ประเทศไทยใน พ.ศ. 2449
หน้าตา
| |||||
ดูเพิ่ม: |
---|
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน พ.ศ. 2449 (ค.ศ. 1906) ในประเทศไทย เป็นปีที่ 125 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และเป็นปีที่ 39 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และนับเป็นปี ร.ศ. 124 (1 มกราคม - 31 มีนาคม) และ 125 (1 เมษายน - 31 ธันวาคม) ในแบบปัจจุบัน
ผู้นำ
[แก้]- พระมหากษัตริย์: พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
- สยามมกุฎราชกุมาร: สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร
- เจ้าผู้ครองประเทศราช
- นครเชียงใหม่: เจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์
- นครลำปาง: เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต
- นครลำพูน: เจ้าอินทยงยศโชติ
เหตุการณ์
[แก้]- 1 เมษายน - หม่อมราชวงศ์สดับ ลดาวัลย์ เข้าถวายตัวเป็นเจ้าจอมในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
- 4 เมษายน - รวมเมืองระยอง จันทบุรี ขลุง เป็นมณฑลจันทบุรี
- 27 กรกฎาคม - ตั้งมณฑลปัตตานี
- 15 พฤศจิกายน - พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดสะพานผ่านพิภพลีลา
- 10 มกราคม - รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นิติบุคคลตั้งธนาคารสยามกัมมาจลขึ้น ปัจจุบันคือธนาคารไทยพาณิชย์
- 23 มีนาคม - ไทยต้องยกดินแดนมณฑลบูรพาได้แก่เสียมราฐ พระตะบอง และศรีโสภณ ให้ฝรั่งเศสเพื่อแลกกับจังหวัดตราดรวมถึงเกาะทั้งหลายจนถึงเกาะกูด คืนประเทศไทย
ผู้เกิด
[แก้]มกราคม
[แก้]- 4 มกราคม – พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศิริรัตนบุษบง พระบรมวงศ์ (สิ้นพระชนม์ พ.ศ. 2533)
- 9 มกราคม – หม่อมเจ้านิทัศนาธร จิรประวัติ พระอนุวงศ์ (สิ้นชีพิตักษัย พ.ศ. 2506)
- 14 มกราคม – ประพันธ์ กุลพิจิตร อดีตสมาชิกวุฒิสภา (อนิจกรรม พ.ศ. 2537)
- 18 มกราคม – จิ๊ด เศรษฐบุตร อดีตเอกอัครราชทูตไทยประจำยูโกสลาเวีย (อนิจกรรม พ.ศ. 2538)
- 28 มกราคม – หม่อมหลวงต้อย ชุมสาย นักหนังสือพิมพ์ (อนิจกรรม พ.ศ. 2504)
กุมภาพันธ์
[แก้]- 5 กุมภาพันธ์ – ชิ้น ศิลปบรรเลง ศิลปินแห่งชาติ (อนิจกรรม พ.ศ. 2531)
- 8 กุมภาพันธ์ – เสรี อิศรางกูร ณ อยุธยา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตราธิการคนที่ 7 (อนิจกรรม พ.ศ. 2537)
- 20 กุมภาพันธ์ – ไถง สุวรรณทัต อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดธนบุรี (อนิจกรรม พ.ศ. 2535)
มีนาคม
[แก้]- 6 มีนาคม – พระครูเกษมธรรมนันท์ (แช่ม ฐานุสฺสโก) เจ้าอาวาสวัดดอนยายหอม (มรณภาพ พ.ศ. 2536)
- 7 มีนาคม – พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ามยุรฉัตร พระอนุวงศ์ (สิ้นพระชนม์ พ.ศ. 2513)
- 8 มีนาคม – หม่อมเจ้าประโลมจิตร ไชยันต์ พระอนุวงศ์ (สิ้นชีพิตักษัย พ.ศ. 2513)
- 21 มีนาคม – เจมส์ ทอมป์สัน นักธุรกิจ (สาบสูญ พ.ศ. 2510)
- 31 มีนาคม – กุหลาบ สายประดิษฐ์ (ศรีบูรพา) นักหนังสือพิมพ์ (เสียชีวิต พ.ศ. 2517)
เมษายน
[แก้]- 15 เมษายน – พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี พระมเหสีในรัชกาลที่ 6 (สิ้นพระชนม์ พ.ศ. 2528)
- 21 เมษายน – บุญผ่อง สิริเวชชะพันธ์ อดีตนายกเทศมนตรีเมืองกาญจนบุรี (อนิจกรรม พ.ศ. 2525)
- 23 เมษายน – หม่อมเจ้ากมลีสาณ ชุมพล พระอนุวงศ์ (สิ้นชีพิตักษัย พ.ศ. 2521)
- 24 เมษายน – พระมงคลวิสุต (ดวงดี สุภทฺโท) เจ้าคณะตำบลทุ่งสะโตก (มรณภาพ พ.ศ. 2553)
- 25 เมษายน – มาลัย ชูพินิจ นักเขียน (เสียชีวิต พ.ศ. 2506)
พฤษภาคม
[แก้]- 5 พฤษภาคม – หม่อมเจ้าทองประทาศรี ทองใหญ่ พระอนุวงศ์ (สิ้นชีพิตักษัย พ.ศ. 2526)
- 9 พฤษภาคม
