ข้ามไปเนื้อหา

ฟุตบอลโลก 1994

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก 1994 FIFA World Cup)
ฟุตบอลโลก 1994
World Cup '94
สัญลักษณ์ฟุตบอลโลก 1994 อย่างเป็นทางการ
รายละเอียดการแข่งขัน
ประเทศเจ้าภาพสหรัฐ
วันที่17 มิถุนายน17 กรกฎาคม
ทีม24 (จาก 5 สมาพันธ์)
สถานที่(ใน 9 เมืองเจ้าภาพ)
อันดับเมื่อสิ้นสุดการแข่งขัน
ชนะเลิศธงชาติบราซิล บราซิล (สมัยที่ 4)
รองชนะเลิศธงชาติอิตาลี อิตาลี
อันดับที่ 3ธงชาติสวีเดน สวีเดน
อันดับที่ 4ธงชาติบัลแกเรีย บัลแกเรีย
สถิติการแข่งขัน
จำนวนนัดที่แข่งขัน52
จำนวนประตู141 (2.71 ประตูต่อนัด)
ผู้ชม3,587,538 (68,991 คนต่อนัด)
ผู้ทำประตูสูงสุดบัลแกเรีย ฮริสโต้ สตอยช์คอฟ
รัสเซีย โอเล็ก ซาเลนโก้
(6 ประตู)
ผู้เล่นยอดเยี่ยมบราซิล โรมาริโอ
1990
1998

ฟุตบอลโลก 1994 (พ.ศ. 2537) เป็นฟุตบอลโลกครั้งที่ 15 จัดที่ประเทศสหรัฐ มีสมาชิกที่ผ่านรอบคัดเลือกร่วมทั้งหมด 24 ทีม โดยเป็นครั้งแรกที่ฟุตบอลโลกจัดการแข่งขันที่ทวีปอเมริกาเหนือด้วย และเป็นครั้งแรกที่ใช้การนับแต้มระบบ ชนะได้ 3 แต้มซึ่งเป็นการคาดหวังว่าจะทำให้ทุกทีมหันมาเน้นกันทำประตูกันมากขึ้น

โดยในครั้งนี้ไม่มีมหาอำนาจลูกหนังโลกขวัญใจชาวไทย อย่างอังกฤษ และ ฝรั่งเศสลงแข่งขันด้วย เนื่องจากไม่ผ่านรอบคัดเลือก

