ข้ามไปเนื้อหา

แนบ พหลโยธิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แนบ พหลโยธิน
รัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
10 ธันวาคม 2475 – 1 เมษายน 2476
นายกรัฐมนตรีพระยามโนปกรณนิติธาดา
กรรมการราษฎร
ดำรงตำแหน่ง
28 มิถุนายน – 10 ธันวาคม 2475
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
แนบ พหลโยธิน

26 สิงหาคม พ.ศ. 2443
เมืองพระนคร ประเทศสยาม
เสียชีวิต22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 (71 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
เชื้อชาติไทย
ศาสนาพุทธ
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
คณะราษฎร
คู่สมรสสไบ พหลโยธิน
บุตร1 คน
ศิษย์เก่าสำนัก เกรย์อิน ประเทศอังกฤษ
อาชีพนักกฎหมาย
เป็นที่รู้จักจากการเมือง
ลายมือชื่อ

แนบ พหลโยธิน (26 สิงหาคม พ.ศ. 2443 – 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514) เป็นนักการเมืองชาวไทย อดีตอธิบดีกรมธนารักษ์ และเป็นหนึ่งในเจ็ดสมาชิกผู้ก่อตั้ง คณะราษฎร ปฏิวัติสยามเปลี่ยนระบอบการปกครอง พ.ศ. 2475

ประวัติ

[แก้]

แนบ พหลโยธิน เป็นบุตรของ พลโท พระยาพหลโยธินรามินทรภักดี (นพ พหลโยธิน) บิดาเป็นพี่ชายของพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)[1] จบการศึกษาจากโรงเรียนราชวิทยาลัย (โรงเรียน ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในปัจจุบัน) จบการศึกษาเนติบัณฑิต สำนัก เกรย์อิน ประเทศอังกฤษ

ระหว่างการศึกษาอยู่ยังประเทศอังกฤษนั้น ได้ร่วมกับนักเรียนไทยที่ประเทศอังกฤษ และประเทศฝรั่งเศสส่วนหนึ่ง ก่อตั้งคณะราษฎรขึ้นมา โดยที่แนบ ถือเป็นสมาชิกรุ่นแรก ที่มีด้วยกันทั้งหมด 7 คน ซึ่งนอกจากนายแนบแล้ว ยังประกอบด้วย ปรีดี พนมยงค์, ร้อยโท แปลก ขีตตะสังคะ, จรูญ สิงหเสนี, ประยูร ภมรมนตรี, ร้อยโท ทัศนัย มิตรภักดี และตั้ว ลพานุกรม

งานการเมือง

[แก้]

ในการประชุมครั้งแรกที่บ้านพักเลขที่ 9 ถนนซอมเมอราร์ด กรุงปารีส เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2469 ที่นานถึง 4 คืน 5 วันติดต่อกัน ที่ประชุมมีมติให้ปรีดี เป็นหัวหน้า และได้มอบหมายให้แนบ เป็นผู้ดูแลครอบครัวของเหล่าสมาชิกที่เหลือ หากการปฏิวัติไม่สำเร็จ เนื่องจากแนบนั้นมีฐานะทางเศรษฐกิจดีกว่าคนอื่น เพราะได้รับมรดกจากบิดา [2] โดยจะไม่ให้แนบออกหน้ามากนักในการปฏิวัติ นอกจากนี้แล้ว แนบยังเป็นผู้แนะนำและรับรอง ทวี บุณยเกตุ นักเรียนการเกษตร ให้เข้าเป็นหนึ่งในสมาชิกคณะราษฎรด้วย

เมื่อเดินทางกลับมาถึงประเทศไทย แนบเป็นผู้ที่ทาบทาม พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา จเรทหารปืนใหญ่ผู้เป็นอา ให้เข้าร่วมเป็นสมาชิกดวย และรับสถานะเป็นหัวหน้าคณะราษฎร เนื่องด้วย แนบนั้นมีศักดิ์เป็นหลานชายของ พันเอก พระยาพหลฯ โดยเป็นบุตรชายของพระยาพหลโยธินรามินทรภักดี พี่ชายของ พันเอก พระยาพหลฯ[3]

