วิชัย ชัยจิตวณิชกุล
วิชัย ชัยจิตวณิชกุล | |
---|---|
วิชัย ใน พ.ศ. 2563 | |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ | |
ดำรงตำแหน่ง 24 ตุลาคม – 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 22 เมษายน พ.ศ. 2498 จังหวัดขอนแก่น ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ความหวังใหม่ (2535–2544) ชาติพัฒนา (2544–2548) ไทยรักไทย (2548–2550) พลังพลเมืองไทย (2561–2563) เพื่อประชาชน (2563–2564) |
คู่สมรส | จารุวรรณ ชัยจิตวณิชกุล |
นายแพทย์วิชัย ชัยจิตวณิชกุล (เกิด 22 เมษายน พ.ศ. 2498) เป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี และอดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย
ประวัติ
[แก้]วิชัย ชัยจิตวณิชกุล เกิดเมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2498 เป็นบุตรชาญณรงค์ กับอรอวล ชัยจิตวณิชกุล[1] สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ด้านวิทยาศาสตร์ จากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และแพทยศาสตร์ จากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดลเช่นเดียวกัน
นายแพทย์วิชัย สมรสกับนางจารุวรรณ ชัยจิตวณิชกุล อดีตผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี พรรคเพื่อแผ่นดิน
การทำงาน
[แก้]วิชัย ชัยจิตวณิชกุล มีอาชีพหลักเป็นแพทย์ เคยเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลอำเภอเพ็ญ ต่อมาได้เข้ามาทำงานการเมืองโดยได้รับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 สังกัดพรรคความหวังใหม่ เป็นสมัยแรก และได้รับเลือกตั้งเรื่อยมาอีกในปี พ.ศ. 2535 (กันยายน) พ.ศ. 2538 และ พ.ศ. 2539 จากนั้นในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 เขาได้รับเลือกตั้งในนามพรรคชาติพัฒนา และได้เข้าร่วมกับพรรคไทยรักไทยในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2548 ในครั้งนั้นเขาได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการบริหารพรรค และถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองพร้อมกับสมาชิกบ้านเลขที่ 111 ด้วย
นายแพทย์วิชัย เคยดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมืองหลายตำแหน่ง และในปี พ.ศ. 2540 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ[2] ซึ่งเป็นช่วงหลังเกิดวิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540
ในปี พ.ศ. 2561 เขาได้ร่วมกับนักการเมืองหลายคนในการจัดตั้งพรรคการเมืองในชื่อพรรคพลังพลเมืองไทย[3] และรับตำแหน่งรองหัวหน้าพรรค[4] ต่อมาได้ร่วมกับ ปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข จัดตั้งพรรคเพื่อประชาชน ขึ้น[5]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2545 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[6]
- พ.ศ. 2542 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย]
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 114 ตอนพิเศษ 100ง วันที่ 24 ตุลาคม 2540
- ↑ "อดีตสส. 30 คน ตั้งพรรคพลังพลเมืองสู้เลือกตั้ง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-25. สืบค้นเมื่อ 2018-03-06.
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/D/070/T137.PDF
- ↑ เปิดตัว “พรรคเพื่อประชาชน” ปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข อดีตรัฐมนตรีนั่งหัวหน้าพรรค ชูนโยบายปราบยาเสพติด แก้ปัญหาความยากจน
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-05-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๙, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๒
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2498
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากจังหวัดขอนแก่น
- แพทย์ชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี
- พรรคความหวังใหม่
- พรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2535)
- นักการเมืองพรรคไทยรักไทย
- พรรคพลเมืองไทย
- พรรคพลังประชารัฐ
- พรรคเพื่อประชาชน
- บุคคลจากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- บุคคลจากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.