ข้ามไปเนื้อหา

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพัทลุง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เขตเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
จังหวัดพัทลุง
เขตเลือกตั้งในปัจจุบัน
จำนวนเขต3
คะแนนเสียง107,761 (ประชาธิปัตย์)
49,550 (รวมไทยสร้างชาติ)
เขตเลือกตั้งปัจจุบัน
ก่อตั้งพ.ศ. 2476
ที่นั่งประชาธิปัตย์ (2)
รวมไทยสร้างชาติ (1)
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรดูในบทความ

จังหวัดพัทลุง มีเขตเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 3 เขต (สำหรับการเลือกตั้ง พ.ศ. 2566)[1] และมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งได้ 3 คน จากทั้งหมด 400 คนทั่วประเทศในสภาผู้แทนราษฎรไทย

ประวัติศาสตร์

[แก้]

หลังจากที่ประเทศไทยเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 ได้มีการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 การเลือกตั้งครั้งนี้เป็น "การเลือกตั้งทางอ้อมครั้งแรกและครั้งเดียวของไทย" โดยจังหวัดพัทลุงมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรคนแรก คือ ร้อยตรี ถัด รัตนพันธุ์

เขตเลือกตั้ง

[แก้]
การเลือกตั้ง เขตเลือกตั้ง แผนที่ จำนวน ส.ส.
พ.ศ. 2476 เขตเลือกตั้งที่ 1 : ทั้งจังหวัด 1 คน (เขตละ 1 คน)
พ.ศ. 2480
พ.ศ. 2481
พ.ศ. 2489
พ.ศ. 2491
พ.ศ. 2492
พ.ศ. 2495
พ.ศ. 2500/1
พ.ศ. 2500/2
พ.ศ. 2512 2 คน (เขตละ 2 คน)
พ.ศ. 2518
พ.ศ. 2519
พ.ศ. 2522 3 คน (เขตละ 3 คน)
พ.ศ. 2526
พ.ศ. 2529
พ.ศ. 2531
พ.ศ. 2535/1
พ.ศ. 2535/2
พ.ศ. 2538
พ.ศ. 2539
พ.ศ. 2544 · เขตเลือกตั้งที่ 1 : อำเภอเขาชัยสนและอำเภอเมืองพัทลุง
· เขตเลือกตั้งที่ 2 : อำเภอควนขนุน, อำเภอป่าพะยอม, อำเภอศรีบรรพต, อำเภอกงหรา (เฉพาะตำบลสมหวังและตำบลชะรัด) และกิ่งอำเภอศรีนครินทร์
· เขตเลือกตั้งที่ 3 : อำเภอบางแก้ว, อำเภอปากพะยูน, อำเภอป่าบอน, อำเภอตะโหมด และอำเภอกงหรา (ยกเว้นตำบลสมหวังและตำบลชะรัด)
3 คน (เขตละ 1 คน)
พ.ศ. 2548
พ.ศ. 2549
พ.ศ. 2550 เขตเลือกตั้งที่ 1 : ทั้งจังหวัด 3 คน (เขตละ 3 คน)
พ.ศ. 2554 · เขตเลือกตั้งที่ 1 : อำเภอเขาชัยสนและอำเภอเมืองพัทลุง
· เขตเลือกตั้งที่ 2 : อำเภอควนขนุน, อำเภอป่าพะยอม, อำเภอศรีบรรพต และอำเภอศรีนครินทร์
· เขตเลือกตั้งที่ 3 : อำเภอกงหรา, อำเภอตะโหมด, อำเภอป่าบอน, อำเภอปากพะยูน และอำเภอบางแก้ว
3 คน (เขตละ 1 คน)
พ.ศ. 2557
พ.ศ. 2562
พ.ศ. 2566 · เขตเลือกตั้งที่ 1 : อำเภอเขาชัยสนและอำเภอเมืองพัทลุง
· เขตเลือกตั้งที่ 2 : อำเภอควนขนุน, อำเภอป่าพะยอม, อำเภอศรีบรรพต, อำเภอศรีนครินทร์ และอำเภอกงหรา (เฉพาะตำบลสมหวังและตำบลชะรัด)
· เขตเลือกตั้งที่ 3 : อำเภอบางแก้ว, อำเภอปากพะยูน, อำเภอป่าบอน, อำเภอตะโหมด และอำเภอกงหรา (ยกเว้นตำบลสมหวังและตำบลชะรัด)
3 คน (เขตละ 1 คน)

รายนามสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขต

[แก้]