ก่อนการเปลี่ยนแปลงปกครองไม่นาน ทวีได้ถูกย้ายไปรับราชการที่จังหวัดขอนแก่น จึงไม่มีโอกาสได้ติดต่อกับสมาชิกคนอื่น ๆ แนบจึงเป็นผู้ส่งโทรเลขไปหา เพื่อแจ้งวัน-เวลาในการปฏิบัติการ[4]

หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว แนบได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง คณะกรรมการราษฎร และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) อันถือเป็นชุดแรก และยังได้รับตำแหน่งรัฐมนตรี (ลอย) อีกด้วย แต่ก็ต้องพ้นจากตำแหน่งในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476 ด้วยการประกาศพระราชกฤษฎีกาปิดสภา ของพระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นความขัดแย้งกันระหว่างนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีที่ส่วนใหญ่เป็นสมาชิกคณะราษฎร ซึ่งแนบได้พ้นออกจากตำแหน่งพร้อมกับพระยาประมวญวิชาพูล, หลวงเดชสหกรณ์, ตั้ว ลพานุกรม และปรีดี พนมยงค์ ก่อนที่จะกลับมารับตำแหน่งอีกครั้งหลังการรัฐประหารเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 โดยการนำของ พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา[5] จากนั้นจึงได้รักษาราชการแทนผู้ช่วยอธิบดีกรมบัญชีกลาง เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2476[6] ต่อมาได้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมธนารักษ์เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2495[7]

แนบ สมรสกับคุณหญิงสไบ พหลโยธิน มีธิดาหนึ่งคนชื่อ ธนี พหลโยธิน[1]

ถึงแก่อนิจกรรม

[แก้]

แนบ พหลโยธิน ถึงแก่กรรมในปลายปี พ.ศ. 2514 พระราชพิธีพระราชทานเพลิงศพ มีขึ้น ณ เมรุวัดธาตุทอง ในวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2515 สิริอายุ 71 ปี[8]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "ย่านถนนห้วยแก้ว (๒๐)". ๔๕ ไทยนิวส์. 18 พฤษภาคม 2557. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-25. สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. นายหนหวย. เจ้าฟ้าประชาธิปกราชันผู้นิราศ. กรุงเทพฯ : พิมพ์จำหน่ายด้วยตัวเอง, 2530. 704 หน้า. หน้า 175.
  3. 2475 ตอน สองฝั่งประชาธิปไตย, สารคดี ทางทีพีบีเอส: 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
  4. หน้า 100-102, ตรัง โดย ยืนหยัด ใจสมุทร. (กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 กรุงเทพมหานคร, สำนักพิมพ์มติชน) ISBN 974-7115-60-3
  5. 12 เมษายน, คอลัมน์ ส่วนร่วมสังคมไทย โดย นรนิติ เศรษฐบุตร รศ. หน้า 8 บทความ-การ์ตูน. เดลินิวส์ฉบับที่ 23,192: ศุกร์ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2556 ขึ้น 2 ค่ำ เดือน 5 ปีมะเส็ง
  6. แจ้งความ เรื่อง ตั้งผู้ทำการแทนผู้ช่วยอธิบดีกรมบัญชีกลาง
  7. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการ
  8. อนุสรณ์พระราชพิธีพระราชทานเพลิงศพ นายแนบ พหลโยธิน ม.ว.ม., ป.จ., ท.จ., โดย ธนาคารแห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2515)
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๒ ตอนที่ ๙๕ ง หน้า ๓๐๔๓, ๑๓ ธันวาคม ๒๔๙๘
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๖๗ ตอนที่ ๖๗ ง หน้า ๖๓๔๗, ๑๒ ธันวาคม ๒๔๙๘
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๕ ตอนที่ ๓๙ ง หน้า ๑๕๕๒, ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๐๑
  12. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๔ ตอนที่ ๑๑๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๕๕, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๐๐
  13. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๗๐ ตอนที่ ๔๘ ง หน้า ๒๖๐๘, ๒๑ กรกฎาคม ๒๔๙๖