ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ห่อหมก"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Aec9988 (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่มรายละเอียดของเนื้อหา
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว แก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยเว็บอุปกรณ์เคลื่อนที่
Aec9988 (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่มเนื้อหาเพื่อให้ละเอียดมากขึ้น
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว แก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยเว็บอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 24: บรรทัด 24:
[[ประเทศกัมพูชา]]รับห่อหมกจากสยามไป หลังสยามแผ่อำนาจสู่ดินแดนกัมพูชาช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 13-14 และเขมรจะใช้[[เกรือง]] ซึ่งไม่มี[[พริก]]เป็นส่วนประกอบหลักอย่างห่อหมกของไทย แต่ระยะหลังชาวเขมรเริ่มมีการใส่พริกแห้งลงไปด้วย แต่ก็น้อยมากหากเทียบกับการกินพริกของคนไทย<ref name="มติชน">{{cite web |url= https://www.matichonacademy.com/content/recipes/article_18584 |title= เปิดสูตร 5 อาหารจานเด็ดกัมพูชา ทำกินเองได้ที่บ้าน |author=|date=|work= Matichon Academy |publisher=|accessdate= 22 ธันวาคม 2565}}</ref>
[[ประเทศกัมพูชา]]รับห่อหมกจากสยามไป หลังสยามแผ่อำนาจสู่ดินแดนกัมพูชาช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 13-14 และเขมรจะใช้[[เกรือง]] ซึ่งไม่มี[[พริก]]เป็นส่วนประกอบหลักอย่างห่อหมกของไทย แต่ระยะหลังชาวเขมรเริ่มมีการใส่พริกแห้งลงไปด้วย แต่ก็น้อยมากหากเทียบกับการกินพริกของคนไทย<ref name="มติชน">{{cite web |url= https://www.matichonacademy.com/content/recipes/article_18584 |title= เปิดสูตร 5 อาหารจานเด็ดกัมพูชา ทำกินเองได้ที่บ้าน |author=|date=|work= Matichon Academy |publisher=|accessdate= 22 ธันวาคม 2565}}</ref>


นอกจากนี้ชาวกัมพูชายังได้รับเอาวัฒนธรรมทางอาหารอื่นๆไปจากไทยด้วย เช่น ห่อหมกปลาอินทรีย์ หรือ อาม็อกเตร็ย (อาหารประเภทห่อหมก) ซึ่งเป็นผลจากการเผยแพร่วัฒนธรรมของไทยไปสู่เพื่อนบ้าน อาหารก็เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่เพื่อนบ้านนิยม ซึ่งสูตรการใส่กะทิมีเพียงชาวสยามเท่านั้น ปัจจุบันสูตรการ่ำเหล่านี้เผยแพร่ไปสู่เพื่อนบ้านผ่านกลุ่มแรงงานที่เข้ามายังประเทศไทยเป็นหลัก
นอกจากนี้ชาวกัมพูชายังได้รับเอาวัฒนธรรมทางอาหารอื่นๆไปจากไทยด้วย เช่น ห่อหมกปลาอินทรีย์ หรือ อาม็อกเตร็ย (อาหารประเภทห่อหมก) ซึ่งเป็นผลจากการเผยแพร่วัฒนธรรมของไทยไปสู่เพื่อนบ้าน อาหารก็เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่เพื่อนบ้านนิยม ซึ่งสูตรการใส่กะทิมีเพียงชาวสยามเท่านั้น ปัจจุบันสูตรการทำเหล่านี้เผยแพร่ไปสู่เพื่อนบ้านผ่านกลุ่มแรงงานที่เข้ามายังประเทศไทยรวมถึงอิทธิพลทางสื่อของไทยเป็นหลัก


== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:03, 2 ธันวาคม 2566

ห่อหมก
แหล่งกำเนิดประเทศไทย[1]
ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ชาติที่มีอาหารประจำชาติที่เกี่ยวข้องไทย
ส่วนผสมหลักพริกแกง, หัวกะทิหรือกะทิ

