ข้ามไปเนื้อหา

เฟื่องฟ้า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เฟื่องฟ้า
Bougainvillea spectabilis พบที่ Damauli ประเทศเนปาล
Bougainvillea glabra พบที่จาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
อาณาจักร: พืช
Plantae
เคลด: พืชมีท่อลำเลียง
Tracheophytes
เคลด: พืชดอก
Angiosperms
เคลด: พืชใบเลี้ยงคู่แท้
Eudicots
อันดับ: คาร์เนชัน
Caryophyllales
วงศ์: วงศ์บานเย็น
Nyctaginaceae
เผ่า: Bougainvilleeae
Bougainvilleeae
สกุล: เฟื่องฟ้า
Bougainvillea
Comm. ex Juss.[1]
ชนิด

ดูข้อความ

ชื่อพ้อง[1][2]

Tricycla Cav.

เฟื่องฟ้า (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bougainvillea) เป็นไม้ยืนต้นประเภทพุ่มกึ่งเลื้อย ขนาดตั้งแต่พุ่มเล็กถึงพุ่มใหญ่ มีหนามขึ้นตามลำต้นอยู่ ใบเดี่ยว แตกออก สลับกับกิ่ง หรือเยื้องกัน มีขนขึ้นปกคลุมเล็กน้อย มีสีเขียวหรือใบด่าง รูปร่างรีแหลมยาว 3–6 ซม. กว้าง 2–3 ซม. ใบประดับลักษณะคล้ายรูปหัวใจหรือรูปไข่มี 3–5 ใบ มีหลายสี เช่น ม่วง แดง ชมพู ส้ม ฟ้า เหลืองและอื่น ๆ มีทั้งดอกสมบูรณ์เพศและไม่สมบูรณ์เพศ ออกเป็นช่อ ตามซอก ใบหรือปลายกิ่ง แต่ละช่อมี 3 ดอก เป็นหลอดยาว 1–2 ซม.

ต้องการแสงแดดจัดในสภาพกลางแจ้ง ได้รับแสงแดดตลอดวัน ถ้าได้รับแสงแดดไม่เพียงพอจะทำ ให้สีของใบไม่เข้มออกดอกน้อย ต้องการอุณหภูมิ ปานกลางหรือร้อนชื้น เมื่อโตขึ้น ต้องการน้ำปานกลาง ถึงค่อนข้างต่ำ ถ้ารดน้ำมากเกินไปจะไม่ออกดอก ขยายพันธุ์ด้วยการปักชำกิ่ง, ตอนกิ่ง, เสียบยอด

เฟื่องฟ้าถูกค้นพบครั้งแรกในประเทศบราซิลโดยนักพฤกษศาสตร์ชาวฝรั่งเศสราว ค.ศ. 1766–1769 และได้ถูกนำไปปลูกยังส่วนต่าง ๆ ของโลก เริ่มจากยุโรป อเมริกาเหนือ และเอเชีย สำหรับในประเทศไทย มีการนำพันธุ์เฟื่องฟ้าเข้ามาจากสิงคโปร์ครั้งแรกราว ค.ศ. 1880 ในสมัยรัชกาลที่ 5 พันธุ์เฟื่องฟ้าในประเทศไทยมีไม่น้อยกว่าต่างประเทศ เนื่องจากเฟื่องฟ้าเจริญเติบโตได้ดีในประเทศไทย และกลายพันธุ์เกิดเป็นพันธุ์ใหม่ขึ้นมากมาย

ความเป็นพิษ

[แก้]

น้ำเลี้ยงของเฟื้องฟ้าสามารถก่อให้เกิดผื่นแพ้สัมผัสขั้นรุนแรง คล้ายกับพืชชนิด Toxicodendron[3]

อนุกรมวิธานและวิวัฒนาการชาติพันธุ์

[แก้]

ณ ค.ศ. 2010 Bougainvillea โดยทั่วไปจัดอยู่ในเผ่าย่อย Bougainvilleeae (มี 3 สกุล) ในเผ่า Nyctaginaceae โดยมี Pisonieae เป็นเผ่าย่อยพี่น้อง (มี 4 สกุล):

Pisonieae

Pisoniella (Heimerl) Standl. (2 ชนิด)

Neea Ruiz & Pav. (81)

Guapira Aubl. (76)

Pisonia L. (47)

Bougainvilleeae

Bougainvillea Comm. ex Juss. (16 ชนิด)

Belemia Pires (2)

Phaeoptilum Radlk. (1)

ชนิด

[แก้]

Catalogue of Life รายงานว่ามีพืชที่อยู่ในสกุล Bougainvillea ถึง 16 ชนิด[4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "Genus: Bougainvillea Comm. ex Juss". Germplasm Resources Information Network. United States Department of Agriculture. 2010-07-07. สืบค้นเมื่อ 2010-12-14.
  2. "Bougainvillea Comm. ex Juss". World Flora Online. The World Flora Online Consortium. 2022. สืบค้นเมื่อ 27 July 2022.
  3. Washington State Department of Labor and Industries. Reactions in the Skin Caused by Plants. Safety & Health Assessment & Research for Prevention Report: 63-8-2001 August 2001. เก็บถาวร 27 พฤศจิกายน 2014 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  4. Roskov Y., Ower G., Orrell T., Nicolson D., Bailly N., Kirk P.M., Bourgoin T., DeWalt R.E., Decock W., van Nieukerken E.J., Penev L. (eds.) (2020). Species 2000 & ITIS Catalogue of Life, 2020-12-01. Digital resource at www.catalogueoflife.org. Species 2000: Naturalis, Leiden, the Netherlands. ISSN 2405-8858.
  5. 5.0 5.1 5.2 "GRIN Species Records of Bougainvillea". Germplasm Resources Information Network. United States Department of Agriculture. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-20. สืบค้นเมื่อ 2010-12-14.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]