เทศบาลเมืองทุ่งสง
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
เทศบาลเมืองทุ่งสง | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Thetsaban Mueang Thung Song |
คำขวัญ: ทุ่งสงเมืองแห่งการเรียนรู้ เมืองชุมทางน่าอยู่ สู่ชุมชนเข็มแข็ง ผาสุกอย่างยั่งยืน | |
พิกัด: 8°9′52.31″N 99°40′49.4″E / 8.1645306°N 99.680389°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | นครศรีธรรมราช |
อำเภอ | ทุ่งสง |
การปกครอง | |
• นายกเทศมนตรี | ทรงชัย วงษ์วัชรดำรง |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 7.17 ตร.กม. (2.77 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2561)[1] | |
• ทั้งหมด | 30,513 คน |
• ความหนาแน่น | 4,255.64 คน/ตร.กม. (11,022.1 คน/ตร.ไมล์) |
รหัส อปท. | 04800901 |
ที่อยู่ สำนักงาน | 103 ถนนชนปรีดา ตำบลปากแพรก อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช 80110 |
เว็บไซต์ | www |
เทศบาลเมืองทุ่งสง เป็นเทศบาลเมืองแห่งหนึ่งในอำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช มีพื้นที่ครอบคลุมตำบลปากแพรกทั้งตำบล
ประวัติ
[แก้]เทศบาลเมืองทุ่งสง เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ในเขตท้องที่ตำบลปากแพรก อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช ตำแหน่งที่ตั้งของทุ่งสง อยู่กึ่งกลางคาบสมุทรมีเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างทะเลอ่าวไทยกับทะเล อันดามัน ทำให้ทุ่งสงเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางการค้าข้ามคาบสมุทร ในสมัยอาณาจักรตามพรลิงก์ และสมัยอาณาจักรนครศรีธรรมราช หลักฐานที่ยังหลงเหลืออยู่ในปัจจุบันคือ ร่องรอยชุมชนโบราณที่ได้รับอิทธิพลของ วัฒนธรรมอินเดียที่ตำบลหนองหงส์ สันนิษฐานว่าเส้นทางคาบสมุทรเส้นนี้เริ่มต้นจากปากแม่น้ำกันตัง กองเรือ สินค้าที่มาจากอินเดีย ลังกา หรือชาวตรัง จะล่องเรือเข้ามาตามแม่น้ำกันตัง ผ่านมาทางคลองท่าหลวง เข้าคลองวังหีบ คลองท่าเลา คลองท่าโหลน ขึ้นบกที่บริเวณวัดชัยชุมพล เมืองทุ่งสง แล้วเดินทางเท้าเข้าอำเภอร่อนพิบูลย์ข้ามคลองเสาธง เข้าสู่เมืองนครศรีธรรมราช ในยุคสมัยนี้ทุ่งสงคงมีฐานะเป็นชุมชนไม่ขยายใหญ่โตขนาดเมืองมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ทุ่งสงเจริญขึ้นเป็นลำดับ จนกระทั่งในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อปี พ.ศ. 2440 เมืองแห่งนี้ ก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอำเภอขึ้นกับนครศรีธรรมราช คนเก่าเล่าว่า ชุมชนแรกของเมืองทุ่งสงตั้งอยู่บริเวณตลาดใน ริมคลองท่าเลาใกล้ ๆ บริเวณหอสมุดประชาชนเทศบาลเมืองทุ่งสงในปัจจุบัน ต่อมาได้มีการสร้างทางรถไฟสายใต้ โดยทางรถไฟซึ่งมีการสร้างและเปิดใช้งานเป็นช่วง ๆ ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 มาสำเร็จเสร็จสิ้นตลอดสายในสมัยรัชกาลที่6 ได้เลือกทุ่งสง (ตำบลปากแพรก) เป็นสถานีชุมทางใหญ่ เป็นจุดรวมและจุดจ่ายรถไฟแยกไปส่วนต่าง ๆ ของภาคใต้