ชุดที่ 1–7; พ.ศ. 2476–2495

[แก้]
      พรรคประชาธิปัตย์
      พรรคสหชีพ
ชุดที่ การเลือกตั้ง เขตเลือกตั้งที่ 1
ชุดที่ 1 พ.ศ. 2476 ร้อยตรี ถัด รัตนพันธุ์
ชุดที่ 2 พ.ศ. 2480 นายถัด พรหมมาณพ
ชุดที่ 3 พ.ศ. 2481 ร้อยตรี ถัด รัตนพันธุ์ (เสียชีวิต)
นายถัด พรหมมาณพ (แทนร้อยตรี ถัด)
ชุดที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2489 นายสมบุญ ศิริธร
สิงหาคม พ.ศ. 2489 ร้อยตำรวจตรี คลาด ขุทรานนท์ (เลือกตั้งเพิ่มเติม)
ชุดที่ 5 พ.ศ. 2491 นายถัด พรหมมาณพ
พ.ศ. 2492 – (เลือกตั้งเพิ่มเติม)
ชุดที่ 7 พ.ศ. 2495 นายถัด พรหมมาณพ

ชุดที่ 8–9; พ.ศ. 2500

[แก้]
      พรรคธรรมาธิปัตย์ (พ.ศ. 2498)
      พรรคประชาธิปัตย์
ชุดที่ การเลือกตั้ง เขตเลือกตั้งที่ 1
ชุดที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 นายเปลื้อง คชภักดี
ชุดที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2500 นายขาว อินด้วง

ชุดที่ 10–12; พ.ศ. 2512–2519

[แก้]
      พรรคแนวประชาธิปไตย
      พรรคอธิปัตย์
      พรรคประชาธิปไตย (พ.ศ. 2517)
      พรรคประชาธิปัตย์
      พรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย
      ไม่สังกัดพรรคการเมือง
ชุดที่ การเลือกตั้ง เขตเลือกตั้งที่ 1
ชุดที่ 10 พ.ศ. 2512 นายอาทิตย์ สุภาไชยกิจ นายอ่ำ รองเงิน
ชุดที่ 11 พ.ศ. 2518 นายเจริญ หนูสง นายอ่ำ รองเงิน
ชุดที่ 12 พ.ศ. 2519 นายไรน่าน อรุณรังษี นายอ่ำ รองเงิน

ชุดที่ 13–20; พ.ศ. 2522–2539

[แก้]
      พรรคประชาธิปัตย์
      พรรคกิจสังคม
      พรรคประชาชน (พ.ศ. 2531)พรรคเอกภาพ
      พรรคชาติไทย
      พรรคความหวังใหม่
      ไม่สังกัดพรรคการเมือง
ชุดที่ การเลือกตั้ง เขตเลือกตั้งที่ 1
ชุดที่ 13 พ.ศ. 2522 นายพร้อม บุญฤทธิ์ นายสว่าง พรเรืองวงศ์ (เสียชีวิต) นายคล้าย จิตพิทักษ์ (เสียชีวิต)
นายธีรศักดิ์ อัครบวร (แทนนายสว่าง) นายวีระ มุสิกพงศ์ (แทนนายคล้าย)
ชุดที่ 14 พ.ศ. 2526 นายโอภาส รองเงิน นายวีระ มุสิกพงศ์
ชุดที่ 15 พ.ศ. 2529
ชุดที่ 16 พ.ศ. 2531 นายเจริญ ภักดีวานิช นายโอภาส รองเงิน นายสานันท์ สุพรรณชนะบุรี
ชุดที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2535 นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ นายสุพัฒน์ ธรรมเพชร นายสานันท์ สุพรรณชนะบุรี
ชุดที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2535 นายสมคิด นวลเปียน
ชุดที่ 19 พ.ศ. 2538
ชุดที่ 20 พ.ศ. 2539

ชุดที่ 21–22; พ.ศ. 2544–2548

[แก้]
      พรรคประชาธิปัตย์
เขต ชุดที่ 21 พ.ศ. 2544 ชุดที่ 22 พ.ศ. 2548
1 นายสุพัฒน์ ธรรมเพชร
2 นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ
3 นายนริศ ขำนุรักษ์

ชุดที่ 23; พ.ศ. 2550

[แก้]
      พรรคประชาธิปัตย์
เขต ชุดที่ 23 พ.ศ. 2550
1 นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ
นางสาวสุพัชรี ธรรมเพชร
นายนริศ ขำนุรักษ์

ชุดที่ 24–26; พ.ศ. 2554–2566

[แก้]
      พรรคประชาธิปัตย์
      พรรคภูมิใจไทย
      พรรครวมไทยสร้างชาติ
ชุดที่ การเลือกตั้ง เขตเลือกตั้งที่ 1 เขตเลือกตั้งที่ 2 เขตเลือกตั้งที่ 3
ชุดที่ 24 พ.ศ. 2554 นางสาวสุพัชรี ธรรมเพชร นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ นายนริศ ขำนุรักษ์
ชุดที่ 25 พ.ศ. 2562 นายภูมิศิษฎ์ คงมี นายฉลอง เทอดวีระพงศ์
ชุดที่ 26 พ.ศ. 2566 นางสุพัชรี ธรรมเพชร นายนิติศักดิ์ ธรรมเพชร นายร่มธรรม ขำนุรักษ์

รูปภาพ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งและเขตเลือกตั้งของแต่ละจังหวัดจะพึงมี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 140 (14 ก): 38–42. 3 มีนาคม 2566.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]