- ทองอินทร์ ภูริพัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมคนที่ 7 (อนิจกรรม พ.ศ. 2492)
- หม่อมเจ้าเผ่าเพ็ญพัฒน์ เพ็ญพัฒน์ พระอนุวงศ์ (สิ้นชีพิตักษัย พ.ศ. 2503)
- 15 พฤษภาคม – พระครูรัตนสราธิคุณ (ทอง รตนสาโร) เจ้าคณะอำเภอสระแก้ว (มรณภาพ พ.ศ. 2523)
- 27 พฤษภาคม – พระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินฺทปญฺโญ) (พุทธทาสภิกขุ) อดีตเจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร (มรณภาพ พ.ศ. 2536)
มิถุนายน
[แก้]- 7 มิถุนายน – ไชย ประทีปะเสน เลขาธิการนายกรัฐมนตรีคนที่ 1 (อนิจกรรม พ.ศ. 2504)
- 30 มิถุนายน – วิจิตร ลุลิตานนท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังคนที่ 12 (อนิจกรรม พ.ศ. 2530)
กรกฎาคม
[แก้]- 1 กรกฎาคม
- สุรจิต จารุเศรนี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรคนที่ 22 (อนิจกรรม พ.ศ. 2511)
- เจ้าพงศ์ธาดา ณ ลำพูน ผู้สืบสกุลเจ้าผู้ครองนครลำพูน (พิราลัย พ.ศ. 2538)
- 7 กรกฎาคม – นิสสัย โรจนะหัสดิน อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลา (อนิจกรรม พ.ศ. 2530)
สิงหาคม
[แก้]- 11 สิงหาคม – หม่อมเจ้ารังษิยากร อาภากร อดีตรัฐมนตรี (สิ้นชีพิตักษัย พ.ศ. 2508)
- 30 สิงหาคม – หม่อมเจ้าคัสตาวัส จักรพันธุ์ อดีตเอกอัครราชทูตไทยประจำนอร์เวย์ (สิ้นชีพิตักษัย พ.ศ. 2526)
กันยายน
[แก้]- 15 กันยายน – พระอธิการเอื้อม กตฺปฺญฺโญ เจ้าอาวาสวัดบางเนียน (มรณภาพ พ.ศ. 2557)
- 29 กันยายน – สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (วิน ธมฺมสาโร) อดีตสังฆมนตรีช่วยว่าการองค์การศึกษา (มรณภาพ พ.ศ. 2536)
ตุลาคม
[แก้]- 25 ตุลาคม – บุศรินทร์ ภักดีกุล อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนคร (อนิจกรรม พ.ศ. 2532)
- 28 ตุลาคม – โม่ สัมบุณณานนท์ นักมวยสากล (ไม่ทราบปีเสียชีวิต)
พฤศจิกายน
[แก้]- 2 พฤศจิกายน – หม่อมหลวงปีกทิพย์ มาลากุล ปลัดกระทรวงการต่างประเทศคนที่ 11 (อนิจกรรม พ.ศ. 2517)
- 25 พฤศจิกายน – สุกิจ นิมมานเหมินท์ รองนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 13 (อนิจกรรม พ.ศ. 2519)
- 28 พฤศจิกายน – ประเสริฐ สุดบรรทัด อดีตรองประธานสภาผู้แทนราษฎร (อนิจกรรม พ.ศ. 2523)
ธันวาคม
[แก้]- 30 ธันวาคม – หม่อมเจ้าเพลิงนภดล รพีพัฒน์ อดีตเอกอัครราชทูตไทยประจำสหราชอาณาจักร (สิ้นชีพิตักษัย พ.ศ. 2528)
ไม่ทราบวัน
[แก้]- ทองอินทร์ ปัณฑรานนท์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ (อนิจกรรม พ.ศ. 2528)
- เพิ่ม ลิมปสวัสดิ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมคนที่ 22 (อนิจกรรม พ.ศ. 2529)
- เจ้าบุญสารเสวตร์ ณ ลำปาง พระราชวงศ์ลำปาง (ไม่ทราบปีพิราลัย)
ผู้เสียชีวิต
[แก้]เมษายน
[แก้]- 4 เมษายน – พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรไทยเทพกัญญา พระบรมวงศ์ (ประสูติ พ.ศ. 2402)
พฤษภาคม
[แก้]- 29 พฤษภาคม – คลี่ บุนนาค ข้าหลวง (เกิด พ.ศ. 2374)
มิถุนายน
[แก้]- 20 มิถุนายน – พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิศาลบวรศักดิ์ พระบรมวงศ์ (ประสูติ พ.ศ. 2384)
กันยายน
[แก้]- 10 กันยายน – เจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทศ บุนนาค) ข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลราชบุรีคนที่ 1 (เกิด พ.ศ. 2384)
- 13 กันยายน – พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทักษิณชา นราธิราชบุตรี พระมเหสีในรัชกาลที่ 5 (ประสูติ พ.ศ. 2395)
ตุลาคม
[แก้]- 7 ตุลาคม – พระชลโธปมคุณมุนี (พุฒ ปุณฺณโก) เจ้าคณะภาคตะวันออก (เกิด พ.ศ. 2361)
- 18 ตุลาคม – พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพักตร์พิมลพรรณ พระบรมวงศ์ (ประสูติ พ.ศ. 2397)