ข้ามไปเนื้อหา

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดจันทบุรี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เขตเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
จังหวัดจันทบุรี
เขตเลือกตั้งในปัจจุบัน
จำนวนเขต3
คะแนนเสียง107,922 (ก้าวไกล)
เขตเลือกตั้งปัจจุบัน
ก่อตั้งพ.ศ. 2476
ที่นั่งประชาชน (3)
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรดูในบทความ

จังหวัดจันทบุรี มีเขตเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 3 เขต (สำหรับการเลือกตั้ง พ.ศ. 2566)[1] และมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งได้ 3 คน จากทั้งหมด 400 คนทั่วประเทศในสภาผู้แทนราษฎรไทย

ประวัติศาสตร์

[แก้]

หลังจากที่ประเทศไทยเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 ได้มีการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 การเลือกตั้งครั้งนี้เป็น "การเลือกตั้งทางอ้อมครั้งแรกและครั้งเดียวของไทย" โดยจังหวัดจันทบุรีมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรคนแรก คือ หลวงนรินทร์ประสาตร์เวช (เจน สุนทโรทัย)

  • นักการเมืองที่ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมากครั้งที่สุด คือ 8 สมัย ได้แก่ นายธวัชชัย อนามพงษ์
  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสตรีคนแรกของจังหวัดจันทบุรี คือ นางคมคาย พลบุตร (จากการเลือกตั้ง พ.ศ. 2538)
  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศคนแรกของจังหวัดจันทบุรี คือ นางสาวปรัชญาวรรณ ไชยสืบ (จากการเลือกตั้ง พ.ศ. 2566)
  • ตระกูลการเมืองที่ได้รับเลือกตั้งมากที่สุด คือ

เขตเลือกตั้ง

[แก้]
การเลือกตั้ง เขตเลือกตั้ง แผนที่ จำนวน ส.ส.
พ.ศ. 2476 เขตเลือกตั้งที่ 1 : ทั้งจังหวัด 1 คน (เขตละ 1 คน)
พ.ศ. 2480
พ.ศ. 2481
พ.ศ. 2489
พ.ศ. 2491
พ.ศ. 2492
พ.ศ. 2495
พ.ศ. 2500/1
พ.ศ. 2500/2
พ.ศ. 2512
พ.ศ. 2518 2 คน (เขตละ 2 คน)
พ.ศ. 2519
พ.ศ. 2522
พ.ศ. 2526
พ.ศ. 2529 3 คน (เขตละ 3 คน)
พ.ศ. 2531
พ.ศ. 2535/1
พ.ศ. 2535/2
พ.ศ. 2538
พ.ศ. 2539
พ.ศ. 2544 · เขตเลือกตั้งที่ 1 : อำเภอเมืองจันทบุรีและอำเภอแหลมสิงห์
· เขตเลือกตั้งที่ 2 : อำเภอท่าใหม่, อำเภอนายายอาม, อำเภอแก่งหางแมว, อำเภอมะขาม (เฉพาะตำบลวังแซ้มและตำบลฉมัน) และกิ่งอำเภอเขาคิชฌกูฏ
· เขตเลือกตั้งที่ 3 : อำเภอสอยดาว, อำเภอโป่งน้ำร้อน, อำเภอขลุง และอำเภอมะขาม (ยกเว้นตำบลวังแซ้มและตำบลฉมัน)
3 คน (เขตละ 1 คน)
พ.ศ. 2548
พ.ศ. 2549
พ.ศ. 2550 เขตเลือกตั้งที่ 1 : ทั้งจังหวัด 3 คน (เขตละ 3 คน)
พ.ศ. 2554 · เขตเลือกตั้งที่ 1 : อำเภอเมืองจันทบุรีและอำเภอแหลมสิงห์
· เขตเลือกตั้งที่ 2 : อำเภอท่าใหม่, อำเภอนายายอาม, อำเภอแก่งหางแมว และอำเภอเขาคิชฌกูฏ
· เขตเลือกตั้งที่ 3 : อำเภอสอยดาว, อำเภอโป่งน้ำร้อน, อำเภอมะขาม และอำเภอขลุง
3 คน (เขตละ 1 คน)
พ.ศ. 2557
พ.ศ. 2562
พ.ศ. 2566 · เขตเลือกตั้งที่ 1 : อำเภอแหลมสิงห์, อำเภอเมืองจันทบุรี และอำเภอมะขาม (ยกเว้นตำบลปัถวีและตำบลฉมัน)
· เขตเลือกตั้งที่ 2 : อำเภอท่าใหม่, อำเภอนายายอาม, อำเภอแก่งหางแมว และอำเภอเขาคิชฌกูฏ
· เขตเลือกตั้งที่ 3 : อำเภอสอยดาว, อำเภอโป่งน้ำร้อน, อำเภอขลุง และอำเภอมะขาม (เฉพาะตำบลปัถวีและตำบลฉมัน)
3 คน (เขตละ 1 คน)

รายนามสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขต

[แก้]

