ข้ามไปเนื้อหา

แฮร์รี เอส. ทรูแมน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แฮร์รี เอส ทรูแมน
Harry S. Truman
ทรูแมนในปีค.ศ. 1947
ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา
ดำรงตำแหน่ง
12 เมษายน ค.ศ. 1945 – 20 มกราคม ค.ศ. 1953
(7 ปี 283 วัน)
รองประธานาธิบดีว่าง (1945-1949)
อัลเบน บาร์กเลย์ (1949-1953)
ก่อนหน้าแฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์
ถัดไปดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์
รองประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา
ดำรงตำแหน่ง
20 มกราคม ค.ศ. 1945 – 12 เมษายน ค.ศ. 1945
(0 ปี 82 วัน)
ประธานาธิบดีแฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์
ก่อนหน้าเฮนรี่ เอ. วอลเลซ
ถัดไปอัลเบน บาร์กเลย์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด8 พฤษภาคม ค.ศ. 1884(1884-05-08)
ลามาร์ รัฐมิสซูรี
เสียชีวิต26 ธันวาคม ค.ศ. 1972(1972-12-26) (88 ปี)
แคนซัสซิตี รัฐมิสซูรี
พรรคการเมืองพรรคเดโมแครต
ลายมือชื่อ

พันเอก แฮร์รี เอส ทรูแมน (อังกฤษ: Harry S Truman; 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1884 – 26 ธันวาคม ค.ศ. 1972) นักการเมืองและทหารบกชาวสหรัฐอเมริกา เป็นประธานาธิบดีคนที่ 33 ของสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ ค.ศ. 1945 ถึง 1953 ซึ่งรับตำแหน่งต่อจากประธานาธิบดีแฟรงกลิน ดี. รูสเวลต์ที่ถึงแก่อสัญกรรม ในขณะที่ดำรงตำแหน่งเป็นรองประธานาธิบดี เขาได้นำแผนมาร์แชลล์มาใช้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจของยุโรปตะวันตกและก่อตั้งลัทธิทรูแมนและองค์กรเนโท

ทรูแมนได้รับเลือกตั้งเป็นวุฒิสภาสหรัฐใน ค.ศ. 1934 และได้มีชื่อเสียงระดับชาติในฐานะประธานคณะกรรมการทรูแมนเพื่อมุ่งเป้าหมายไปที่การลดความสูญเสียและไร้ประสิทธิภาพในข้อตกลงสงคราม ไม่นานหลังจากที่ได้รับตำแหน่งประธานาธิบดี เขาได้อนุมติให้ใช้ระเบิดนิวเคลียร์เป็นครั้งแรกและครั้งเดียวในสงคราม การบริหารประเทศของทรูแมนมีส่วนร่วมในนโยบายการต่างประเทศและละทิ้งลัทธิโดดเดียว เขาได้รวบรวมการร่วมมือสัญญาใหม่ของเขาในช่วงการเลือกตั้งเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดี ค.ศ. 1948 และได้รับชัยชนะอย่างน่าตกใจที่รักษาตำแหน่งประธานาธิบดีของเขาไว้ได้อีกวาระหนึ่ง

ทรูแมนได้ควบคุมการขนส่งทางอากาศไปยังกรุงเบอร์ลิน ค.ศ. 1948 เมื่อคอมมิวนิสต์เกาหลีเหนือได้เข้ารุกรานเกาหลีใต้ เขาได้รับการอนุมัติจากองค์การสหประชาชาติในการดำเนินนโยบายครั้งใหญ่ที่เรียกว่าสงครามเกาหลี สามารถปกป้องเกาหลีใต้เอาไว้ได้และเกือบจะยึดครองเกาหลีเหนือแต่จีนได้เข้ามาแทรกแซงกองทัพยูเอ็น/สหรัฐจึงถูกผลักดัน และป้องกันการตีโต้กลับของคอมมิวนิสต์เกาหลีเหนือ ในเรื่องภายในประเทศ ธนบัตรที่ได้รับการรับรองจากทรูแมนได้รับการคัดค้านจากฝ่ายอนุรักษ์นิยม แต่การบริหารของเขาได้ประสบความสำเร็จในการเศรษฐกิจสหรัฐผ่านความท้าทายเศรษฐกิจในช่วงหลังสงคราม ใน ค.ศ. 1948 เขาได้เสนอกฎหมายสิทธิพลเมืองที่ครอบคลุมเป็นครั้งแรกและออกคำสั่งการบริหารเพื่อริเริ่มการรวมตัวทางเชื้อชาติในกองทัพและหน่วยงานของรัฐบาลกลาง

ด้วยข้อกล่าวหาของการคอรัปชั่นในการบริหารของทรูแมนได้กลายเป็นประเด็นที่สำคัญในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งในส่วนภาคกลางในการเลือกตั้งเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดี ค.ศ. 1952 และผลปรากฏว่าดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์จากพรรคริพับลิกันได้ชนะในการเลือกตั้งกับ Adlai Stevenson II จากพรรคเดโมแครต การถูกปลดเกษียณที่ยากลำบากทางการเงินของทรูแมนได้เป็นจุดเด่นโดยการสืบค้นห้องสมุดประธานาธิบดีและสิ่งสือพิมพ์บันทึกความทรงจำของเขา เมื่อเขาได้ออกจากตำแหน่ง การดำรงเป็นประธานาธิบดีของทรูแมนได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก แต่นักวิชาการได้ฟื้นฟูภาพลักษณ์ของเขาใน ค.ศ. 1960 และได้รับการจัดอันดับว่าเป็นหนึ่งในประธานาธิบดีที่ดีที่สุด

หมายเหตุเรื่องชื่อ

[แก้]

ชื่อกลางของ แฮร์รี เอส ทรูแมน หรือตัว เอส ที่เห็นในชื่อนี้นั้นไม่ใช่อักษรย่อ และไม่มีคำเต็มแต่อย่างใด มีเพียงแค่ตัว เอส เท่านั้น ทรูแมนเคยกล่าวเล่น ๆ ว่าตัว เอส นั้นเป็นคำ ไม่ใช่อักษรย่อ ดังนั้นจึงไม่สมควรมีจุดด้านหลัง แต่สิ่งพิมพ์อย่างเป็นทางการต่าง ๆ นั้นใช้จุดลงท้ายตัวเอสแทบทั้งสิ้น ถึงกระนั้นการใช้จุดลงท้ายนั้นไม่ได้มีการใช้โดยทั่วไป ในปัจจุบันบางสิ่งพิมพ์ยังคงไม่เติมจุดหลังตัว เอส

ก่อนหน้า แฮร์รี เอส. ทรูแมน ถัดไป
แฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์
ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา คนที่ 33
(12 เมษายน พ.ศ. 2488 - 20 มกราคมพ.ศ. 2496)
ดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์
เฮนรี่ เอ. วอลเลซ
รองประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา คนที่ 34
(20 มกราคม พ.ศ. 2488 - 12 เมษายน พ.ศ. 2488)
อัลเบน บาร์กเลย์
ก่อนหน้า แฮร์รี เอส. ทรูแมน ถัดไป
ดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์ บุคคลแห่งปีของนิตยสารไทม์
(ค.ศ. 1945)
เจมส์ เอฟ. เบิร์นส
จอร์จ มาร์แชล บุคคลแห่งปีของนิตยสารไทม์
(ค.ศ. 1948)
วินสตัน เชอร์ชิล