ข้ามไปเนื้อหา

เจ้าหญิงโยโกะแห่งมิกาซะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจ้าหญิงโยโกะแห่งมิกาซะ
เจ้าหญิงโยโกะเมื่อ พ.ศ. 2562
ประสูติ25 ตุลาคม พ.ศ. 2526 (41 ปี)
ศูนย์การแพทย์กาชาดญี่ปุ่น โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
ราชวงศ์ญี่ปุ่น
พระบิดาเจ้าชายโทโมฮิโตะแห่งมิกาซะ
พระมารดาเจ้าหญิงโนบูโกะ พระชายาฯ

เจ้าหญิงโยโกะแห่งมิกาซะ (ญี่ปุ่น: 瑶子女王โรมาจิYōko Joō; ประสูติ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2526) เป็นพระธิดาในเจ้าชายโทโมฮิโตะแห่งมิกาซะ กับเจ้าหญิงโนบูโกะ พระชายาฯ เป็นพระญาติชั้นที่หนึ่งของสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ

พระประวัติ

[แก้]

เจ้าหญิงโยโกะแห่งมิกาซะประสูติเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2526 เป็นพระธิดาพระองค์เล็กจากทั้งหมดสองพระองค์ในเจ้าชายโทโมฮิโตะแห่งมิกาซะ กับเจ้าหญิงโนบูโกะ พระชายาฯ (พระนามเดิม โนบูโกะ อาโซ) มีพระเชษฐภคินีคือเจ้าหญิงอากิโกะแห่งมิกาซะ พระชนนีเป็นน้องสาวของทาโร อาโซ และเป็นหลานสาวของชิเงรุ โยชิดะ ซึ่งทั้งสองเคยดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น

เจ้าหญิงโยโกะสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนกากูชูอิง แล้วทรงศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีสาขาญี่ปุ่นศึกษา คณะวัฒนธรรมนานาชาติศึกษา วิทยาลัยหญิงกากูชูอิง จนสำเร็จการศึกษา

พระกรณียกิจ

[แก้]

เจ้าหญิงโยโกะสนพระทัยในกิจกรรมอาสาสมัครต่าง ๆ โดยเฉพาะสภากาชาดญี่ปุ่นช่วงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2549 จนถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2555[1] ต่อมาพระองค์ทรงรับสมาคมอารยสถาปัตย์นานาชาติ (International association for Universal Design) ไว้ในพระอุปถัมภ์ต่อจากพระชนกเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2556[1] วันที่ 21 พฤศจิกายนปีเดียวกันนั้น ได้เสด็จไปโยโกฮามะเพื่อทรงร่วมพิธีฉลองครบรอบ 10 ปีของสมาคมดังกล่าว[2]

พระพลานามัย

[แก้]

เจ้าหญิงโยโกะเข้ารับการถวายการรักษาที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยโตเกียวเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 หลังมีผลตรวจโควิด-19 เป็นบวก และมีพระอาการพระปับผาสะอักเสบ[3][4][5][6] กระทั่งทรงหายจากพระอาการประชวรโควิด-19 และออกจากโรงพยาบาลเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พระองค์เสด็จกลับไปประทับในเขตพระราชฐานอากาซากะหลังคณะแพทย์ตัดสินว่าพระปับผาสะกลับเป็นปกติแล้ว[7]

เจ้าหญิงโยโกะตรัสกับที่ประชุมเพื่อคนหูหนวกในเรื่อง "การสูญเสียการได้ยิน" ของพระองค์ และบางครั้งการสื่อสารก็เป็นเรื่องยากสำหรับพระองค์เพราะทรงสูญเสียการได้ยินไปแล้ว จากนั้นทรงเปิดเผยอีกว่า สาเหตุที่พระองค์สูญเสียการได้ยินเพราะประชวรด้วยโรคเมนิแยร์ หรือโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน[8][9]

พงศาวลี

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Their Imperial Highnesses Prince and Princess Mikasa and their family - Official website
  2. "10th anniversary of IAUD". imperialfamilyjapan.wordpress.com. สืบค้นเมื่อ 2013-12-13.
  3. "Princess hospitalized in first COVID-19 case for Japan's imperial family". The Japan Times. 8 February 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-12-24. สืบค้นเมื่อ 8 February 2022.
  4. "Princess Yoko first in imperial family to get COVID-19". The Asahi Shimbun. 9 February 2022. สืบค้นเมื่อ 9 February 2022.
  5. "Japan's Princess Yoko Infected with Coronavirus". Nippon.com. 8 February 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-17. สืบค้นเมื่อ 8 February 2022.
  6. Najib, Shafiq (14 February 2022). "Princess Yoko Develops Pneumonia After Contracting COVID, Transferred to New Hospital for Treatment". People. สืบค้นเมื่อ 15 February 2022.
  7. "Princess Yohko recovers from COVID-19, leaves hospital". NHK World-Japan. 16 February 2022.
  8. "難聴を明かされた三笠宮家の瑶子さま きょう39歳の誕生日 寬仁さまの障害者福祉活動引き継ぐ フジテレビ皇室担当解説委員 橋本寿史". FNNプライムオンライン. 2022-10-25. สืบค้นเมื่อ 2023-02-10.
  9. "瑶子さま親近感ある「おことば」ノーカット 宮内庁が初めて症状を把握したという埼玉県入間市での講演会【皇室ちょっといい話】(68)". テレ東BIZ. 2022-06-29. สืบค้นเมื่อ 2023-02-10.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]