ยัติภังค์
ยัติภังค์ หรือ เครื่องหมายขีด (hyphen) เป็นเครื่องหมายวรรคตอนสากลอย่างหนึ่ง มีลักษณะเป็นขีดแนวนอนสั้น ๆ กลางบรรทัด ยาวไม่เกิน 2 ตัวอักษร หากยาวกว่านั้นจะเรียกว่ายัติภาค
- ‐ | |
---|---|
ยัติภังค์ | |
การใช้งาน
แก้- ใช้รวมคำต่างชนิดกัน เพื่อใช้เป็นส่วนขยายหรือเพื่อให้เกิดคำใหม่ นิยมใช้ในภาษาอังกฤษและภาษาละตินอื่น ๆ
- twentieth-century invention
- cold-hearted person
- award-winning show
- สามารถใช้เป็นตัวแบ่งพยางค์ในการอ่านคำ
- ยัติภังค์ อ่านว่า ยัด-ติ-พัง
- syllabification = syl-lab-i-fi-ca-tion
- ใช้เขียนไว้เมื่อสุดบรรทัดและจำเป็นต้องแยกคำออกจากกัน เนื่องจากเนื้อที่จำกัดหรือแยกตามฉันทลักษณ์ ในทางคอมพิวเตอร์เรียกว่า ยัติภังค์เผื่อเลือก (soft hyphen)
ศาลภาษีอากรกลางตัดสินคดีนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะฟ้องเจ้า-
พนักงานประเมินภาษีส่งเงินภาษีรับโอนหุ้นคืนโดยไม่ชอบ โดยศาลวินิจ-
ฉัยว่าการขายหุ้นที่ได้มาจากการซื้อนอกตลาดหลักทรัพย์ ในตลาด-
หลักทรัพย์ ...
ปางเมื่อพระองค์ปรมพุท- | ธวิสุทธศาสดา |
ตรัสรู้อนุตรสมา- | ธิ ณ โพธิบัลลังก์ |
ขุนมารสหัสพหุพา- | หุวิชาวิชิตขลัง |
ขี่คีริเมขละประทัง | คชะเหี้ยมกระเหิมหาญ |
- ภาษาไทยใช้ยัติภังค์ในการอ้างถึงสระ เพื่อให้มองเห็นการวางตำแหน่งของสระ โดยสมมติให้ยัติภังค์เป็นพยัญชนะใด ๆ และอ่านเหมือนมี อ เป็นพยัญชนะต้น (บางเบราว์เซอร์อาจมองไม่เห็นรูปสระบนและล่าง)
- -ะ -า -ิ -ี -ื -ึ -ุ -ู เ-ะ เ- แ-ะ แ- ฯลฯ
- ภาษาไทยใช้ยัติภังค์แทนการบอกถึงการประมาณช่วงค่า หรือการบอกต้นทางไปยังปลายทาง อ่านว่า ถึง สามารถใช้ยัติภาคแทนได้ในกรณีที่เป็นข้อความยาว
- มือถือรุ่นนี้ราคาทั่วไป 8000-9000 บาท
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 (ปากเกร็ด - นครราชสีมา)
- ในทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ยัติภังค์สามารถใช้แทนการลบ หรือจำนวนติดลบ โดยจะเขียนให้ยาวกว่าปกติเล็กน้อย
- 3 − 2 = 1
- ศูนย์องศาสัมบูรณ์อยู่ที่ −273 องศาเซลเซียส
อักขระยูนิโคด
แก้จากเดิมในรหัสแอสกี ยัติภังค์และเครื่องหมายลบใช้สัญลักษณ์ตัวเดียวกันคือ (-) ที่ตำแหน่ง 0x2D
แต่สำหรับรหัสยูนิโคด ได้แยกสองเครื่องหมายนี้ออกจากกัน โดยยัติภังค์อยู่ที่ U+2010
(‐) และเครื่องหมายลบอยู่ที่ U+2212
(−) แต่ก็ยังคงอักขระตัวเดิมไว้ที่ U+002D
เพื่อให้ยังสามารถรองรับและเข้ากันได้กับรหัสแอสกี
นอกจากนี้ยังมีสัญลักษณ์ ยัติภังค์เผื่อเลือก (soft hyphen)[1] ที่ตำแหน่ง U+00AD
ซึ่งจะปรากฏเป็นเครื่องหมายขีดเมื่อมีการตัดคำที่ตำแหน่งที่ใส่ไว้ หากไม่มีการตัดคำจะไม่ปรากฏ และมีสัญลักษณ์ ยัติภังค์แบบไม่ตัดคำ (non-breaking hyphen) ที่ U+2011
(‑) เพื่อบังคับระบบคอมพิวเตอร์ว่าไม่ให้ตัดคำที่เครื่องหมายขีด ซึ่งทำงานคล้ายกับ เว้นวรรคแบบไม่ตัดคำ (non-breaking space)
โคดพอยต์ | อักขระ | HTML | ความหมาย |
---|---|---|---|
U+002D |
- | ไม่มี | hyphen-minus (ยัติภังค์หรือเครื่องหมายลบ) |
U+00AD |
| ­ |
soft hyphen (ยัติภังค์เผื่อเลือก) |
U+2010 |
‐ | ไม่มี | hyphen (ยัติภังค์) |
U+2011 |
‑ | ไม่มี | non-breaking hyphen (ยัติภังค์แบบไม่ตัดคำ) |
U+2212 |
− | − |
minus sign (เครื่องหมายลบ) |
อ้างอิง
แก้- ↑ "ความหมายของ soft hyphen". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-07. สืบค้นเมื่อ 2009-01-26.