เหตุการณ์สำคัญ

[แก้]
  • โคลอมเบียที่สร้างผลงานได้ดีในรอบคัดเลือก จนเป็นที่จับตามองของแฟนฟุตบอลว่าจะสามารถทำผลงานได้ดี แต่ปรากฏว่ากลับตกเพียงรอบแรก โดยเฉพาะในนัดที่แพ้สหรัฐอเมริกา 2:1 อันเดรียส เอสโคบาร์ ผู้เล่นของโคลอมเบีย ทำลูกเข้าประตูด้วยตัวเอง เมื่อกลับประเทศไปได้เมื่อไม่นาน เอสโคบาก็ถูกยิงจนเสียชีวิต สาเหตุเนื่องจากนักพนันชาวโคลอมเบียเองที่เสียพนันจากในการเล่นพนันฟุตบอล [1]
  • สำหรับการดวลจุดโทษนัดชิงชนะเลิศ ระหว่าง บราซิล และ อิตาลี ผลคือบราซิลชนะไป 3-2 ผู้พลาดยิงจุดโทษของอิตาลีคือ ฟรังโก้ บาเรซี่(เอซีมิลาน) ดานิเอเล่ มัซซาโร่ (เอซี มิลาน) โรแบร์โต้ บาจโจ้ (ยูเวนตุส)ผู้ทำประตูได้ คือ อัลบริเอโก เอวานี่ (ซามพ์โดเรีย) เดเมติโอ อัลแบร์ตินี่ (เอซี มิลาน) ผู้ยิงพลาดของบราซิลคือ มาซิโอ ซานโต้ส ส่วนผู้ทำประตูได้ของบราซิลคือ โรมาริโอ บรังโก้ และ กัปตันทีม ดุงก้า ตามลำดับ [2]
  • สเตฟาน แอฟเฟนแบร์ก ผู้เล่นของเยอรมนีถูกส่งกลับประเทศทันที เมื่อไปชูสัญลักษณ์นิ้วกลางใส่กองเชียร์ทีมชาติตนเองในนัดที่เยอรมนีพบกับเกาหลีใต้
  • ท่าดีใจที่ได้รับการโหวตว่าน่ารักที่สุดในครั้งนี้คือ ท่าอุ้มลูก ของ เบเบโต้ กองหน้าหมายเลข 7 ของบราซิล ขณะที่ท่าที่น่าเกลียดที่สุดคือ ท่าชูนิ้วกลางของ สเตฟาน แอฟเฟนเบิร์ก
  • เป็นครั้งแรกที่นัดชิงชนะเลิศ ไม่มีทีมใดสามารถทำประตูได้เลยแม้จะต่อเวลาจนครบ 120 นาที แล้ว จึงต้องตัดสินการที่ดวลประตูที่จุดโทษ ปรากฏว่าบราซิลเอาชนะอิตาลีไปได้ 3:2 ซึ่งในครั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นบราซิลหรืออิตาลี ทีมไหนชนะเลิศ ก็จะเป็นทีมแรกในโลกที่ได้แชมป์ฟุตบอลโลกเป็นชาติแรกถึง 4 สมัย
  • ชุดที่ใช้แข่งขันในครั้งนี้ ทางฟีฟ่าอนุญาตให้ใช้ชุดแข่งที่มีสีสันฉูดฉาดได้ จึงมีเสื้อทีมหลายทีมที่มีสีสันและลวดลายสดสวยกว่าทุกครั้ง
  • เป็นครั้งแรกที่แข่งขันกันที่สหรัฐอเมริกา ประเทศที่ผู้คนไม่ชื่นชอบฟุตบอลเลย หรือแม้แต่บางคนยังไม่รู้จักกีฬาชนิดนี้เสียด้วยซ้ำ แม้แต่ก่อนการแข่งขันจะเริ่ม ได้มีการสำรวจความคิดเห็นของชาวอเมริกัน บางคนไม่รู้ด้วยซ้ำว่า จะมีฟุตบอลโลกแข่งขันที่ประเทศตน แต่เมื่อการแข่งขันได้เริ่มขึ้นและจบลงด้วยดี ก็ทำสถิติเป็นฟุตบอลโลกครั้งที่มีผู้ติดตามชมมากที่สุดในขณะนั้น สำหรับผลงานของทีมสหรัฐประเทศเจ้าภาพ ก็สามารถไปสู่รอบสองได้ ก่อนที่แพ้ตกรอบในการเจอกับบราซิล ซึ่งได้แชมป์ไป ในส่วนของประเทศไทยเป็นครั้งแรกด้วยที่มีการถ่ายทอดฟุตบอลโลกครบทุกนัดและเป็นการถ่ายทอดในเวลาเช้าตรู่ตามเวลาในประเทศ
