เทศบาลเมืองบ้านหมี่
เทศบาลเมืองบ้านหมี่ | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Thetsaban Mueang Ban Mi |
ภาพถ่ายทางอากาศเมืองบ้านหมี่ | |
คำขวัญ: อู่ข้าวอู่น้ำ วัฒนธรรมรุ่งเรือง เมืองผ้ามัดหมี่ สตรีแสนงาม | |
พิกัด: 15°2′41″N 100°32′13″E / 15.04472°N 100.53694°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | ลพบุรี |
อำเภอ | บ้านหมี่ |
จัดตั้ง |
|
การปกครอง | |
• นายกเทศมนตรี | จักรพันธ์ เหล่าวงค์ไทย (2559–ปัจจุบัน)[1] |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 0.6763 ตร.กม. (0.2611 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2562)[2] | |
• ทั้งหมด | 3,287 คน |
• ความหนาแน่น | 4,860.26 คน/ตร.กม. (12,588.0 คน/ตร.ไมล์) |
รหัส อปท. | 04160601 |
ที่อยู่ สำนักงาน | เลขที่ 1 ถนนเทศบาล ตำบลบ้านหมี่ อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี 15110 |
เว็บไซต์ | www |
เทศบาลเมืองบ้านหมี่ เป็นเทศบาลเมืองแห่งหนึ่งในอำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านหมี่ทั้งหมด ห่างจากเทศบาลเมืองลพบุรีไปทางเหนือประมาณ 30 กิโลเมตร[3] มีชื่อเดิมว่า เทศบาลเมืองบ้านเซ่า[4] พ.ศ. 2562 มีประชากรทั้งหมด 3,287 คน[2] กับพื้นที่ขนาดน้อยเพียง 0.6763 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 419 ไร่[3] นับว่าเป็นเทศบาลเมืองที่มีขนาดเล็กมากแห่งหนึ่งในประเทศไทย
ประวัติ
[แก้]เดิมเทศบาลเมืองบ้านหมี่ตั้งอยู่ในเขตตำบลบ้านเซ่าและตำบลโพนทองในขณะนั้น ด้วยเป็นที่ตั้งของตลาดบ้านหมี่ มีประชากรอาศัยอยู่มากแต่ขาดการดูแลรักษา สมุหเทศาภิบาลมณฑลอยุธยาจึงประชุมกับบรรดากำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และคหบดีในท้องถิ่น ในที่ประชุมมีมติให้จัดตั้งเป็นสุขาภิบาล ต่อมากระทรวงมหาดไทยจึงประกาศจัดตั้งสุขาภิบาลท้องที่บ้านเซ่า อำเภอบ้านเซ่า จังหวัดลพบุรี เมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2474[5][6] โดยคำว่า "เซ่า" หรือ "เซา" เป็นคำพวน แปลว่า "หยุดพัก"[7][8] โดยตั้งตามชื่อชุมชนเดิมของชาวพวนที่อพยพมาจากเชียงขวาง ปัจจุบันอยู่ในเขตประเทศลาว[7]
ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร สุขาภิบาลท้องที่บ้านเซ่ามีความเจริญขึ้นตามลำดับ ทั้งจำนวนประชากรและเศรษฐกิจ จึงมีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเป็นเทศบาลเมืองบ้านเซ่า เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2478[4] ภายหลังมีพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนชื่อตำบลและอำเภอบ้านเซ่า เป็นตำบลและอำเภอบ้านหมี่ เมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2482[9] หลังจากนั้นไม่นาน ก็มีพระราชกฤษฎีกาให้เปลี่ยนนามเทศบาลเป็นเทศบาลเมืองบ้านหมี่ ตามชื่ออำเภอโดยอนุโลมเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2482[10] โดยคำว่า "หมี่" เป็นคำพวนเช่นกัน แปลว่า "การมัดเส้นด้ายเป็นเปลาะ"[7][8] ตั้งตามการประกอบอาชีพทอผ้าของชาวพวน[7]
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]เทศบาลเมืองบ้านหมี่มีพื้นที่เพียง 0.6763 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 419 ไร่[3] ครอบคลุมพื้นที่ของตำบลบ้านหมี่ทั้งหมด มีอาณาเขตติดต่อดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลเชียงงา
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลโพนทอง
- ทิศใต้ ติดต่อกับพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลสนามแจง
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลสนามแจง
การแบ่งเขตปกครอง
[แก้]เทศบาลเมืองบ้านหมี่แบ่งเขตปกครองออกเป็นจำนวน 7 ชุมชน ได้แก่[3]
- ชุมชนบ้านต้นพัฒนา
- ชุมชนอนามัยพัฒนา
- ชุมชนตลาดสดเทศบาล
- ชุมชนหลักเมือง
- ชุมชนนิกรธานี
- ชุมชนพัฒนาตลาดใหม่
- ชุมชนวงเวียนตลาดใหม่พัฒนา
ประชากร
[แก้]พ.ศ. 2562 เทศบาลเมืองบ้านหมี่มีประชากรทั้งหมด 3,287 คน[2] ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ มีศาสนสถานในเขตเทศบาลสองแห่ง คือ วัดปฐมพานิช และวัดเชียงงา[3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "เกี่ยวกับเทศบาลเมือง". เทศบาลเมืองบ้านหมี่. 25 กันยายน 2561. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 2.0 2.1 2.2 "รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2562 ท้องถิ่นเทศบาลเมืองบ้านหมี่". ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 "ข้อมูลพื้นฐาน". เทศบาลเมืองบ้านหมี่. 25 กันยายน 2561. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 4.0 4.1 "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองบ้านเซ่า จังหวัดลพบุรี พุทธศักราช ๒๔๗๘" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 52: 1781–1784. 10 ธันวาคม 2478.
- ↑ "ประกาศใช้พระราชบัญญัติจัดการสุขาภิบาลท้องที่บ้านเซ่า ตลาดบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 48 (0ก): 37–40. 19 เมษายน 2474.
- ↑ "ประกาศใช้พระราชบัญญัติจัดการสุขาภิบาลท้องที่บ้านเซ่า ตลาดบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี". คลังสารสนเทศของสถาบันนิติบัญญัติ. 19 เมษายน 2474. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 7.0 7.1 7.2 7.3 "ประวัติความเป็นมา". สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบ้านหมี่. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-19. สืบค้นเมื่อ 21 มีนาคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 8.0 8.1 Phawanthaksa (21 มกราคม 2562). "บ้านทราย มรดกทางวัฒนธรรมอันมีคุณค่า จากแคว้นเชียงขวาง". สถานีโทรทัศน์สมาร์ทเอสเอ็มอี. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "พระราชกฤษฎีกา เปลี่ยนนามอำเภอ กิ่งอำเภอและตำบลบางแห่ง พุทธศักราช ๒๔๘๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 56 (0ก): 881. 25 กันยายน พ.ศ. 2482. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-25. สืบค้นเมื่อ 2020-03-21.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "พระราชกฤษฎีกา เปลี่ยนนามเทศบาลเมืองบ้านเซ่า จังหวัดลพบุรี เป็นเทศบาลเมืองบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 56 (0ก): 1851–1853. 27 พฤศจิกายน 2482.