อำเภอจะนะ
อำเภอจะนะ | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Chana |
หอนาฬิกาจะนะ | |
คำขวัญ: นกเขาชวาเสียง สำเนียงสะกอม วัฒนธรรมหล่อหลอม ออมทรัพย์เด่นดัง | |
แผนที่จังหวัดสงขลา เน้นอำเภอจะนะ | |
พิกัด: 6°54′51″N 100°44′26″E / 6.91417°N 100.74056°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | สงขลา |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 502.98 ตร.กม. (194.20 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 108,245 คน |
• ความหนาแน่น | 215.21 คน/ตร.กม. (557.4 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 90130 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 9003 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอจะนะ หมู่ที่ 2 ถนนราษฎร์บำรุง ตำบลบ้านนา อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา 90130 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
จะนะ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสงขลา เป็นอำเภอที่มีสัดส่วนประชากรที่นับศาสนาอิสลามมากที่สุดอำเภอหนึ่งในจังหวัดสงขลา มีความอุดมสมบูรณ์จากระบบนิเวศทั้งทางทะเล และทางบก และเป็นหนึ่งในสี่อำเภอจังหวัดสงขลาที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มพื้นที่ที่ยังมีเหตุการณ์ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย และมีปัญหาการประท้วงการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมจะนะ
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]อำเภอจะนะมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอเมืองสงขลาและอ่าวไทย
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอ่าวไทยและอำเภอเทพา
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอนาทวีและอำเภอสะเดา
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอหาดใหญ่และอำเภอนาหม่อม
ประวัติ
[แก้]จะนะเดิมเป็นเมืองขึ้นของเมืองพัทลุง ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 4 เมือง ได้แก่ ปะเหลียน จะนะ เทพา และสงขลา ต่อมา สงขลาได้แยกออกจากเมืองพัทลุง จะนะจึงไปขึ้นกับเมืองสงขลา มีฐานะเป็นเมือง หน้าด่านทางตอนใต้และมีการสู้รบกับหัวเมืองมลายูตลอดเวลา ขณะนี้เป็นเมืองขึ้นของพัทลุง เจ้าพระยาพัทลุง (บุน) ได้แต่งตั้งนายอินทร์ หรือเณรน้องชาย เป็นเจ้าเมืองจะนะ มีพระราชทินนามว่า “พระมหานุภาพปราบสงคราม” ซึ่งบ่งบอกให้รู้ว่าเจ้าเมืองเป็นนักรบ เมืองจะนะจึงน่าจะเป็นสมรภูมิรบ ที่ตั้งเมืองจะนะในขณะนั้นคือที่นาทวีเมืองจะนะไปเป็นเมืองขึ้นของสงขลา เจ้าเมืองสงขลาได้แต่งตั้งให้นายฉิน บุตรของอดีตเจ้าเมืองสงขลา (โยม) ขึ้นเป็นขุนรองราชมนตรี คุมไพร่ส่วยดีบุก 9 หมวด ทำให้เมืองจะนะกับเมืองสงขลา มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกัน
อนึ่งที่ตั้งของเมืองจะนะนั้น มีการย้ายเมืองอยู่บ่อย ๆ เนื่องจากเป็นเมืองที่ต้องทำการรบอยู่ตลอดเวลา ระยะแรกเชื่อว่าเมืองจะนะตั้งอยู่ที่วังดาโต๊ะหรือวังโต้ที่อำเภอนาทวีปัจจุบัน ซึ่งอาจเป็นไปได้ เพราะเจ้าเมืองจะนะคนแรกคือ พระมหานุภาพปราบสงคราม (อินทร์หรือเณร) บุตรพระยาราชบังสันซึ่งเป็นมุสลิม ต่อมาได้ย้ายเมืองไปอยู่ที่ปลักจะนะ และย้ายไปที่บ้านในเมือง ตำบลป่าชิงปัจจุบัน จากนั้นย้ายไปตั้งที่ตำบลจะโหนง เมื่อเปลี่ยนการปกครองแบบเทศาภิบาล อำเภอจะนะก็ไปตั้งที่ว่าการที่อำเภอนาทวี แต่ด้วยเหตุที่การคมนาคมไม่ค่อยสะดวก จึงย้ายไปตั้งที่ใหม่ ที่ตำบลบ้านนา พร้อมเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอบ้านนา แต่ไปพ้องกับชื่ออำเภอบ้านนา จังหวัดสุราษฎร์ธานี จึงได้เปลี่ยนชื่อไปเป็น อำเภอจะนะ[1] ตามเดิม
- วันที่ 29 เมษายน 2460 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา เป็น อำเภอบ้านนา[2] และย้ายที่ว่าการอำเภอจะนะ จากตำบลนาทวี ไปตั้งที่ตำบลบ้านนา และเรียกชื่ออำเภอว่า อำเภอบ้านนา และที่ว่าการอำเภอเดิม ให้ตั้งเป็นกิ่งอำเภอ เรียกชื่อกิ่งอำเภอว่า "กิ่งอำเภอนาทวี"
- วันที่ 1 มิถุนายน 2467 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอบ้านนา จังหวัดสงขลา เป็น อำเภอจะนะ[1]
