ข้ามไปเนื้อหา

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเพิ่มเติม สิงหาคม พ.ศ. 2489

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเพิ่มเติม สิงหาคม พ.ศ. 2489

← มกราคม พ.ศ. 2489 5 สิงหาคม พ.ศ. 2489 พ.ศ. 2491 →

82 ที่นั่งเพิ่มเติมในสภาผู้แทนราษฎรไทย
ผู้ใช้สิทธิ34.92% เพิ่มขึ้น
  First party Second party Third party
 
ผู้นำ ควง อภัยวงศ์ ปรีดี พนมยงค์ ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์
พรรค ประชาธิปัตย์ สหชีพ แนวรัฐธรรมนูญ
เขตของผู้นำ ส.ส.พระนคร เขต 2 ส.ส.พระนครศรีอยุธยา เขต 2 ส.ส.พระนครศรีอยุธยา เขต 1
ที่นั่งก่อนหน้า 46 ที่นั่ง 33 ที่นั่ง 4 ที่นั่ง
ที่นั่งที่ชนะ 62 ที่นั่ง 58 ที่นั่ง 28 ที่นั่ง
ที่นั่งเปลี่ยน เพิ่มขึ้น 16 เพิ่มขึ้น 25 เพิ่มขึ้น 24

นายกรัฐมนตรีก่อนการเลือกตั้ง

ปรีดี พนมยงค์
สหชีพ

แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี

ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์
แนวรัฐธรรมนูญ

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเพิ่มเติม สิงหาคม พ.ศ. 2489 หรือที่ระบุในพระราชกฤษฎีกาว่า การเลือกตั้งเพิ่มสมาชิกสภาผู้แทน พุทธศักราช 2489[1] จัดขึ้นในวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2489 ถือเป็นการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนเป็นครั้งที่สองของปี พ.ศ. 2489 เพราะก่อนหน้านั้นมีการเลือกตั้งมาแล้วเมื่อต้นปีเดียวกัน

สืบเนื่องจากการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 ที่ได้ประกาศใช้ไม่นานก่อนหน้านี้ กำหนดให้ยกเลิกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ประเภทที่ 2 ที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง ทำให้ต้องมีการจัดการเลือกตั้งเพิ่มเติมขึ้น ในวันที่ 5 สิงหาคม ปีเดียวกัน เฉพาะใน 47 จังหวัด เพื่อให้ได้จำนวนสมาชิกครบ 82 คน ตามจำนวนของสภาฯ ผลของการเลือกตั้งพบว่า จากจำนวนผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งทั้งหมด 5,819,662 คน มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งจำนวน 2,026,823 คน คิดเป็นร้อยละ 34.92 จังหวัดที่มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งมากที่สุดคือ จังหวัดสกลนคร คิดเป็นร้อยละ 57.49 และจังหวัดที่มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งน้อยที่สุดคือ จังหวัดนราธิวาส คิดเป็นร้อยละ 16.62 [2]

ความน่าสนใจของการเลือกตั้งครั้งนี้ คือ เป็นการเลือกตั้งที่เกิดขึ้นในสภาวะการเมืองไทยเกิดความผันแปรอย่างรุนแรง เนื่องด้วยการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ซึ่งทำให้ ปรีดี พนมยงค์ นายกรัฐมนตรีต้องลาออกจากตำแหน่งเพื่อแสดงความรับผิดชอบ ท่ามกลางกระแสโจมตีและข่าวลือต่าง ๆ นานา

และระหว่างการหาเสียงเลือกตั้ง ได้ปรากฏความรุนแรงขึ้น เมื่อทางฝ่ายรัฐบาลได้โปรยใบปลิวทางเครื่องบินประณามฝ่ายค้าน โดยเรียกว่า "ผลงานชิ้นโบว์ดำ" พรรคประชาธิปัตย์ ขณะปราศรัยที่ถนนราชดำเนิน ท่ามกลางฝูงชนที่แออัดมาฟัง มีผู้ขับรถบรรทุก ซึ่งภายในบรรทุกอาวุธสงครามต่าง ๆ จำนวนมากจะฝ่าเข้ามา และในวันที่ 4 สิงหาคม ก่อนการเลือกตั้งจะมีขึ้นเพียงวันเดียว ที่วงเวียนเล็ก จังหวัดธนบุรี ไถง สุวรรณทัต ผู้สมัครของพรรคประชาธิปัตย์ได้ถูกปาระเบิดใส่เวที ได้รับบาดเจ็บสาหัสจนแพทย์ต้องตัดขาข้างขวาทิ้ง แต่นายไถงก็ยังได้รับเลือกเป็น ส.ส.ในที่สุด [3] [4]

โดยผลของการเลือกตั้งครั้งนี้ พรรคสหชีพมี สส. ที่ได้รับเลือกตั้งมากที่สุด จำนวนทั้งสิ้น 25 คน ส่วนพรรคประชาธิปัตย์ที่มี สส.เดิมในสภามากที่สุด กลับได้ สส.เพิ่มเพียง 16 คน

ผลการเลือกตั้ง

[แก้]
ชื่อพรรค หัวหน้าพรรค จำนวน ส.ส.
พรรคสหชีพ อดุล อดุลเดชจรัส 25 คน
พรรคแนวรัฐธรรมนูญ ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ 24 คน
พรรคประชาธิปัตย์ ควง อภัยวงศ์ 16 คน
พรรคอิสระ 6 คน


อ้างอิง

[แก้]
  1. ราชกิจจานุเบกษา (31 พฤษภาคม 1946). "พระราชกฤษฎีกาดำเนินการเลือกตั้งเพิ่มสมาชิกสภาผู้แทน พุทธศักราช ๒๔๘๙" (PDF). สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. สืบค้นเมื่อ 29 มกราคม 2023.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)[ลิงก์เสีย]
  2. โคทม อารียา, สารานุกรมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. ๒๕๔๐) หมวดองค์กรทางการเมือง เรื่องที่ ๕ ระบบการเลือกตั้ง, กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า, ๒๕๔๔
  3. หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช, ชีวลิขิต หน้า 140, กรุงเทพฯ : พรรคประชาธิปัตย์, ๒๕๔๘ ISBN 974-9353-50-1
  4. ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, กาลานุกรมสยามประเทศไทย 2485-2554 หน้า 28, กรุงเทพฯ : โพสต์บุ๊คส์ ๒๕๕๕ ISBN 978-974-228-070-3