชาญประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 16 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลวิเศษไชยชาญ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลไผ่จำศิลและตำบลศาลเจ้าโรงทอง
- เทศบาลตำบลบางจัก ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลบางจัก ตำบลคลองขนาก และตำบลสี่ร้อย
- เทศบาลตำบลห้วยคันแหลน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยคันแหลนทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลท่าช้าง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าช้างทั้งตำบลและตำบลสี่ร้อย (นอกเขตเทศบาลตำบลบางจัก)
- เทศบาลตำบลไผ่ดำพัฒนา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไผ่ดำพัฒนาทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลสาวร้องไห้ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสาวร้องไห้ทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลม่วงเตี้ย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลม่วงเตี้ยทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลไผ่จำศีล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไผ่จำศิล (นอกเขตเทศบาลตำบลวิเศษไชยชาญ)
- องค์การบริหารส่วนตำบลศาลเจ้าโรงทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลศาลเจ้าโรงทอง (นอกเขตเทศบาลตำบลวิเศษไชยชาญ)
- องค์การบริหารส่วนตำบลยี่ล้น ครอบคลุมพื้นที่ตำบลยี่ล้นทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางจัก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางจัก (นอกเขตเทศบาลตำบลบางจัก)
- องค์การบริหารส่วนตำบลคลองขนาก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองขนาก (นอกเขตเทศบาลตำบลบางจัก)
- องค์การบริหารส่วนตำบลไผ่วง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไผ่วงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหัวตะพาน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหัวตะพาน (นอกเขตเทศบาลตำบลบางจัก)
- องค์การบริหารส่วนตำบลหลักแก้ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหลักแก้วทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลตลาดใหม่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตลาดใหม่ทั้งตำบล
สภาพภูมิอากาศ
[แก้]มีลักษณะเป็นแบบมรสุม 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว
ทรัพยากรธรรมชาติ
[แก้]แหล่งน้ำที่สำคัญ ได้แก่ แม่น้ำน้อยและคลองขุน
เศรษฐกิจ
[แก้]ประชาชนในพื้นที่อำเภอวิเศษชัยชาญส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ ทำนา ทำสวน ทำไร่ ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ คือ ข้าว มะม่วง และผักสวนครัว และมีอาชีพเสริม ได้แก่ เลี้ยงสัตว์ จักสาน
สถานศึกษา
[แก้]- โรงเรียนชุมชนวัดวิเศษชัยชาญ
- โรงเรียนวิเศษไชยชาญ "ตันติวิทยาภูมิ"
- โรงเรียนอนุบาลวัดนางใน(ละเอียดอุปถัมภ์)
- โรงเรียนไผ่วงวิทยา
- โรงเรียนวิเศษชัยชาญวิทยาคม
- โรงเรียนอมราวิทยาภูมิ
- โรงเรียนวัดวันอุทิศ
- โรงเรียนวัดยางมณี
- โรงเรียนวัดห้วยคันแหลน
- โรงเรียนวัดห้วยโรง
- โรงเรียนวัดตลาดใหม่
- โรงเรียนวัดหลักแก้ว
- โรงเรียนสนิทวิทยา
- โรงเรียนราษฎร์นิยมวิทยา
- โรงเรียนวัดขุมทอง
- โรงเรียนวัดอบทม
- วิทยาลัยการอาชีพวิเศษชัยชาญ
- โรงเรียนบ้านห้วยคล้า
สถานที่ท่องเที่ยว
[แก้]- วัดเขียน เป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่ง อยู่ที่หมู่ที่ 8 ตำบลศาลเจ้าโรงทอง ห่างจากตัวจังหวัด 12 กิโลเมตร ภายในพระอุโบสถมีภาพเขียนฝาผนังที่งดงาม สันนิษฐานว่าเป็นฝีมือช่างสกุลเมืองวิเศษชัยชาญสมัยอยุธยาตอนปลาย ลักษณะภาพคล้ายกับภาพเขียนที่พระอุโบสถวัดเกาะและวัดใหญ่สุวรรณาราม จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งอยู่ในยุคเดียวกัน
- วัดม่วง ตั้งอยู่หมู่ที่ 6 ตำบลหัวตะพาน ระยะทางจากตัวจังหวัดถึงวัดม่วงประมาณ 8 กิโลเมตร ใช้เส้นทางสายอ่างทอง-สุพรรณบุรี วัดจะอยู่ทางซ้ายมือ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหานวมินทร์ศากยมุนีศรีวิเศษชัยชาญ พระพุทธรูปที่ใหญ่ที่สุดในโลก และยังมีพระอุโบสถล้อมรอบด้วยกลีบบัวที่ใหญ่ที่สุดในโลก ภายในมีรูปปั้นเกจิอาจารย์ชื่อดังทั่วประเทศ มีแดนเทพเจ้าไทย แดนนรก แดนสวรรค์ และแดนเทพเจ้าจีน ซึ่งมีรูปปั้นเจ้าแม่กวนอิมขนาดใหญ่ มีรูปปั้นแสดงเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์เกี่ยวกับสงครามไทย-พม่าที่เมืองวิเศษชัยชาญ และสามารถซื้อผลิตภัณฑ์ของดีเมืองอ่างทองได้ด้วย
- อนุสาวรีย์นายดอกนายทองแก้ว ประดิษฐานอยู่ที่หน้าโรงเรียนชุมชนวัดวิเศษชัยชาญ บ้านมะขาม หมู่ที่ 2 ตำบลไผ่จำศีล ระหว่างกิโลเมตรที่ 26-27 ตามเส้นทางสายศรีประจันต์-วิเศษชัยชาญ เป็นอนุสรณ์สถานที่ชาววิเศษชัยชาญและชาวอ่างทองร่วมกันสร้างเพื่อรำลึกถึงคุณงามความดีของวีรบุรุษแห่งบ้านโพธิ์ทะเล ทั้งสองท่านที่ได้สละชีวิต เป็นชาติพลีในการสู้รบกับพม่าที่ค่ายบางระจันอย่างกล้าหาญ เมื่อปี พ.ศ. 2309 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (เมื่อครั้งดำรงพระราชอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร) เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอนุสาวรีย์เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2520