เทศบาลตำบลปากแพรกได้รับการยกฐานะขึ้น โดยได้ประกาศพระราชกฤษฎีกา เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2483 มีนายเนย ศิลปรัศมี เป็นนายกเทศมนตรีคนแรก และได้ประกาศกระทรวงมหาดไทยยกฐานะและเปลี่ยนชื่อเป็นเทศบาลเมืองทุ่งสง เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2547[2]
ภูมิศาสตร์
[แก้]สภาพภูมิประเทศของพื้นที่เทศบาลเมืองทุ่งสง เป็นที่ราบเชิงเขามีภูเขาล้อมรอบ ในพื้นที่ราบมีพื้นที่เกษตรกรรมประมาณ 2,025 ไร่ และมีภูเขาเตี้ย ๆ ในเขตเทศบาล 4 ลูก ได้แก่ภูเขาแจ่ม ภูเขาชัยชุมพล ภูเขาปรีดี และภูเขาราบ เนื่องจากเทศบาลเมืองทุ่งสง ได้จัดตั้งสถานีตรวจวัดภูมิอากาศขึ้นที่สวนพฤกษาสิรินธรจึงใช้สถิติภูมิอากาศของสถานีตรวจวัดอากาศของสวนพฤกษาสิรินธรมาเป็นข้อมูลด้านภูมิอากาศของพื้นที่ จากสถิติภูมิอากาศจะมีฝนตกตลอดปี ในฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ จะมีปริมาณฝนตกชุกกว่าลมมาสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งได้รับกระแสลมจากมรสุมไม่เต็มที่ เดือนที่มีฝนตกน้อยที่สุด คือเดือนกุมภาพันธ์ มีค่า 0.06 มิลลิลิตร ส่วนปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรวมตลอดปีประมาณ 2,364.2 มิลลิลิตรต่อปี อุณหภูมิมีค่าเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 27.32 องศาเซลเซียส เนื่องจากเทศบาลเมืองทุ่งสง ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกจึงได้รับอิทธิพลจากสมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดฝ่านอ่าวไทย ทำให้ได้รับไอน้ำและความชุ่มชื่นมาก จึงมีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดทั้งปีไม่สูงมากนัก เดือนที่มีอุณหภูมิสูงสุด คือเดือนเมษายน เฉลี่ย 36.4 องศาเซลเซียส และต่ำสุดในเดือนธันวาคม เฉลี่ย 20.4 องศาเซลเซียส
เทศบาลเมืองทุ่งสง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกขอตัวเมืองนครศรีธรรมราช
- ทิศเหนือ ติดตำบลนาหลวงเสน
- ทิศใต้ ติดตำบลชะมาย
- ทิศตะวันออก ติดตำบลถ้ำใหญ่
- ทิศตะวันตก ติดตำบลชะมาย
ชุมชน
[แก้]เทศบาลเมืองทุ่งสงประกอบด้วยชุมชน 20 ชุมชน
- ชุมชนตลาดสด
- ชุมชนตลาดใน
- ชุมชนบ้านพักรถไฟทุ่งสง
- ชุมชนทุ่งสง-นาบอน
- ชุมชนสะพานเหล็ก
- ชุมชนประชาอุทิศ
- ชุมชนยุทธศาสตร์
- ชุมชนเสริมชาติ
- ชุมชนเขาปรีดี
- ชุมชนท่าแพเหนือ
- ชุมชนทุ่งสง-ห้วยยอด
- ชุมชนเปรมประชา
- ชุมชนราชบริพาร
- ชุมชนตะวันออกวัดชัยชุมพล
- ชุมชนหมู่บ้านพัฒนา
- ชุมชนบ้านนาเหนือ
- ชุมชนหลังโรงพยาบาลทุ่งสง
- ชุมชนท่าแพใต้
- ชุมชนบ้านในหวัง
- ชุมชนโดมทองธานี (ท่าแพ)
นายกเทศมนตรี
[แก้]เทศบาลตำบลปากแพรก | |||
---|---|---|---|
ลำดับ | ชื่อ-สกุล | วาระการดำรงตำแหน่ง | หมายเหตุ |
1. | นายเนย ศิลปรัสมี | 24 มิถุนายน พ.ศ. 2483 – 3 สิงหาคม พ.ศ. 2485 | |
2. | นายจวง แก้วภราดัย | 3 สิงหาคม พ.ศ. 2485 – 31 มีนาคม พ.ศ. 2492 | |
นายเนย ศิลปรัสมี | 4 เมษายน พ.ศ. 2492 – 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2496 | ||
18 พฤษภาคม พ.ศ. 2496 – 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2501 | |||