ห่อหมก เป็นอาหารพื้นเมืองดั้งเดิมไทย สมัยก่อนจะใช้วิธีการห่อใบตองแล้วนำมาใส่ใต้เตาที่มีขี้เถ้าใส่ลงไปให้มีขี้เถ้าอยู่รอบ ๆ ห่อ โดยเรียกวิธีนี้ว่า หมก อาศัยความร้อนจากถ่านด้านบน โดยด้านบนสามารถปรุงอาหารได้ตามปกติซึ่งจะใช้เวลาค่อนข้างนานสำหรับการหมกเนื่องจากไม่ได้สัมผัสไฟโดยตรง ต่อมาพัฒนาเป็นการย่างบนเตา จนกระทั่งลังถึงของจีนเข้ามาจึงเปลี่ยนเป็นการนึ่งแทน แต่กระนั้นก็ยังใช้คำว่า ห่อหมก อยู่เหมือนเดิมทั้งที่ไม่ได้ทำให้สุกโดยการหมกอีก การหมกในช่วงก่อนการมาถึงของชาวโปรตุเกสเป็นการเพียงการปรุงอาหารโดยใช้ใบตองห่อ แต่ในช่วงหลังจากกรุงศรีอยุธยาได้ติดต่อค้าขาย เมื่อมีการนำพริกจากอเมริกาเข้ามา[2] ห่อหมกจึงได้กำเนิดเป็นการนำเนื้อสัตว์และผักมาเคล้ากับน้ำพริกแกงจากโลกใหม่และกะทิซึ่งเป็นวัตถุพื้นเมืองของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[3] มาปรุงรสด้วยเครื่องปรุงรสต่าง ๆ เช่น เกลือ น้ำปลา หรือปลาร้า ห่อด้วยใบตอง นำไปหมกนึ่งหรือย่างให้สุก สำหรับห่อหมกในปัจจุบัน ต้นหอมและใบแมงลักเป็นเครื่องปรุงสำคัญ บางถิ่นใส่ผักชี ตัวอย่างอาหารประเภทหมก ได้แก่ หมกหน่อไม้ หมกไข่ปลา หมกหัวปลี หมกไข่มดแดง หมกปลา หมกเห็ด หมกฮวก เครื่องแกงส่วนใหญ่ประกอบด้วย พริกขี้หนูแห้ง หอมแดง ตะไคร้ซอย ใบมะกรูด บางถิ่นใส่กระชายหรือข่าด้วย

หมกในอาหารของภาคอีสานของประเทศไทยต่างจากหมกในอาหารลาว โดยในอาหารอีสาน อาหารประเภทเนื้อสัตว์ที่นำไปเคล้ากับเครื่องแกง ปรุงรสและทำให้สุกไม่ว่าจะย่างหรือนึ่งจะเรียกว่าหมกทั้งสิ้น ส่วนในอาหารลาวหลวงพระบางนั้น ถ้าห่อใบตองทรงสูงนำไปย่างเรียกหมก นำไปนึ่งเรียกมอกหรือเมาะ ถ้าห่อใบตองทรงแบนนำไปย่างเรียกขนาบ ในลาวอาหารไม่นิยมใส่กะทิในห่อหมกหรืออาหารประเภทอื่นๆ

ประเทศกัมพูชารับห่อหมกจากสยามไป หลังสยามแผ่อำนาจสู่ดินแดนกัมพูชาช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 13-14 และเขมรจะใช้เกรือง ซึ่งไม่มีพริกเป็นส่วนประกอบหลักอย่างห่อหมกของไทย แต่ระยะหลังชาวเขมรเริ่มมีการใส่พริกแห้งลงไปด้วย แต่ก็น้อยมากหากเทียบกับการกินพริกของคนไทย[4]

นอกจากนี้ชาวกัมพูชายังได้รับเอาวัฒนธรรมทางอาหารอื่นๆไปจากไทยด้วย เช่น ห่อหมกปลาอินทรีย์ หรือ อาม็อกเตร็ย (อาหารประเภทห่อหมก) ซึ่งเป็นผลจากการเผยแพร่วัฒนธรรมของไทยไปสู่เพื่อนบ้าน อาหารก็เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่เพื่อนบ้านนิยม ซึ่งสูตรการใส่กะทิมีเพียงชาวสยามเท่านั้น ปัจจุบันสูตรการทำเหล่านี้เผยแพร่ไปสู่เพื่อนบ้านผ่านกลุ่มแรงงานที่เข้ามายังประเทศไทยรวมถึงอิทธิพลทางสื่อของไทยเป็นหลัก

อ้างอิง

  1. Lees, Phil (May 25, 2007). "The Dish: Fish Amok". The Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ 7 October 2019. The origins of fish amok are a source of regional debate. Dishes of this kind aren't unique to Cambodia. Malaysia and Indonesia boast the similar otak otak and Thailand cooks a spicier hor mok but neither nation embraces them with the passion of Cambodia. "Amok" in the Cambodian language, Khmer, only refers to the dish whereas in Thai, "hor mok" translates as "bury wrap," suggesting amok may have come from Cambodia's neighbor.
  2. Collingham, Lizzie (2006). "Vindaloo: the Portuguese and the chili pepper". Curry: A Tale of Cooks and Conquerors. Oxford: Oxford University Press. pp. 47–73. ISBN 978-0-19-988381-3.
  3. Bee F. Gunn, Luc Baudouin, Kenneth M. Olsen. Independent Origins of Cultivated Coconut (Cocos nucifera L.) in the Old World Tropics. PLoS ONE, 2011; 6 (6): e21143 DOI: 10.1371/journal.pone.0021143
  4. "เปิดสูตร 5 อาหารจานเด็ดกัมพูชา ทำกินเองได้ที่บ้าน". Matichon Academy. สืบค้นเมื่อ 22 ธันวาคม 2565. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  • กานต์ เหมวิหค และ สุปรียา ห้องแซง. อาหารอีสาน.กทม. แสงแดด. 2556