- วันที่ 12 ธันวาคม 2481 โอนพื้นที่หมู่ 13–15 (ในขณะนั้น) ตำบลป่าชิง ไปขึ้นตำบลนาหว้า กับโอนพื้นที่หมู่ 6 (ในขณะนั้น) ตำบลสะพานไม้แก่น ไปขึ้นตำบลบ้านนา กับโอนพื้นที่หมู่ 7,9 (ในขณะนั้น) ตำบลนาทับ ไปขึ้นกับตำบลจะโหนง และโอนพื้นที่หมู่ 2 (ในขณะนั้น) ตำบลจะโหนง ไปขึ้นกับตำบลนาทับ[3]
- วันที่ 1 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลป่าชิง แยกออกจากตำบลนาหว้า ตั้งตำบลจะโหนง แยกออกจากตำบลคลองเปียะ ตั้งตำบลฉาง แยกออกจากตำบลนาทวี ตั้งตำบลคลองทราย แยกออกจากตำบลนาหมอศรี ตั้งตำบลท่าประดู่ แยกออกจากตำบลปลักหนู และตั้งตำบลสะท้อน แยกออกจากตำบลทับช้าง[4]
- วันที่ 24 พฤศจิกายน 2492 ตั้งตำบลแค แยกออกจากตำบลขุนตัดหวาย และตำบลน้ำขาว[5]
- วันที่ 5 มิถุนายน 2499 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอนาทวี อำเภอจะนะ เป็น อำเภอนาทวี[6]
- วันที่ 26 มกราคม 2500 จัดตั้งสุขาภิบาลจะนะ ในท้องที่บางส่วนของตำบลบ้านนา[7]
- วันที่ 23 สิงหาคม 2526 ตั้งตำบลตลิ่งชัน แยกออกจากตำบลบ้านนา[8]
- วันที่ 3 ธันวาคม 2526 กำหนดเขตตำบลตลิ่งชัน อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา[9] ให้มีความถูกต้องแม่นยำ และยกเลิกเขตตำบลตลิ่งชัน ในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ปี พ.ศ. 2526[8]
- วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลจะนะ เป็นเทศบาลตำบลจะนะ[10] ด้วยผลของกฎหมาย
- วันที่ 26 กรกฎาคม 2554 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านนา เป็น เทศบาลตำบลบ้านนา[11]
- วันที่ 31 สิงหาคม 2555 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลนาทับ เป็น เทศบาลตำบลนาทับ[12]
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]อำเภอจะนะแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 14 ตำบล 139 หมู่บ้าน
1. | บ้านนา | (Ban Na) | 10 หมู่บ้าน | ||||
2. | ป่าชิง | (Pa Ching) | 9 หมู่บ้าน | ||||
3. | สะพานไม้แก่น | (Saphan Mai Kaen) | 8 หมู่บ้าน | ||||
4. | สะกอม | (Sakom) | 9 หมู่บ้าน | ||||
5. | นาหว้า | (Na Wa) | 12 หมู่บ้าน | ||||
6. | นาทับ | (Na Thap) | 14 หมู่บ้าน | ||||
7. | น้ำขาว | (Nam Khao) | 11 หมู่บ้าน | ||||
8. | ขุนตัดหวาย | (Khun Tat Wai) | 9 หมู่บ้าน | ||||
9. | ท่าหมอไทร | (Tha Mo Sai) | 11 หมู่บ้าน | ||||
10. | จะโหนง | (Chanong) | 11 หมู่บ้าน | ||||
11. | คู | (Khu) | 9 หมู่บ้าน | ||||
12. | แค | (Khae) | 7 หมู่บ้าน | ||||
13. | คลองเปียะ | (Khlong Pia) | 11 หมู่บ้าน | ||||
14. | ตลิ่งชัน | (Taling Chan) | 8 หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]ท้องที่อำเภอจะนะประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 15 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลจะนะ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลบ้านนา
- เทศบาลตำบลบ้านนา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านนา (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลจะนะ)
- เทศบาลตำบลนาทับ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาทับทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลป่าชิง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลป่าชิงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลสะพานไม้แก่น ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสะพานไม้แก่นทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลสะกอม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสะกอมทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลนาหว้า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาหว้าทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำขาว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลน้ำขาวทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลขุนตัดหวาย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลขุนตัดหวายทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลท่าหมอไทร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าหมอไทรทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลจะโหนง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลจะโหนงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลคู ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคูทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลแค ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแคทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลคลองเปียะ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองเปียะทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลตลิ่งชัน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตลิ่งชันทั้งตำบล
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "ประกาศเปลี่ยนนามอำเภอบ้านนาในมณฑลนครศรีธรรมราช" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 41 (0 ง): 539. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-10. สืบค้นเมื่อ 2022-10-09. วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2467
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 34 (0 ก): 40–68. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-07. สืบค้นเมื่อ 2022-10-09. วันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2460
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในจังหวัดสงขลา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 55 (0 ง): 3039–3040. วันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2481
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (26 ง): 1114–1433. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2022-10-09. วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2490
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 66 (29 ง): 2244–2245. วันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2492
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งอำเภอนาทวี อำเภอสะบ้าย้อย อำเภอคำชะอี อำเภอย่านตาขาว อำเภอวัดโบสถ์ อำเภอหนองบัว อำเภอวัฒนานคร อำเภอแสวงหา อำเภอท่าชนะ อำเภอพระพุทธบาท อำเภอโนนสัง อำเภอบำเหน็จณรงค์ อำเภอคอนสวรรค์ อำเภอบ้านโฮ่ง อำเภอคีรีมาศ อำเภอชนแดน อำเภอแม่แจ่ม อำเภอไทรน้อย และอำเภอบ้านแพง พ.ศ. ๒๔๙๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (46 ก): 657–661. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-10-11. สืบค้นเมื่อ 2022-10-09. วันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2499
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลจะนะ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 74 (10 ง): (ฉบับพิเศษ) 49-50. วันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2500
- ↑ 8.0 8.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 100 (137 ง): 2942–2945. วันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2526
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 110 (201 ง): (ฉบับพิเศษ) 54-56. วันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2536
- ↑ "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2022-10-09 – โดยทาง ให้บรรดาสุขาภิบาลตามกฎหมายว่าด้วยสุขาภิบาลที่มีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีฐานะเป็นเทศบาลตำบลตามกฎหมายว่าด้วยเทศบาลในพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ. วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542
- ↑ "จัดตั้งเทศบาลจาก องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านนา เป็น เทศบาลตำบลบ้านนา". กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น: 1. วันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
- ↑ "เปลี่ยนฐานะจาก องค์การบริหารส่วนตำบลนาทับ เป็น เทศบาลตำบลนาทับ". กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น: 1. วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555