ข้ามไปเนื้อหา

อำเภอเจาะไอร้อง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำเภอเจาะไอร้อง
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Cho-airong
คำขวัญ: 
เจาะไอร้อง ถิ่นเรียนทอง คลองเคล้าหมอก
ชื่นดอกลองกอง ท่องแดนส้มแขก
แมกไม้สูงเสียดฟ้าตะเว เสน่ห์ไอปาแย
แผนที่จังหวัดนราธิวาส เน้นอำเภอเจาะไอร้อง
แผนที่จังหวัดนราธิวาส เน้นอำเภอเจาะไอร้อง
พิกัด: 6°12′6″N 101°50′30″E / 6.20167°N 101.84167°E / 6.20167; 101.84167
ประเทศ ไทย
จังหวัดนราธิวาส
พื้นที่
 • ทั้งหมด162.723 ตร.กม. (62.828 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด41,082 คน
 • ความหนาแน่น252.47 คน/ตร.กม. (653.9 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 96130
รหัสภูมิศาสตร์9613
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอเจาะไอร้อง หมู่ที่ 1 ถนนป่าไผ่-ไอสะเตีย ตำบลจวบ อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส 96130
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เจาะไอร้อง เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดนราธิวาส

ประวัติ

[แก้]

ประวัติความเป็นมาอำเภอเจาะไอร้อง มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับที่มาของชื่ออำเภออยู่ 2 แบบ ความหมายของคำว่า "เจาะไอร้อง" หนึ่ง คือ “เจาะไอร้อง” มาจากคำว่า “บือเจาะ” ซึ่งแปลว่า แตกหรือหัก กับ “แอรอง” ซึ่งเป็นชื่อของภาชนะส่วนพระองค์ของกษัตริย์สมัยก่อน โดยระหว่างเสด็จผ่านพื้นที่แถบนี้ ได้ทำภาชนะนั้นหล่น จึงเรียกชื่อว่า “บือเจาะ แอรอง” หมายถึงพื้นที่ที่ภาชนะที่เรียกว่า แอรอง แตกหัก เมื่อเขียนเป็นภาษาไทยจึงแผลงเป็น “เจาะไอร้อง”

สอง คือ “เจาะไอร้อง” มาจากภาษามลายูว่า “ปือเจ๊าะแอรอง” แปลว่า “แตกเสี้ยว” โดยมีเรื่องเล่าว่าสมัยก่อนในพื้นที่นี้มีโอ่ง 1 ใบ และเป็นโภคภัณฑ์หายาก แต่จู่ๆ ก็ถูกทำให้แตก เมื่อโอ่งแตกก็กลายเป็นเสี้ยว จึงเรียกว่า “บ้านปือเจ๊าะแอรอง” และเพี้ยนเป็นภาษาไทยว่า “เจาะไอร้อง” อำเภอเจาะไอร้องเดิมเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอระแงะ ได้รับการยกฐานะเป็นอำเภอเมื่อปี พ.ศ. 2539 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2539[1]

ที่ตั้งและอาณาเขต

[แก้]

อำเภอเจาะไอร้องตั้งอยู่ทางตอนกลางของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค

[แก้]

อำเภอเจาะไอร้องแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 3 ตำบล 33 หมู่บ้าน ได้แก่

1. จวบ (Chuap) 8 หมู่บ้าน
2. บูกิต (Bukit) 14 หมู่บ้าน
3. มะรือโบออก (Maruebo Ok) 11 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

[แก้]

ท้องที่อำเภอเจาะไอร้องประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 3 แห่ง ได้แก่

  • องค์การบริหารส่วนตำบลจวบ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลจวบทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบูกิต ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบูกิตทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลมะรือโบออก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลมะรือโบออกทั้งตำบล

อ้างอิง

[แก้]
  1. "พระราชกฤษฎีกาตั้ง ... อำเภอเจาะไอร้อง ... พ.ศ. ๒๕๓๙" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-05-21. สืบค้นเมื่อ 2011-10-29.