  • ผู้รักษาประตูที่ได้ชื่อว่าดีที่สุดในทัวร์นาเม้นท์คือ มิเชล พรูดอม ของเบลเยี่ยม นอกจากนั้นยังมีผู้รักษาประตูที่โชว์ผลงานได้ยอดเยี่ยมอีกมากมาย อาทิ โทมัส ราเวลลี่ ของสวีเดน (โกเตนเบิร์ก) จิอันลูก้า ปายูก้า อิตาลี (ซามพ์โดเรีย) ฮอร์เก้ คัมโปส ของเม็กซิโก และ ทัฟฟาเรล ของบราซิล (ปาร์ม่า)
  • หนึ่งในสามทหารเสือ ของฮอลแลนด์ ที่เข้าร่วมการแข่งขันครั้งนี้มีคนเดียวคือ แฟรงค์ รายกาจ ส่วน รุด กุลลิต และ มาร์โค แวนบาสเท่น ไม่ได้ร่วมทีมกับฮอลแลนด์ในครั้งนี้ โดยแวนบาสเท่นต้องแขวนสตั๊ดไปอีกไม่นาน เพราะการบาดเจ็บเรื้อรัง ทีมชาติ ฮอลแลนด์ นำทีมโดยกัปตันทีม แดนนี่ บลิน(อาแจ๊กซ์) และ เดนนิส เบิร์กแคมป์ (อินเตอร์มิลาน) ซึ่งทีมชาติฮอลแลนด์ผ่านเข้าไปถึงรอบ แปดทีมสุดท้าย พบกับ บราซิล แล้วพ่ายไปอย่างน่าเสียดายโดยลูกยิงฟรีคิกของ บรังโก้ ทีมชาติบราซิลตัวเก๋า
  • อิตาลีรองแชมป์โลก ภายใต้การคุมทีมของ อาริโก ชาคคี่ ใช้งานนักเตะเกือบทุกคนหมุนเวียนจนหมดแทบทุกต่ำแหน่ง ยกเว้น ลอเรนโซ่ มินอตติ กองหลัง และ ผู้รักษาประตูมือสาม ลูก้า บุชชี่ ซึ่งมาจาก ปาร์ม่าทั้งคู่
  • เรื่องราวที่น่าสนใจอีก 1 เรื่องในปี 1994 คือ อาถรรพ์ ทีมใหญ่ ทีมชาติฝรั่งเศส พลาดโอกาสไปบอลโลก เพราะในการแข่งขันของ 2 นัดสุดท้าย ทีมชาติฝรั่งเศส ดันแพ้ให้กับทีมท้ายตารางอย่าง ทีมชาติอิสราเอล 1 นัด และแพ้ให้กับ ทีมชาติบัลแกเรีย อีก 1 นัด โดยในการแข่งขันของทั้ง 2 นัดนี้ ทีมชาติฝรั่งเศสก็ถูกทำประตูในช่วงทดเวลาบาดเจ็บทั้ง 2 นัด จึงส่งผลให้ไม่ได้ไปต่อในรอบต่อไปนั้นเอง และนอกจากทีมใหญ่อย่างฝรั่งเศสตกรอบแล้ว ทีมชาติอังกฤษก็เป็นอีก 1 ทีมที่ไม่ได้ไปต่อ เนื่องจากตกรอบในการแข่งขันรอบคัดเลือก โดยแพ้การแข่งขันให้กับทีมชาตินอร์เวย์ และ ทีมชาติฮอลแลนด์ ส่งผลให้ตกรอบในการแข่งขันฟุตบอลโลกปี 1994

รายชื่อประเทศที่เข้ารอบ

[แก้]

สนามแข่งขัน

[แก้]
แพซาดีนา
(Los Angeles area)
Stanford, California
(San Francisco Bay area)
Pontiac, Michigan
(Detroit area)
East Rutherford, New Jersey
(New York City area)
Rose Bowl Stanford Stadium Pontiac Silverdome Giants Stadium
Capacity: 94,194 Capacity: 84,147 Capacity: 77,557 Capacity: 76,322
แดลลัส
Cotton Bowl
Capacity: 63,998
ชิคาโก ออร์แลนโด Foxborough, Massachusetts
(Boston area)
วอชิงตัน ดี.ซี.
Soldier Field Citrus Bowl Foxboro Stadium Robert F. Kennedy Memorial Stadium
Capacity: 63,160 Capacity: 62,387 Capacity: 54,456 Capacity: 53,121

อ้างอิง

[แก้]