3. | นายสมมุ่ง วิสุทธิธรรม | 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2501 – 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2506 | |
1 สิงหาคม พ.ศ. 2506 – 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2511 | |||
5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2511 – 23 ธันวาคม พ.ศ. 2515 | |||
4. | นายแกน วงศ์สุรีย์ | 23 ธันวาคม พ.ศ. 2515 – 14 ธันวาคม พ.ศ. 2517 | |
14 ธันวาคม พ.ศ. 2517 – 8 มิถุนายน พ.ศ. 2523 | |||
8 มิถุนายน พ.ศ. 2523 – 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2528 | |||
28 กรกฎาคม พ.ศ. 2528 – 22 กันยายน พ.ศ. 2533 | |||
5. | พันโทนายแพทย์ปริวรรต อุดมศักดิ์ | 23 กันยายน พ.ศ. 2533 – 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538 | |
6. | พันเอกชุมพล จินดาโชติ | 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538 – 29 ธันวาคม พ.ศ. 2542 | |
พันโทนายแพทย์ปริวรรต อุดมศักดิ์ | 30 ธันวาคม พ.ศ. 2542 – 24 เมษายน พ.ศ. 2547 | ||
เทศบาลเมืองทุ่งสง | |||
ลำดับ | ชื่อ-สกุล | วาระการดำรงตำแหน่ง | หมายเหตุ |
7. | นายทรงชัย วงษ์วัชรดำรง | 30 เมษายน พ.ศ. 2547 – 24 เมษายน พ.ศ. 2551 | |
8 มิถุนายน พ.ศ. 2551 – 7 มิถุนายน พ.ศ. 2555 | |||
15 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 – 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 | |||
15 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 – 31 มกราคม พ.ศ. 2564 | |||
28 มีนาคม พ.ศ. 2564 – ปัจจุบัน |
การศึกษา
[แก้]- สังกัดเทศบาลเมืองทุ่งสง
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเขาปรีดี
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กชัยชุมพล
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหนองป่าแก
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหมู่บ้านพัฒนา
- โรงเรียนเทศบาลวัดชัยชุมพล
- โรงเรียนเทศบาลวัดโคกสะท้อน
- โรงเรียนมัธยมเทศบาลวัดท่าแพ
- โรงเรียนเทศบาลบ้านนาเหนือ
- โรงเรียนกีฬาเทศบาลเมืองทุ่งสง
- โรงเรียนรีสอร์ทอนุบาลทุ่งสง
- สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
- โรงเรียนเจริญวิทยา
- โรงเรียนเจริญวัยวิทยา
- โรงเรียนรัตนศึกษา
- โรงเรียนรัตนศึกษาชนปรีดา
- โรงเรียนเสริมปัญญา
- โรงเรียนกาญจนศึกษา
- โรงเรียนกาญจนศึกษาพัฒนาการ
- สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
- กศน.อำเภอทุ่งสง
ศาสนสถาน
[แก้]เทศบาลเมืองทุ่งสงมีวัดพุทธทั้งหมด 5 แห่ง ได้แก่ วัดท่าแพ วัดเขาปรีดี วัดโคกสะท้อน วัดชัยชุมพล สำนักสงฆ์ถ้ำทอหูก และมีมัสยิดจำนวน 1 แห่ง คือ มัสยิดบารอกัต
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2561 ท้องถิ่นเทศบาลเมืองทุ่งสง". ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง. สืบค้นเมื่อ 11 พฤษภาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่อและเปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลตำบลเป็นเทศบาลเมือง (เทศบาลเมืองทุ่งสง)