ชุดที่ 1–7; พ.ศ. 2476–2495

[แก้]
      พรรคประชาธิปัตย์พรรคประชาชน (พ.ศ. 2490)
ชุดที่ การเลือกตั้ง เขตเลือกตั้งที่ 1
ชุดที่ 1 พ.ศ. 2476 หลวงนรินทร์ประสาตร์เวช (เจน สุนทโรทัย)
ชุดที่ 2 พ.ศ. 2480 นายวงศ์ เว้นชั่ว
ชุดที่ 3 พ.ศ. 2481 นายอมร ผลประสิทธิ์
ชุดที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2489 นายอรัญ รายนานนท์
สิงหาคม พ.ศ. 2489 – (เลือกตั้งเพิ่มเติม)
ชุดที่ 5 พ.ศ. 2491 นายวงศ์ วีระชาติพลี
พ.ศ. 2492 – (เลือกตั้งเพิ่มเติม)
ชุดที่ 7 พ.ศ. 2495 นายสุรพงษ์ ตรีรัตน์

ชุดที่ 8–10; พ.ศ. 2500–2512

[แก้]
      พรรคเสรีมนังคศิลา
      พรรคสหประชาไทย
      ไม่สังกัดพรรคการเมือง
ชุดที่ การเลือกตั้ง เขตเลือกตั้งที่ 1
ชุดที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 นายสุรพงษ์ ตรีรัตน์
ชุดที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2500 นายสุรพงษ์ ตรีรัตน์
ชุดที่ 10 พ.ศ. 2512 นายบุญเที่ยง สิทธิบุศย์

ชุดที่ 11–14; พ.ศ. 2518–2526

[แก้]
      พรรคไท (พ.ศ. 2517)
      พรรคธรรมสังคม
      พรรคประชาธิปัตย์
      พรรคสยามประชาธิปไตย
      พรรคกิจสังคม
      พรรคประชาเสรี
      พรรคประชากรไทย
ชุดที่ การเลือกตั้ง เขตเลือกตั้งที่ 1
ชุดที่ 11 พ.ศ. 2518 นายประภัทรพงศ์ เวชชาชีวะ นายประหยัด ธรรมสาคร
ชุดที่ 12 พ.ศ. 2519 นายสมยศ ศิรพันธุ์ พลโท กานต์ รัตนวราหะ
ชุดที่ 13 พ.ศ. 2522 นายจำเริง ศรีสุวรรณ นายวิชิต ศุขะวิริยะ
ชุดที่ 14 พ.ศ. 2526 นายละออ วรรณทอง นายวโรทัย ภิญญสาสน์

ชุดที่ 15–20; พ.ศ. 2529–2539

[แก้]
      พรรคประชาธิปัตย์
      พรรคประชากรไทย
      พรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2535)
ชุดที่ การเลือกตั้ง เขตเลือกตั้งที่ 1
ชุดที่ 15 พ.ศ. 2529 นายวโรทัย ภิญญสาสน์ นายธวัชชัย อนามพงษ์ นายประวัฒน์ อุตตะโมต
ชุดที่ 16 พ.ศ. 2531 นายธวัชชัย อนามพงษ์ นายประวัฒน์ อุตตะโมต
ชุดที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2535
ชุดที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2535 นายสมชาย นิยมกิจ นายอำนาจ เพ่งจิตต์ นายประวัฒน์ อุตตะโมต
ชุดที่ 19 พ.ศ. 2538 นายธวัชชัย อนามพงษ์ นางสาวคมคาย เฟื่องประยูร
ชุดที่ 20 พ.ศ. 2539 นางคมคาย พลบุตร

ชุดที่ 21–22; พ.ศ. 2544–2548

[แก้]
      พรรคชาติพัฒนาพรรคไทยรักไทย
      พรรคประชาธิปัตย์
      พรรคไทยรักไทย
เขต ชุดที่ 21 พ.ศ. 2544 ชุดที่ 22 พ.ศ. 2548
1 นายธวัชชัย อนามพงษ์
( / เลือกตั้งใหม่)
นายกล้าณรงค์ พงษ์เจริญ
2 นางคมคาย พลบุตร พลตำรวจตรี พยุง ตรงสวัสดิ์
3 นายพงศ์เวช เวชชาชีวะ

ชุดที่ 23; พ.ศ. 2550

[แก้]
      พรรคประชาธิปัตย์
เขต ชุดที่ 23 พ.ศ. 2550
1 นายธวัชชัย อนามพงษ์
นายยุคล ชนะวัฒน์ปัญญา
นายพงศ์เวช เวชชาชีวะ

ชุดที่ 24–26; พ.ศ. 2554–2566

[แก้]
      พรรคประชาธิปัตย์
      พรรคอนาคตใหม่พรรคพลังประชารัฐ
      พรรคอนาคตใหม่พรรคพลังท้องถิ่นไท
      พรรคอนาคตใหม่พรรคก้าวไกล
      พรรคก้าวไกลพรรคประชาชน
ชุดที่ การเลือกตั้ง เขตเลือกตั้งที่ 1 เขตเลือกตั้งที่ 2 เขตเลือกตั้งที่ 3
ชุดที่ 24 พ.ศ. 2554 นายธวัชชัย อนามพงษ์ นายยุคล ชนะวัฒน์ปัญญา นายพงศ์เวช เวชชาชีวะ
ชุดที่ 25 พ.ศ. 2562 พันตำรวจโท ฐนภัทร กิตติวงศา
(ลาออก/ไม่มีเลือกตั้งซ่อม)
นายจารึก ศรีอ่อน นางสาวญาณธิชา บัวเผื่อน
ชุดที่ 26 พ.ศ. 2566 นายวรายุทธ ทองสุข นางสาวปรัชญาวรรณ ไชยสืบ นางสาวญาณธิชา บัวเผื่อน

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งและเขตเลือกตั้งของแต่ละจังหวัดจะพึงมี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 140 (14 ก): 38–42. 3 มีนาคม 2566.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]