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย [เรื่อง ให้เปลี่ยนชื่ออำเภอไผ่จำศิลเป็นอำเภอวิเศษไชยชาญ]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 25 (0 ง): 817. 18 ตุลาคม 2451.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ เก็บถาวร 2011-11-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เล่ม 34 หน้า 65 วันที่ 29 เมษายน 2460
- ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การเขียนชื่อจังหวัด อำเภอและกิ่งอำเภอ เป็นอักษรโรมัน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 84 (56 ง): (ฉบับพิเศษ) 1. 23 มิถุนายน 2510.
- ↑ "ประกาศราชบัณฑิตยสถาน เรื่อง การเขียนชื่อจังหวัด อำเภอ และกิ่งอำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 84 (56 ง): (ฉบับพิเศษ) 2-35. 23 มิถุนายน 2510.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตอำเภอในจังหวัดอ่างทอง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 53 (0 ง): 951. 9 สิงหาคม 2479.
- ↑ "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด พุทธศักราช ๒๔๗๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 54 (0 ก): 40–54. 1 เมษายน 2480. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-16. สืบค้นเมื่อ 2020-07-06.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตอำเภอในจังหวัดอ่างทอง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 55 (0 ง): 3394–3395. 16 มกราคม 2481.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลและอำเภอในจังหวัดอ่างทอง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 55 (0 ง): 3239–3241. 26 ธันวาคม 2481.
- ↑ "แก้คำผิด ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๕ ตอนที่ ๖๑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลและอำเภอในจังหวัดอ่างทอง หน้า ๓๒๔๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 55 (0 ง): 4207. 13 มีนาคม 2481.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลศาลเจ้าโรงทอง อำเภอวิเศษไชยชาญ จังหวัดอ่างทอง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 72 (74 ง): (ฉบับพิเศษ) 16-17. 17 กันยายน 2498.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่ตั้งเป็นกิ่งอำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 79 (90 ง): 2097–2098. 2 ตุลาคม 2505. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-04. สืบค้นเมื่อ 2020-07-06.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอวิเศษไชยชาญ จังหวัดอ่างทอง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 80 (49 ง): 1400–1402. 21 พฤษภาคม 2506.
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอศรีสวัสดิ์ อำเภอสังขละบุรี อำเภอท่าคันโท อำเภอดอกคำใต้ อำเภอแม่ใจ อำเภอจุน อำเภอขามทะเลสอ อำเภอไพศาลี อำเภอท่าวังผา อำเภอบ้านกรวด อำเภอเด่นชัย อำเภอปทุมรัตน์ อำเภอกะเปอร์ อำเภออากาศอำนวย อำเภอดอนเจดีย์ อำเภอจอมพระ และอำเภอสามโก้ พ.ศ. ๒๕๐๘" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 82 (59 ก): 565–569. 27 กรกฎาคม 2508. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-10-01. สืบค้นเมื่อ 2020-07-06.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลบางจัก อำเภอวิเศษไชยชาญ จังหวัดอ่างทอง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 82 (103 ง): 2958–2959. 30 พฤศจิกายน 2508.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 89 (155 ง): 2602–2607. 17 ตุลาคม 2515.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 99 (99 ง): 2923–2926. 20 กรกฎาคม 2525.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 107 (119 ง): 5357–5362. 10 กรกฎาคม 2533.
- ↑ "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. 24 กุมภาพันธ์ 2542. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2020-07-06.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง รวมองค์การบริหารส่วนตำบลกับองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). 1 กรกฎาคม 2547: 1–2. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-04-08. สืบค้นเมื่อ 2020-07-06.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่อเทศบาลตำบลศาลเจ้าโรงทอง อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง เป็นเทศบาลตำบลวิเศษไชยชาญ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 127 (ตอนพิเศษ 145 ง): 45. 17 ธันวาคม 2553.
- ↑ "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.